วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เมื่อ"ทะนาคา"ความงามแบบดั้งเดิมของสาวพม่าปะทะกับเครื่องสำอางสมัยใหม่

[caption id="attachment_7713" align="aligncenter" width="722"]ทะนาคา สาวชาวพม่าประแป้งทะนาเหลืองนวล (ภาพ สาละวินโพสต์)[/caption]

มัณฑเลย์ ประเทศพม่า, แม้ตานตานเอ แม้ค้าขายของข้างทาง จะอายุอานามปาเข้าไปกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว แต่ผิวของเธอก็มีริ้วรอยปรากฎให้เห็นเพียงน้อยนิด ความลับของเธอนะเหรอ? แป้งสีเหลืองนวลที่ทำจากเปลือกไม้ที่เธอทาแก้ม ลำคอ และจมูกหลังอาบน้ำในตอนเช้าและก่อนเข้านอนยังไงหละ

แป้งสีเหลืองนวลที่ว่าเป็นที่รู้จักในชื่อ ทะนาคา ที่สามารถป้องกันแสงแดดและช่วยในเรื่องความงาม พบเห็นได้ทั่วไปบนใบหน้าของชาวพม่าเช่นเดียวกับโสร่ง หรือลงจี ที่สวมกันอยู่ทั่วไป

"ฉันทาทะลาคามาตลอดชีวิตและจะทาไปจนถึงวันที่ฉันตาย" ตานตานเอ กล่าว ขณะกำลังเข็นรถเข็นที่เต็มไปด้วยที่ขัดเล็บและหวีไปยังตลาดกลางแจ้งที่คนพลุกพล่าน ทะนาคาเป็นทั้งยาและความเชื่อ มันทำให้ผิวเย็น ป้องกันการถูกทำลายจากแสงแดด กำจัดสิวและใช้กินเพื่อลดไข้และอาการปวดศีรษะได้ ซึ่งชาวพม่าหลายคนว่าอย่างนั้น

แม้จะมีการใช้ทะนาคามายาวนานทั้งในยุคราชสำนัก ยุคที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ มาจนกระทั่งในยุคของรัฐบาลเผด็จการ แต่วิถีดั้งเดิมก็กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ที่กำลังแผ่อำนาจเข้ามาในพม่า นั่นก็คือเครืองสำอางจากหลากหลายประเทศที่มาพร้อมกับโฆษณาล่อใจที่จะเข้ามาสร้างความชุ่มชื่น ผัดหน้า และชโลมผิวให้กับสาวๆ ในประเทศที่ถูกปิดตายมานาน

ตานตานเอยอมรับว่า เครื่องสำอางสีฉูดฉาดที่เธอขายอยู่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา "สาวๆ เดี๋ยวนี้แต่งหน้าเมื่อออกไปนอกบ้าน" เธอบอก "เครือ่งสำอางยี่ห้อต่างๆ เหล่านี้ได้เปลี่ยนวิธีคิดของพวกเธอไปแล้ว"

[caption id="attachment_7715" align="aligncenter" width="600"]แฟชั่นในพม่า ป้ายโฆษณาแฟชั่นสมัยใหม่ในพม่า (ภาพ New York Times)[/caption]

ในช่วง 3 ปีนับตั้งแต่พม่าปฏิรูปการปกครองเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยหลังจากถูกโดดเดี่ยวภายใต้เงื้อมมือของรัฐบาลเผด็จการทหารที่ยึดอำนาจมาตั้งแต่ปี 1988 ความคิดใหม่ๆ และแนวโน้มของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนมมมองวิถีชีวิตเก่าๆ ของชาวพม่า

ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ที่ไม่เคยปรากฎบนขอบฟ้าที่เต็มไปด้วยเจดีย์สีทองอร่ามและตึกรามบ้านช่องตั้งแต่ยุคอาณานิคม กำลังผุดขึ้นมาเป็นว่าเล่นเคียงข้างกับโครงการก่อสร้างจำนวนมาก เหล่าบรรดานางแบบผิวเนียนโฆษณาขายโลชั่นผิวขาว สีผิวของคนที่มีระดับ

สารที่บริษัทเหล่านั้นส่งไปดูเหมือนจะคืบหน้าอยู่ไม่น้อย

"สาวๆ หลายคนคิดว่า การประแป้งทะนาคาทำให้คุณดูเหมือนสาวชาวบ้าน" ซานดีอู วัย 24 กล่า ขณะยืนอยู่หลังเคาท์เตอร์เครื่องสำอางในห้างสรรพสินค้า Ocean ซานดีอูทาครีมรองพื้น ลิปสติกสีชมพู และปัดมาสราคาประกายวิบวับ เธอเป็นเสมือนป้ายโฆษณาที่เดินได้สำหรับเครื่องสำอางที่โชว์อยู่ในตู้รอบๆ เธอบอกว่าพนักงานขายเครื่องสำอางที่ห้างนี้จะถูกปรับถ้าทาทะนาคา แต่เมื่อกลับถึงบ้าน ซานดีอู บอกว่า เธอก็กลับไปทาทะนาคา เช่นเดียวกับพนักงานขายคนอื่นๆ "พูดตรงๆ นะ มันดีกว่าของที่เราขายมาก" เธอบอก

ขณะที่ทะนาคาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศพม่า แต่สำหรับชาวมัณฑเลย์ อดีตเมืองหลวงของพม่าที่สถาปานาในปี 1857 โดยกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า ทะนาคาเป็นที่ชื่นชอบมากเป็นพิเศษ ปัจจุบันที่นี่มีประชาชนหลากหลายชาติพันธุ์และศาสนาอาศัยอยู่ แม้ว่าจะมีเหตุรุรแรงระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมเกิดขึ้น ทะนาคาก็ยังคงใช้กันอยู่ในกลุ่มคนทุกความเชื่อและเป็นสัญลักษ์แห่งความภูมิใจของชาวพม่า

ความต้องการการทะนาคาในท้องตลาดเป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมโดยเฉพาะภาคสะกาย ศูนย์กลางการศึกษาของพระสงฆ์ ห่างจากมัณฑเลย์ไป 12 ไมล์ อีกฟากฝั่หนึ่งของแม่น้ำอิระวดี ภาคสะกายเต็มไปด้วยวัดวาอารามและเจ์ดีสีทอง และเป็นแหล่งปลูกต้นไม้ที่ใช้ทำทะนาคาที่สำคัญแห่งหนึ่ง

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผู้หญิงกลุ่มหนึ่งที่มาเที่ยวชมเจดีย์กองมูดอว์ ต่อแถวกันอยู่ที่แท่นฝนทะนาคาสาธารณะ ผู้ที่เดินทางมาที่เจดีย์คนหนึ่งนั่งฝนท่อนไม้หอมท่อนเล็กๆ บนแผ่นหินที่เปียกน้ำ โดยฝนเป็นวงกลามคล้ายกำลังทำเครป จากนั้นเธอก็ทาทะนาคาที่ฝนได้ลงบนแก้มก่อนที่ผู้หญิงที่ต่อแถวคนถัดไปจะมานั่นแทนที่เธอ

นอกแนวต้นไม้ที่สูงลิ่วกลางสนาม มีแผงขายของสิบว่าแผงที่เต็มไปด้วยทะนาคาที่ตัดเป็นท่อนๆ เรียงรายอยู่ ติ่นติ่นนวย วัย 35 ปี ใบหน้า ลำคอ และใบหูฉาบไปด้วยทะนาคา เธอบอกว่า เธอมีรายได้จากการขายทะนาคาประมาณเดือนละ 100 ดอลลาร์(ประมาณ 3 พันบาท)

ชาวพม่าหลายชั่วอายุคนได้ส่งต่อข้อปฏิบัติไปยังลูกหลาน เพียวเพียว วัย 22 ปี พ่อค้าขายถั่ว อุ้มลูกน้อยในอ้อนแขน เขาบอกว่าแม่ของเขาเริ่มทาทะนาคาให้เขาตอนอายุ 7 ขวบ ในขณะที่โรงเรียนประถมบางแห่งบังคับให้นักเรียนทาทะนาคา เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบ เพื่อแสดงให้รู้ว่าอาบน้ำแล้ว

ในพื้นที่แห่งแล้วอย่างมัณฑเลย์ถือว่าเหมาะสมต่อการปลูกทะนาคาเป็นอย่างมาก มักจะเห็นเด็กๆ ทาทะนาคาเป็นวงๆ บนแก้ม แม้ว่าวัยรุ่นชายจำนวนมากจะเลิกทาทะนาคาเมื่ออยู่ในที่ชุมชนเพราะดูจะเป็นสาว แต่ก็ใช่ว่าผู้ชายทุกคนจะปฏิเสธทะนาคาไปเสียทั้งหมด "ผมทาทะนาคานิดหน่อยเพื่อให้ดูหล่อ" กานทู กรรมกรวัย 37 ปี ที่มีรอยทะนาคาคนเปลือกตาและโหนกแก้ม กล่าว ซึ่งภรรยาผู้ชื่นชอบทะนาคาของเขาก็เห็น้วย "มันดูแตกต่างจากผู้ชายคนอื่น แต่ฉันก็ชอบ" เธอกล่าว

[caption id="attachment_7714" align="aligncenter" width="722"]ทะนาคา2 ภาคสะกาย - กองไม้ทะนาคาก่อนตัดเป็นท่อนๆขาย (ภาพ สาละวินโพสต์)[/caption]

ไม่ไกลจากที่นี่ เมียตตูวัย 33 ปีและครอบครัวใหญ่ของเขาดูแลทะนาคามากกว่า 100 ต้นที่ปลูกไว้ใกล้ๆ บ้านไม้สักที่เรียบง่ายของพวกเขา แม้ว่าลำต้นของต้นทะนาคาเหล่านั้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง 6 นิ้ว แต่ก็มีอายุมากกว่า 20 ปี ทะนาคาเป็นการลุงทุนที่เห็นผลในระยะยาว แต่ละต้นที่โตเต็มที่จะขายได้แต่ 50 ดอลลาร์ (1500 บาท) "มันต้องใช้เวลานานในการรอคอย" เมียตตูกล่าว ริ้วลายของทะนาคาระยิบระยับอยู่บนแก้มที่อาบเหงื่อของเขา ขณะที่วัวตัวหนึ่งกำลังกินหญ้าอยู่ใกล้ๆ ในเวลาเดียวกัน ครอบครัวของเขามีรายได้จากการเหมาไม้ทะนาคามาจากฟาร์มใหญ่ๆ และนำไปขายปลีกต่อที่เจดีย์กองมูดอว์

 

บางทีผู้ผลิตบางรายอาจจะผลิตทะนาคาในแพ็คเกจเหมือนตลับแป้งพร้อมใช้ เป็นเทรนด์ใหม่ในวงการผิวพรรณ แต่ชาวพม่าจำนวนมากก็กังวลเรื่องผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น เมื่อปีที่แล้ว เด็กเล็กจำนวน 2 คนในแคนซัสซิตี้ ซึ่งมีประชากรผู้ลี้ภัยชาวพม่าจำนวนหนึ่งตรวจพบว่าได้รับสารตะกั่วปนเปื้อน ซึ่งเจ้าหน้าที่ด้นสุขภาพได้พบว่าสาเหตุเกิดจากทะนาคาที่ปนเปื้อน ในปี 2012 เจ้าหน้าที่รัฐในซิดนีย์ ออสเตรเลีย ได้ให้คำปรึกษาแก้ชุมชนชาวพม่าให้เลิกใช้ผลิตภัณฑ์ทะนาคาหลังจากพบว่ามีโลหะหนักปนเปื้อนในปริมาณที่เป็นอันตราย ด้านนักวิจัยทางการแพทย์ยังไม่สามารถพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ว่าทะนาคานั้นมีประโยชน์มากมายอย่างที่ชาวพม่ากล่าว

แม้ว่าจะมีความกังวลดังกล่าว แต่ดูเหมือนว่าทะนาคายังอยู่ไม่หายไปไหน อันที่จริง สาวๆ พม่าหลายคนได้นำมาผสมผสานกับแบบตะวันตกตามแบบของตัวเอง เมื่ออยู่ที่ทำงาน ขิ่นมิมิ วัย 25 ปี พนักงานบริษัทท่องเที่ยวชอบประแป้งทะนาคาที่แก้มและหน้าผาก ซึ่งดูทันสมัยเไม่เบามื่อเทียบกับคิ้วเฉี่ยวๆ ผมไฮไลท์สีบลอนด์ และรอยสักรูปดอกไม้บนข้อมือข้างซ้านของเธอ

"สำหรับผู้หญิงพม่าอย่างเรา มันเป็นประเพณีในการปกป้องผิวและทำให้ดูดีในเวลาเดียวกัน" เธอบอก "แล้วจะเลิกใช้ไปทำไม"

 

แปลจาก Where Ancient Burmese Beauty Balm Competes With Modern Cosmetics โดย DAN LEVIN /New York Times 28 กรกฎาคม 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น