วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

เรื่องบังเอิญหรือจัดฉาก? คำถามต่อเหตุรุนแรงระหว่างชาวพุทธกับมุสลิม



นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จลาจลระหว่างชาวโรฮิงยากับชาวพุทธในเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างจับตามองเหตุการณ์เศร้าสลดที่เกิดขึ้นในพม่า และเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามมาอีกหลายครั้งก็ได้สร้างความกังขาให้กับนานาชาติเนื่องจากเกิดขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในประเทศที่ดูเหมือนจะเป็นไปในทางที่ดี ทว่า เหตุการณ์ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นกลับรุนแรงกว่าทุกครั้ง ในครั้งนี้เกิดขึ้นที่เมืองเม้กทีลา ภาคมัณฑเลย์ ภาคกลางของประเทศ และตกเป็นข่าวพาดหัวในหน้าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ บรรดาองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน กลุ่มที่สนับสนุนชาวโรฮิงยา และนักข่าวต่างก็รีบออกมาประนามชาวพุทธหัวรุนแรงว่าเป็นสาเหตุของความรุนแรงที่เกิดขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

กองทัพว้า เรียกร้องรัฐบาลพม่าเป็นรัฐปกครองตนเอง



มีรายงานว่า การประชุมไทใหญ่-คะเรนนี (กะยาห์) ว่าด้วยเรื่องสันติภาพในพม่าเมื่อวันที่ 20-23 มีนาคมที่ผ่านมา ในเมืองล่าเสี้ยว ทางตอนเหนือของรัฐฉาน ทางกองทัพว้าได้ออกมาเรียกร้องในระหว่างการประชุมว่า ว้าจะขอเป็นรัฐปกครองตนเองและเป็นรัฐอิสระ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีท่าทีใดๆจากรัฐบาลพม่า

 

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

องค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่เผย ทางการพม่ายังเดินหน้าสร้างเขื่อนท่าซาง



องค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่ (Shan Saphawa) ออกมาเปิดเผยว่า รัฐบาลพม่ายังคงเดินหน้าสร้างเขื่อนท่าซางอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ตั้งโครงการอยู่ห่างจากเมืองโต๋น ภาคตะวันออกของรัฐฉานไปประมาณ 10 กิโลเมตร มีการเปิดเผยว่า ทางการพม่าได้เปลี่ยนชื่อจากเขื่อนท่าซางเป็นโครงการพลังงานไฟฟ้าเมืองโต๋น และย้ายไปก่อสร้างในพื้นที่ใหม่ ขณะทีี่หากโครงการนี้แล้วเสร็จ จะให้ 8 เมืองที่ตั้งอยู่ตามริมแม่น้ำสาละวินต้องจมจมอยู่ใต้นำ้ โดยโครงการนี้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปีที่ 2553

 

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไฟไหม้ศูนย์อพยพบ้านแม่สุรินทร์ ในแม่ฮ่องสอน ผู้เสียชีวิตพุ่งเป็น 36 ราย บาดเจ็บ 11 ราย



จากกรณีเกิดไฟไหม้ศูนย์อพยพบ้านแม่สุรินทร์ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอนเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา ล่าสุดพบมีผู้เสียชีวิตพุ่งขึ้นเป็น 36 คน และได้รับบาดเจ็บสาหัส 11 ราย บาดเจ็บเล็กน้องอีก 95 ราย ขณะที่คาดว่าเหยื่อไฟไหม้ครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเด็ก

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มนักศึกษาปี 1988 เตรียมจัดตั้งพรรคการเมือง



สำนักข่าวอิรวดีรายงานเมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมาว่า แกนนำกลุ่มนักศีกษาปี 1988 มีแผนจัดตั้งพรรคการเมือง ทั้งนี้ก็ระบุเพื่อร่วมสร้างประชาธิปไตย สันติภาพและการปฏิรูปในประเทศ อย่างไรก็ตาม แกนนำนักศึกษาบางส่วนยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า จะเข้าร่วมกับพรรคการเมืองหรือไม่

 

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทหารเด็ก : ฝันร้ายของเด็กชายในพม่า

"ผมกลัวมากปืนกับมิตไซล์มาก" โซจ่อ อดีตทหารเด็กกล่าว เขาถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารในกองทัพของรัฐบาลพม่าเมื่ออายุ 15 ปี

 

"การทำงานกับอาวุธเป็นความรู้สึกที่ย่ำแย่มากสำหรับผม บางครั้งผมก็กลัวว่ามันอาจจะกลับมาและระเบิดใส่ผม ถ้ายิงไม่ถูกเป้า และผมอาจจะตายได้"

ส.ส.คะฉิ่นเรียกร้องทุกกลุ่มชาติพันธุ์สามัคคี แก้ปัญหายาเสพติดในประเทศ



เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา นายเคต ถิ่น หน่าน ส.ส.จากพรรคประชาธิปไตยแห่งรัฐคะฉิ่น (United Democratic Party of Kachin State -UDPKS) ได้ลุกขึ้นกล่าวเรียกร้องในสภาชนชาติให้แก้ปัญหายาเสพติดในประเทศ และกล่าวเรียกร้องให้ทุกกลุ่มชาติพันธุ์มีความสามัคคีกัน

เยือนเมืองนาย…เล่าเรื่องเมืองยักษ์ที่รัฐฉานตอนใต้ (ตอนจบ)

[caption id="attachment_6090" align="alignleft" width="464" caption="สินค้าไทยหลากหลายในตลาด"][/caption]

ไทใหญ่เชื่อมไทยในมิติการบริโภค

 

เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าคนพม่าและประเทศเพื่อนบ้านของเรารวมทั้งลาวและกัมพูชานั้นบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมจากเมืองไทยเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นของกินของใช้ต่างๆ ซึ่งเห็นดาดาษไปหมดตามร้านค้าและในตลาด แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นคืออาหารการกินบางอย่างก็ได้แพร่หลายไปสู่เมืองนาย ผ่านการอพยพของคนไทใหญ่ที่เข้าไปทำงานเมืองไทยนานหลายปี บางคนทำงานนานเป็นสิบปีขึ้นไป ดังนั้น การสื่อสารด้วยภาษาไทยจึงไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรสำหรับคนที่เมืองนาย บวกกับที่พวกเขาชอบเสพสื่อไทยมากกว่าสื่อพม่าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

ชาวบ้านประท้วงซูจี เหตุให้ยุติประท้วงเหมืองทองแดง



มีรายงานว่า นางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดีต้องเผชิญหน้ากับชาวบ้านกว่าร้อยคนในหมู่บ้านโต่น ซึ่งใกล้กับเขตเหมืองทองแดงเล็ตปะด่อง ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ หลังชาวบ้านไม่พอใจข้อเรียกร้องของนางซูจีที่ระบุให้ชาวบ้านยุติการประท้วงเหมืองทองแดงที่มีจีนเป็นผู้ลงทุน

 

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

เหตุการณ์ 8888 รอยแผลเป็นที่ยากจะลบเลือน

ในวันที่ 13 มีนาคม เป็นวันครบรอบ 25 ปีที่ โพนมอว์ นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีย่างกุ้ง (Rangoon Institute of Technology -RIT) ถูกเจ้าหน้าของรัฐยิงเสียชีวิต โพนมอว์ เป็นคนแรกในบรรดานักศึกษาจำนวนกว่า 3 พันคนที่เสียชีวิตใหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เดือน 8 ปี 1988 หรือที่เรียกว่าเหตุการณ์ 8888 ที่เกิดการชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยแต่ถูกรัฐบาลเผด็จการทหารใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

พรรค SNLD เตรียมจัดการประชุมเพื่อสันติ เชิญหลายองค์กรไทใหญ่และคะเรนนีเข้าร่วม



พรรคหัวเสือ หรือพรรคพรรคสันนิบาตแห่งชาติไทใหญ่เพื่อประชาธิปไตย (Shan Nationalities League for Democracy -SNLD) ซึ่งมีขุนทุนอูเป็นผู้นำพรรค เตรียมที่จะจัดการประชุมเพื่อสันติครั้งที่ 2 ภายในเดือนมีนาคมนี้ที่เมืองล่าเสี้ยว ทางภาคเหนือของรัฐฉาน โดยการประชุมครั้งนี้ นอกจากจะมีหลายองค์กรไทใหญ่และกลุ่มติดอาวุธไทใหญ่เข้าร่วมแล้ว ยังมีพรรคการเมืองคะเรนนีหลายพรรคเข้าร่วมประชุมด้วย

DVB ประกาศเตรียมย้ายสำนักงานกลับพม่า


สำนักข่าวเมียนมาร์ไทม์รายงานเมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมาเผยว่า สำนักข่าวเสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า(Democratic Voice of Burma) หรือ DVB ที่ก่อตั้งขึ้นนอกประเทศเป็นเวลา 21 ปี ประกาศเตรียมจะย้ายสำนักงานกลับพม่าในเร็วๆนี้หลังการปฏิรูปในพม่า โดยสำนักข่าว DVB ถือเป็นสื่อพลัดถิ่นที่เป็นกระบอกเสียงและมีบทบาทสำคัญในเผยแพร่ข่าวสารและสถานการณ์สำคัญๆในพม่าช่วงภายใต้การปกครองโดยรัฐบาลทหารเผด็จการ ขณะที่ก่อนหน้านี้ในยุครัฐบาลทหาร DVB ถูกกล่าวหาว่าเป็นองค์กรที่บ่อนทำลายประเทศและนักข่าว DVB มักถูกไล่ล่าจากทางการพม่า


วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

รัฐบาลพม่าและ KIA หารืออีกรอบที่รุ่ยลี่ แต่ยังไม่บรรลุการลงนามหยุดยิง



เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา มีรายงานว่า ทางรัฐบาลพม่าและตัวแทนจากกองทัพเอกราชคะฉิ่น (KIA) ได้หารือกันอีกรอบที่เมืองรุ่ยลี่ ประเทศจีน โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือกันถึงเขตพื้นที่ควบคุมของทั้งสองฝ่าย มีรายงานว่า ในช่วงการหารือ ทาง KIA ปฎิเสธที่จะลงนามหยุดยิงตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลพม่า โดยทาง KIA ระบุต้องการความมั่นใจจากทางรัฐบาลพม่ามากกว่านี้

 

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

นักเคลื่อนไหวคะฉิ่นเผย ความรุนแรงยังเกิดขึ้นในรัฐคะฉิ่น ด้านเต็งเส่งบอกพม่ามีสันติภาพแล้ว



สำนักข่าวอิรวดีรายงานเมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมาว่า ทางกลุ่มนักเคลื่อนไหวชาวคะฉิ่นแสดงความไม่พอใจต่อกรณีที่ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้บอกกับสื่อมวลชนระหว่างทัวร์ยุโรปว่า ไม่มีวิกฤติความขัดแย้งและการสู้รบในพม่า และรัฐบาลพม่าชุดปัจจุบันสามารถควบคุมสถานการณ์วิกฤติความขัดแย้งในประเทศที่ดำเนินมาอย่างยาวนานได้แล้ว โดยประธานาธิบดีเต็งเส่งได้เรียกร้องให้ยุโรปยุติคว่ำบาตรทั้งหมดต่อพม่า

 

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

เมื่อชาวนาออกมาทวงคืนที่ดิน

หมู่บ้านอะลวนโซ, ประเทศพม่า - ชื่อของหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่ห่างจากย่างกุ้ง 25 กิโลเมตรแห่งนี้มีหมายถึง ความคิดถึง ซึ่งนอกจากมันจะเป็นความหมายของชื่อหมู่บ้านแล้ว ยังเป็นความรู้สึกของชาวนาที่นี่ ที่มีต่อที่ดินที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นของตน และช่วงเวลาที่เคยอยู่ที่นี่เมื่อหลายปีมาแล้ว

เยือนเมืองนาย...เล่าเรื่องเมืองยักษ์ที่รัฐฉานตอนใต้ (ตอนที่ 4)

ประเพณีและการกินอยู่


 

[caption id="attachment_6032" align="alignleft" width="450" caption="เจ้าภาพทำกับข้าวเลี้ยงแขกที่มาทำบุญในพิธีโก่วจา"][/caption]

ในช่วงที่ผู้เขียนเดินทางไปเมืองนายคือเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่คนทำบุญโก่วจาหรือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้คนตายในช่วงปีที่ผ่านมา โดยมีญาติของผู้ตายทำอาหารเลี้ยงพระและเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพคนเดียวหรือมากกว่านั้นก็ได้ และชาวบ้านก็จะมาฟังการสวดที่เรียกว่า “ถ่อมลิก” กันที่วัดที่มีการจัดงาน ฉันโชคดีที่มีโอกาสไปร่วมงานนี้ด้วย แม้ว่าจะไม่รู้จักกับผู้ตายหรือญาติของผู้ตายโดยตรงก็ตาม

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

NLD ยังไม่ตัดสินใจจะรับสมาชิกที่แปรพักกลับเข้าพรรคหรือไม่



สำนักข่าวอิรวดีรายงานว่า ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ทางพรรคเอ็นแอลดีจะต้อนรับสมาชิกที่เคยแปรพักกลับเข้ามาเป็นสมาชิกอีกหรือไม่ ขณะที่ระหว่างวันที่ 8 – 10 มีนาคม 2556 ทางเอ็นแอลดีเตรียมจะจัดประชุมใหญ่ที่กรุงย่างกุ้งเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี

 

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

สาวงามจากมัณฑะเลย์คว้ามงกุฎนางงามพม่าในปีนี้



มีรายงานว่า มงกุฎนางงามพม่าหรือมิสเมียนมาร์อินเตอร์เนชั่นแนลประจำปี 2556 - Miss Myanmar International 2013 ตกเป็นของนางสาวโกน ยี เอ จ่อ สาวงามจากมัณฑะเลย์ ขณะที่การประกวดรอบสุดท้ายเสร็จสิ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

พม่าอนุญาตให้เอกชนเผยแพร่หนังสือพิมพ์รายวัน



โฆษกของกระทรวงข่าวสารของพม่าออกมาเปิดเผยเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา เปิดเผยว่า ขณะนี้ รัฐบาลได้อนุญาตชั่วคราวให้ 8 หนังสือพิมพ์สามารถเผยแพร่เป็นหนังสือพิมพ์รายวันได้แล้ว โดยจะสามารถเริ่มตีพิมพ์เผยแพร่ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นไป

 

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

เยือนเมืองนาย...เล่าเรื่องเมืองยักษ์ที่รัฐฉานตอนใต้ (ตอนที่ 3)

 

หอเจ้าฟ้าและบ้านหลานสาว


 

[caption id="attachment_5983" align="alignleft" width="552" caption="เสาหินประตูทางเข้าแบ่งเขตวังและบ้านอย่างชัดเจน"][/caption]

คนที่เคยอ่านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรัฐฉานหรือเมิงไต คงรู้ดีว่าระบบเจ้าฟ้า เป็นระบบการปกครองดั้งเดิมของรัฐฉานก่อนที่จะเสื่อมความสำคัญและยกเลิกไปในสมัยอาณานิคมอังกฤษเข้ามาปกครองพม่าเป็นต้นมา เมืองนายเป็นเมืองหนึ่งที่มีเจ้าฟ้าปกครองและเป็นเมืองใหญ่อันดับต้นๆ ที่เจ้าฟ้าได้รับการยกย่องจากเมืองใกล้เคียงว่ามีความยิ่งใหญ่  ด้วยความที่พม่าต้องการที่จะล้มเลิกระบบนี้พร้อมทั้งทำลายสถานที่ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของไทใหญ่ การทำลาย เช่น หอหลวงที่เชียงตุง หรือยึดครองหอหลวงซึ่งเป็นที่อยู่ของเจ้าฟ้าและเปลี่ยนสภาพกลายเป็นสมบัติของรัฐ เป็นวิธีการหนึ่งในนั้น ฉันถือว่าโชคดีมากๆ ที่ได้มีโอกาสได้เข้าไปเยือนหอเจ้าฟ้าเมืองนาย ซึ่งเจ้าฟ้าองค์สุดท้ายของเมืองนายคือเจ้าเป้

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยร่วมมือกับญี่ปุ่นหาศพทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตสงครามโลกครั้งที่ 2



มีรายงานว่า เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สภาสหพันธรัฐแห่งชาติสหภาพ หรือ UNFC (United Nationalities Federal Council )-UNFC ซึ่งประกอบด้วย 11 กลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยได้ตกลงกับมูลนิธิมูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาไทย-ญี่ปุ่น (Thai-Japan Education Development Foundation -TJEDF) เพื่อที่จะร่วมมือกันหาศพของทหารญี่ปุ่นที่มาเสียชีวิตในพม่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยพบว่า ยังมีร่างของทหารญี่ปุ่นอีกกว่า 45,000 คนที่ยังหาไม่พบ