วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรุนแรงในพม่า กับ สิทธิของชนกลุ่มน้อย



ความรุนแรงต่อชาวมุสลิมในเมืองล่าเสี้ยวในสัปดาห์นี้นับว่าเกิดขึ้นในช่วงเกือบครบรอบหนึ่งปีของการโจมตีชาวมุสลิมในพม่า องค์กร Physicians for Human Rights (PHR) ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์และผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในรัฐอาระกัน ภาคมัณฑเลย์ และภาคสะกายเกี่ยวกับเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้วพบว่า รัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับการปกป้องสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อยในประเทศเท่าที่ควร

 

ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยของ PHR ได้ลงพื้นที่ภาคกลางของพม่าเพื่อตรวจสอบเรื่องการโจมตีชาวมุสลิม โดยได้สัมภาษณ์ประชาชน 33 คน ประกอบไปด้วย ผู้เห็นเหตุการณ์ 14 คน และได้รวบรวมหลักฐานการสังหารเด็กจำนวน 20 คน และครู 4 คนในเมืองเม็กทีลา ภาคมัณฑเลย์ โดย PHR ยังได้รับวิดีโอทีบันทึกภาพชาวมุสลิมถูกทุบตีและถูกเผาจนเสียชีวิต และได้รับการยืนยันว่าเป็นภาพเหตุการณ์จริงที่มีหลักฐานเป็น GPS (ระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก) แผนที่ดาวเทียม และการสัมภาษณ์จากผู้เห็นเหตุการณ์

 

ในเมืองเม็กทีลา ทีมสืบสวนพบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีส่วนร่วมในการโจมตีชาวมุสลิม โดยได้ผลักดันให้ชาวมุสลิมที่ไม่มีอาวุธให้เดินเข้าไปในกลุ่มม็อบที่มีอาวุธ และปฏิเสธที่จะเข้าช่วยเหลือชาวมุสลิมเหล่านั้นจากการถูกทุบตี ปาหิน และการสังหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจยังปฏิเสธที่จะช่วยเหลือชาวมุสลิมที่ได้รับบาดเจ็บ และไม่ได้จับกุมผู้ลงมือกระทำผิดอีกด้วย การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเม็กทีลานับเป็นการละเมิดหลักปฏิบัติของเจาพนักงานของรัฐ (Code of Conduct for Law Enforcement Officers) ขององค์การสหประชาชาติ และการขาดมาตรการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพจากรัฐบาลกลางถือเป็นความล้มเหลวไม่สามารถปกป้องประชาชนจากความรุนแรงได้

 

เนื่องด้วยมีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามมาในลักษณะที่มีการจัดเตรียมอย่างเป็นระบบโดยพลเรือนโดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่รู้เห็นเป็นใจ จึงจำเป็นต้องมีการรับมืออย่างรุนแรงและรวดเร็วภายในประเทศ นอกเหนือจากการเรียกร้องให้ประชาชนมีความอดกลั้นแล้ว ก็ยังไม่มีความพยายามใดๆ ที่จะสืบสวนเหตุการณ์นองเลือดและนำตัวผู้กระทำผิดไปลงโทษแต่อย่างใด

 

การรับมือของรัฐบาลที่ไม่จริงจังในการยุติความรุนแรงและการไม่เต็มใจช่วยเหลือเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายชาวมุสลิมเป็นสิ่งที่แสดงถึงปัญหาที่ใหญ่ขึ้น นั่นก็คือ การที่ชนกลุ่มน้อยไม่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่กำลังเรื่มต้น แม้่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในบ้างในระดับทางการเมือง แต่พวกเขาก็ยังคงได้รับการปฏิบัติจากรัฐบาลใหม่ไม่ต่างจากรัฐบาลเผด็จการชุดเดิม แม้ว่าจะมีการวิเคราะห์ว่า เหตุการณ์ความรุนแรงครั้งล่าสุดเป็นผลมาจากเสรีภาพใหม่ๆ และการเปลีียนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นในทางตรงข้าม เพราะมันคือการกดขี่ข่มเหงชนกลุ่มน้อยที่ต่อเนื่องกันมาโดยไม่มีการลงโทษที่รัฐบาลต่างรู้เห็นเป็นใจ หรือเห็นดีเห็นงามด้วย

 

หลักฐานที่ PHR รวบรวมได้ในเมืองเม็กทีลาแสดงให้เห็นถึงแบบแผนของการทำลายที่มีเป้าหมายเป็นโจมตีุกิจการของชาวมุสลิม บ้านเรือน มัสยิด และมีความพยายามที่จะขับไล่ชาวมุสลิมออกไปนอกเมือง แม้ว่ารัฐบาบจะประกาศเคอร์ฟิวในบางเมืองที่เกิดเหตุรุนแรงและจับกุมผู้กระทำผิดบางส่วน แต่การรับมือเพียงเท่านี้ก็ยังไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ตำรวจทำหน้าที่ยุติม็อบได้ล่าช้า มีการจับกุมผู้ตกเป็นเหยื่อเท่าๆ กับผู้กระทำผิด ชาวมุสลิมยังถูกเตือนไม่ให้ป้องกันตัวเองจากม็อบ และๆม่มีการฟ้องร้องผู้ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีอีกด้วย การนิ่งเฉยของรัฐบาลเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า การโจมตีครั้งนี้สามารถกระทำได้โดยไม่มีความผิด

 

แม้ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่จะแสดงว่ารัฐบาลเป็นผู้บงการการโจมตี แต่ก็แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้ดำเนินการยุติเหตุรุนแรงอย่างมีประสิทธิภาพ การที่มีรายงานสถานการณ์ล่าสุดของการโจมตีชาวมุสลิมเริ่มลุกลามไปในพื้นที่อื่นของประเทศ รัฐบาลกลางรวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ควรจะต้องทำอะไรมากกว่านี้เพื่อยับยั้งไม่ให้ความรุนแรงลุกลามไปมากกว่านี้

 

โชคร้ายที่การละเว้นโทษคนจำนวนมากได้ฝังรากลึกในประเทศมานาน ไม่เพียงแต่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุรุนแรงทางศาสนาล่าสุดเท่านั้น แต่ในพื้นที่ชนกลุ่มน้อย การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นมานานกว่า 60 ปี แล้ว โดยกองทัพพม่าได้โจมตีพลเรือน บังคับให้ย้ายถิ่นฐาน ทำลายสิ่งแวดล้อมและไม่มีการชวยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยการกระทำเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นอยู่ ไม่มีความพยายามจะยุติการกระทำเหล่านี้หรือนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษแต่อย่างใด

 

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของความรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่ิองคือที่รัฐคะฉิ่น กองทัพพม่าได้เพิกเฉยต่อคำสั่งของประธานาธิบดีเต็งเส่งที่สั่งการให้ยุติการสู้รบ และยังคงละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนหลายองค์กรได้บันทึกการโจมตีประชาชนในรัฐคะฉิ่นมาโดยตลอด ซึ่งการโจมตีได้เริ่มเปิดฉากขึ้นตั้งแตกเดือนมิถุนายน 2554 ความรุนแรงและการกระทำผิดโดยไม่ได้รับโทษก็เกิดขึ้นในรัฐฉานมานานเช่นกัน ซึ่งการตกลงหยุดยิงเพิ่งจะถูกละเมิดไปเมื่อไม่นานมานี้และประชาชนก็ต้องพลัดถิ่นที่อยู่อีกครั้งจากการสู้รบ การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวโรฮิงยาโดยรัฐบาลที่เกิดขึ้นมายาวนานกำัลังได้รเป็นี่สนใจจากนานาชาติ ในขณะที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวอาระกัน ชาวชิน ชาวกะเหรี่ยงและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ก็ยังคงดำเนินต่อไป

 

 

นานาชาติตบรางวัลรัฐบาลพม่าสำหรับการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยการยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ให้การช่วยเหลือในการพัฒนาด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการยกหนี้ให้ ทว่า เส้นทางสู่ประชาธิปไตยของพม่ายังปราศจากการมีส่วนร่วมของชนกลุ่มน้อย ซึ่งคิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนในประเทศ ถึงแม้การยกเลิกการคว่บาตรและการช่วยเหลือในการพัฒนาจะช่วยยกระดับชีวิตของประชาชน และก็ถือว่ายังล่าช้าสำหรับชนกลุ่มน้อยนานาชาติไม่ควรที่จะปล่อยให้ชนกลุ่มน้อยถูกโจมตีอย่างเป็นระบบ แต่ต้องกดดันให้ยุติความรุนแรงและการแบ่งแยกชนชาติในการเจรจาทางการทูต

 

คงจะไม่ง่ายนักที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสงบสุขในพม่าได้อย่างรวดเร็ว ที่ชนกลุ่มน้อยและต่างศาสนาจะได้รับการปกป้องสิทธิอย่างเต็มที่ การปลูกฝังการเปิดใจรับระหว่างชาติพันธุ์และศาสนา การเปลี่ยนจากการละเว้นโทษเป็นความรับผิดชอบจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปราศจากความพยายามที่เป็นรูปธรรมจากผู้มีอำนวจในรัฐบาลรวมถึงผู้นำทางสังคมด้วย

 

บางทีงานที่ยากที่สุดสำหรับประชาชนชาวพม่าในวันนี้อาจเป็นกระบวนการปรองดองในสังคม หลังจากตกอยู่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหาร การก่ออาชญากรรม และความรุนแรงมายาวนาหลายปี ทุกคนควรเลือกที่จะยุติความรุนแรงภายในชุมชนของตน ซึ่งทิศทางการปฏิบัติควรจะมาจากผบรรดาู้นำในรัฐบาลและผู้นำทางสังคม ผู้นำทางศาสนาระดับสูง และนักเคลื่อนไหวที่มีชื่อเสียง ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ควรจะประนามทุกความรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อยและศาสนาที่เกิดขึ้น รวมถึงถ้อยคำการปราศัยที่เต็มไปด้วยความเกลียดชัง อย่างชัดเจน

 

นอกจากนี้ต้องมีการสืบสวนที่โปร่งใสและเป็นอิสระต่อเหตุการณ์ความรุนแรงทางศาสนา และการแบ่งแยกชนชาติที่เกิดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ประเทศอื่นๆ อาจเข้ามา่ช่วยเหลือได้ในเรื่องการพัฒนาการสืบสวนที่เป็นอิสระ แต่ความยิมยอมพร้อมใจให้สังคมมีการเคารพและเปิดใจยอมรับกัน อยู่ที่ประชาชนชาวพม่าเท่านั้น.

 

แปลจาก Burma must take steps to quell ethnic violence โดย ANDREA GITTLEMAN and BILL DAVIS 30 พฤษภาคม 2556 จาก www.dvb.no

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น