วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

ว้าเสริมเขี้ยวเล็บ ซื้อเฮลิคอปเตอร์จากจีน


บริษัทเจนส์ อินฟอร์เมชัน กรุ๊ป (Jane's Information Group) ได้ออกมาเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ (29 เมษายน) ที่ผ่านมาว่า จีนได้ขายเฮลิคอปเตอร์ให้กับกองทัพว้า กลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดในพม่า


ชาวบ้านในรัฐฉานร้องเรียน ท่อก๊าซจีนไม่ได้มาตรฐาน หวั่นผลกระทบ



มีรายงานว่า ชาวนาจากเมืองน้ำคำ รัฐฉาน เมืองซึ่งมีชายแดนติดกับจีนได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงต่อท่อส่งก๊าซในโครงการฉ่วยก๊าซ (Shwe Gas) ที่เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลพม่าและจีนจะกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่ หลังพบว่าการก่อสร้างท่อส่งก๊าซไม่ได้มาตรฐาน โดยพบว่าตรงท่อส่งก๊าซบางช่วงมีรูโหว่และหลุดออกจากกัน

 

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

ผู้เข้าร่วมประชุมสื่อชนกลุ่มน้อยที่รัฐมอญเผย “สื่อ” ควรมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสันติภาพในพม่า


ระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมสื่อขึ้นที่เมืองเมาะละแหม่ง รัฐมอญ โดยในที่ประชุมระบุว่า สื่อนั้นถือเป็นกระบอกเสียง เป็นหู เป็นตาให้กับประชาชน และเปรียบเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างประชาชนกับรัฐบาล การสร้างสันติภาพในพม่าจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องให้สื่อเข้ามีส่วนร่วม

 

พม่าปล่อยนักโทษการเมืองอีก 93 คน พบมีนักโทษทางการเมือง 59 คน



รัฐบาลเต็งเส่งได้ปล่อยตัวนักโทษเพิ่มอีก 93 คน มีรายงานว่า มีนักโทษการเมืองรวมอยู่ด้วย 59 คนเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา ในจำนวนนี้พบว่า 40 คน เป็นทหารของกองทัพรัฐฉานเหนือ(Shan State Army -North)

มูลนิธินิปปอนเตือน SSA ใต้ อาจยุติให้ความช่วยเหลือ หากไม่ร่วมทำงานกับกลุ่ม UNFC



มีรายงานว่า มูลนิธินิปปอน (Nippon Foundation)ของญี่ปุ่น ซึ่งมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพของพม่านับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา และให้ความช่วยเหลือกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มในพม่า ได้ออกมาเตือนสภากอบกู้รัฐฉาน/กองทัพรัฐฉานใต้ (Restoration Council of Shan State / Shan State Army -RCSS/SSA) ว่า หากไม่ร่วมทำงานกับทางกลุ่ม UNFC - United Nationalities Federal Council (สภาสหพันธรัฐแห่งชาติสหภาพ) ทางมูลนิธินิปปอนจะพิจารณาการยุติให้ความช่วยเหลือต่อ SSA ในอนาคต

 

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ชี้ “เต็งเส่ง” ควรแก้ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐฉาน



เมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ ((Shan Human Rights Foundation – SHRF- SHRF) ออกรายงานเกี่ยวกับการสู้รบในภาคเหนือของรัฐฉาน ในรายงานระบุ ความขัดแย้งและสงครามระหว่างกองทัพรัฐฉานเหนือ(SSPP/SSA) และทหารพม่า ทำให้ประชาชนในรัฐฉานกว่าพันคนต้องหนีภัยสงครามไปอยู่ที่เมืองต้างยานและได้รับผลกระทบ โดยทางมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนไทใหญ่เรียกร้องให้ประธานาธิบดีเต็งเส่งรับผิดชอบและแก้ปัญหาทหารพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนในรัฐฉานที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ และเรียกร้องแก้ปัญหายุติสงคราม

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

ไทม์ยก “ซูจี” ติด 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลของโลก



นิตยสารไทม์ยกนางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดีและเป็นสัญลักษณ์ประชาธิปไตยในพม่า ติด 1 ใน 100 คนผู้ทรงอิทธิพลของโลกในปีนี้ โดยนางซูจีติดอันดับของนิตนสารไทม์เป็นครั้งที่ 4 แล้ว

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

อียูเตรียมยกเลิกคว่ำบาตรพม่าในสัปดาห์หน้า



สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า มีความเป็นไปได้ที่ภายในสัปดาห์หน้าที่ทางสหภาพยุโรปหรืออียูจะยกเลิกคว่ำบาตรทั้งหมดต่อพม่า อย่างไรก็ตาม อียูจะยังคงมาตรการคว่ำบาตรทางด้านอาวุธต่อไป ทั้งนี้ การยกเลิกคว่ำบาตรก็เพื่อตอบรับกับที่ทางพม่าปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง

 

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

ชาวพุทธ-มุสลิม สัมพันธภาพระอุบนเปลวเพลิง

[caption id="attachment_6141" align="aligncenter" width="670" caption="ภาพ AFP"][/caption]

หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้มัสยิดในย่างกุ้งเป็นเวลาหลายชั่วโมง ซึ่งส่งผลให้มีเด็กเสียชีวิตไปจำนวน 13 คน ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา ก็มีเสียงจากผู้คนในพื้นที่กล่าวถึงสาเหตุของเหตุอันน่าสลดดังกล่าวอยู่สามประการด้วยกัน อย่างแรกคือ เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร อย่างที่สอง เป็นการลอบวางเพลิง และสุดท้าย เป็นฝีมือของกลุ่มชาวมุสลิมหัวรุนแรงที่ต้องการยั่วยุชาวพุทธ

 

หากไม่นับทฤษฎีสุดท้าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวพุทธจำนวนหนึ่งในพื้นที่ใกล้เคียงเชื่ออย่างนั้น สาเหตุสองข้อที่เหลือเป็นข้อสันนิษฐานที่มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ก็เป็นมุมมองที่ดูจะละเลยความจริงที่ว่า ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ก่อตัวขึ้นแล้วระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในพม่า

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

"หนังสือพิมพ์รายวัน" อีกก้าวหนึ่งของเสรีภาพสื่อในพม่า

การวางแผงครั้งแรกของหนังสือพิมพ์รายวันของสำนักพิมพ์เอกชนในวันจันทร์นี้ สำหรับคนส่วนใหญ่ในพม่านับว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ หลายคนเกิดไม่ทันในยุคที่นายพลเนวินอนุญาตให้เฉพาะสื่อของรัฐเท่านั้นที่สามารถเผยแพร่หนังสือพิมพ์รายวันได้ ในช่วงปี 60 ด้วยซ้ำ