วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรงเรียนในสนามรบ

เมืองไมจายัง รัฐคะฉิ่น – ที่นี่ห่างจากแนวหน้าการสู้รบแค่ 6 ไมล์ นางทุน มะราน รองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมไมจายัง บอก พลางจิบชาไทใหญ่ร้อนๆ อยู่นอกห้องทำงาน ขณะที่สายตาของเธอเหม่อมองออกไปยังสนามฟุตบอลเบื้องล่างที่เต็มไปด้วยฝุ่นดินแดงและมีแต่หลุมบ่อ

 



โรงเรียนแห่งนี้จ้องปิดๆ เปิดๆ อยู่หลายครั้งตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันแรกของการสู้รบระหว่างองค์กรเอกราชคะฉิ่น KIO กับ ตั๊ตมะด่อ หรือ กองกำลังทหารพม่า มันเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง

 

ท่ามกลางข่าวลือที่โหมกระหน่ำว่า กองกำลังทหารพม่าตั้งใจที่จะถล่มฐานที่มั่นของ KIO เมืองชายแดนระหว่างรัฐคะฉิ่นกับจีน นางทุนมะรานบอกว่า ก่อนหน้านี้มีการสู้รบกันหนักและเสียงปืนดังสนั่นทุกวัน และเราก็กลัวว่ามันอาจจะเริ่มขึ้นอีกเหมือไหร่ก็ได้

 

การสู้รบที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นจุดสิ้นสุดของสัญญาหยุดยิงระหว่างทั้งสองฝ่ายที่มีมายางนานกว่า 17 ปี ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว  KIO สามารถควบคุมพื้นที่กว่า 35 เปอร์เซ็นต์ในรัฐคะฉิ่น  ทางของเหนือของประเทศพม่า ดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยาการธรรมชาติและมีเขตแดนติดกับประเทศจีน  นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีประชาชนกว่า 7 หมื่นคนต้องอพยพจากบ้าน ขณะที่ทั้งสองฝ่ายดูเหมือนจะยังไม่สามารถหาข้อยุติความขัดแย้งลงได้ ยิ่งไปกว่านั้น ล่าสุดทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้แม้กระทั่งสถานที่ในการเจรจา หลังจากการเจรจาก่อนหน้านี้ที่เมืองลุ่ยลี่ เขตประเทศจีน ประสบความล้มเหลว

 

ฝั่งคะฉิ่นบอกว่า การหยุดยิ่งไม่ได้แก้ปัญหาทางการเมืองที่ยั่งยืนได้ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลพม่าก็พยายามโน้มน้าวให้กองกำลังคะฉิ่นตอบรับการเข้าร่วมเป็นกองกำลังรักษาชายแดน (Border Guard Force) ของรัฐบาล  สำหรับชาวคะฉิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ทนอกเหนือจากพม่าทุกกลุ่มในประเทศ การตอบรับข้อเสนอดังกล่าวของรัฐบาลพม่า คือจุดจบของการควบคุมเขตพื้นที่ของตนเอง ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าว อนุญาตให้เปิดโรงเรียนที่สอนภาษาคะฉิ่นได้ อย่างโรงเรียนของนางทุนมะราน เป็นต้น

 

พื้นที่อื่นๆ ในรัฐคะฉิ่นที่รัฐบาลพม่าควบคุม ในโรงเรียนของรัฐจะใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอน เป็นเช่นนี้ทั่วประเทศ ขณะที่รัฐบาลได้ห้ามไม่ให้สอนภาษาชนเผ่าอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาพม่า แม้รัฐบาลจะยอมรับว่า ในประเทศมีกลุ่มชาติพันธุ์กว่า 135 กลุ่มก็ตาม

 

การศึกษาและภาษาเป็นประเด็นที่อ่อนไหวในพม่า ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้ประณามการแบ่งแยกชนชาติของรัฐบาลพม่าต่อชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด

 

ถ้าเด็กๆ ไม่ได้เรียนภาษาคะฉิ่น พวกเขาก็จะลืมตัวตนตนของเขา ประวัติศาสตร์ของเขา ทุกอย่าง นางทุนมะราน บอก ที่โรงเรียนของรัฐสอนแต่ประวัติศาสตร์พม่า วัฒนธรรมพม่า

 

จานาน ชาวคะฉิ่นที่ทำงานในมูลนิธิชาลอม ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในย่างกุ้ง กล่าวในการสัมภาษณ์ว่า การศึกษาและภาษาเป็นประเด็นที่ควรจะหยิบยกในการะบวนการปรองดองแห่งชาติระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์พม่ากับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อย่างเช่นคะฉิ่น หวังเหลือเกินว่าจะมีสส. นำประเด็นนี้ขึ้นมาถกกันในสภา

 

เนื่องจากต้องการประนีประนอมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์พม่ากับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ  เธอกล่าวว่า เรากำลังยื่นข้อเสนอหลักสูตรที่ยืดหยุ่นได้ คือเป็นหลักสูตรจากส่วนกลาง 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นหลักสูตรของท้องที่ 40 เปอร์เซ็นต์

 

เช่นเดียวกับนางทุนมะราน  จานานกล่าวว่า การสอนภาษาเป็นเรื่องที่ควรอยู่นอกเหนือการเมือง  แต่มันจะเป็นการดีสำหรับการพัฒนาการศึกษาของเด็กๆ มากกว่า ถ้าพวกเขาได้เรียนภาษาของตัวเอง

 

ที่โรงเรียนไมจายัง ยังมีแรงกดดันอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ปกติแล้วโรงเรียนมีนักเรียนประมาณ 800 คน แต่ขณะนี้มีนักเรียนหนีการสู้รบไปยังประเทศจีนหรือพื้นที่อื่นๆ ในประเทศกว่า 200 คน แต่ก็ใช่ว่า โรงเรียนจะมีที่ว่างเพิ่มขึ้น เพราะมีนักเรียนเข้ามาใหม่กว่า 400 คน ซึ่งเป็นเด็กที่หนีภัยมาจากทั่วทุกพื้นที่ของรัฐคะฉิ่น ส่วนใหญ่เด็กที่ย้ายมาใหม่นี้จะอาศัยอยู่ที่ค่ายพักพิงชั่วคราว ที่รองรับผู้หนีภัยสงครามในพื้นที่ หรือที่เรียกว่า ผู้ลัดถิ่นภายใน ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่หนีภัยอยู่ในพื้นที่ แยกจากผู้ลี้ภัยที่หนีข้ามประเทศเหมือนกับชาวคะฉิ่นหลายคนที่หนีไปยังประเทศจีน ซึ่งเป็นคนละประเภทกัน

 

นางทุนมะรานกล่าวว่า เนื่องกลัวว่าจะมีการสู้รบเกิดขึ้นอีกและขณะนี้เมืองทั้งเมืองตกอยู่ภายใต้กานควบคุมของทหารพม่าหมดแล้ว เราได้ย้ายอุปกรณ์หลายอย่างไปยังฝั่งประเทศจีนแล้ว ทำให้โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนแออัดต้องขาดแคลนอุปกรณ์ มีปัญหาใหม่ๆ ในการเรียนการสอนเกิดขึ้นหลายอย่าง เช่น เด็กๆ หวาดกลัวการสู้รบ ไม่มีสมาธิ โดยเฉพาะเด็กที่เป็นผู้พลัดถิ่นภายใน ที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจมามาก

 

ทุนจานะบราง เด็กหนุ่มชาวเมืองไมจายังวัย 18 ปี กล่าวว่า ผู้คนในไมจายังยินดีต้อนรับพี่น้องคะฉิ่นหลายพันคนที่หนีจากหมู่บ้านร้าง หรือหมู่บ้านที่ทหารพม่ายึดไว้หมดแล้ว พวกเขาต้องเดินทางข้ามหุบเขาและภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยหมอกมาหลายพันไมล์โดยใช้เส้นทางถนนฝุ่นคดเครียวที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านกับเมืองต่างๆ

 

ทุนจานะบรางเรียนอยู่ปีสุดท้ายของโรงเรียน แต่เขาหวังว่าจะได้เข้าร่วมในกองกำลัง KIA ซึ่งเขาบอกว่าได้ไปสมัครเพื่อฝึกอบรมกับ KIA ไว้แล้ว มันใช้เวลา 3 ปี ก่อนที่ผมจะเรียนจบ ถ้าศัตรูเข้ามาที่นี่ ผมก็พร้อมที่จะสู้

 




แปลบทความ School’s Not Out in Kachin State โดย SIMON ROUGHNEEN

จาก Irrawaddy 25 ก.พ. 55

 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น