[caption id="attachment_8404" align="aligncenter" width="656"] ภาพจากเฟซบุ๊ก Myanmar President U Thein Sein[/caption]
ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้เข้าพบนางอองซาน ซูจีผู้นำพรรคเอ็นแอลดีในช่วงเช้าของวันพุธ(2 พฤศจิกายน 58) เป็นเวลา 45 นาที ณ กรุงเนปีดอว์ เพื่อหารือเรื่องความร่วมมืออันจะนำไปสู่การถ่ายโอนอำนาจอย่างสันติ
ทั้งนี้ การหารือดังกล่าวเป็นการตอบรับคำเชิญของนางอองซานซูจีเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ที่เกิดขึ้นหลังจากพรรคเอ็นแอลดีได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน เพียง 2 วัน โดยในเฟซบุ๊ก Myanmar President U Thein Sein ของประธานาธิบดีเต็งเส่งมีการลงภาพและวิดีโอข่าวการพบปะดังกล่าวไว้ด้วย
นอกจากนี้ ในช่วงบ่ายของวันพุธ นางซูจียังได้เข้าพบกับพลเอกมิ้นอ่องหล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพพม่าที่ตอบรับคำเชิญเช่นกัน
นายเยทุต โฆษกรัฐบาลเปิดเผยกับนักข่าวว่า การหารือกับประธานาธิบดีเต็งเส่งในช่วงเช้า มุ่งประเด็นไปที่ว่า จะทำอย่างไรให้การถ่ายโอนอำนาจไปยังพรรคเอ็นแอลดีที่จะขึ้นมาเป็นรัฐบาลชุดใหม่เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งประธานาธิบดีเต็งเส่งตกลงที่จะหารือเพื่อคลายความกังวลของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลใหม่
[caption id="attachment_8405" align="aligncenter" width="656"] ภาพจากเฟซบุ๊ก Myanmar President U Thein Sein[/caption]
นายเยทุต กล่าวเสริมว่า หลายประเด็นที่นางอองซานซูจีต้องการกล่าวถึงซึ่งได้แก่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2008 และการลดบทบาทของกองทัพในการเมือง ไม่ได้มีการหยิบยกมาเจรจาแต่อย่างใด
“ทั้ง 2 ฝ่ายหารือกันเรื่องการสร้างธรรมเนียมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในพม่า นั่นคือ การส่งต่อภาระหน้าที่ของผู้นำอย่างเป็นระบบ” นายเยทุตกล่าว ขณะที่ปฏิเสธที่จะลงรายละเอียดการเจรจาดังกล่าว
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีเต็งเส่งยังได้แสดงความยินดีที่พรรคแอ็นแอลดีของนางอองซานซูจีได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งที่ผ่านมา
“นางอองซานซูจียังได้กล่าวขอบคุณเขา(ประธานาธิบดีเต็งเส่ง) ที่จัดการเลือกตั้งที่มีเสรีภาพและยุติธรรมตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ และขอบคุณที่ยอมให้เธอเข้ามามีส่วนร่วมในการเมืองตั้งแต่ปี 2012” นายเยทุตกล่าว
[caption id="attachment_8406" align="aligncenter" width="656"] ภาพจากเฟซบุ๊ก Myanmar President U Thein Sein[/caption]
การพบปะหารือกันระหว่างนางอองซานซูจีกับประธานาธิบดีเต็งเส่งเมื่อวันพุธ เป็นการหารือครั้งล่าสุด โดยครั้งแรกเกิดเมื่อปี 2011 ที่เชื่อว่าเป็นการปูทางของพรรคเอ็นแอลดีสู่เส้นทางการเมืองอีกครั้ง โดย การเลือกตั้งซ่อมในปี 2012 ได้พานางอองซานซูจีเข้าไปในสภาเป็นครั้งแรก และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งสองได้พบปะหารือกันรวม 6 ครั้ง
ทั้งนี้ พรรคเอ็นแอลดีได้ที่นั่งส่วนใหญ่ทั้ง 2 สภา โดย มีจำนวนที่นั่งเพียงพอที่จะสามารถเลือกรองประธานาธิบดีได้จำนวน 2 ใน 3 ในการลงมติในสภาปีหน้า นอกจากนี้ยังสามารถเลือกประธานาธิบดีจากรองประธานาธิบดีทั้ง 3 คน แม้ว่าตัวนางอองซานซูจีเองจะไม่สามารถดำรงตำแหน่งสูงสุดได้เนื่องจากข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้ว่า ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต้องไม่คู่สมรสหรือทายาทที่เป็นชาวต่างชาติก็ตาม ซึ่งลูกและสามีของนางอองซาน ซูจีถือสัญชาติอังกฤษ
ที่มา Irrawaddy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น