เด็กชาววัย 10 ปี แบกตะกร้าใส่หินตะเกียกตะกายเดินขึ้นเนินเขา แม้จะพยายามปั้นสีหน้าให้ดูเข้มแข็งต่อหน้าเพื่อนๆ แต่ดวงตาของเขากลับเอ่อไปด้วยน้ำใสๆ เขาเจ็บปวดไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย รู้สึกไม่สบายและคลื่นไส้จากการยกของหนัก
"ผมเกลียดมัน" อันวา ซาร์ดัด กระซิบ เขาต้องช่วยเหลือครอบครัว แต่ก็หวังว่าจะมีงานอื่นที่ไม่ใช่บริษัทก่อสร้างของรัฐบาล "ผมคงไม่ต้องใช้ชีวิตแบบนี้ ถ้าผมไม่ใช่มุสลิม"
ชีวิตของเด็กชาวโรฮิงยาหลายอย่างอันวาอีกแสนคนกำลังเติบโตขึ้นในพม่าท่ามกลางความสิ้นหวัง แม้ประเทศที่มีประชากรกว่า 60 ล้านคนแห่งนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธนั้น จะหมดยุคเผด็จการทหารไปแล้วก็ตาม
ชาวมุสลิมในพม่าได้รับความยากลำบากจากถูกกีดกันทางศาสนามายาวนาน ซึ่งนักสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าย่ำแย่ที่สุดในโลก แต่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ที่มีชาวโรฮิงยา 80 เปอร์เซ็นต์ของชาวมุสลิมทั้งหมด 1 ล้านคนในพม่า ในขณะนี้เด็กๆ โรฮิงยากลับได้รับความยากลำบากที่จะได้รับการศึกษา อาหาร หรือ การรักษาโรค ที่เพียงพอ มากกว่าในยุคของรัฐบาลเผด็จการด้วยซ้ำ พวกเขาแทบจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเป็นแรงงานทำงานหนักเพื่อแลกกับเงินแค่ 1 ดอลลาร์ต่อวัน
สำนักข่าว AP ได้เดินทางไปยังพื้นที่ที่ไม่เคยมีนักข่าวต่างชาติเข้าไปมาก่อน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต่างมีปฏิกริยาที่เต็มไปด้วยความระแวง โดยเฉพาะเมื่อมีการสัมภาษณ์ชาวโรฮิงยา มีการเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ นักข่าวถูกติดตาม ส่วนชาวบ้าน ซึ่งรวมไปถึงเด็กๆ ถูกข่มขู่หลังให้สัมภาษณ์กับนักข่าว
ในประเทศที่ถูกแบ่งแยกโดยเหตุรุนแรงทางเชื้อชาติมากว่า 15 เดือน พื้นที่แห่งนี้เป็นแห่งหนึ่งที่มีชาวพุทธถูกฆ่าโดยม็อบชาวมุสลิม แม้ที่นี่จะพบว่ามีการเสียชีวิตเพียง 10 ราย จากทั้งหมด 240 ราย แต่ประชาชนทั้งหมดที่นี่ได้รับการลงโทษจากการจำกัดการเดินทางและนโยบายกีดกันอื่นๆ
โรงเรียนสอนศาสนามุสลิม หรือ มาดราซาห์ ถูกปิดตัวลง ทำให้โรงเรียนรัฐบาลมีเด็กนักเรียนแออัด โดยเด็กชาวมุสลิมซึ่งมีจำนวนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ถูกสอนโดยครูชาวพุทธ และใช้ภาษาที่เด็กมุสลิมหลายคนไม่เข้าใจ
ที่หมู่บ้านบากงนาร์ ซึ่งมีพระสงฆ์ถูกฆ่าในเหตุรุณแรงเมื่อปีที่แล้ว โรงเรียนรัฐเล็กๆ แห่งหนึ่งแออัดไปด้วยนักเรียนกว่า 1,250 คน เด็กๆ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงเกรด 8 เบียดเสียดกันอยู่บนพื้นห้อง ที่แทบจะไม่มีที่สำหรับเดิน
"ครูเขียนอะไรหลายอย่างบนกระดาน แต่ไม่ได้สอนำพวกเราว่ามันอ่านว่าอย่างไร" อันวา ซยัก เด็กชายวัย 8 ปี กล่าว "มันยากมากที่จะเรียนในโรงเรียนนี้"
โรงเรียนแห่งนี้มีครูที่แต่งตั้งจากรัฐเพียง 11 คน เท่ากับครู 1 คน ต่อเด็ก 114 คน ในวันที่นักข่าวไปที่โรงเรียน พวกเขาไม่อยู่ที่นั่น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นบ่อยๆ
แต่อาสาสมัครชาวโรฮิงยาก็พยายามมาช่วยดูแล ชายคนหนึ่งเดินวนรอบห้องพร้อมไม้หวายในมือ เขาตีพื้นคอนกรีตเพื่อให้เด็กๆ หยุดคุยกัน มีเด็กไม่กี่คนที่มีโต๊ะและเก้าอี้นั่ง หลายคนไอโขลกๆ บ้างก็คุยกัน และเปิดสมุดหน้าไปว่าง เด็กๆ เงยหน้าจ้องเม็งไปยังผู้มาเยือน
"ถ้าผมเป็นอะไรก็ได้ ผมอยากเป็นหมอเมื่อโตขึ้น" อันวา บอก "เพราะตอนที่คนในครอบครัวผมป่วยและเราไปที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ไม่เคยมาดูแล ผมรู้สึกเสียใจมาก"
"แต่ผมรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ เพราะรัฐบาลไม่ยอมหรอก"
ในพม่า ชาวโรฮิงยาไม้ได้รับอนุญาตให้เรียนสาขาแพทย์ ตอนเหนือของรัฐยะไข่ๆ ไม่มีมหาวิทยาลัย และชาวโรงฮิงยาถูกห้ามไม่ให้เดินทางออกจากพื้นที่มานานกว่า 10 ปีแล้ว ข้อยกเว้นที่ให้ชาวโรฮิงยาเข้าเรียนในซิตต่วย เมืองหลวงของรัฐยะไข่ได้ ก็ถูกยกเลิกไปหลังจากเหตุการณ์นองเลือกเมื่อปีที่แล้ว
"พวกเขาไม่อยากสอนเรา" โซเยด อลัม กล่าว เขาเป็นชาววัย 25 ปีจากเกาะมยินลุต ซึ่งเปิดห้องเรียนสอนเด็กๆ โรฮิงยาที่บ้าน
"พวกเขาเรียนเราว่า 'กะลา' (คำเรียกในเชิงดูถูก) พวกเขาบอกว่า'คุณไม่ใช่คนประเทศเรา..จะต้องการการศึกษาไปทำไม' " เขากล่าว
ทุกๆ ปี มีชาวโรฮิงยาหลายพันคนเดินทางออกจากรัฐยะไข่ โดยล่องเรือออกไป ด้วยความหวังว่าจะอพยพไปอยู่ในประเทศอื่น และเนื่องจากเหตุความรุณแรงที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีประชาชนกว่า 250,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงยาไม่มีที่อยู่อาศัย นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรงงานต่างคาดการณ์ว่า อาจจะมีการอพยพครั้งใหญ่ขึ้นทันทีหลังฤดูมรสุมที่จะสิ้นสุดลงในเดือนนี้และทะเลสงบ
นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ชาวโรฮิงยาเข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่มานานกลายศตวรรษแล้ว แม้ว่าบางส่วนในปัจจุบันจะอพยพมาจากบังกลาเทศหลังจากนั้น แต่ทั้งหมดก็ถูกปฏิเสธสถานะความเป็นพลเมืองและกลายเป็นคนไร้รัฐ
"พวกเขาเป็นคนผิดกฎหมาย" ละ เต่ง ที่ปรึกษากฎหมาย ของรัฐกล่าว
พวกเขายังคงถูกกัดกันจากการเป็นประชากรอยู่ รวมถึงถูกกีดกันจากการเป็นข้าราชการพลเรือนด้วย ตั้งแต่กลางช่วงปี 1990 ไม่มีการแจ้งเกิดของชาวโรฮิงยา เด็กๆ ชาวโรฮิงยาถูก "ขึ้นบัญชีดำ" ถูกปฏิเสธบริการขั้นพื้นฐาน ในกรณีที่พ่อแม่ของเด็กไม่ได้แต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีลูกมาแล้ว 2 คน ซึ่งมีการกำหนดไว้ว่าห้ามชาวโรฮิงยามีลูกมากกว่า 2 คน
ความเพิกเฉยของทางการกลายเป็นความเกลียดชัง
เจ้าหน้าที่รัฐคนหนึ่งที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางของนักข่าว AP ถามว่า ทำไมนักข่าวพวกนี้ถึงอยากจะสัมภาษณ์พวก "สุนัข" กันนัก
เมื่อกลุ่มเด็กหญิงโรฉิงยาเดินผ่านกระจกรถที่เปิดอยู่ของทีมงาน เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวสบถคำหยาบใส่พวกเด็กๆ
ส่งเดียวที่รัฐบาลมอบให้แก่เด็กโรโงยาก็คืองาน แม้ว่าเด็กๆ พวกนั้นจะอายุแค่เพียง 10 ปีก็ตาม กระทรวงก่อสร้าง หนึ่งในผู้ว่าจ้างรายใหญ่ ให้ค่าจ้างแก่เด็กๆ วันละ 1 พันจั๊ต (1 ดอลลาร์) แลกกับการทำงานขนหินท่ามกลางแดดร้อนๆ เป็นเวลา 8 ชั่วโมง
ในตอนเช้าตรู่ รถบรรทุกขนาดใหญ่จะเข้าไปรับเด็กๆ จากหมู่บ้านต่างๆ ที่ยังงัวเงียกันอยู่ ทุกคนเป็นเด็กโรฮิงยา เพื่อไปส่งที่แม่น้ำ
"เห็นไหม พวกเขาอยากทำงาน" อูละโม เจ้าหน้าที่เขตเลมาย กล่าว
จากนั้นในวันเดียวกัน เขาได้เรียกเด็กที่ถูกสำนักข่าวสัมภาษณ์ทั้งหมดไปที่ออฟฟิศของเขา เขาอ้างว่า เพื่อความปลอดภัยของนักข่าว AP เด็กๆ เปิดเผยว่า เขาขู่เด็กๆ ให้กลัวขณะที่ถามว่านักข่าวถามอะไรบ้างและเด็กตอบไปว่าอย่างไร
อันวา ซาร์ดัด เด็กขนหิน เป็นหนึ่งในจำนวนเด็กๆ ที่ถูกเขาเรียกไปพบ
เขาเริ่มงานตั้งแต่ 8 โมงเช้าไปจนถึงพลบค่ำ กับพี่ชายฝาแฝด และเด็กผู้ชานอีก 5 -6 คนจากหมู่บ้านเดียวกัน เด็กๆ ขุดหินแม่น้ำขึ้นมาแล้วแบกขึ้นเขา พวกเขาดูเหมือนผู้ใหญ่ตัวน้อยมากกว่าที่จะเป็นเด็ก และไม่มีรอยยิ้มให้เห็น ทุกๆ ฝีก้าวเป็นไปอย่างมั่นคงและแน่นอน ไม่มีการเสียแรงไปเปล่าๆ แม้แต่น้อย
อันวาถึงจะเหนื่อยล้าแต่ก็ทำงานได้อย่างรวดเร็ว เขายังหยุดช่วยเพื่อนยกถังตอนที่เเพื่อนยกไม่ขึ้นอีกด้วย
ถึงแม้ว่างานจะเหนื่อยยากขนาดไหน แต่มันก็ช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวมีกิน รายงานของ European Commission Humanitarian Aid and Civil Protection Department เมื่อปีที่แล้วระบุว่าพื้นที่ดังกล่าวมีอัตราการขาดสารอาหารมากที่สุดในประเทศ การลิดรอนสิทธิที่เกิดขึ้นส่งผลอย่างร้ายแรงต่อการพัฒนาทั้งทางกายและจิตใจ
การทำงานขององค์กรเพื่อมนุษยธรรมถูกจำกัดอย่างมากในรัฐยะไข่ทางตอนเหนือ การขาดแคลนวัคซีนในพื้นที่ที่ถูกละเลยหมายถึง เด็กๆ ต้องเสี่ยงต่อโรคทุกโรคที่สามารถป้องกันได้ในวัยเด็ก วิกกี้ ฮอว์กินส์ จากองค์กรแพทย์ไร้พรมแดนประจำพม่า ที่ทำงานในพื้นที่มากว่า 15 ปี กล่าว
ถ้าเด็กชาวโรฮิงยาป่วยหนัก พวกเขาอาจจะไม่พาไปโรงพยาบาล เพราะครอบครัวของเด็กไม่สามารถจ่ายสินบนที่จุดตรวจได้ หรือไม่ก็ถูกห้ามไม่ให้เดินทางไปที่ซิตต่วย
โมฮัมหมัด โทยุบ เด็กชายชาวโรฮิงยาวัย 10 ปี ได้บการรักษาแต่ไม่ได้รับการผ่าตัดตามที่หมอแนะนำ เขาเปิดเสื้อให้ดู และกดตรงด้านขวาของท้องที่เขารู้สึกเจ็บเมื่อ 3 ปีที่แล้ว "ผมไม่รู้ว่าเป็นอะไร ผมรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างอยู่ในนั้น"
หมอที่มูฮัมหมัดพบที่โรงพยาบาลรัฐซึ่งมีขีดจำกัดในการรักษา ไม่สามารถผ่าตัดช่วยชีวิตตามที่พวกเขาแนะนำได้ เขาต้องไปที่ซิตต่วย แต่ไม่สามารถเดินทางไปได้ หรือไม่ก็บังกลาเทศ ซึ่งอย่างหลังดูเหมือนจะเป็นไปได้ ถ้าครอบครัวของเขาจ่ายสินบนเจ้าหน้าที่ แต่ก็อาจจะไม่สามารถกลับมาได้อีก
เรื่องเงินก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่ง ครอบครัวของเขาไม่มีเงินรักษาเขา แล้วนับประสาอะไรกับเรื่องผ่าตัด
เขาล้วงกระเป๋าและหยิบถุงพลาสติกสองใบที่บรรจุยาเม็ดสีแดง สีชมพู สีเหลือง และสีฟ้าออกมา เขาต้องจ่ายค่ายาตกวันละ 200 จั๊ต
โมฮัมหมัดต้องทำงานขนหินกับเพื่อนๆ จากอีกหมู่บ้านหนึ่งที่แม่น้ำ เพื่อหาเงินเพิ่ม บางครั้งมันก็ทำให้อาการเจ็บปวดของเขาหนักขึ้นกว่าเดิม
"พ่อของผมตกงานหหลังเกิดเหตุการณ์รุณแรง ตอนที่พ่อยังทำงาน เราก็ยังพอมีเงินค่ายา แต่ตอนนี้เราไม่เหลืออะไรแล้ว" เขากล่าว
"ผมต้องช่วยเหลือตัวเอง"
------------------------------
จากบทความ Rohingya Kids in Myanmar: Hard Labor, Bleak Lives
โดย ROBIN McDOWELL Associated Press 15 ตุลาคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น