วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ร้านขายยา : ทางเลือกเสี่ยงๆ ของคนป่วยในพม่า

roadside-pharmacy

ย่างกุ้ง ประเทศพม่า - เมื่อเอ เอ ขิ่น วัย 26 ปีเป็นป่วยเป็นหวัดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เธอไม่ได้ไปหาหมอ แต่กลับไปซื้อยาจากร้านขายยาใกล้ๆ แทน

ด้วยอาชีพพนักงานต้อนรับที่ต้องทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เอ เอ ขิ่น ไม่มีเวลาที่จะไปเข้ารอพบหมอที่คิวยาวเหยียดที่คลินิกแถวน่านที่เธออยู่ แถมยังไมีมีเงินค่าหมอ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5000 จั๊ต เพราะรายได้ไม่มาก เธอรู้ว่าเธอมีเงินพอแค่จ่ายค่ายาที่ร้านขายยา ซึ่งน้อยกว่า 1 ใน10 ของค่าหมอ

การหลีกเลี่ยวที่จะไปพบแพทย์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนจำนวนมากในหลายเมืองของพม่า แต่ในตอนนี้ เอ เอ ขิ่น รู้สึกแปลกใจกับผลของยาที่เธอกิน

"ไม่นานหลังจากที่กินยา ก็รู้สึกแน่นหน้าอก และหายใจไม่สะดวก มีเสียงฟืดฟาด มีผื่นขึ้นตามผิวหนังทั่วตัว ฉันกลัวมาก" เธอกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาหนึ่งปีแล้ว โดยเธอบอกว่า ยาดังกล่าวมีสาวนผสมของเพนิซิลินที่เธอแพ้

อาการแพ้ยาเป็นเพียงหนึ่งในอันตรายหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากการซื้อยากินเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ดร.ยิน ยิน เมย์ แพทย์สาธารณะสุขที่ทำงานมากว่า 30 ปี กล่าวว่า เธอเคยพบผู้ป่วยที่เลือดออกในระบบทางเดินอาหารและอาการแพ้ยาแบบอื่นๆ หลังจากซื้อยาที่ร้านขายยามากินเอง "ในเคสฉุกเฉินอย่างนี้ ฉํนต้องส่งตัวคนไข้ไปที่โรงพยาบาล"

กฎหมายเรื่องยาของพม่าปี 1992 ระบุว่า การจำหน่ายยาที่ต้องมีใบสั่งของแททย์ให้กับคนที่ไม่มีใบสั่งมีความผิด มีโทษปรับหรือจำคุกถึง 1 ปี

ทว่า ร้านขายยาก็ยังมีคนมาอุดหนุนเป็นจำนนวนมากเนื่องจากราคาถูกและซื้อหาได้ง่าย

"คุณจะเสียเวลาและเงินน้อยกว่า ถ้าซื้อยาจากร้านขายยาใกล้บ้าน แต่ถ้าไปพบหมอคุณต้องนัดและจ่ายเงินมากกว่านี้" ครูคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในย่านเลด่าน กล่าว

ยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์สามารถรักษาโรคได้มีประสิทธิผล แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อป้องกันผลข้างเคียง แต่อย่างไรก็ตาม คนขายยาที่ร้านขายยาบางส่วนไม่ได้คำนึงถึงอันตรายที่เกิดจากการใช้ยาที่แพทย์ไม่ได้เป็นคนสั่ง

"เมื่อมีคนมาให้ผมจัดยารักษาอาการเจ็บป่วย อย่างปวดหัว เป็นไข้ หรือ ปวดท้อง เป้าหมายของผมคือทำให้อาหารดังกล่าวหายไปโดยเร็วที่สุด" เมียวอ่อง ผู้ช่วยในร้านขายยาเล็กๆ แห่งหนึ่งในซานชอง ซึ่งเป็นย่างที่มีคนพักอาศัยหนาแน่นแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง กล่าว

"คนจำนวนมากมาที่ร้านของผมเพื่อให้ช่วยเหลือเมื่อเกิดอาการเล็กๆ น้อยๆ เพราะผมสามารถจัดยาให้พวกเขาหายได้อย่างรวดเร็ว" เมียงอ่องกล่าว เขาทำงานที่ร้านขายยาแห่งนี้ตั้งแต่เรียนจบชั้นมัธยม

เขาไม่เคยเรียนเกี่ยวกับการแพทย์มาเลย แต่เขาก็ไม่เชื่อว่า มันจะมีความจำเป็นสำหรับงานของเขา บางคนมาที่ร้านพร้อมใยสั่งของแพทย์ เขาจดสิ่งที่หมอเขียนไว้ และเมื่อคนไข้ที่มีการอาการเหมือนกันมาที่ร้านโดนไม่มีใบสั่ง เขาก็จัดยาเหมือนๆ กันให้

ถ้าไม่นับเรื่องสังคมและเศรษฐกิจ ชาวพม่าจำนวนมากเลือกที่จะใช้ทางลัดดังกล่าวในการรักษาโรค "ไม่ว่าคนจะมีการศึกษาระดับไหนหรือฐานะอย่างไร ผู้จำนวนมากยังคงพึ่งร้ายขายยาในการจัดยาให้พวกเขา" ดร. ยิน ยิน เมย์ กล่าว

"ปัญหาหลัก ที่ฉันคิด ก็คือ ความรู้ทางด้านสุขภาพของประชาชนที่น้อยมาก ทุกคนควรจะทราบว่า ยาทุกชนิดมีผลข้างเคียง การเห็นผลของยาที่เกิดขึ้นในวันสองวันไม่ได้หมายความว่า ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้หายไปแล้วอย่างสิ้นเชิง" เธอกล่าว

ผู้อำนวยการ องค์การอาหารและยาพม่าระบุว่า การที่จะระบุปัญหาดังกล่าวในขณะที่ที่ให้ความรู้ด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน ควรมีการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ด้วย

"ข้อเสนอให้มีการบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับของกระทรวงสาธารณะสุขได้ถูกยื่นในสภาไปเมื่อปีที่แล้ว หลังจากที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาแล้ว เราก็จะดำเนินการไปทีละขั้น" ผู้อำนวยการกล่าว

"เราไม่สามารถใช้มาตรการที่รุนแรงในการจัดการเรื่องนี้ได้ เพราะเราต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนที่เกี่ยวข้องด้วย"

ปัญหาดังกล่าวอาจต้องใช้เวลาเพื่อประโยชน์ต่อทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ สำหรับตอนนี้ลูกค้าก็ยังคงเลือกที่จะซื้อยาจากร้านขายยาอยู่

"วันนี้ฉันรู้สึกคลื่นไส้ ฉันจึงต้องมาที่ร้านขายยาเพื่อซื้อยา ฉันต้องกลับไปทำงานพรุ่งนี้ ดังนั้นฉันจึงอยากจะหายคลื่นไส่เร็วๆ ฉันคิดว่าสิ่งที่เกิดครั้งก่อนเป็นเรื่องบังเอิญ แต่เท่าที่ผ่านมา ยาจากร้านนี้มันได้ผลกับฉัน ตอนนี้ฉันจึงมาซื้อยาที่ร้านนี้อีกครั้ง" เอ เอ ขิ่น ยิ้มขณะเดินออกจากร้านขายยาดังกล่าวไปยังถนนที่ผู้คนคับคั่ง

 
แปลจาก In Burma, Risky Drugstore Sales a Regular Part of Life KHINE THANT SU / THE IRRAWADDY
16 สิงหาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น