Htet Khaung Linn/ Myanmar Now |
ประชาชนในพม่าจำนวนมากในหลายเมืองบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวด ที่พวกเขาเข้าใจว่ามันสะอาด ทว่า ความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวดที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการขาดการสอดส่องควบคุมจากรัฐ ทำให้ผู้ผลิตรายย่อยผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดคุณภาพต่ำออกมากจำนวนมาก
"ผมเคยดื่มน้ำมามากกว่า 4 ยี่ห้อ เมื่อปีที่แล้ว แต่ยี่ห้อที่ผมดื่มอยู่ตอนนี้ยังไม่มีปัญหาอะไร" นาย ทุระ คนขับแท็กซี่จากตำบลซานชองเปิดเผย โดยที่เขาเลือกที่จะเปลี่ยนยี่ห้อ หากพบน้ำดื่มที่คุณภาพต่ำ มากกว่าที่จะไปร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านสุขภาพของรัฐ
จากข้อมูลการสำรวจสัมโนประขาการเมื่อปี 2014 พบว่า ประชาชนชาวพม่าราวๆ 3 ใน 4 ส่วน บริโภคน้ำดื่มบรรจุขวด ในขณะที่ระบบประปาในเมืองนั้นพบว่า มีคุณภาพที่ต่ำ ในส่วนของประชาชนในเขตชนบทจำนวนมากพึ่งพาน้ำจากบ่อบาดาล หนองน้ำ และทะเลสาบ ซึ่งไม่สะอาดและอาจจะปนเปื้อนสารพิษ ทำให้มีแนวโน้มในการหันไปบริโภคน้ำดื่มยี่ห้อที่ไม่ได้รับอนุญาตการผลิต
ดร.ทุน ซอว์ ผู้อำนวยการสำนักงานอาหารและยาระบุว่า จากการสำรวจท้องตลาดในย่งกุ้งและมัณฑเลย์เมื่อเดือนธันวาคม 2558 พบว่า มีการจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดที่ไม่ได้รับอนุญาตจำนวน 21 ยี่ห้อ และจากการสำรวจของสำนักงานฯ ทั่วประเทศมื่อปีที่ผ่นมาพบว่า มีการออกใบอนุญาตผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด 750 ยี่ห้อ แ่ตพบว่า 73 ยี่ห้อ หรือราว 10 % ในจำนวนนี้มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียน โดยสำนักงานฯ ได้ประกาศชื่อยี่ห้อน้ำดื่มที่ถูกแบนพร้อทสถานที่ผลิตออกมาให้ประาชนทราบ
ดร.จ่อลิน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานอาหารและยา ชี้ น้ำดื่มที่ไม่ได้มาตรฐานอาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และว่า "อาจใช้น้ำประปาธรรมดา" ในการผลิต
นายบาโอ๊ก ข่าย ประธานสมาคมปกป้องผู้บริโภคพม่า กล่าวว่า เศรษฐกิจของพม่าเติบโตขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวดเพิ่มมากขึ้นตาม ทั้งในเมืองและเขตชนบท การทำเครื่องกรองน้ำขนาดเล็กนั้นสามารถทำได้ไม่ยาก และทำได้แม้แต่ภายในบ้านเรือน โดยสามารถผลิตน้ำดื่มขนาดขวด 20 ลิตร ได้ราว 50 - 100 ขวด
ซึ่งเครื่องกรองน้ำดังกล่าวมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งสำนักงานอาหารและยาไม่สามารถทำการตรวจสอบน้ำดื่มยี่ห้อใหม่ได้ทุกยี่ห้อ นอกจากนี้การประกาศแบนน้ำดื่มบางยี่ห้อที่ไม่สะอาดนั้น ผู้ผลิตก็มีการเปลี่ยนชื่อเป็นการหลีกเลี่ยง
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักงานอาหารและยา คณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าสุ่มตรวจโรงงานผลิตน้ำดื่มในย่างกุ้ง โดยพบว่ามี 13 แห่งที่ไม่ผ่านมาตรฐานด้านความสะอาด
ที่มา myanmarnow
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น