นับเป็นเวลา 20 ปีมาแล้ว ที่พวกเขาได้รับอาหาร น้ำ ที่พักพิง และ การดูแลเรื่องสุขภาพ แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่คือ ความหวัง กลับหลุดลอยไป อนาคตของเยาวชนผู้ลี้ภัยในพื้นที่ชายแดนตะวันตกของพม่านับวันจะยิ่งริบหรี่ลงเรื่อยๆ
ครอบครัวของฮาซาน ชาริฟ หนีมาจากรัฐอาระกัน ประเทศพม่า ในช่วงต้นปี 1990 จนในที่สุดได้มาตั้งรกรากอยู่ที่คูตูปาลอง ซึ่งเป็นนนึ่งในค่ายผู้ลี้ภัยของรัฐ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบังกลาเทศ
"พ่อแม่ของผมบอกว่า ในพม่าไม่มีอิสระภ่พ ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างถูกกฎหมาย" ฮาซาน วัย 16 ปีเล่า "พวกเขาถูกจองล้างจองผลาญเพราะเป็นคนโรฮิงยา และคิดว่าถ้ายังอยู่ในพม่าต่อ อนาคตของครอบครัวและเด็กๆ อาจจะแย่ นั่นคือตอนที่เขาเดินทางมาที่บังกลาเทศ"
ชาวโรฮิงยาหลายแสนคนมีสถานะเป็นคนไร้สัญชาติเพราะไม่ถูกนับว่าเป็นพลเมืองภายใต้กฎหมายสัญชาติของพม่า ก่อนเหตุการณ์ความรนแรงในรัฐอาระกันจะเกิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนและเดือนตุลาคมปีที่แล้ว มีชาวโรฮิงยาจำนวนมากหลั่งไหลออกจากพม่าไปยังบังกลาเทศอยู่สองครั้งใหญ่ๆ นั่นคือ ในปี 1978 และปี 1991 ถึง 1992 แม้ว่าชาวโรฮิงยาจำนวนมากจะกลับมายังประเทศพม่าหลังจากนั้น แต่พวกเขาก็ยังคงต้องเผชิญกับการถูกบังคับใช้แรงงาน และมีชีวิตอยู่ภายใต้กฎหมายลิดรอนเสรีภาพในการเดินทาง รวมถึงถูกจำกัดสิทธิในการสมรสด้วย
ฮาซานเกิดนอกประเทศพม่า อันที่จริงแล้วสามในสี่ของจำนวนประชากรในค่ายผู้ลี้ภัยเกิดในบังกลาเทศ หรือไม่ก็อายุน้อยกว่า 10 ปีในตอนที่มาถึงที่ค่าย ซึ่งกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ในค่ายผู้ลี้ภัยได้รับการขึ้นทะเบียนอยากถูกต้อง น้อยคนที่มีความทรงจำเกี่ยวกับบ้านเกิดหลงเหลือ ส่วนใหญ่ได้ฟังจากผู้ใหญ่ทั้งนั้น
สภาพความเป็นจริงของพวกเขาก็คือ การได้รับแจกอาหาร เสื้อผ้า และอุปกรณ์ครัวเรือนจากในค่าย พวกเขารู้แค่ว่าจะได้รับน้ำ สุขขาภิบาลและการบริการด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งมีโอกาศได้เรียนถึงเกรด 5 ในโรงเรียนประถมที่ตั้งอยู่ในค่าย ซึ่งมีด้วยกัน 21 โรงเรียน
"ผู้ลี้ภัยที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องจะได้รับทุกอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต" เดิร์ก เฮเบคเกอร์ หัวหน้า UNHCR ในคอกว์บาซาร์ กล่าว "แต่ไม่มีอนาคต หมดสิทธิ์ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เรากำลังสนับสนุนกับเจ้าหน้าที่ในการสร้างโอกาสให้พวกเขามากกว่านี้"
โมฮัมหมัด อิสลาม มาถึงบังกลาเทศเมื่ออายุได้ 7 ปี 20 ปีหลังจากนั้น เขาได้เป็นประธานจัดการในค่ายนายาพารา "ผมเป็นห่วงคนรุ่นต่อไป" เขากล่าว "ปัญหาหลักของที่นี่ก็คือ ขาดการศึกษาขั้นสูง การศึกษาคืออู่ข้าวอู่น้ำของชาติ มันจำเป็นมากสำหรับทุกๆสังคม"
UNHCR ไม่สามารถจัดการศึกษาระดับมัธยมในค่ายผู้ลี้ภัยได้ ส่วนโรงเรียนนอกค่าย ไม่สามารถรับเด็กผู้ลี้ภัยเข้าเรียนได้ แม้ว่าบางคนจะแอบเข้าไปเรียนอย่างไม่เป็นทางการได้ก็ตาม
"ในค่ายยังมีเด็กผู้ชายอย่างผมอีกมาก" ฮาซาน กล่าว "พวกเขาไม่มีอะไรเลย พวกเขาต้องการประกาศนียบัตรชั้นมัธยม พวกเขาหวังอยากเป็นวิศวกร นักบิน ทหารเรือ แต่ไม่มีโอกาสจได้ไปเรียนนอกค่าย แล้วพวกเขาจะมีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร "
แต่สำหรับฮาซานอาจโชคดีกว่าคนอื่นๆ เขาได้เข้ามาใกล้ความฝันอย่างน้อยก็อีกก้าวหนึ่ง มีวิศวกรคอมพิวเตอร์มาเป็นผู้ฝึกอบรมที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ในค่ายคูตูปาลอง
แต่ทว่า ทางข้างหน้ายังไม่มีอะไรแน่นอน เหตุการณ์ความรุนแรงคร้งล่าสุดในรัฐอาระกันมีผลต่อการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศในอนาคตอันใกล้ ชีวิตในบังกลาเทศดูเหมือนจะไม่ไปไหนไกลเกินกว่าแค่การมีชีวิตให้อยู่รอดเท่านั้น
การลี้ภัยไปประเทศที่สามถูกระงับตั้งแต่ปลายปี 2010 ในขณะที่ ความไร้สัญชาติของชาวโรฮิงยาที่เป็นต้นเหตุของการพลัดถิ่นฐานบ้านเกิด ยังไงไม่ได้รับการแก้ไข
มูฮัมหมัด อิสลาม เองก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไปเช่นกัน "เรารักประเทศของเรา มันอยู่ในใจของเรา เราอยากกลับแต่สถานการณ์มันบีบให้เราต้องอยู่ที่บังกลาเทศ" เขาบอก "ผมต้องการบ้าน ผมไม่ได้ต้องการสันติภาพของตัวเอง แต่ผมต้องการสันติภาพให้แก่ชุมชนของผม ผมต้องการมีชีวิตอยู่กับประชาชนของผม"
นอกจากผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาที่ขึ้นทะเบียนอยากถูกต้องจำนวน 30,000 คนในค่ายคูตูปาลอง และค่ายนายาพาราแล้ว ยังมีชาวโรฮิงยาอีกประมาณ 200,000 คนที่มไได้ขึ้นทะเบียนและอาศัยอยู่ในค่ายโดยไม่สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมได้อย่างเต็มที่
แปลจาก The young and the hopeless in Bangladesh's camps โดยVivian Tan
Reuters AlertNet: 23 มกราคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น