[caption id="attachment_7665" align="aligncenter" width="621"] ภาพ AP[/caption]
รายงานข่าววันนี้ (10 กค) เรื่องนักข่าวจากวารสาร Unity Journal ถูกตัดสินโทษจำคุก 10 ปีและต้องใช้แรงงานหนัก เนื่องจากถูกจับกุมหลังรายงานข่าวโรงงานผลิตอาวุธเคมีของรัฐบาลเป็นเรื่องเศร้าที่เตือนให้ตระหนักได้ว่า เสรีภาพสื่อในพม่านั้นยังคงห่างไกล
การลงโทษดังกล่าว ซึ่งตัดสินโดยศาลในเมืองปะคกกู่ จะส่งผลกระทบต่อความพยายามของนักข่าวที่ต้องการรายงานข่าวเชิงสืบสวนเกี่ยวกับกิจกรรมของกองทัพที่ไม่โปร่งใสซึ่งเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง หรือประเด็นที่ค่อนข้างจะอ่อนไหวต่อรัฐบาล
เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้ส่งสัญญาณว่า สื่อ ซึ่งเพิ่งจะได้รับเสรีภาพจากการาเซ็นเซอร์เมื่อไม่นานมานี้ ควรจะต้องควบคุมตัวเองไม่ให้นำเสนอประเด็นที่กระทบต่อ "ความมั่นคงของชาติ"
ในแถลงการณ์ที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุเมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีเต็งเส่งระบุว่า "เราได้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีสีรีภาพสื่อมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว" แต่ก็ได้เตือนไปถึงเรื่องการพูดถึงเหตุจลาจลหลังจากที่เกิดขึ้นในมัณฑธเลย์ เมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่า ว่าไม่ควรใช้เสรีภาพสื่อไปในทางที่ผิด
"(ถ้า) เสรีภาพสื่อไปคุกคามความมั่นคงของประเทศ แทนที่ที่จะช่วยเหลือประเทศ ผมก็ต้องขอเตือนทุกคนว่า เราจะดำเนินการตามกฎหมาย" คำพูดดังกล่าวของเต็งเส่งระบุในหนังสือพิมพ์ Mirror ซึ่งเป็นสื่อของรัฐ
[caption id="attachment_7664" align="aligncenter" width="566"] รายานข่าวเรื่องโรงงานผลิตอาวุธเคมีของรัฐ ในหนังสือพิมพ์ UNITY ภาพ DVB[/caption]
นี่คือคำพูดที่ค่อนข้างแรงของประธานาธิบดีซึ่งได้รับการยอมรับจากนักปฏิวัติจำนวนมาก ด้านทนายความที่ปกป้องนักข่าวของวารสาร Unity ระบุว่า การสั่งจับกุมและจำคุกนักข่าวนั้น เป็ฯคำสั่งโดยตรงจากทำเนียบประธานาธิบดี
พวกเขาถูกตั้งข้อหาว่าละเมิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องความลับของประเทศ ปี 1923 หลังจากตีพิมพ์ข่าว "โรงงานลับผลิตอาวุธเคมีของอดีตนายพล ช่าวชาวจีรและผู้บังคับบัญชาในเมืองป๊อก" ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาโต้แย้งว่ารายงานข่าวดังกล่าว "ไม่มีมูลความจริง" แต่ไม่เคยชี้แจงข้อกล่าวหาโดยตรงหรือเชิญสื่อมวลชนไปดูสถานที่ด้วยตา ทั้งๆ ที่ยืนยันหนักหนาว่าไม่มีอะไรต้องปิดบัง
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ รัฐบาลกำลังเริ่มจำกัดสื่อแม้ว่าจะมีการยกเลิกการเซ็นเซอร์ไปเมื่อ 2 ปีที่แล้วก็ตาม ซึ่งในครั้งนั้นได้รับเสียงชื่นชมจากนานาชาติเป็นอย่างมาก
เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ตำรวจสันติบาลได้เข้าเยี่ยมสำนักข่าวที่ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์หลายแห่ง (ซึ่งรวมไปถึงนิตยสารอิรวดีสำนักงานย่างกุ้ง) โดยมีการเชิญตัวบรรณาธิการอาวุโสหลายคน และในสัปดาห์นี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสอบสวนบรรณาธิการสำนักข่าว 3 คนที่สำนักลานของวารสาร Bi Mon Te Nay หลังจากวารสารฉบับดังกล่าวได้รายงานข่าวว่า นางอองซานซูจีและกองกำลังชนกลุ่มน้อยกำลังจัดตั้งรัฐบาลรักษาการ ซึ่งทั้ง 3 ได้ถูกตั้งข้อหาละเมิดกฎหมายว่าด้วยภาวะฉุกเฉิน
ในขณะเดียวกัน เราก็ได้ทราบจากทำเนียบประธานาธิบดีว่า เฟซบุ๊กได้ตกลงที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของผู้ใช้เกี่ยวกับการแพร่กระจายข้อความที่สร้างความเกลียดชังในสื่อสังคมออนไลน์ แต่ที่น่าขำก็คือ หน่วยงานที่เป็นของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยหนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ที่มีความใกล้ชิดกับคนในรัฐบาล ซึ่งรวมไปถึงพระสงฆ์หัวรุนแรงบางส่วนที่เปิดเฟซบุ๊กโดยใช้หลายชื่อ ก็ยังคงสามารถใช้ทรัพยากรที่ถูกห้ามนี้ในการปลุกปั่นเติมเชื้อไฟแห่งความเกลียดชังต่อชาวมุสลิมต่อไปได้
ชัดเจนแล้วว่า เสรีภาพสื่อที่แท้จริงนั้นยังคงเป็นฝันที่เกินเอื้อมสำหรับพม่า ที่ที่รัฐบาลยังคงเป็นผู้ตัดสินใจว่าสิ่งไหนที่เหมาะสมที่จะตีพิมพ์ได้ และเป็นผู้ที่มีสิทธิที่จะบอกอะไร(หรือไม่บอกอะไร) กับประชาชน
จาก Back to Square One for Press Freedom in Burma
Irrawaddy 10 กรกฎาคม 2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น