วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ฤๅเฟซบุ๊ก จะเป็นตัวเติมเชื้อไฟแห่งความเกลียดชังในพม่า?

fb

ย่างกุ้ง ประเทศพม่า - คอมพิวเตอร์แล็บท็อปหลายเครื่องที่สุมกันอยู่ในห้องเช่าโทรมๆ แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง คือศูนย์บัญชาการของกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านการใช้ถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชัง(hate speech)ในพม่า แม้แม้จะไม่ใหญ่โตโอ่อ่า แต่ก็ทำงานกันอย่างกระตือรือร้น

ดอกไม้สีขาวถูกปักอยู่ในขวดแก้ววางอยู่บนโต๊ะที่ล้อมรอบไปด้วยเหล่าอาสาสมัคร ที่นั่งขัดสมาธิอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ของใครของมัน

กลุ่มคนหนุ่มสาวเหล่านี้ทำงานให้กับกลุ่ม ปานสการ์ (Panzagar) ซึ่งเป็นกลุ่มภาคประชาสังคมที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านกระแสการใช้ถ้อยคำที่สร้างความรุนแรงในโลกออนไลน์ ด้วยพลังของดอกไม้ หรือถ้าจะให้ถูกต้องคือ การใช้ภาษาดอกไม้

"ตอนนี้ ถ้าเปรียบเทียบกับยุครัฐบาลทหาร เรามีเสรีภาพมากกว่าเดิม ไม่มีการเซ็นเซอร์ เราสามารภใช้อินเทอร์เน็ต และเขียนอะไรก็ได้ในเฟซบุ๊ก" เนย์โพนแล็ต จากกลุ่มปานสการ์กล่าว "แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีคนจำนวนมากที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกอย่างผิดๆ"

ในปี 2013 เขาได้ก่อตั้งกลุ่ม ปานสการ์ ซึ่งแปลว่า ภาษาดอกไม้ เพื่อเป็นการตอบโต้การต่อต้านชาวมุสลิมอย่างดุเดือดที่แพร่กระจายไปทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการปะทะกันหลายครั้ง

มีประชาชนเสียชีวิตไปกว่า 250 คนในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นและมากกว่า 140,000 คนต้องอาศัยอยู่ในค่ายพักพิงชั่วคราว ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงยา แม้ว่าจะมีวัด บ้านเรือน และร้านค้าของชาวพุทธบางแห่งถูกเผาทำลายในเหตุการณ์ด้วยก็ตาม

"นับตั้งแต่เกิดเหตุรุนแรงในรัฐยะไข่ เราจะเห็นว่าในโลกออนไลน์มีข้อความที่สร้างความเกลียดชังแพร่กระจายออกไปซึ่งน่าวิตกมากขึ้นและเป็นอันตรายมากขึ้น" วาย วาย นู นักเคลื่อนไหวอีกคนหนึ่งกล่าว "ผมคิดว่าเฟซบุ๊กเป็นวิธีแพร่กระจายข้อความเกลียดชังที่ได้ผลที่สุด มันได้แพร่กระจสยออกไปแล้วและแปดเปื้อนในใจผู้คน"

กลุ่มปานสการ์ได้จัดทำโปสเตอร์ แผนพับ และสื่ออื่นๆ ทางออนไลน์ "แล็ตบอกว่า เข้าไปดูในบัญชีเฟซบุ๊กของชาวพุทธที่เกลี่ยดชังชาวมุสลิมแล้วพบว่า หลายคนใช้นามแฝง"

'สุนัขมุสลิม'


มีความคิดเห็นหนึ่งจากคนชื่อ ข่ายตูเรนเมียว บอกว่า "เราควรฆ่าชาวมุสลิมทุกคนทิ้ง ไม่ควรมีชาวมุสลิมในพม่า"

ขณะที่ซอว์ ซอว์มิน ตอบว่า "ทำไมเราจะไล่พวกสุนัขมุสลิมออกไปไม่ได้?" สุนัขมุสลิม เป็นคำที่ใช้กันบ่อยในกลุ่มหัวรุนแรงในการกล่าวร้ายชาวมุสลิมในพม่า

กลุ่ม Voices that Poison ซึ่งเป็นกลุ่มด้านสิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา ระบุว่า คำพูดที่ใช้อธิบายเหยื่อให้เป็น สัตว์พาหะ สัตว์เลี้ยง แมลง หรือสัตว์ เป็นการตีตรายั่วยุที่นำไปสู้ความรุนแรง ไปจนถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะเป็นการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของเหยื่อ

เสรีภาพในการพูดเป็นเรื่องที่ใหม่มากในประเทศที่ตกอยู่ภายใต้การเซ็นเซอร์อย่างหนักหน่วงและการถูกโดดเดี่ยวจากนานาชาติมาเป็นวลากว่าครึ่งศตวรรษ

เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ในขณะที่อดีตรัฐบาลทหารพม่าได้ผ่อนคลายกฎเหล็กลงมาก การรุมล้อมโจมตีจากชาวพุทธและการไม่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างถูกปล่อยให้เกิดขึ้น ในขณะที่ข้อความที่สร้างความเกลียดชังในอินเทอร์เน็ตไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ชนบทซึ่งเป็นที่ที่เกิดความรุนแรง แต่คิดว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในไม่กี่ปีจากนี้เพราะเริ่มมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น

แม้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิรูปข้อมูลข่าวสาร แต่พม่ายังมีทั้งโลกอนาล็อกและดิจิตอลรวมกัน เจ้าหน้าที่ธนาคารยังคงใช้โทรเลขเพื่อส่งข้อความรหัสไปยังที่อื่น ในขณะที่รัฐบาลได้ประกาศเรื่องโครงการพันล้านดอลลาร์และใบอนุญาตสำรวจบล๊อกน้ำมันผ่านทางเฟซบุ๊ก แต่การตอบรับเรื่องร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนศาสนา กลับให้แจ้งผ่านแฟกซ์

นิตยสารอิระวดี ได้เรียกนาย เย ทุต โฆษกรัฐบาลพม่า ว่า "รัฐมนตรีเฟซบุ๊ก" เนื่องจากใช้สื่อสังคมออนไลน์บ่อย

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซิมการ์ดโทรศัพท์ในพม่ามีราคาหลายพันดอลลาร์ แต่ในตอนนี้บริษัท อูรีดู จากการ์ตา และ เทเลนอร์ จากนอร์เวย์กำลังจะทำให้ประชาชนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด 60 กว่าล้านคนมีโทรศัพท์มือถือใช้ภายใน 5 ปี จากปัจจุบันที่มีผู้ใช้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์

"การใช้เฟซบุ๊กก็มีหลักจริยศาสตร์" เย ทุต เขียนในเฟซบุ๊กของเขา "ข้อความที่เราโพสต์ไม่ควรจะเป็นข้อความที่แพร่กระจายความเกลี่ยดชังหรือการโจมตีส่วนตัว"

โอบล้อมด้วยศัตรู


[caption id="attachment_7569" align="aligncenter" width="330"]เนย์โพนแล็ต ผ฿้ก่อตั้งกลุ่มปานสการ์ (Panskar) เนย์โพนแล็ต ผู้ก่อตั้งกลุ่มปานสการ์ (Panskar)[/caption]

ประชากรกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในพม่าเป็นชาวพุทธนิการเถรวาท พระสงฆ์เป็นบุคคลที่คนเคารพนับถือมาก และอยู่เหนือการตำหนิเสื่อมเสียใดๆ พระสงฆ์จำนวนมากเชื่อว่าตัวตนของชาวพุทธในพม่ากำลังถูกคุกคาม ซึ่งคำสอนของพระสงฆ์นั้นเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดความคิดเรื่องการตกเป็นเหยื่อและการถูกรุมล้อมด้วยศัตรูอยู่ในใจ

อะชินกุมาระ พระอาวุโสรูปหนึ่ง กล่าวว่า ประเทศของเขากำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกทำให้เป็นประเทศอมุสลิม สะท้อนความคิดเดียวกับของผู้นำชาตินิยมชาวพุทธคนอื่นๆ ทั่วประเทศ แม้จะไม่มีหลักฐาน แต่ก็เชื่อว่า ชาวมุสลิมโรฮิงยาที่อยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศกำลังพยายามที่จะแยกดินแดนเป็นของตัวเอง ซึ่งประชากรชาวมุสลิมม่ความสามารถในการเพิ่มจำนวนประชากรได้ดีกว่าชาวพุทธ

"(ชาวโรฮิงยา)ออกมาจากมัสยิต ตะโกนคำขวัญว่า 'ฆ่าชาว(พุทธ)ยะไข่ ดินแดนนี้เป็นของเรา เราต้องยึดดินแดนยะไข่และเป็นส่วนหนึ่งของบังกลาเทศ'" พระอะชินกุมาระ บอกกับสำนักข่าวอัลจาซีราที่วัดในย่างกุ้ง

จ่อมิน ประธานพรรคสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของชาวโรฮิงยา ปฏิเสธเสียงข้อกล่าวหาดังกล่าวเสียงแข็ง เขากล่าวโทษนักการเมืองที่ออกมาเห็นด้วยกับความเกลียดชังทางศาสนาทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการใช้เหตุรุนแรงขัดขวางกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย

"ชาวโรฮิงยาไม่ได้ต้องการอย่างนั้น" จ่อมิน บอกกับสำนักข่าวอัลจาซีราทางโทรศัพท์ "นี่เป็นแค่ความเข้าใจที่ผิดๆ เป็นข้ออ้างในการกดขี่ชาวโรฮิงยา ชาวมุสลิมไม่ได้เป็นผู้รุกราน (ความคิดนี้) เป็นการสร้างขึ้นมาของกลุ่มที่มีผลประโยชน์โดยมีจุดประสงค์ทางการเมือง"

เสียงสะท้อนของความเกลียดชัง


ข้อความหนึ่งที่โพสต์ในหน้าเฟซบุ๊กที่ว่ากันว่าเป็นของพระอชิน วิราทุ ผู้นำกลุ่ม 969 ซึ่งเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านชาวมุสลิม กล่าวว่า "ผู้ก่อการร้านทุกคนเป็นชาวมุสลิม ... พวกเขาฆ่าชาวหญิงที่บริสุทธิ์ ดังนั้น สันติภาพและชาวมุสลิมไม่เกี่ยวข้องกัน" ข้อความดังกล่าวได้รับการแชร์ต่อจำนวน 136 ครั้ง

มีเหตุผลทั้งทางสังคมและทางเทคนิกที่ทำให้เฟซบุ๊คมีการใช้จำนวนมากในพม่า เพราะใช้แบนด์วิธต่ำในการโหลดข้อมูล ใช้งานง่ายในกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ และสามารถใช้ฟอนต์ภาษาพม่าได้ดีหากเทียบกับสื่อออนไลน์อื่นๆ อย่าง ทวิตเตอร์เป็นต้น

สำหรับประเทศที่จมอยู่ภายใต้ลัทธิอำนาจนิยมมาหลายทศวรรษ เฟซบุ๊กเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมมากในการเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล และความคิด แมธทิว ซสเลอร์ จากกลุ่มปอว์งกู ซึ่งเป็นกลุ่มภ่คประชาสังคม กล่าว

การใช้งานเฟซบุ๊กเป็นไปในทางเดียวกันกับสิ่งที่ผู้คนปฏิบัติมาช้านานเพื่อความอยู่รอดในช่วงลัมธิอำนาจนิยม ซิสเลอร์ กล่าวว่า "ข่าวลือ และข้อมูลจากปากต่อปากได้รัยความน่าเชื่อถือมากกว่าข่าวและประกาศจากรัฐบาลในประเทศที่การเซ็นเซอร์และโฆษณาชวนเชื่อได้กลายเป็นบรรทัดฐานในสังคมไปแล้ว โดยสื่อสังคมออนไลน์เป็นเหมือนโทรโข่งขยายเสียงให้ "

เขากังวลว่า เฟซบุ๊กจะกลายเป็นห้องสะท้อนเสียงที่ผู้ใช้เลือกแหล่งข้อมูลด้วยตัวเองเพื่อนำมาเป็นเหตุผลและเสริมอุดมการณ์ที่จะสามารถก่อให้เกิดความรุนแรงในกลุ่มมวลชนได้

"มันยากที่จะชี้หลักฐานที่ชัดเจนได้ว่า เฟซบุ๊กนั้นเห็นตัวเติมเชื้อไฟให้กับถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชัง แต่ที่แน่ๆ เว็บไซต์ดังกล่าวง่ายต่อการทำให้เกิดเรื่องเล่าที่มีข้อมูลผิดๆ และอันตรายที่จะแพร่กระจายข้ามขอบเขตไปได้อย่างรวดเร็ว " เอล่า คาแลน นักศึกษาสื่อสารมวลชนจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ที่ทำงานกับสำนักข่าวอัลจาซีรา กล่าว

นอกจากนี้ เฟซบุ๊กเอง ที่อ้างว่ามีผูใช้กว่า 1.2 พันล้านคนทั่วโลก ไม่ได้ออกมาเป็นผู้ลดความรุนแรงของเนื้อหา แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ใช้เอง โดยให้ความสำคัญกับ 2 สิ่ง นั่นคือ ให้เครื่องมือแก่ผู้ใช้เพื่อเข้าถึงบุคคลที่โพสต์เนื้อหานั้นและตอบรับการแจ้งเนื้อหาที่มีความรุนแรงตามมาตรฐานของเฟซบุ๊ก แม็ต สเตนฟิลด์ จากเฟซบุ๊กกล่าว

ผู้คนไม่สามารถแจ้งเนื้อหาที่มีความรุนแรงเป็นภาษาพม่าได้ แม็ต สเตนฟิลด์ กล่าวในอีเมล์ถึงอัลจาซีรา ว่า "เรากำลังหาวิธีที่จะช่วยให้ผู้คนแจ้งเนื้อหาในเฟซบุ๊กที่ทำให้พวกเขามีความกังวลอยู่"

ทุกฝ่ายเห็นว่า การให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมสื่อสังคมออนไลน์นั้นจะเป็นการก้าวถอยหลัง และเป็นการยอมแพ้ต่อความคิดที่ว่า พม่ายังไม่พร้อมที่จะรับเสรีภาพและประชาธิปไตยที่มีความรับผิดชอบ

น้อยคนที่จะเข้าใจถึงอันตรายจากการให้รัฐใช้กฎหมายควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ได้ดีเท่าเนย์โพนแล็ต เพราะในช่วงรัฐบาลเผด็จการทหารชุดก่อน เขาต้องถูกคุมขังในคุกถึง 4 ปีจากการเคลื่อนไหวทางสังคมในโลกออนไลน์ ภายใต้กฎหมายที่ยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้

"ถ้าเราไม่ควบคุมเอง ...พวกเขาจะเอาอำนาจของเราคืน" เขากล่าว

 

จาก Facebook in Myanmar: Amplifying hate speech?
โดย Hereward Holland 14 มิถุนายน 2557 aljazeera


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น