แม่ฮ่องสอน-ขณะที่หลายองค์กรเพิ่มการสนับสนุนเงินทุนให้แก่การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในพม่ามากขึ้น เงินสนับสนุนช่วยเหลือในค่ายผู้ลี้ภัยคะเรนนีในชายแดนไทยพม่าก็ค่อยๆ ลดลง
เป็นเวลาสิบเดือนแล้วที่รัฐบาลพม่าได้ลงนามในสัญญาหยุดยิงกับพรรคคะเรนนีก้าวหน้า (Karenni National Progressive Party - KNPP) แต่เนื่องด้วยสงครามในรัฐคะฉิ่นกำลังปะทุขึ้นมาอีกครั้ง ผู้ลี้ภัยชาวคะเรนนีในประเทศไทยต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขายังรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะกลับบ้านเกิด
"เราอยากกลับบ้านเกิดแต่เราไม่ไว้ใจรัฐบาล" เอลิซาเบธ มิมาร์ ผู้ประสานงานของวิทยาลัยชุมชนคะเรนนีที่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย ค่ายผู้ลี้ภัยคะเรนนีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กล่าว
"จากประสบการณ์ของเราและความจริงในปัจจุบัน เรามีความคาดหวัง(ในรัฐบาล) น้อยมาก"
เกือบหนึ่งปีหลังจากมีการเจรจาหยุดยิง ผู้ลี้ภัยคะเรนนีต่างรอคอยข้อตกลงสันติภาพที่มั่นคงกว่านี้
"ณ จุดนี้ เรายังไม่ได้เริ่มเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลเลย เราได้แค่เจรจายหยุดยิง" คูอูเร เลขาธิการ KNPP ให้สัมภาษณ์กับ สำนักข่าวอิระวดีเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยเสริมว่า การเจรจาสันติภาพในรายละเอียดจะต้องใช้เวลาอีกหลายปี
กว่าจะถึงวันนั้น ขณะที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลเนปีดอว์ ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยต่างวิตกว่า การกลับบ้านของพวกเขาอาจจะเป็นเรื่องยากขึ้นมาก็ได้
"ผู้บริจาคให้ความสนใจที่จะให้เงินกับโครงการในประเทศพม่ามากขึ้น" มาร์ซอว์ ปีะธานชุมชนคะเรนนี กล่าว
การหยุดยิงที่ไม่แน่นอน
ชีวิตที่บ้านใหม่ในสอยมีความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยนับตั้งแต่มีการเจรจาหยุดยิงครั้งที่สองเมื่อปีที่ผ่านมา
"ผูคนมาๆ ไปๆ" คำซี ผู้ลี้ภัยวัย 18 ปีในค่ายบ้านใหม่ในสอย จังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าว "เรามีเพื่อนบ้านหน้าใหม่ๆ มาตลอด"
การเข้ามาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทยได้รับการดูแลโดยคณะกรรมการระดับจังหวัด
ข้อมูลจากองค์การข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR ระบุว่า การสู้รบเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า ประชากรในค่ายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนจึงเพิ่มมากขึ้นประมาณ 54,000 คน และมีการเข้ามาใหม่อย่างต่อเนื่อง
คำซีเกิดเมื่อปี 1994 หนึ่งปีก่อนที่กองกำลังคะเรนนีกับรัฐบาลพม่าจะทำสัญญาหยุดยิงครั้งแรก ซึ่งล้มเหลวภายในเวลาแค่สามเดือน
"หลังจากการหยุดยิงครั้งแรกล้มเหลว ชีวิตของชาวคะเรนนีก็เลวร้ายลง" มิมาร์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของ คำซี ที่วิทยาลัยชุมชนคะเรนนีกล่าว "นี่คือเหตุผลที่ผู้คนจึงกลัวที่จะกลับไปพม่า พวกเขาไม่แน่ใจว่าสัญญาหยุดยิงจะล้มเหลวอีกครั้งหรือไม่"
คำซีและมีมาร์อยู่ที่ค่ายแห่งนี้มานานหลายปี แต่ละครอบครัวที่นี่อาศัยอยู่ด้วยกันในกระท่อมชั้นเดียวขนาด 150 ตารางฟุต
ข้อมูลจาก UNHCR ระบุว่า ผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่ามีจำนวน 90,790 คนในเดือนนี้
ในขณะที่จำนวนผู้ลี้ภัยเพิ่มขึ้นแต่อาหารกลับลดลง องค์กรชุมชนคะเรนนีกล่าวว่า ผู้บริจาคหันไปให้ความสนใจโครงการที่อยู่ในประเทศพม่าตั้งแต่ประธานาธิบดีเต็งเส่งขึ้นปกครองประเทศในเดือนมีนาคม 2011 ที่ผ่านมาและเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งดึงความสนใจจากชุมชนนานาชาติ
"ก่อนปี 2011 เราได้รับข้าวสารคนละ 50 กิโลกรัมต่อเดือน แต่ตอนนี้เหลือแค่ 20 กิโลกรัม" มิเร ชาวคะเรนนีวัน 20 ปีที่เกิดที่ค่ายบ้านใหม่ในสอย กล่าว นอกจากนี้ หมอก็ประสบกับการขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์เช่นกัน
"ที่คลินิกมีคนไข้แน่นตลอด" เธอกล่าว ที่ค่ายแห่งนี้มีคลินิก 2 แห่งสำหรับประชากรในค่ายที่มีถึง 9,000 คน
ที่นี่จะให้ความสำคัญกับแม่และเด็กเป็นอันดับแรก "สำหรับหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด เราจะฉีดวัคซีนให้และเตรียมไข่ ถั่วเหลือง และน้ำมันให้" มาร์ซอว์ ประธานชุมชนกล่าว
เนื่องจากความยากลำบากในค่าย ชาวคะเรนนี้หลายคนได้ลักลอบหนีออกจากค่ายเพื่อไปหางานทำในเมืองใกล้ๆ มากขึ้น
มาร์ค วัย 27 ปีที่เข้ามาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้เมื่ออายุ 19 ปี ออกไปหางานไปเช้าเย็ยกลับทำงานเมื่อ 5 ปีก่อนในหมู่บ้านใกล้ๆ เขาได้งานระยะยาวและอยู่ที่นั่นอย่างผิดกฎหมายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ตามกฎหมายไทยผู้ลี้ภัยที่อยู่นอกค่ายถือว่าเป็นผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย และจะถูกจับกุม ขังคุกและขับออกนอกประเทศ
"มันง่ายมาก(การหนีออกนอกค่าย)" มาร์ค บอก "สิ่งที่จะยากก็คือตัวงานเอง เพราะหลายต้องใช้เวลาทำหลายชั่วโมงและเป็นงานหนัก"
มาร์คยังจำได้ดีว่า เขาต้องตื่นตั้งแต่ตี 3 เพื่อเริ่มงานในหมู่บ้านในเวลา 6 โมงเช้า "ทำงานประมาณ 10 ชั่วโมงต่อวัน คุณจะได้เงินประมาณ 120 ถึง 150 บาท"
มาร์คเกิดในพม่าจึงกลับประเทศพม่าได้ได้ง่ายกว่าในฐานะพลเมืองพม่า แต่เขาบอกว่าไม่อยากกลับ
"แม้ว่า(ผู้ลี้ภัยคะเรนนีในค่าย) เริ่มจะพูดถึงสัญญาหยุดยิงกันแล้ว แต่ยังไม่มีใครกลับไปพม่าเลย" มาร์ซอว์ กล่าว "โดยเฉพาะตอนที่พวกเขาได้ยินจากญาติหรือได้ฟังข่าวเรื่องสถานการณ์ในรัฐคะฉิ่น"
ความขัดแย้งระหว่างกงกำลังคะฉิ่นกับรัฐบาลพม่าปะทุขึ้นอีกครั้งหลังจากรัฐบาลพม่าเริ่มจู่โจมทางอากาศเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา
การเจรจาสันติภาพที่ยังห่างไกล
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ปีที่แล้ว KNPP ได้ลงนามในสัญญาหยุดยิงหับรัฐบาลพม่าโดยมีผู้สังเกตุการณ์จากนานาชาติ ทั้งจาก UNHCR บริติชเคาน์ซิล และสถานทูตอเมริกัน เป็นสักขีพยาน โดยมีการเจรจากันหลายรอบกับรัฐบาลพม่าในเมืองลอยก่อ เมืองหลวงของรัฐคะเรนนี
แต่อย่างไรก็ตาม คูอูเร หนึ่งในเลขาธิการ KNPP กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายยังอยู่ห่างจากข้อตกลงสันติภาพ "เราจะยังไม่สามารถเดินหน้าต่อไปเพื่อการเจรจาสันติภาพหรือเจรจาเรื่องการเมืองได้ จนกว่าเราจะยุติการสู้รบ "
เขากล่าวว่า การเดินหน้าไปให้ถึงการเจรจาสันติภาพเป็นเรื่องที่ท้าทายเนื่องจากเป็นเรื่องจากที่จะเข้าใจธาตุแท้ของรัฐบาลพม่า "ภายในรัฐบาลพม่ามีสองฝ่ายที่แตกต่างกัน เรารู้สึกว่าในการเจรจาแต่ละครั้งไม่ใช่กับการเจรจากับรัฐบาลพม่าทั้งหมด"
รัฐธรรมนูญฉาวในปี 2008 ที่กำหนดให้ที่นั่ง 25 เปอร์เซ็นต์ในสภาไว้ให้กองทัพ เป็นอีกเรื่องที่เขากังวล
"รัฐธรรมนูญปี 2008 ให้อำนาจแก่กองทังที่คงจะไม่มีทางตกลงทางทหารกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่เราพูดถึงเรื่องตำแหน่งและการเคลื่อนไหวในกองทัพ พวกเขาไม่เคยเห็นด้วยกับเราง่ายๆ "
คำมั่นสัญญา
เมื่อวันที่ 5 มกราคม ทาเนียบประธานาธิบดีได้ประกาศในเว็บไซต์ของทำเนียบว่า นายเต็งเส่ง "ให้คำมั่นว่าจะนำสันติภาพที่ยั่งยืนมาสู่ประเทศในสมัยของเขา" หลังจากพบปะกับผู้นำกะเหรี่ยง KNU คนใหม่
"เขาเคยพูดอะไรแบบนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่เคยรักษาสัญญา" คูอูเร กล่าว "เขาแค่อยากจะรักษาหน้าเท่านั้นเอง"
ตอว์เร โฆษกของเครือข่ายประชาสังคมคะเรนนี กล่าวว่า รัฐบาลพม่าผิดสัญญาหลายฉบับที่ได้ลงนามกับเครือข่ายในเดือนมีนาคมและมิถุนายนปีที่แล้ว รวมถึงสัญญาที่จะแจ้งให้ KNPP ทราบถึงการเคลื่อนไหวของกองกำลังรัฐบาลในอาณาเขตของคะเรนนีด้วย
รัฐบาลพม่าได้เดินหน้าก่อสร้างสถานที่ฝึกของกองทัพในตำบลพรูโซ และได้ห้ามไม่ให้เครือข่าบประชาสังคมตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ในรัฐคะเรนนี
"ถ้ารัฐบาลไม่อาจรักษาแม้แต่สัญญาที่ทำในรัฐคะเรนนีได้ แล้วเราจะสามารถเชื่อใจพวกเขาได้อย่างไรว่าจะสามารถสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนในพม่าได้" ตอว์เร กล่าว
ในการประชุมครั้งล่าสุดกับบรรดาผู้นำ KNPP ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน รัฐมนตรีอ่องมิน ผู้นำคณะเจรจาสันติภาพของรัฐบาลพม่า กล่าวว่า รัฐบาลพม่าต้องการจะเริ่มตั้งถิ่นฐานใหม่ให้กับผู้ลี้ภัยชาวคะเรนนีภายในฤดูฝนปีนี้ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงเดือนมิถุนายน
คำซี กล่าวว่า เธอยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะกลับพม่าหรือไม่ "อย่างน้อยรัฐบาลพม่าควรจะเคลียร์กับระเบิดบริวเณชายแดนก่อน เราจะได้เดินทางกลับโดยปลอดภัย"
ข้อมูลจากกลุ่มวิจัยและพัฒนาคะเรนนี ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร ระบุว่า ในรัฐคะเรนนีมีกับระเบิดฝังอยู่มากกว่า 1 แสนลูก ซึ่งเป็นจำนวนเทียบเท่ากับหนึ่งในสามของประชากรในรัฐคะเรนนี
"ฉันกำลังรออยู่" คำซี กล่าว "ก็อย่างที่บอก ฉันไม่มีแผนสำหรับอนาคตที่แน่นอน แต่ฉันอยากจะไปในที่ที่คนต้องการฉัน"
เรียบเรียงจากบทความ Karenni Refugees Want to Go Home But ‘Don’t Trust the Government’ โดย ECHO HUI / THE IRRAWADDY|
15 มกราคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น