WHO ได้เปลี่ยนแปลงข้อเสนอแนะในการรักษาเอชไอวีใหม่ โดยเรียกร้องให้ทุกประเทศทั่วโลกทำการบำบัดผู้ป่วยเอดส์โดยใช้ยาต้านไวรัส (ART) เร็วขึ้น ซึ่งเป็นในช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยยังแข็งแรง ข้อเสนอแนะดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนในประเทศยากจนและประเทศที่มีรายได้ปานกลางมีสิทธิที่จะได้รับยาเพิ่มขึ้นเป็น 26 ล้านคน จากเดิมก่อนหน้านี้มีจำนวนผู้มีสิทธิได้รับยา 17 ล้านคน
สำหรับประเทศพม่าแล้ว หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยกล่าว่า ข้อเสนอแนะดังกล่าวถึงแม้พม่าจะยอมรับแต่ก็ไม่มีผลเท่าไหร่ เพราะคลินิกต่างก็ประสบกับปัญหาเรื่องจำนวนผู้ป่วยล้นตั้งแต่ยังปฏิบัติตามข้อแนะนำเก่ามาอยู่แล้ว
องค์กรแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนยาต้านเชื้อไวรัสในพม่า กล่าวว่า ในพม่า มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีกว่า 2 แสนคน และเมื่อปลายปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยที่ต้องการยาต้านไวรัสได้รับยาไปเพียง 40 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ ข้อแนะนำของ WHO ระบุว่ามีผู้ป่วยที่ต้องเริ่มทำการรักษาทันทีอีกจำนวนมาก
"ผมไม่คิดว่า พม่าจะสามารถรับมือได้ในขณะนี้" ปีเตอร์ พอล เดอ กรูท หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติงานของ MSF ในพม่ากล่าว แม้ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเพิ่มงบประมาณด้านสุขภาพมากขึ้น แต่ระบบสุขภาพของพม่ายังคงล้าหลังประเทศเพื่อนบ้านอยู่มาก "เราสนับสนุนข้อเสนอแนะใหม่จาก WHO อย่างเต็มที่ มันจะทำให้มีการพัฒนาทั่วโลก แต่คุณต้องการทรัพยากรเงินทุนและเจ้าหน้าที่"
จำนวนเม็ดเลือดขาวกับการรักษา
ข้อแนะนำใหม่ของ WHO ระบุว่า ผู้ป่วยควรจะได้รับการรักษาโดยการใช้ยาต้านไวรัสเมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นตัวที่จะเข้ามาต่อสู้กับเชื้อไวรัส ลดจำนวนลงเหลือ 500 เซลล์ต่อปริมาณเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร หรือตำกว่านี้ ซึ่งจำนวนเม็ดเลือกขาวเป็นตัวบ่งชี้ว่าระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยถูกทำลายไปมากน้อยเแค่ไหน ทั้งนี้ ข้อแนะนำก่อนหน้านี้แนะนำให้ทำการรักษาผู้ป่วยที่มีจำนวนเม็ดเลือกขาวต่ำกว่า 350
นอกจากนี้ ตามคำแนะนำใหม่ระบุว่า ผู้ป่วย HIV ซึ่งรวมไปถึงสตรีมีครรภ์ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคและไวรัสตับอักเสบบี ควรได้รับการรักษาหลังการวินิจฉัยโรคโดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงระดับเม็ดเลือดขาว
อย่างไรก็ตาม ประเทศทั่วโลกกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ยอมรับคำแนะนะจาก WHO เมื่อปี 2010
นักวิทยาศาสตร์แนะนำว่า ผู้ป่วยทุกคนควรจะเริ่มรับการรักษาทันทีที่มีการวิฉัยโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค แต่สำหรับข้อแนะนำของ WHO ส่วนใหญ่จะใช้ในประเทศที่ยากจนอย่างพม่า ที่ต้องพึ่งพาเงินบริจาคในการรักษา
สำหรับประเทศพม่าปัจจุบันได้ปฏิบัติตามคำแนะนำฉบับเดิมก่อนหน้านี้ ที่จะทำการรักษาผู้ป่วยที่มีจะนวนเม็ดเลือดขาวน้อยว่า 350 แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ผู้ป่วยมักจะถูกปฏิเสธการรักษาจนกว่าเม็ดเลือดขาวจะลดจำนวนเหลือเพียง 150
ซึ่งในกรณีดังกล่าว ปีเตอร์ พอล เดอ กรูท กล่าวว่าในคลินิกของ MSF หลายแห่งจำเป็นที่จะต้องตัดสินใจด้วยความลำบากใจว่า ผู้ป่วยคนไหนที่จะได้รับการรักษา
"มีผู้ป่วยมารักษาจำนวนมาก เราถูกบีบบังคับให้รับผู้ที่อาการหนักที่สุดมาทำการรักษาก่อน" เขาบอก "เพราะฉะนั้นเรา จึงเลือกผู้ที่มีจะนวนเม็ดเลือดขาวอยู่ที่ 150 หรือต่ำกว่านี้ พวกเขาหล่านี้กำลังจะตาย ถ้าพูดกันตามตรง และขอให้ผู้ป่วยที่มีจำนวนเม็ดเลือกขาวระหว่าง 150 ถึง 350 กลับมาตรวจเลือดอีกครั้งในอีกหลายเดือน"
เนื่องจากมีการตัดการรักษา เขาบอกว่า "มันเป็นการรักษาชีวิต ผู้ป่วยเหล่านี้อาการหนักที่สุด เนื่องจากขีดความสามารถของพม่า"
MSF เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส โดยได้เปิดคลินิกมากกว่า 20 แห่งในย่างกุ้งเพื่อรักษาผู้ป่วยเอชไอวีได้มากกว่า 3 หมื่นคนต่อปี โดยคิดเป็นจำนวนยาต้านไวรัสมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ
ปีเตอร์ พอล เดอ กรูท กล่าววว่า การรักษาผู้ป่วยแต่เนิ่นๆ จะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ในช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยยังทำงานได้ดี เพราะแพทย์ไม่จำเป็นต้องจ่ายยาเพิ่มเพื่อรักษาการติดเชื้ออื่นๆ ที่แทรกซ้อน
"ถ้าผู้ป่วยมาตอนที่โรคยังไม่แสดงอาการ จะง่ายต่อการจัดการมากและไม่จะเป็นต้องมีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงเพื่อควบคุมให้อาการคงที่ แม้ว่าจะทำให้มีจำนวนคนเข้ามารักษามากขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว การรักษาต่อคนก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ามาก"
แต่ละหน่วยงานมีราคาใช้จ่ายสำหรับยาต้านของตัวเอง แต่โดยประมาณแล้วอยู่ที่ 350 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี สำหรับผู้ป่วยเอชไอวีในพม่าหนึ่งคน ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จพเป็นต้องใช้ไม่ใช่เฉพาะสำหรับยาต้านไวรัสเท่านั้น แต่ยังมีค่าการเทส ค่าเจ้าหน้าที่และยาสำหรับการติดเชื้ออื่นๆ ด้วย
อุปสรรคอื่น ๆ
การมองว่าการติดเชื้อเอชไอวีเป็นเรื่องอัปยศอดสูนั้นเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งที่ขัดขวางการให้การรักษาผู้ป่วยในพม่า
"การแบ่งแยก โดยเฉพาะต่อประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง อย่างกลุ่มชายรักชาย ผู้ขายบริการ และผู้ที่ติดยาเสพติด ถูกซ้ำเติมโดยกฎหมายที่มีการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนดังกล่าว เป็นการกีดกันไม่ให้ผู้คนเหล่านั้นเข้าถึงการรักษาได้" เมียวตั้นอ่อง ผู้นำกลุ่มผู้ติดเชื้อในพม่า (Myanmar Positive Group) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้คำปรึกษาผู้ป่วยเอชไอวีทั่วประเทศ กล่าว เขาได้เรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณและเรียกร้องให้แหล่งทุนนานาชาติให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำฉบับใหม่ของ WHO
ด้านนางอองซาน ซูจี สัญลักษณ์ทางประชาธิปไตยของพม่าได้ต่อสู้เพื่อยุติการแบ่งแยกผู้ป่วยเอชไอวีเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทูตเพื่อต่อสู้กับเอชไอวี/เอดส์ ขององค์กร UNDAIDS โดยสหประชาชาติเมื่อปีที่แล้ว โดยได้ร่วมในพิธีจุดเทียนเพื่อรำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตจาอเอชไอวี นอกจากนี้พรรคเอ็นแแอลดีของนางยังได้จัดตั้งคลินิกเพื่อรักษาผู้ป่วยเอชไอวีในย่างกุ้งอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ข้อปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยเอชไอวีระหว่างประเทศเป็นเพียงจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งเท่านั้น ดร.วิทย์ สุวรรณวานิชกิจ นักวิจัยด้านสาธารณะสุขที่ทำงานอยู่ในแขตชายแดนไทย-พม่ามากกว่า 10 ปีกล่าว "ยังมีประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างด้วยที่จะต้องจัดการ ถ้าเราคำนึงถึงเป้าหมายที่จะทำการรักษาผู้ป่วยทุกคนโดยเฉพาะในระยะแรกของโรค"
นอกเหนือจากการมองว่าการติดเชื้อเอชไอวีเป็นเรื่องอัปยศอดสูและการลงโทษตามกฎหมายแล้ว ระบบสาธารณสุขที่ย่ำแย่ในเขตชนบทก็เป็นอีกเรื่องที่น่ากังวลอยู่ในขณะนี้ "มันจำเป็นต้องมีสันติภาพการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลายด้านและในพื้นที่ที่มีประชากรที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวนมากอย่างเช่นในหลายพื้นที่ในรัฐคะฉิ่น" ดร.วิทย์ กล่าว
ไกลออกไปจากตัวเมืองย่างกุ้งซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพมากที่สุดในประเทศ เอชไอวีเป็นปัญหาหลักในเหมืองแร่หลายแห่งในรัฐฉานและรัฐคะฉิ่นที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ เนื่องจากมีจำนวนแรงงานอพยพจำนวนมาก จึงมีอัตราการใช้ยาเสพติดและการค้าบริการทางเพศ นอกจากนี้พั้นที่ดังกล่าวยังมีการสู้รบกันระหว่างกองกำลังของรัฐกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ยังคงมีการโจมตีอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีการเจรจาสันติภาพแล้วก็ตาม
ดร.วิทย์ เห็นพ้องว่า ข้อตกลงใหม่ของ WHO อาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้จริงในพม่า "ในความเป็นจริง หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือก็ประสบกับปัญหากับการปฏิบัติตามข้อแนะนำฉบับเก่าในการเริ่มให้การรักษาผู้ป่วยในช่วงท้ายๆ ของระยะของโรคอยู่แล้ว ข้อแนะนำใหม่จะส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยที่รอรับการรักษาในทันทีเพิ่มมากขึ้น"
ดร.วิทย์ ทำงานร่วมกับนักวิจัยด้านสุขภาพคนอื่นๆ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณสนันสนุนด้านสุขภาพมากขึ้น โดยปัจจุบันรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์สำหรับเรื่องสุขภาพ ซึ่งเพิ่มมากกว่าปีก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลให้งบประมาณด้านสุขภาพน้อยกว่า 1 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี
งบประมาณสนันสนุนสำหรับยาต้านเชื้อเอชไอวีมาจากแหล่งทุนนอกประเทศ โดยเฉพาะกองทุนโลกเพื่อต่อสู้กับเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย ซึ่งองค์กรดังกล่าวได้ระงับเงินบริจาคในปี 2005 เนื่องจากถูกแทรกแซงการดำเนินงานจากรัฐบาลทหารชุดก่อน สำหรับภายใต้รัฐบาลชุดใหม่นั้น องค์กรดังกล่าวเตรียมมอบเงินสนันสนุนกว่า 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรับต่อสู้กับเอชไอวีในพม่าไปจนถึงปี 2016
ปีเตอร์ พอล เดอ กรูท กล่าวว่า งบประมาณจำนวน160 ล้านดอลลาร์สหรัฐนี้จะสามารถรักษาผู้ป่วยได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่ต้องการยาต้านเชื้อ ตามเงื่อนไขข้อแนะนำขอ WHO ฉบับเดิม ก่อนที่จะคุยกับแหล่งทุนเรื่องการปฏิบัติตามข้อแนะนำฉบับใหม่ เขากล่าวว่าพม่าจำเป็นต้องแสดงให้เห็นว่าพม่ามีขีดความสามารถที่จะรองรับการรักษาผู้ป่วยที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นอยากรวดเร็ว
"ผู้ป่วยทุกคนที่ต้องการรับการรักษา จะต้องได้รับการบำบัด" เขากล่าว "ยังมีงานหลายอย่างต้องทำ และถ้าคุณมองไปที่ประเทศอื่นรอบๆ พม่า พม่านั้นล้าหลังและกำลังวิ่งตามให้ทัน"
==========================================
แปลจาก New Global HIV Guidelines Highlight Burma’s Health Care Woes โดย SAMANTHA MICHAELS / THE IRRAWADDY 2 กรกฎาคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น