วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

หญิงบริการ ชีวิตในมุมมืดของเมืองใหญ่

[caption id="attachment_6995" align="alignleft" width="400"]ห้องนวดในร้านนวดในเมืองพะโค ห้องนวดในร้านนวดในเมืองพะโค[/caption]

 

ในพม่า ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขของหญิงที่ทำงานใน "พื้นที่สีเทา" ของการขายบริการทางเพศ พื้นที่สีเทาที่ว่านี้ก็อย่างเช่น ร้านคาราโอเกะและร้านนวด แต่คนทั่วไปก็คงสังเกตได้ว่า ป้ายไฟนีออนข้อความ “KTV” ปรากฎให้เห็นอยู่ในตัวเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ

 

Eamonn Murphy ผู้ประสานงานองค์กร UNAIDS ในพม่ากล่าวว่า เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า จะมีบริการพิเศษในสถานที่ที่ว่านี้ แม้ผู้จัดการร้านจะปฏิเสธเสียงแข็งว่าไม่มีการขายบริการทางเทศเมื่อเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพไปเคาะประตูก็ตาม

 

ทั้งนี้ก็เพราะในพม่ามีกฎหมายลงโทษอย่างหนัก กฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีในสถานบริการ ฉบับปี 1949 ปรับใช้มาจากกฎหมายตั้งแต่สมัยอาณานิคม โดยมีโทษจำคุกผู้ขายบริการและผู้จัดหาเป็นธุระตั้งแต่ 1 ถึง 3 ปี แต่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการจะไม่ถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด

 

คำจำกัดความทางกฎหมายของซ่องโสเภณีตามกฎหมายมีการขยายความเมื่อผี 1998 โดยจะรวมถึงสถานที่ใดๆ ที่ใช้ดำเนินกิจการขายบริการทางเพศ เพื่อให้ครอบคลุมถึงร้านนวดและร้านคาราโอเกะที่มีอยู่เกลี่อนเมือง

 

"ผู้ขายบริการที่เจ้าหน้าที่เข้าไปพบมักบอกว่า "เราไม่ได้ขายบริการทางเพศ เราจึงไม่ต้องการถุงยางอนามัย"" Anne Lancelot ผู้อำนวยการของ Population Services International (PSI) Targeted Outreach Programme กล่าว ทั้งนี้ PSI ได้ให้บริการด้านสุขภาพให้กับพื้นที่ 333 เขตในพม่า โดยมีพื้นที่ 3 เขตที่เสี่ยงต่อการติดต่อของโรคเอชไอวี/เอดส์ อาทิ ผู้ขายบริการทางเพศ กลุ่มชายรักชาย และผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มร่วมกัน

 

"ถ้าพูดให้ชัดเจนไปเลย ฉันยังไม่รู้จักสาว "KTV"คนไหนที่ไม่ได้ขายบริการทางเพศเลย"

 

ข้อมูลของทางการเมือปี 2010 ได้ประมาณการไว้ว่า อาจจะมีผู้ขายบริการทางเพศกว่า 6 หมื่นคนในพม่า ขณะที่ PSI ระบุว่าอาจมีมากเกือบ 8 หมื่นคน โดยเฉพาะในย่างกุ้งที่เดียวมีมากถึง 15,000 คน อย่างไรก็ตาม Anne Lancelot กล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวอาจเป็นการประมาณเพียงคร่าวๆ

 

"ในพม่าไม่ได้มีพื้นที่สีแดง นอกจากในบางเมืองอย่างเมืองหมู่เจ้ ส่วนใหญ่จะกระจัดกระจาย และประชากรผู้ขายบริการทางเพศก็มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่"

 

"บางครั้งผู้จัดการร้านก็บอกความจริง เพราะมีการขายบริการทางเทศในเกสต์เฮ้าส์ใกล้ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นในร้าน" Eamonn Murphy กล่าว "ผู้หญิงมักจะไม่บอกเจ้านายว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกค้า เพราะงานแบบนี้เป็ฯงานที่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว และหลายรายก็ปฏิเสธว่าไม่ได้ขายบริการทางเพศเพราะความอับอาย"

 

"คนในพื้นที่สีเทาของอุตสาหกรรมขายบริการทางเพศมักจะไม่ได้รับความรู้ หรือกิจกรรมเรื่องการป้องกันโรคเอชไอวี/เอดส์ เพราะผู้จัดการร้านกลัวว่าร้านของตนจะถูกจัดว่าเป็นสถานที่ให้บริการทางเพศ ซึ่งทำให้เดือดร้อน"

 

มะซู (ชื่อสมมุติวัย 26 ปี ทำงานเป็นหมอนวดในอาคารร้างแห่งหนึ่งแถบชานเมืองพะโค บริเวณใกล้เคียงมีร้านนวดอีกห้าหกร้านและซ่องโสภาณี 3 แห่ง และมีร้านคาราโอเกะ KTV ทั่วพะโครวมแล้วอย่างน้อย 20 ร้าน

 

มะซูเปิดเผยว่า เธอย้ายจากด่านเจดีย์สามองค์มาอยู่ที่พะโคหลังจากหย่าร้างกับสามีที่ติดการพนัน ติดเหล้า เธอได้ค่าจ้างเป็นหมอนวด 700 จั๊ต ต่อชั่วโมง และได้รับอนุญาตให้ออกจากที่ทำงานระหว่าง ตี 5 ถึง 10 โมงเช้าเท่านั้น เธอมีที่พักฟรีซึ่งเป็นอาคารหอพักแยกจากร้านนวด และอาหารฟรี 2 มื้อ แต่ไม่สามารถลางานได้แม้ว่าจะป่วยก็ตาม

 

มะซูบอกว่า Marie Stopes International เป็นองค์อรเอ็นจีโอเดียวที่เธอเจอตั้งแต่ทำงานเป็นหมอนวดมาเมื่อปีที่แล้ว โดยเจ้าหน้าที่ได้มาเจาะเลือดหมอนวด 10 คนที่ทำงานที่นั่น เพื่อนำไปตรวจ

 

"ทุกคนปกติดี" เธออกล่าว แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องที่ว่า เธอขายบริการทางเพศให้กับลูกค้าหรือไม่ซึ่งเธอก็ไม่ได้บอกเจ้านานเช่นกัน แต่เธอยอมรับว่าได้ทิปจากลูกค้าและบางครั้งก็ถูกลูกค้าทำร้ายด้วย

 

ผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนามคนหนึ่งกล่าวว่า ทุกๆ เดือน เขาจะพานักท่องเที่ยวต่างชาติ ประมาณ 2 คนมาที่ร้านนวดแห่งนี้

 

"ส่วนใหญ่จะเป็นชาวญี่ปุ่นและเกาหลี บางคนก็มาจากอเมริกา หรือยุโรป ซึ่งน้อยมาก นักท่องเที่ยวตะวันตกค่อนข้างจะระมัดระมังตัวมาก พวกเขาไม่อยากไปหาหญิงขายบริการ ผมจึงพาพวกเขามาที่นี่"

 

เขาบอกว่า ชาวต่างชาติจะเก็บค่าชั่วโมงแพงกว่าราคาคนท้องถิ่น ถึง 1 หมื่นจั๊ตต่อ 15 นาที ซึ่งค่าชั่วโมงอยู่ที่ 4 พันจั๊ต ชาวต่างชาติจะถูกเรียกเก็บเงินเพิ่มถ้าออกจากห้องช้ากว่ากำหนด

 

"ผู้หญิงทุกคนได้ค่าจ้างเท่ากันไม่ว่าจะยังไง" เขาบอกว่าบางคนมาทำงานที่นี่ตั้งแต่อายุ 16 ปี

 

Anne Lancelot อธิบายว่า ร้านที่มีป้าย KTV นั้น ผู้หญิงจะได้รับค่าจ้างเดือนละ 3 หมื่นจั๊ต ซึ่งรวมถึงออกไปที่โรงแรมกับลูกค้าด้วย

 

"การจ่ายเงินและตกลงกับผู้หญิงจะเกิดขึ้นที่หน้าร้าน จะไม่มีการตกลงในร้าน KTV แม้ว่าร้านจะถูกล็อคกุญแจ ผู้หญิงอาจจะได้เงินมากเพิ่มจากลูกค้า แต่เงินก็จะกลับมาที่เจ้าของร้าน KTV ในที่สุด"

 

Anne Lancelot กล่าวว่า ในย่างกุ้งมีซ่องโสเภณีจำนวนมากที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงออกไปข้างนอก เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือด้านสุขภาพต้องเจรจากับร้านว่าจะให้พวกเธอกลับไปที่ร้านทันทีหลังจากไปที่ศูนย์ PSI ซึ่งเปฌนศูนย์ให้ความช่วยเหลือด้านเพศสุขภาพ และเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับการผ่อนคลาย

 

"อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ผู้หญิงต้องการให้คนหาแขกที่ซ่องมารับตัวกลับไปมากกว่า เพราะปลอดภัยกว่าออกไปที่ถนนข้างนอกคนเดียว ซึ่งในชายแดนของผู้ใช้แรงงาน พวกเธออยู่อย่างทาส"

 

จาก High risk and no reward for the ‘in-betweens’ of Burma’s sex industryโดย Jessica Mudditt 11 มกราคม 2557 DVB

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น