วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557
จีน - พม่า ในวันที่สัมพันธ์เริ่มเหินห่าง
ย่างกุ้ง- เมื่อปี 2011 รัฐบาลพม่าได้ยอมอ่อนข้อให้ประชาชนในประเทศ ซึ่งไม่ได้เห็นกันบ่อยนัก โดยได้ระงับโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ลงทุนโดยรัฐวิสาหกิจจีน ปัจจุบันพบว่า เสียงที่ต่อต้านจีน ประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ทางตอนเหนือกำลังดังขึ้น และรับมือได้ยากขึ้นเรือยๆ
โครงการก่อสร้างเขื่อนมิตส่งดังกล่าวดำเนินการก่อสร้างบนแม่น้ำอิรวดี ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่ใหญ่ที่สุดในพม่า ประชาชนในพม่าถือว่าแม่น้ำสายนี้ ซึ่งไหลจากทางเหนือไปยังทิศใต้ เป็นเสมือนแหล่งกำเนิดอารยธรรมและรู้สึกว่ากำลังถูกโครงการดังกล่าวหลอกใช้
จีนจะเป็นผู้ที่ได้รับไฟฟ้า 90 เปอร์เซ็นต์ที่ผลิตได้ ซึ่งนักสิ่งแวดล้อมได้ต่อต้านโครงการดังกล่าว
เขื่อนดังกล่าวอาจจะไม่ใช้การลุงทุนที่ฉลาดนักสำหรับพม่าถ้าจะคำนึงถึงเรื่องเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว วินเมียวตู ผู้จัดการทั่วไปของ EcoDev กลุ่มปกป้องสิ่งแวดล้อมในพม่า กล่าว ประชาธิปไตยที่เพิ่มเริ่มต้นขึ้นในพม่ายังไม่แข็งแรงพอที่จะรับมือกับโครงการดังกล่าว เขากล่าว โครงการดังกล่าวการวางแผนไว้ว่าจะใช้เงินลงทุนกว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับโครงการใหญ่ขนาดนี้ที่จะเงินเกินงบ สำหรับจีนแล้ว นั่นไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่อาจจะหนักหนาสาหักมากสำหรับเศรษฐกิจพม่า เขากล่าว
การสร้างเขื่อนดังกล่าวยังจำเป็นต้องย้ายคนที่อยู่อาศัยดั้งเดิมออกจากพื้นที่ "สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลที่ทำการเกษตรเลี้ยงชีพ ความเสี่ยงจะถูกบีบให้ละทิ้งที่ทำกินของตนเองทำให้พวกเขามีทางเลือกอยู่น้อยนิด" อิอิมิน ผู้ก่อตั้ง องค์กร Point องค์กรเอ็นจีโอที่ให้คำปรึกษาเรื่องสิทธิของชนกลุ่มน้อยกล่าว
"ตราบใดที่พวกเขาสามารถตกลงกับรัฐบาลได้ พวกเขาก็สามารถทำทุกอย่างที่ต้องการได้" เธอกล่าว
นักวิจารณ์ในพม่ายังได้ออกมาต่อต้านการสร้างท่อส่งก๊าซและน้ำมันจากทะเลลึกทางภาคตะวันตกของประเทศขึ้นฝั่งที่เมืองเมืองจ๊อกผิ่วเพื่อส่งไปยังเมืองคุนหมิง เมืองหลวงของมณฑลยูนนาน ซึ่งมีชายแดนติดกับพม่า
มีการประท้วงเรื่องความขัดแย้งหลายอย่าง ซึ่งรวมไปถึงการจ่ายค่าชดเชยให้กับชาวบ้านในพื้นที่และมีความกังวลเรื่องอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการได้ระงับไปเมื่อปีที่แล้ว หลังจากการดำเนินงานในพม่าเสร็จสิ้น
ทั้งนี้ โครงการเขื่อนมิตส่งได้เน้นย้ำให้เห็นถึงทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปของพม่าต่อจีน ซึ่งจนกระทั่งเมื่อหลายปีที่ผ่านมาได้รับการต้อนรับที่ดีจากรัฐบาลทหารในฐานะคู่ค้าและผู้ลงทุนที่ใกล้ชิด ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากประเทศตะวันตกได้คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลทหารพม่าหลังใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมประท้วงเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปี 1988
ประชาชนทั่วไปในพม่าได้ประนามจีนและความสัมพันธ์ของจีนที่มีต่อรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งปกครองประเทศถึงปี 2010 ฐานที่ปิดกั้นไม่ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วเข้ามาแทรกแซง วินเมียวตู กล่าว
"ทุกครั้งที่สภาความมั่นคงของยูเอ็นลงคะแนนเสียงว่าจะลงโทษรัฐบาลชุดก่อนหรือไม่ จีนก็จะใช้อำนาจวีโต้เสมอ" เขากล่าว "นั่นทำให้ชาวพม่ารู้สึกว่า รัฐบาลทหารพม่าสามารถอยู่ได้และยังคงกดขี่พวกเขามาได้อย่างอย่างยาวนานก็เพราะจีน"
สิ้นสุดความเป็นพี่น้อง
หลายสิ่งหลายอย่างเริ่มเปลี่ยนแปลง รัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2010 จากการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉฐับใหม่ ได้ทำการปฏิรูปเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยและยอมให้ประชาชนได้มีสิทธิมีเสียงแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งรวมถึงความโกรธแค้นที่มีต่อจีนด้วยเช่นกัน มีการวิพากษ์วิจารณ์เพิ่มขึ้นทั้งในโลกออนไลน์และในบทความในสื่อที่ไม่เป็นทางการ
แรงงานข้ามชาติจากจีนจำนวนมากได้เริ่มเข้ามาในพม่าเมื่อช่วงปี 1990 ประชาชนชาวพม่าหลายคนไม่ชอบพวกเขา โดยโทษว่าทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น บางส่วนก็กลัวว่าจะมาคุกความวิถีชีวิตของเขา
ในมัณฑเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศและเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของประเทศ จากสถิติของทางการแสดงให้เห็นว่า มีแรงงานชาวจีนหรือลูกหลานอย่างน้อย 400,000 คนในมัณฑเลย์ ประชาชนในพื้นที่กล่าวว่า มีโฆษณาที่เป็นภาษาจีนเยอะขึ้น
สำหรับชาวย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในพม่า กล่าวว่า พวกเขาไม่ไว้ใจสินค้านำเข้าจากจีน
กลุ่มปัญญาชนได้มีการคว่ำบาตรสินค้าจากจีนหลายครั้งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา และไม่ได้รับการสนับสนุนมากนัก หญิงคนหนึ่งกล่าว
"สินค้าจากจีนมีราคาถูก และเราก็ยากจน" เธอกล่าว "เราไม่อยากซื้อเพราะเรารู้ว่ามันไม่ทน แต่เราก็ไม่มีทางเลือกอื่น"
นักศึกษาปริญญาโทด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนหนึ่งกล่าวว่า "จีนยึดที่จะหาผลประโยชน์จากการค้ามากกว่า เพราะเขาขายของราคาถูกให้เราและบางอย่างก็ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเลย"
ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับชาติตะวันตกเริ่มพัฒนาขึ้นหลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2010 บรรดาผู้นำจากสหรัฐ สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป ได้เขาพบกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง รวมทั้งได้ผ่อนคลาย หรือยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่าเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย
ด้านประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนได้แสดงออกถึงการสนับสนุนพม่าโดยให้พม่าดำรงตำแหน่งประธานในปี 2014
นักวิเคราะห์ต่างสงสัยว่า การอ้าแขนรับประชาธิปไตยของทางตะวันตกจะหมายความว่าจีนจะได้รับนิยมชมชอบจากชาวพม่าน้อยลงหรือไม่
รัฐบาลได้กล่าวไว้ว่า ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศเพื่อนบ้านจะยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และยังคงถือว่าความสัมพันธ์จีนเป็นเหมือนพี่น้อง แต่สำหรับประชาชนคนธรรมดานั้น ความเป็นพี่เป็นน้องนั้นจางหายไปนานแล้ว และตอนนี้ไม่มีใครนับถือจีนเป็นพี่น้องอีกต่อไปแล้ว ฟาน หงเว่ย ผู้เชี่ยวชาญด้านพม่าจากมหาวิทยาลัยเซียะเหมิน กล่าว
แปลจาก Formerly a Brother, Many in Myanmar Now See China as a Big Bother โดย Chen Lixiong
Caixin online 3 กย 57
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น