วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

ย้อนรอนประวัติศาสตร์ “วงการภาพยนตร์” กับ “การเมือง” ในพม่า (1)

[caption id="attachment_8151" align="aligncenter" width="500"]ภาพ โดย (Zarni Phyo/The Myanmar Times) ภาพ โดย (Zarni Phyo/The Myanmar Times)[/caption]

ว่ากันว่าครั้งหนึ่ง “วงการหนังพม่า” มีชื่อเสียงและคับคั่งยิ่งกว่าหนัง “บอลลีวู้ด”  แต่ทว่า นับตั้งแต่ปี 1962 เป็นต้นมา (ซึ่งเป็นปีที่มีการก่อรัฐประหารปูทางให้เผด็จการทหารเข้ามามีอำนาจตั้งแต่นั้นมา) วงการหนังพม่าดูเหมือนจะมีแต่เสียง “คัท!” มากกว่าเสียง “แอ๊คชั่น!”

 

ใกล้การประกาศรางวัล Academy Award ในของพม่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เข้ามาแล้ว  หนังสือพิมพ์ เมียนมาร์ไทมส์ ได้รวบรวมเอาเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เอาไว้ นอกจากจะเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ของวงการบันเทิงแล้ว ยังได้สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงเวลานั้นๆ ไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งหลายครั้งมันก็เป็นมากกว่าภาพเคลื่อนไหวแถมยังมีอิทธิพลส่งผลต่อสังคมมากกว่าที่เราคิด

 

ปี 1906 – พม่ามีการฉายหนังเป็นครั้งแรก โดยกลุ่มผู้ฉายหนังจากต่างประเทศได้ใช้ผ้าขึงบนถนนเป็นจอหนังให้ประชาชนดู

ปี 1910 –  โรงภาพยนตร์ในย่างกุ่งเริ่มมีการฉายหนังและสารคดีต่างประเทศ

ปี 1918 –  อู โอง หม่อง บิดาแห่งวงการภาพยนตร์พม่า ได้ก่อตั้งทีมเพื่อสร้างหนังเรื่องแรกของประเทศ ในระหว่างการถ่ายทำ ก็เกิดเหตุการณ์การเสียชีวิตของ อู ทุน เชง ผู้นำกอบกู้เอกราช  อู โอง หม่องจึงหันความสนใจไปถ่ายทำเหตุการณ์พิธีศพแทนโดยใช้กล้องถ่ายภาพยนต์มือสอง

สิงหาคม 1920 – ภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรก “พิธีศพของอู ทุน เชง” ได้ถูกนำออกมาฉายครั้งแรกที่โรงหนัง ซีเนมาเดอปารี (บ้างก็ว่าที่ โรยัลซีเนมา) เข้าโรงพร้อมกับหนังอเมริกันอีกเรื่องหนึ่ง โดยหนังพม่าเปิดตัวด้วยข้อความ “ขอได้รับการขออภัยสำหรับภาพที่ไม่ชัดและสั่นไหว” แต่ก็มีผู้เข้ามาชนหนังเรื่องแรกของประเทศกันแน่นโรง และนั่นก็ได้จุดประกาย กลายเป็นเทรนด์ใหม่ขึ้นมา โดยหลังจากนั้น การเสียชีวิตของผู้นำคนสำคัญ อย่าง โบอ่องจ่อ และนายพล อองซาน ก็ได้มีการถ่ายทำพิธีศพและฉายให้ประชาชนดู

13 ตุลาคม  1920 – หนังเรื่อง “มยิตตา เนะ อะตูยาร์” (ความรักกับเมรัย) ของอู ทุน เชง เป็นหนังเรื่องแรกที่ไม่ใช่สารคดี ได้ถูกฉายครั้งแรกที่โรงหนังรอยัลซีเนมา ซึ่งเป็นหนังเงียบ ภาพขาวดำ ใช้เทคนิคการตั้งกล้องตัวเดียวไว้จุดเดียว  โดยหนังได้เริ่มด้วยข้อความ “เบอร์ม่าฟิล์ม ขอเสนอ : ความรักและเมรัย” โดยไม่มีเครดิตทีมงานหรือชื่อนักแสดง  ทั้งนี้หนังเรื่องนี้มี ญีปู (ว่ากันว่า เป็นนักแสดงคนแรกของประเทศ)  หม่อง หม่อง ชิต และ หม่อง หม่อง กะเล ร่วมแสดง โดยโปสเตอร์ภาษาอังกฤษของหนังเรื่องดังกล่าวได้อวดอ้างสรรพคุณต่างๆ นานาว่า “ฟิล์มหนังยาวถึง 7500 ฟุต ใน 5 ส่วน” “เห็นหนังที่มีการทุนทุนมากที่สุด”  “เป็นหนังรักที่มีทั้งความตลก ความตื่นเต้น ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดภายใต้การกำกับของ โองหม่อง”  พล็อตเรื่องจำมาจากเรื่องราวของ พีโมนิน ซึ่งเป็นเรื่องเล่าสอนใจของพม่า ที่สอนให้รู้ว่าการพนันและสุราเมรัยเป็นบ่อเกิดของหายนะในชีวิต

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่หนังเรื่องดังกล่าวถูกฉายเป็นครั้งแรก ถูกกำหนดให้เป็นวันภาพยนตร์แห่งชาติ โดยมีพิธีการแสดงความเคารพต่อศิลปินในวงการภาพยนตร์โดยเริ่มตั้งแต่ปี 1963

 

ความสำเร็จในครั้งนี้ทำให้ FOX หรือ Twentieth Century Fox ได้ขอให้ อู โอง หม่อง ถ่ายภาพทิวทัศน์ที่สวยงามของพม่าให้กับ FOX โดยค่าจ้างในครั้งนั้นทำให้เขาสามารถซื้ออุปกรณ์การถ่ายทำยี่ห้อ Kodak ที่มคุณภาพดีกว่า  และนั่นเป็นการปูทางให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพออกมาเรื่อยๆ

 

กันยายน 1931 – สารคดีเกี่ยวกับ ซะยาร์ ซาน หนึ่งในผู้นำการปฏิวัติของชาวนาเผยแพร่ออกสู่ประชาชน เบอร์มาฟิล์ม (ภายหลังเปลี่ยนเป็น A1) ถูกขายให้กับ เมียนมาร์อะสเว่ ซึ่งได้ขออนุญาตรัฐบาลอังกฤษในการถ่ายทำการใต่สวนคดีของซะยาร์ซาน  ซึ่งรัฐบาลอังกฤษคิดว่าตนจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน หากมีการแพร่ภาพสารคดีดังกล่าว  ทว่า รัฐบาลอังกฤษคิดผิด เพราะสารคดีได้แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญของซะยาร์ซาน ในช่วงที่มีการประกาศการตัดสินประหารชีวิต และถูกนำตัวไปยังที่แขวนคอ เกิดการยั่วยุอารมณ์ ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกต่อต้านรัฐบาลอังกฤษเจ้าอาณานิคมมากขึ้น

 

ในปีเดียวกัน บริษัท แพรอทฟิล์ม โดย อูซันนี่ ได้เปิดตัวหนังเรื่อง  36 Animals   ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับตำรวจยุคอาณานิคมที่เข้าไปพัวพันกับการพนัน

 

ปี 1932 – หง่วย เป โล มะ ยะ (ไม่มีจำเป็นต้องจ่ายเงิน) เป็นหนังเรื่องแรกที่มีภาพและเสียงตรงกัน กำกับโดย อูดต๊ก จี โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท อิมพีเรียลฟิล์ม นำแสดงโดย ชิต ติ่นจี , ขิ่น เม จี และ เอโก สร้างจากนิยายของ ดะกงนัตชิน หนังเรื่องนี้ถ่ายทำที่บอมเบย์และกัลกัตตา สร้างความตื่นตาตื่นใจกับกับผู้ชมเป็นอย่างมาก และแม้ว่าเทคโนโลยีในสมัยนั้นจะเริ่มมีการพัฒนาขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังมีการผลิตหนังเงียบออกมาเรื่อยๆ จนถึงช่วงปี 1950 โดยที่จะมีนักดนตรีและคอนดักเตอร์ร่วมบรรเลงขณะฉายหนัง

 

ปี 1936 – มีการเปิดตัวหนังเรื่อง “โด ดอง อะลาน” (ธงรูปนกยูงของเรา) ของอูซันนี่จากบริษัท แพรอท แต่ก็ถูกรัฐบาลสั่งห้ามเผยแพร่

 

ปี 1937 – มีการเผยแพร่หนังเรื่อง “บอยคอต”(Boycott) ที่เกี่ยวกับการเมืองในชาวงเวลาดังกล่าว กำกับโดย อูนุ ซึ่งในสทมัยนั้นยังเป็นผู้นำนักศึกษา ก่อนที่จะกลายมาเป็นผู้นำประเทศในหลายปีต่อมา ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่มีการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเอกราชอย่างเข้มข้น หนังเรื่องดังกล่าวมีกลุ่มตะขิ่น ผู้เคลื่อนไหวคนสำคัญ(และวีระบุรุษของชาติ) คือ ตะขิ่น อองซาน และตะขิ่น ทุนโอง ( ตะขิ่น แปลว่า นาย เป็นคำที่อังกฤษบังคับให้ชาวพม่าใช้นำหน้าชื่อ)

 

ในปีเดียวกัน เกิดเรื่องอื้อฉาวกันในวงการหนัง เมื่อหนังเรื่อง “อ่อง ตะปเย(ชัยชนะของตะปเย)” ที่กำกับโดยผู้กำกับ ติ่นหม่อง จากค่าย A1 ไม่ถูกรัฐบาลแบน โดยเป็นหนังเกี่ยวกับกษัตริย์สีป้อ กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงพม่า

 

ปี 1940 – เข้าสู่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2  รัฐบาลอังกฤษได้ก่อตั้งคณะกรรมการภาพยนตร์พม่าขึ้นมาเพื่อเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อทั่วประเทศ

 

ปี 1941 – กองทัพญี่ปุ่นบุกพม่า โรงหนังหลายแห่งถูกระเบิดทำลายเสียหาย วงการหนังเป็นอันต้องหยุดชะงัก และเปลี่ยนมาเป็นการแสดงละครเวทีในช่วงที่รอสงครามสิ้นสุด

 

ปี 1946 – หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด กองทัพญี่ปุ่นถูกขับออกไป อังกฤษเข้ามาควบคุมพม่าอีกครั้ง หน่วยงาน Public Relation Film Service สร้างภาพยนตร์ชวนเชื่อให้อังกฤษ และภาพยนตร์เกี่ยวกับการศึกษา

 

ปี 1947 – มีการจัดงานครบรอบ 25 ปี นับตั้งแต่มีการฉายหนังครั้งแรก โดยจัดล่าช้าไป 2 ปี เนื่องจากสงคราม ในงานนายพล อองซานได้กล่าวในงานว่า ในนักแสดงและผู้กำกับใช้ความสามารถของตนเองเพื่อประเทศชาติ ต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายนปีเดียวกัน นายพลอองซาน ถูกลอบสังหาร

 

4 มกราคม 1948 – และแล้ววันที่พม่าได้รับเอกราชก็มาถึง รัฐบาลอังกฤษคืนอำนาจให้กับชาวพม่า มีการบึนทึกภาพพิธีการเชิญธงและการย้ายออกของเจ้าหน้าที่รัฐของอังกฤษในช่วงเช้า จากนั้นได้ตัดต่อและผลิต และนำไปฉายให้กับประชาชนดูในหลายพื้นที่ภายในวันเดียวกัน ต่อมาโดยรัฐบาลใหม่ได้จัดตั้งกรมภาพยนตร์และโรงละครในปีดังกล่าว

 

ปี 1949 –  กลุ่มกะเหรี่ยงต่อต้านรัฐบาลได้ทำการปิดล้อมเมืองย่างกุ้ง ช่างภาพหลายคนได้บึนทึกภาพจากการต่อสู้ที่อินเส่ง และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวโดยการสร้างสารคดีเกี่ยวกับสงครามกลางเมือง นักแสดงหลายคนได้เข้าไปในพื้นที่แนวหน้าเพื่อมอบอาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่ม

 

ปี 1950 – เกิดเหตุไฟไหม้ที่ค่ายหนัง A1 ส่งผลให้ฟิล์มสารคดี หนังทั่วไป และภาพข่าวเสียหาย ในจำนวนนั้นเป็นฟิล์มบันทึกภาพการปฏิวัติ 1300 ภาพการตัดสินคดีของซะยาซาน และพิธีศพของนายพลอองซาน รวมอยู่ด้วย

 

ปี 1952 – เริ่มต้นเข้าสู่ ”ยุคทอง” ของหนังพม่า ผู้สร้างหนังในพม่าได้ผลิตหนังมากกว่า 80 เรื่องต่อปี มีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและตรวจสอบภาพยนตร์ และมีการจัดงาน Academy Award มอบรางวัลให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในการทำหนังขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีต้นแบบจากการประกาศรางวัลออสการ์ในฮอลลีวูด จากนั้นมาก็มีการมอบรางวัลทุกปี ส่วนใหญ่จะมอบหลายสาขา เช่น นักแสดงนำยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม นักแสดงสมทบ ฯลฯ แต่ในช่วงปี 1960 ถึง1979 มีการยกเลิกการมอบราววัลในหลายสาขา  โดยในปี 1972 มีการมอบเพียง 2 รางวัลคือ ผู้กำกับยอดเยี่ยม และถ่ายภาพยอดเยี่ยม  ทั้งนี้ มีการมอบรางวัลขึ้นที่ย่างกุ้งทกปียกเว้น ปี 2007 ถึง 2012 ย้ายไปจัดที่กรุงเนย์ปีดอว์ เมืองหลวงใหม่

จาก Myanmar Times

ย้อนรอนประวัติศาสตร์ “วงการภาพยนตร์” กับ “การเมือง” ในพม่า (จบ)

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น