เอเอฟพี - ภาพยนตร์เรื่องใหม่เกี่ยวกับชีวิตของนางอองซานซูจี แบบละเมิดลิขสิทธิ์ถูกนำมาวางขายเต็มท้องถนนในนครย่างกุ้ง เมื่อบรรดาพ่อค้าชาวพม่าทดสอบขอบเขตเสรีภาพครั้งใหม่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลพลเรือน
[caption id="attachment_3708" align="alignnone" width="650" caption="ชายชาวพม่ากำลังเลือกซื้อดีวีดีภาพยนตร์ที่ร้านริมถนนแห่งหนึ่งในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 3 ก.พ. ภาพยนตร์เรื่อง The Lady ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนางอองซานซูจี มีผู้ค้าบางรายนำมาวางขายในตลาดมืด ขณะที่ทางการห้ามฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ในประเทศ. -- AFP PHOTO/Soe Than Win."][/caption]
“The Lady” ภาพยนตร์ชีวประวัตินางอองซานซูจี ความยาว 2 ชั่วโมง กำกับโดย ลุค เบซง ชาวฝรั่งเศส นำแสดงโดย มิเชล โหย่ว ได้รับเสียงวิจารณ์อย่างหลากหลาย แต่ก็ไม่สามารถขัดขวางชาวพม่าซื้อหาดีวีดีคุณภาพไม่ดีเหล่านี้กลับไปชมที่บ้าน
“คุณภาพไม่ดีแต่ผู้คนก็ยังซื้อ” คนขายริมถนนคนหนึ่งกล่าว และว่า คนที่ดูภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วระบุว่า นางซูจี ตัวจริงนั้นดีกว่าที่ปรากฏบนจอมาก
ช่วงที่รัฐบาลทหารพม่าปกครองประเทศ มีคนขายเพียงไม่กี่รายที่กล้าขายสินค้า เช่น ดีวีดีภาพยนตร์ อย่าง
ภาพยนตร์ The Lady วางขายทั่วตลาดมืดพม่า
เปิดเผยเช่นนี้ จนกระทั่งรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ขึ้นบริหารประเทศเมื่อปี 2554 ในตอนนี้ใบหน้าของนางซูจีปรากฏอยู่บนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์และโปสเตอร์
“ในสมัยก่อนเราไม่สามารถขายของพวกนี้ได้อย่างเสรี เราเห็นคนอื่นๆ ขายดีวีดี เราเลยเริ่มขายบ้าง” คนขายรายหนึ่งกล่าว และว่าหากได้รับคำเตือนให้หยุดขาย พวกเขาก็จะหยุด
ภาพยนตร์ถ่ายทอดเรื่องราวของนางซูจี เมื่อเธอเดินทางกลับมายังพม่าในปี 2531 เป็นช่วงเวลาที่เธอเริ่มต้นต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยโดยปราศจากการใช้ความรุนแรง และการประท้วงจลาจลลุกฮือต่อต้านผู้ปกครองเผด็จการทหารแต่ก็ถูกปราบปรามลงอย่างรุนแรง
ความนิยมของนางอองซานซูจี ถึงจุดสูงสุดในการเลือกตั้งปี 2533 ที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยกวาดคะแนนเสียงอย่างถล่มทลาย แต่ผลการเลือกตั้งครั้งนั้นถูกรัฐบาลเผด็จการทหารปฏิเสธ และนางซูจี ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาถูกควบคุมตัวภายในบ้านพักจนกระทั่งได้รับอิสระในปลายปี 2553
ระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์ “The Lady” มิเชล โหยว ใช้เวลา 2 วัน กับนางซูจี ที่บ้านพักของนางซูจี ในนครย่างกุ้ง และเมื่อนักแสดงหญิงเดินทางไปเยือนพม่าอีกครั้งในเดือน มิ.ย. เธอถูกเนรเทศออกจากพม่า ส่วนผู้กำกับเบซง ใช้สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ในไทย บริเวณใกล้พรมแดนพม่า รวมทั้งถ่ายทำอย่างลับๆ ในพม่าด้วยตัวเอง และใช้ฟิล์มภาพยนตร์ที่นักเคลื่อนไหวสนับสนุนประชาธิปไตยถ่ายไว้ร่วมด้วย
สำหรับรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ของพม่าที่เข้าบริหารประเทศเมื่อปี 2554 สร้างความประหลาดใจให้กับผู้สังเกตการณ์ด้วยการดำเนินการปฏิรูปหลายด้าน เช่น การกลับเข้าสู่สนามการเมืองของพรรค NLD การลงนามข้อตกลงหยุดยิงกับกบฏชนกลุ่มน้อย และการปล่อยตัวนักโทษการเมืองหลายร้อยคน
ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กุมภาพันธ์ 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น