วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ห้องเรียนเคลื่อนที่ : ความหวังทางการศึกษาของเด็กชายร้านน้ำชา

 

 schoolbus 1


ย่างกุ้ง - เก้าก์ยา ต้องตื่นนอนตั้งแต่ตีสี่ครึ่งทุกวัน ในขณะที่เด็กคนอื่นๆ กำลังรอรถโรงเรียนมารับ เด็กชายวัย 13 ปีผู้นี้ก็กำลังงานรังบออเดอร์จากรู้ค้าในร้านน้ำชาแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง

 

"ผมเคยเข้าโรงเรียนจนถึงชั้น 6" เขาบอก

 

เก้าก์ยา เป็นลูกคนกลางในครอบครัวที่พ่อมีอาชีพปีนเก็บลูกตาล เขาออกจากโรงเรียนเมื่ออายุได้ 11 ปี เพราะพ่อแม่ไม่มีเงินพอที่จะส่งเสียลูกทั้ง 6 คนได้ เขาได้งานทำในร้านน้ำชาแห่งนี้และส่งเงินทุกบาททุกสตางค์ที่หาได้กลับไปที่บ้าน เขาเคยฝันว่าจะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย แต่ก็ล้มเลิกความฝันไปแล้ว จนกระทั่งโอกาสที่ไม่คาดฝันก็เข้ามาหาเขา ทางรถบัส

 schoolbus 2


"ภาระกิจจของเราง่ายมาก เมื่อเด็กไม่สามารถไปโรงเรียนได้ เราก็เอาโรงเรียนไปหาเด็ก" เกรซ ส่วย ซิน ไต้ก์ ผู้อำนวยการโครงการการศึกษาเคลื่อนที่ประจำประเทศพม่า หรือ myMe (Myanmar Mobile Education Project) กล่าว โครงการดังกล่าวเป็นการให้โอกาสทางการศึกษาแบบนอกระบบโดยใช้ห้องเรียนเคลื่อนที่ แก่เด็กที่ถูกสถาณการณ์บังคับให้ต้องออกจากโรงเรียนกลางคันเพื่อืงานช่วยเหลือครอบครัว

 

ภายในห้องโดยสารของรถบัสถูกเปลี่ยนให้เป็นห้องเรียนเคลื่อนที่ ซึ่งเด็กๆ จะได้เรียนอ่านเขียนภาษาพม่าและภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน รวมไปถึงวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และการคิดวิเคราะห์ผ่านการสอนแนวใหม่ที่มีการปฏิสัมพันธ์

 schoolbus 3


นับตั้งแต่เดือนที่แล้ว รถบัสห้องเรียนเคลื่อนที่คันหนึ่งในจำนวนหลายคันได้ขับเข้าไปตามถนนสายต่างๆ ในย่างกุ้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการนำร่องระยะเวลา 6 เดือน เปิดโอกาสให้เด็กที่ทำงานในร้านน้ำชากว่า 120 อย่าง เก้าก์ยา ได้กลับมาเรียนต่ออีกครั้ง ทั้งนี้ จะมีการเรียน 6 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 2 ชั่วโมง ในช่วงเย็ยหลังเลิกงาน

 

"เราเริ่มที่ร้านน้ำชาเพราะคุณจะสามารถหาเด็กประถมและมัธยมที่ออกจากโรงเรียนกลางคันส่วนใหญ่ได้ที่นี่" ทิม เอ ฮาร์ดี ผู้อำนวยการโครงการกล่าว เขาบอกว่า จะมีการขยายโครงการในอนาคต โดยจะมีชั้นเรียน 4 ระดับ ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง เพราะเตรียมนักเรียนสำหรับการศึกษาต่อในระบบทั้งสายสามัญและสายอาชีพต่อไปในอนาคต

 

"เราแค่จุดประกายทำในสิ่งที่จะเป็นต้องทำและเติมเต็มช่องว่าง โดยการให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กที่ออกมาทำงานไม่ได้เข้าเรียน แต่ถ้าจะพูดถึงปัญหาทั้งหมด รัฐบาลเท่านั้นที่จะสามารถดูแลได้" เขากล่าว

 

ในพม่ามีการให้ความสำคัญกับการศึกษามาก อัตราเด็กที่ได้เข้าเรียนมีมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ทั้งชายและหญิง แต่อัตราการออกจากโรงเรียนกลางคันก็สูงเช่นกัน ข้อมูลจากองค์กรยูนิเซฟระบุว่า ในจำนวนเด็กที่ได้เข้าเรียน มีคนที่เรียนจบขั้นพื้นฐานไม่ถึง 55 เปอร์เซ็นต์

 schoolbus 5


ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี ที่รัฐบาลเผด็จการทหารปกครองประเทศ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาน้อยมาก แม้ว่าโรงเรียนประถมของรัฐบาลจะเรียนฟรี แต่ผู้ปกครองต้องจ่ายค่าหนังสือเอง นอกจากนี้ยังมีค่าซ่อมอาคารเรียน หรือแม้กระทั่งเฟอร์นิเจอร์ในห้องเรียน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นอุปสรรคทางการศึกษาของเด็กในครอบครัวที่ยากจน

 

ด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่ยากจนภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ทำให้หลายครอบครัวทั่วประเทศโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทต้องจำใจให้ลูกชายออกไปทำงานในร้านน้ำชาหรือโรงงานต่างๆ ในขณะที่เด็กผู้หญิงจำนวนไม่น้อยก็ต้องออกจากโรงเรียนมาช่วยงานบ้านเช่นกัน

 

สถานการณ์ดังกล่าวยังไม่ได้รับการเยียวยาโดยการปฏิรูปการศึกษาที่ริเรื่มโดยประธานาธิบดีเต็งเส่งเมื่อปี 2011 แต่อย่างใด แม้ว่าคณะรัฐบาลของเขาจะเรียกร้องให้มีการศึกษาภาคบังคับฟรี ตำราเรียนฟรีพร้อมอุปกรณ์ในการเรียนในระดับประถมศึกษา แต่หลายครอบครัวที่ยังคงมีรายได้น้อยนั่นหมายถึง เด็กๆ ก็จะยังต้องออกมาทำงานเหมือนเดิม

 

อ่องเมียวมิ้น นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิและผู้อำนวจการองค์กรความเท่าเทียมกันของพม่า กล่าวว่า ห้องเรียนเคลื่อนที่ไม่เพียงแต่ส่งเสริมสิทธิของเด็กๆ แต่ยังเป็นการช่วยชี้ให้เห็นสาเหตุของการใช้แรงงานเด็กในประเทศอีกด้วย

 

"โครงการนี้เป็นเหมือนบ่อน้ำในทะเลทรายของเด็กๆ ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ พวกเขาควรจะคำนึงถึงวิธีการในระยะยาวที่จะกำจัดการใช้แรงงานเด็กให้หมดไปด้วย ไม่อย่างนั้น โครงการนี้ก็จะติดอยู่ในวงจรที่ไม่มีวันจบสิ้น"

 

เพียงแค่ไม่กี่นาทีหลังจากที่รถบัสห้องเรียนเคลื่อนที่ไปถึงที่ร้านน้ำชาแห่งหนึ่งในย่างกุ้งในช่วงเย็นเมื่อไม่นานมานี้ ห้องเรียนก็เต็มไปด้วยเด็กที่ทำงานในร้านน้ำชากว่า 65 คน แม้ว่าจะทำงานมาทั้งวัน ทั้งเสิร์ฟ ทั้งทำอาหาร ทั้งชงชา แต่พวกเขาก็ยังคงมีความกระตือรือร้นในการหัดเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษอยู่ ในขณะที่คนอื่นๆ พากันมานั่งรอบๆ โต๊ะในร้านน้ำชา ให้ความสนใจกับบทเรียน และเมื่อครูชี้ไปยังรูปภาพรูปหนึ่งบนกระดานไวท์บอร์ด ทุกคนก็ตอบอย่างพร้อมกันว่า "MAP" (แผนที่)

 

"ผมไม่รู้สึกเหนื่อยเลย แต่มีความสุขมากกว่าเพราะผมอยากเรียน" เก้าก์ยา บอกเมื่อทำแบบฝึกหัดแต่งประโยคภาษาอังกฤษง่ายๆ เสร็จ "ผมแค่คว้าโอกาสในการเรียนไว้ตอนนี้ เพราะผมอยากเรียนจบมหาวิทยาลัยเพื่อที่จะได้ทำงานที่ดีกว่านี้"

 

แปลจาก School Hits the Road for Burmese Teashop Boys
โดย  KYAW PHYO THA / THE IRRAWADDY

23 มกราคม 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น