เสียงเด็กร้องไห้ดังออกมาจากแผนกผู้ป่วยนอกเด็ก ด้านนอกอาคารคอนกรีตมีพ่อแม่มาเข้าแถว จูงลูกจูงหลาน รอชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และตรวจโรคอยู่
"เรามีหมอ 6 คน และเจ้าหน้าที่การแพทย์ชุมชน 4 คน" ดิซี หมอแผนกผู้ป่วยนอกเด็กชี้ไม้ชี้มือรอบๆ ห้องที่แสงสลัว ไปยังแถวผู้ป่วย
ดิซีเป็นหมอที่แม่ตาวคลินิกมา 15 ปีแล้ว เธอเป็นผู้ลี้ภัยที่หนีจากการปราบปรามผู้ต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่เมื่อปี 1988 เธอบอกว่า เธออยากทำงานด้านสุขภาพมาโดยตลอด
"ฉันฝันอยากจะเป็นหมอมาตลอด"
ดีซีวัดไข้ผู้ป่วยเด็กชาย ชิตทู วัย 3 ขวบครึ่ง มี มิ้นท์ วิน แม่ของเด็กวัย 26 ปี บอกว่า ลูกมีไข้มา 3 วันแล้ว
ดีซี บอกว่า ไข้จะค่อยๆ ลดลงไป แต่หัวใจของ ชิต ทู เต้นผิดปกติ "เด็กมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ อาจเป็นโลหิตจาง หรือมีฮีโมโกลบินต่ำ เพราะขาดสารอาหาร หรืออาจเพราะมีปัญหามาตั้งแต่กำเนิด" เธอมองชิตทู ไม่ละสายตา "เราจะต้องทำการทดสอบเพื่อดูว่าปัญหาคืออะไร"
มี มิ้นท์ วิน บอกว่า เธอกับลูกเดินทางมาจากพะโค ประเทศพม่า เพราะไม่มีเงินรักษาลูกที่บ้านเกิด
"ฉันเป็นห่วงลูกชายของฉันมาก ฉันไม่มีเงินค่ารักษาที่พม่าต้องใช้เงินมากกว่า 10000 จั๊ต แค่ตรวจขั้นพื้นฐาน" เธอบอก พลางจับมือลูกชาย
แม่ตาวคลินิก ตั้งอยู่ในเมืองชายแดนไทยติดกับพม่า มีผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษากว่า 150000 คนต่อปี กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเดินทางมาจากพม่า ซึ่งคลินิกให้การรักษาโรคและการบาดเจ็บ ตั้งแต่มาลาเรีย โณคหัวใจ ไปจนถึงผู้ป่วยเหยียบกับระเบิด
ในปี 2013 องค์การยูนิเซฟ ได้ระบุในรายงานว่า รัฐบาลพม่าจัดสรรงบประมาณด้านสุขภาพเพียง 5.7 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในช่วงปี 2012-2013 รัฐบาลได้ทุ่มงบประมาณให้กับกองทัพถึง 29 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณแผนดิน
ดีซี บอกว่า เธอเห็นว่าจำนวนคนไข้ที่เข้ามารับการรักษาที่คลินิกหลังมีการเลือกตั้งเมื่อปี 2011 เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย
"เรายังคงเห็นเด็กที่ขาดสารอาหารราว 50 คนต่อวัน ที่มาที่คลินิก ซึ่งหมายถึงเด็กที่อายุต่ำว่า 12 ปี บางครั้งเด็ก 15 คนในจำนวนนั้นเจ็บป่วยร้ายแรงเพราะขาดสารอาหาร"
คนไข้เด็กอีกครหนึ่งเข้ามาในห้อง เธอมีอาการหายใจแรงและเสียงดัง ดีซีรีบตรวจอาการในทันที ทั้งนี้เด็กที่อาการหนักหรือได้รับบาดเจ็บจะถูกส่งไปยังแผนกกุมารเวช
"ในแต่ละวัน เราพบเคสไฟไหม้ ปอดอักเสบ โรตไต โรคตับ การขาดสารอาหารอย่างรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ" ปาน เอ หมอวัย 36 ปี อธิบายโดยที่ยังสวมหน้ากาก
ที่แผนกกุมารเวชค่อนข้างเงียบ แตกต่างจากอาคารผู้ป่วยนอก
"ที่นี่เราจะพบเคสหนักๆ วันละยี่สิบกว่าเคส ครึ่งหนึ่งมาจากภาวะขาดสารอาหารรุนแรง" ปานเอ บอกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ของเธอมาจากประเทศพม่า
ปาน เอ ไม่พอใจที่รัฐบางพม่าไม่เห็นความสำคัญขององค์กรชุมชนอย่างคลินอกแม่ตาว
"ระบบสาธารณะสุขในพม่านั้นแย่มาก รัฐบาลไม่เห็นความสำคัญแม่กระทั่งไม่ยอมรับเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพที่แม่ตางคลินิก"
รายงานล่าสุดของแม่ตาวคลินิกระบุว่า มีผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นกว่า 17 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี 2011 - 2012 ซึ่ง 50 เปอร์เซ็นต์มาจากพม่า
การเพิ่มขึ้นเกิดขึ้นทั้งๆ ที่พม่ามีความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริงก็คือ ยังไม่มีการป้องกันรักษาสุขภาพขั้นพื้นฐานในกลุ่มประชากรี่มีความเสี่ยง อย่าง ทารกและมารดา อาจจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในชั่วข้ามคืน แม้จะค่อยๆ มีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นในช่วงปี 2012 ก็ตาม มันต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่ประชาชนชาวพม่าจะสามารถเข้าถึงระบบสาธารณะสุขได้อย่างเท่าเทียม
อาโม แรงงานข้ามชาติจากพม่า อาศัยอยู่กับสามีและลูกอีก 4 คน เธอทำงานเป็นช่างไม้ ส่วนสามีเป็นแรงงานเกษตรกรรม เธอมาที่แม่ตาวคลินิกพร้อมกับ เตา เซา วิน ลูกชายวัย 3 ขวบ ที่แขนขามีผ้าพันแผลพันไว้ "ฉันกับสามีออกไปทำงาน เขาทำไฟไหม้ที่น" อาโม บอก "อยู่ที่เมืองไทยในฐานะแรงงานกับครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดํมันลำบากมาก เราดูแลลูกไม่ได้เพราะทั้งสองคนต้องออกไปทำงานนอกบ้านเมื่อทำได้ เพื่อความอยู่รอด"
อาโมบอกว่า การหางานและที่พักใกล้กับโรงเรียนนั้นเป็นเรื่องยาก
"เราอยู่ไกลโรงเรียนสำหรับลูกหลานแรงงาน และไม่มีรถไป ฉันจึงทิ้งเด็กๆ ไว้ที่บ้านทั้งวัน" แม้ว่าจะทำงานทั้งสองคน แต่ก็ยังมีเงินไม่พอเก็บ "มันเป็นไปได้ยากที่จะเก็บเงินเมื่ออยู่ที่เมืองไทย เพราะค่าครองชีพมันสูงสำหรับเรา"
เจ้าหน้าที่เดินมาที่เตียงและฉีดยาให้กับ ตาวซินวิน เขาจ้องเพดานเขม็ง
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ อาโม ต้องเสียใจ ลูกชายคนโตของเธอจมน้ำไปเมื่อปีที่แล้ว เด็ก ๆ ลงไปเล่นน้ำที่แม่น้ำขณะที่เธอออกไปทำงาน
"ฉันยังคิดถึงเขามาก" เอ โม บอก พลางลูบหัว ตาว เซา วิน อย่างเหนื่อยล้า
"ความฝันของฉันสำหรับลูกๆ คือ อยากให้มีการศึกษา ฉันไม่อยากให้เป็นเหมือนกับฉัน"
แปลจาก Border Clinic Child Health Offers Hope โดย Karen News 27 มีนาคม 2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น