ปี 1962 – หลังจากนายพลเนวิน เข้ายึดอำนาจ วงการภาพยนตร์ถูกสั่งให้ เดินตามแบบชาวพม่าสังคมนิยม ทำให้อุตสาหกรรมหนังต้องถดถอย เช่นเดียวกับเศรษฐกิจของประเทศ โรงหนังและค่ายผลิตหนังต่างๆถูกยึดเป็นของรัฐ ค่ายที่ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษถูกบังคับให้เปลี่ยนชื่อ ตัวอย่างเช่น โรงหนัง Yangon’s Excelsior Theatre ก็เปลี่ยนเป็น วาซียะ บทภาพยนตร์ถูกเซ็นเซอร์ และเนื้อเรื่องต้องเน้นเกี่ยวกับการ่อสู้และชัยชนะของชนชั้นแรงงาน กรมภาพยนตร์และโรงละครถูกเปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยงานศูนย์ภาพยนตร์ สังกัดภายใต้กระทรวงข้อมูลข่าวสาร ภาพยนตร์สารคดีข่าวที่จัดทำโดยหน่วยงานศูนย์ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลใช้เผยแพร่ความประสงค์ของรัฐรองจากหนังสือพิมพ์ จนถึงปี 1980 ทีเรื่มมีโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศ
6 สิงหาคม 1964 – รัฐบาลมีการเซ็นเซอร์สื่อทุกชนิดก่อนที่จะเผยแพร่ ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนสิงหาม ปี 2012
ปี 1968 – รัฐบาลพม่าเริ่มใช้ต้นแบบจากรัฐบาลจีนรัฐบาลสร้างหนังเองและฉายในโรงหนังของรัฐ แต่หลังจาก The Beloved land หนังเรื่องแรกที่รัฐบาลสร้าง ล้มเหลวไม่เป็นท่า รัฐบาลจึงปล่อยให้คนสร้างหนังสร้างกันเองแต่ต้องผ่านการเซ็นเซอร์จากรัฐก่อนซึ่งรัฐาล้องการให้หนังมีความเป็นชาตินยม
ปี 1970 – หนังเรื่อง Journey to Piya ของค่าย A1 ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางที่ต้องล้มเลิกเพราะเหตุขัดข้องทางของเรื่องยนต์ ถูกรัฐบาลสั่งห้ามฉาย เพราะถือว่าเป็นการเปรียบเปรยกับเส้นทางทางการเมืองของประเทศ
ปี 1971 – พอล ทีรอกซ์ นักเขียนจากนิตยสาร The Atlantic ได้เขียนถึงการสนทนาระหว่างเขากับผู้จัดการโรงหนังแห่งพม่าหนึ่งที่บอกเขาว่า “หนังพม่าทุกเรื่องต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับชาตินิยมอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ เขาบอกว่า เขาไม่สงสัย ตัวเลขดังกล่าวเลย เช่นเดียวกับคนทำหนังส่วนใหญ่ ที่ต้องเซฟตัวเองด้วยการทำหนังเกี่ยวกับรักสามเส้า
ปี 1979 – มีการเปิดตัวหนังเกี่ยวกับ กลุ่มคนรักชาติที่กำจัดชาวต่างชาติท่ารังเกียจ ในหนังเรื่อง Good Sons of the Motherland สร้างโดยหน่วยงานฝึกทหาร
ปี 1980 – พม่าเริ่มมีโทรทัศน์ ทำให้หน่วยงานศูนย์ภาพยนตร์เลิกผลิตภาพยนตร์ข่าว
ปี 1982 – รัฐบาลออกกฎประหลาดให้นักแสดงทุกคนต้องเล่นหนังพร้อมกับถึง 3 เรื่อง เพื่อเป็นแสดงว่า รัฐบาลสามาถควบคุมชีวิตของนักแสดงได้
ปี 1989 – สิ้นสุดยุคชาตินิยม อุตสาหกรรมหนังกลับมาเป็นของเอกชนอีกครั้ง รัฐบาลด้ายโณงหนังให้เอกชน ค่ายหนังเริ่มกลับมาดำเนินกิจการอีกครั้ง บริษัทมิงกะลา ได้เข้าดำเนินกิจการค่ายหนังที่ใหญ่ที่สุดในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ต่อ แต่หนังก็ยังคงถูกเซนเซอร์จากรัฐบาลทหารพม่าชุดใหม่ นักแสดงบางส่วนถูกรัฐบาลขึ้นบัญชีดำ
ปี 1996 – หนังเรื่อง ตูคุนมะคานปี (เราจะไม่ยอมเป็นทาส) ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐประสบความสำเร็จ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ นายพลกองทัพพม่าไม่ยอมจำนนต่ออังกฤษในมัณฑะเลย์เมื่อปี 1885
ปี 1996 – กฎหมายว่าด้วยวิดีโอและโทรทัศน์กำหนดให้มีการตรวจสอบจากคณะกรรมการเซ็นเซอร์วิดีโอก่อนเผยแพร่ หากละเมิดจะถูกปรับ หรือจำคุก 3 ปี และยึดของกลาง ยกเว้นวิดีโอที่ถ่ายดูกันในครอบครัว โดยรัฐบาลชี้แจงจุดประสงค์ว่า เพื่อ ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมหนังและเพื่อให้มีความทันสมัย อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของพม่า ทำให้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือส่งเสริมความสามัคคีระหว่างชนชาติและให้เกิดสำนึกรักชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมศิลปินที่มีความสามารถ ป้องกันการทำลายวัฒนธรรมประเพณีของชาติ”
เดือนพฤศจิกายน 1998 – มีการเปิดพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ในย่างกุ้ง แสดงอุปกรณ์ต่างๆ และฉากในการถ่ายทำภาพยนตร์ในอดีต ทั้งโปสเตอร์หนังเรื่อง Love and Liquor ในช่วงก่อนปี 2010 พิพิธภัณฑ์มีผู้เข้าชมเดือนละแค่ 10 คน แต่เว็บบล็อกของภายนตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า เป็นพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นสถานที่สำหรับผู้ที่สนใจในปะวัติศาสตร์ภาพยนตร์พม่า และประวัติศาสตร์พม่าที่ประเมิณค่าไม่ได้มาจนถึงทุกวันนี้
ปี 2004 – โล วัต ต่อ นิน (ความลึกลับของหิมะ) เป็นหนังที่ได้รับรางวัล Academy Award ถึง 7 สาขา โดยเป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่ออกตามหาพี่ที่หายตัวไปในอุบัติเหตุระหว่างปีนเขา นำแสดงโดย ลุมิน , ลวิน โม และ เมียต นันดา
ปี 2005 – ในปีนี้มีการถ่ายหนังโดยใช้ฟิล์ม 33 มม แค่ 10 เรื่อง ในขณะที่มีหนังที่ออกมาในรูปแบบของ DVD ถึง 902 เรื่อง มีการนำหนังอินเดียมาฉายในโรง 12 เรื่อง ในขณะที่หนังฝรั่งที่ไม่ได้นำเข้ามาอย่างถูกกฎฆมายก็เป็นที่นิยมกันมากทั้งในโรงหนังและดูที่บ้าน
ปี 2006 – วิดีโอบันทึกภาพงานแต่งงานสุดหรูของลูกสาวอดีตนายพลตานฉ่วยแพร่สะพัดในตลาดมืด ก่อให้เกิดกระแสความโกรธแค้นไม่พอใจในความสุร่ยสุร่ายของเขา และวิดีโอชิ้นนี้กลายเป็นวิดีโอที่ผลิตในประเทศที่มีคนดูมากที่สุด ในยุคที่การถ่ายวิดีโอหรือการเผยแพร่วิดีโอแก่สาธารณะชนถูกจำกัดสิทธิ
ปี 2007 – มหาวิทยาลัยศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติได้เปิดสาขาวิชาการภาพยนตร์และการละครครั้งแรกในประเทศ แต่ด้วยงบประมาณและอุปกรณ์ที่มีจำกัดทำให้ประสบความสำเร็จน้อยกว่าการอบรมที่จัดขึ้นโดยนานาชาติ ซึ่งการอบรมลักษณะดังกล่าวจะถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นักศึกษาไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายวิดีโอในที่สาธารณะ
ปี 2007 – หนังเรื่อง The Simpsons Movie ที่เปิดตัวไปทั่วโลกถูกแบนในพม่า โดยมีการร่ำลือไปทั่วโลกว่า เพราะสีแดงกับสีเหลืองเป็นสีต้องห้ามในหนังของพม่า ทำให้ตัวเอกของเรื่องที่ตัวสีเหลืองกลายเป็นเรื่องการเมืองไปซะอย่างงั้น
เดือนพฤษภาคม 2008 – พายุไซโคลนนาร์กิสพัดถล่มพื้นที่ปากแม่น้ำอิระวดี ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 ราย จ่อตู นักแสดงและผู้กำกับชาวพม่าถูกรัฐบาลสั่งห้ามไม่ให้แสดงหนัง หลังไปบริจาคข้าวสารให้พระสงฆ์ที่ประสบภัย ในขณะที่สมาคมโรงเรียนสอนด้านภาพยนตร์ในย่างกุ้งได้จัดทำสารคดีเกี่ยวกับความเสียหายจากพายุนาร์กิส เรื่อง Nargis: When Time Stopped Breathing ทั้ง ๆ ที่ได้รับการเตือนจากทางการว่าผิดกฎหมาย สารดีเรื่องดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในปี 2012 โดยไม่มีรายละเอียดเครดิตคนสร้างเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตกอยู่ในอันตราย
เดือนพฤศจิกายน 2008 – สารคดีเรื่อง Burma VJ : Reporting from a Closed Country ผลงานของผู้กำกับชาวดัตช์ แอนเดอร์ ออสเตอร์การ์ด เปิดตัวไปทั่วโลก เปิดเรื่องด้วยภาพวิดีโอจากการแอบถ่ายชีวิตของคนทั่วไปโดยช่างภาพวิดีโอในพื้นที่ในช่วงหลายเดือนก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ประท้วงของพระสงฆ์ในปี 2007
ปี 2008 – หนังเรื่อง แรมโบ้ ภาค 4 ถูกแบนในพม่า โดยซิลเวสเตอร์ สตาโลน พระเอกของเรื่องได้ช่วยชีวิตบาตรหลวงที่ถูกทหารพม่าลักพาตัว แต่หนังเรื่องดังกล่าวก็มีการลัดลอบนำแผ่นเข้าไปขายในพม่า ทหารจากกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าต่างนำประโยคเด็ดในเรื่อง “Live for nothing, or die for something” (จะอยู่อย่างไร้ความหมาย หรือจะตายเพื่อบางสิ่ง) ไปใช้เป็นคติสอนใจ ทำให้พระเอกของเรื่องภูมิใจเป็นอย่างมาก จนถึงกับพูดว่า “เป็นช่วงเวลาที่ผมรู้สึกภูมิใจที่สุดครั้งหนึ่งในการแสดงหนัง”
ปี 2010 – หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ยังคงให้เอกชนดำเนินกิจการในอุตสาหกรรมหนัง แต่โรงหนังที่เสื่อมสภาพมานาน และไม่สามารถจัดหาเครื่องฉายระบบดีวีดีมาใช้ได้ เป็นอันต้องปิดตัวลงจำนวนมาก เดือนธันวาคม 2011 จำนวนโรงหนังทั่วประเทศลดลงจาก 244 แห่ง ที่เคยมีในช่วงปี 1950 เหลือเพียง 71 แห่ง
ปี 2011 – ภาพยนตร์เรื่อง “The Lady” ซึ่งเกี่ยวกับชีวิตของนางอองซาน ซูจี นำแสดงโดย มิเชล โหย่ว นักแสดงสาวได้บินมาพบนางอองซาน ซูจีเป็นเวลาหนึ่งวัน แต่ก็ถูกส่งกลับในเที่ยวบินในวันดังกล่าว เนื่องจากถูกรัฐบาลพม่าแบล็คสิสต์จากบทบาทที่เธอแสดง นางฮิลลารี คลินตัน เลขาธิการรัฐสหรัฐอเมริกา ได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้บนเที่ยวบินการเดินทางเยือนพม่าครั้งแรก
กันยายน 2011 – เทศกาลหนัง “วัตทัน” เป็นเทศกาลหนังอินดี้ครั้งแรกในประเทศ โดยมีหนังเข้าร่วมกว่า 23 เรื่อง
มกราคม 2012 – เทศกาลหนัง Art of Freedom film festival เป็นเทศกาลหนังครั้งแรกในประเทศที่เน้นประเด็นเรื่องการเซ็นเซอร์ จได้รับการสนับสนุนจากนางอองซาน ซูจี โดยมีซากานาร์ นักแสดงตลกและนักเคลื่อนไหวร่วมด้วย ในขณะที่การเซ็นเวอร์หนังยังคงมีอยู่ในประเทศ แต่ภายในงานดังกล่าว หนังถูกฉายโดยไม่มีการเซ็นเซอร์ ทั้งนี้เนื่องจาก รัฐจะตรวจสอบเฉพาะหนังที่สร้างเพื่อการค้าเท่านั้น โดยหนังเรื่อง Ban That Scene (ตัดฉากนี้) ได้รับรางวัลสูงสุด เป็นหนังตลกเสียดสีกองเซ็นเซอร์หนัง
[caption id="attachment_8167" align="aligncenter" width="553"] Patrick Barta for The Wall Street Journal[/caption]
เดือน สิงหาคม 2012 – Twentieth Century Fox เป็นค่ายหนังเจ้าแรกจากอเมริกาที่นำหนังฮอลลีวู้ดเข้าไปฉายในย่างอย่างถูกกฎหมาย ประเดิมด้วย Titanic 3D ก่อนหน้านี้มีการฉายหนังฮอลลีวู้ดโดยไม่ได้ขออนุญาตมานานแล้ว แต่ทาง Twentieth Century Fox ก็ยอมให้ฉายต่อไปได้แต่ต้องไม่ใส่คำบรรยาย หรือพากย์เป็นภาษาพม่า ในปีดังกล่าว มีหนังพม่าในตลาด 17 เรื่องที่ถ่ายทำในรูปแบบฟิล์ม ในขณะที่หนังแผ่นมีการผลิตออกมามากกว่า 1000 เรื่อง
เดือนกันยายน 2012 - Iron Man 3 สร้างประวัติศาสตร์ทำเงินสูงสุด โดยรายได้ 109,000 ดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์แรกที่เข้าฉายในโรงหนังเพียง 3 แห่งในย่างกุ้ง ในโรงหนังที่มัณฑะเลย์ 2 แห่ง และกรุงเนย์ปีดอว์อีก 1 แห่ง
เดือนมกราคม 2013 – คณะกรรมการเซ็นเซอร์ภาพเคลื่อนไหวถูกยุบ ผู้สร้างหนังสามารถสร้างผลงานโดยที่ไม่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงข่าวสารก่อน
เดือน มิถุนายน 2013 – หนังเรื่อง มายา เมี้ยเทะ อะลินกา (อุบาย) ถูกทางการเซ็นเซอร์และตัดเนื้อหาบางส่วนออกหลังจากมีการฉายไปแล้ว เนื่องจากมีฉากไม่เหมาะสมบนเตียง(ทั้งๆ ที่นักแสดงใส่เสื้อผ้าครบ) ด้านผู้กำกับหนังเรื่องดังกล่าวกล่าวว่า เขาได้ยินมาว่า รัฐบาลมีหนังสือลับที่ระบุไว้ว่าอะไรบ้างที่สามารถและไม่สามารถเผยแพร่ในหนังได้ ในขณะที่ผู้กำกับคนอื่นๆ ไม่เคยรู้เลยว่าอะไรบ้างที่สามารถฉายได้บ้างและไม่รู้ว่าหนังสือดังกล่าวจะมีอยู่จริงหรือไม่
เดือนมิถุนายน 2014 – หนังสั้นเรื่อง The open sky ที่กล่าวถึงบ้านของหญิงคนหนึ่งที่ถูกเผาทำลายในเหตุการณ์ต่อต้านชาวมุสลิมอย่างรุณแรงในเมืองเม้กทีลาเมื่อเดือนมีนาคม 2013 ถูกถอดออกจากเทศกาลหนังเพื่อสิทธิมนุษยชน Human Rights, Human Dignity International Film Festival เนื่องจากมีกลุ่มสุดขั้วทางศาสนาประท้วงที่หนังเรื่องดังกล่าวมีภาพความร่วมมือระหว่างชาวพุทธกับมุสลิมหลังเหตุการณ์ โดยได้ใช้ถ้อยคำรุณแรงต่อต้านและขู่เผาโรงหนังหากยังฉายต่อ
1 ธันวาคม 2014 - เริ่มมีการเซ็นเซอร์หนังก่อนสร้างอีกครั้ง โดยอ้างว่าเพื่อ รักษาวัฒนธรรม ไม่ให้มีภาพอนาจารขัดต่อความเชื่อทางศาสนา คนสร้างหนังที่สร้างแล้ว หากไม่ผ่านความเห็นชอบก็จะต้องถ่ายทำกันใหม่ และเนื่องจากคณะกรรมการเซ็นเซอร์ภาพเคลื่อนไหวและวิดีโอ(Motion Picture and Video Censorship Board) ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ได้มีการก่อตั้งกลุ่มประเมิณมาตรฐานภาพยนตร์ ( Movie Standards Evaluation Group) ขึ้นมาทำหน้าที่แทน โดยประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมภาพยนตร์พม่า องค์กรภาพยนตร์พม่า กระทรวงมหาดไทย สำนักงานอัยการสูงสุด สมาคมดนตรี และสมาคมนักเขียนพม่า ที่จะเป็นผู้อ่านบทหนังทั้งหมดก่อนที่จะมีการถ่ายทำ ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะให้มีการแก้ไขบท หรือตีกลับตามต้องการ
ปี 2015 ? – หนังชีวประวัติของนายพลอองซาน ที่รอเปิดตัวมานานมีคิวเข้าฉายก่อนสิ้นปี 2015 ซึ่งหนังเรื่องนี้เป็ฯไปอย่างล่าช้าเนื่องจากทีมงานไม่ต้องการบิดเบือนประวัติศาสตร์ มีการคัดเลือกตัวนักแสดงโดยใช้นักแสดงหน้าใหม่ที่ไม่เคยผ่านงานมาก่อนที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ ไม่ใช้ทีมงานผลิตจากต่างประเทศ เพราะต้องการให้เป็นหนังที่สร้างจากฝีมือคนพม่า แม้หลายคนจะปฏิเสธเพราะว่าดูเหมือนสารคดีมากเกินไปก็ตาม หนังเรื่องนี้มีแผนที่จะถ่ายทำที่ญี่ปุ่น อินเดีย และอังกฤษ แต่ทุนในการสร้างอาจให้ต้องลดความฝันลงบ้าง แต่ความหวังก็ยังสูงอยู่ ซึ่งบางทีอาจจะหวังสูงเกินไปด้วยซ้ำ เป็นความท้าทายที่จะทำให้ทุกอย่างออกมาแล้วทำให้ทุกฝ่ายพอใจได้ อย่างไรก็ตาม เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ว่าหนังเรื่องนี้จะสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในวงการภาพยนตร์พม่าได้หรือไม่
ภาพจาก facebook : Bogyoke Aung San Movie
[gallery link="file" ids="8162,8163,8164"]
จาก Myanmar Times
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น