วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เปิดโลกการศึกษามหาวิทยาลัยพม่า

ygn u

มหาวิทยาลัยในพม่าได้เปิดให้บริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E -library)แล้ว โดยได้รวบรวมหนังสือดิจิตอล และวารสารทางวิชาการจำนวนหลายแสนเล่ม ซึ่งช่วยให้ชาวพม่าได้ตามทันโลกหลังจากถูกโดดเดี่ยวอยู่ภายใต้การปกครองของเผด็จการทหารมานานหลายทศวรรษ

 

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง และมหาวิทยาลัยมัณฑเลย์ เป็นมหาวิทยาลัยสองแห่งที่ได้เปิดให้บริการห้องสมุดเล็กทรอนิกส์ แล้ว ซึ่งเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าพม่ากำลังเปิดรับอิทธิพลจากโลกภายนอก

 

นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยสามารถสืบค้นฐานข้อมูลและดาวน์โหลดหนังสือและบทความจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัย ซึ่งในขั้นต่อไปมีแผนจะให้นักศึกษาสามารถสืบค้นจากคอมพิวเตอร์แล็บทอปที่ห้องได้

 

หลังจากถูกตัดขาดจากระบบการศึกษาหลักมานานหลายปี ห้องสมุดออนไลน์ได้กลับมาเชื่อมต่อกับมหาวิทยาลัยในพม่าอีกครั้งด้วยทุนสนับสนุนที่ไม่ต้องถูกเซ็นเซอร์อีกต่อไป

 

มันอาจต้องใช้เวลาหลายสิบปีหรือเป็นร้อยปีในการรวบรวม แต่สำหรับห้องสมุดสำหรับศตวรรษที่ 21 แห่งนี้เปิดตัวได้อย่างรวดเร็วพอๆ กับความเร็วของคอนเน็คชั่นที่ผ่านสายเคเบิลออพติกเลยทีเดียว

 

ในพม่า มันหมายถึงการก้าวกระโดดเพื่อรวบรวมหนังสือดิจิตอลกว่า 130000 เล่ม

 

การกลับมาของนักศึกษา

 

อเล็กซานเดอร์ สโตควิช จากมูลนิธิ Open Society Foundations ที่ให้การสนับสนุนโครงการห้องสมุดดังกล่าว กล่าวว่า ห้องสมุดแบบเดิมที่เก็บหนังสือสิ่งพิมพ์เป็นเล่มๆ นั้นนำมาใช้จริงไม่ได้แล้วและใช้ทุนสูงเกินไป มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนสำหรับเครื่องมือที่มันสมัย

 

"ห้องสมุดทั่วไปเหมือนเป็นสถานที่เก็บของโบราณ เหมือนพิภิธภัณฑ์มากกว่า" เขากล่าว

 

หนังสือที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมในห้องสมุดนั้นยังมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับเมื่อ 50 -60 ปีที่แล้ว จึงเป็นเรื่องยากที่นักวิชาการจะมีมาตรฐานสากล และยังถูกจำกัด โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐเสียก่อนจึงจะมีหนังสือเล่นนั้นอยู่ในห้องสมุดได้

 

นั่นคืออาการของการเสื่อมสลายของระบบมหาวิทยาลัย

 

เหตุผลที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงอย่างเร่งด่วนเพราะมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 กลับเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นครั้งแรก หลังจากที่สถาบันปิดตัวไปกว่า 20 ปี

 

มหาวิทยาลัย เคยถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางการต่อต้านรัฐบาลจึงถูกจำกัดมาก มหาวิทยาลัยย่างกุ้งเคยเป็นสถาบันที่มีเกียรติ์มากที่สุดแห่งหนึ่งในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ต้องมาวนเวียนอยู่กับเหตุประท้วง การปราบปราม และการปิดมหาวิทยาลัยอยู่หลายครั้ง

 

ความเสียหาย

 

นางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน เคยออกมาเตือนว่า ระบบมหาวิทยาลัยเกือบถูกทำลายเสียหายจากการปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการทหารมากว่าครึ่งศตวรรษ

 

"ชีวิตในมหาวิทยาลัยขาดช่วงมานานหลายทศวรรษแล้ว"

 

แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อไม่กี่ปีมานี้ มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับอิสรภาพมากขึ้น คนหนุ่มสาวก็ได้กลับเข้าไปสู่รั้วมหาวิทยาลัยที่เคยรกร้างอีกครั้ง

 

การกลับมาของคนหนุ่มสาวเหล่านี้ ซึ่งก็คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 หลังจากที่ห่างหายไปหลายรุ่น ได้รับการคัดเลือกว่าเป็น รุ่นที่ฉลาดที่สุดและดีที่สุด จากกลุ่มเด็กในปีเดียวกัน และถูกคาดหวังไว้สูง

 

ซูซานา ล็อบ จากองค์กรข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อมหาวิทยาลัย ( Electronic Information for Libraries -EIFL) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร ที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จัดตั้งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า "ข้อมูลออนไลน์นั้นเป็นที่น่าพอใจมาก"

 

ห้องสมุดดิจิตอล นอกจากจะมีการบริการข้อมูลที่หลากหลายแล้ว หนังสือหรือวารสารเล่มเดียว ยังสามารถให้นักศึกษาใช้ได้ในเวลาเดียวกันไม่จำกัดจำนวนอิกด้วย

 

นักศึกษาใหม่มีความสนใจที่จะฝึกฝนการพูดภาษาอังกฤษมาก ซึ่งห้องสมุดออนไลน์ก็มีสื่อที่หลากหลายเหมือนที่ห้องสมุดทันสมัยมี นอกจากหนังสือแล้ว ก็มีนิตยสาร หนังสือพิมพ์ และงานวิจัยด้วย

 

เชื่อมโยงทั่วโลก

 

EIFL ได้เจรจากับสำนักพิมพ์ต่างๆ เพื่อให้ลดราคาหนังสือออนไลน์ โดยหนังสือที่มีอยู่ทั้งหมดในห้องสมุดอิเล็คทรอนิก ใช้งบประมาณจัดซื้อไป 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ศาสตราจารย์จ่อ นาย อธิการบดีมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง กล่าวว่า ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์เป็นก้าวย่างที่สำคัญ เขาบอกว่า ก่อนหน้านี้ต้องหัวเสียกับการที่ไม่สามารถเข้าถึงสารสารทางวิชาการของนานาชาติได้ ซึ่งห้องสมุดแห่งนี้จะสามารถยกระดับมาตรฐานการศึกษาได้

 

การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยนั้นเป็นโลกาภิวัตน์และเป็นโลกที่มีเครือข่ายเชื่อมโยง ไม่เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ ที่เคยมีเรื่องที่เสื่อมเสียของสถาบัน

 

"เราเดินกลับไม่ได้แล้ว เราต้องการเดินหน้าต่อ" ศาสตราจารย์จ่อ นาย กล่าว

 

ดอว์ หล่าย หล่าย จี หัวหน้าบรรณารักษ์ กล่าวว่า เธอรู้สึกดีใจมากที่เห็นห้องสมุด "พลุกพล่านกว่าที่เคย"

 

ห้อสมุดมีการเชื่อมโยงกับห้องสมุดทั่วโลกอีก ตำรากฎหมาย รายงาน ตัวบทกฎหมาย มากกว่า 5000 เล่มได้รับการบริจาคจากห้องสมุด Bodleian Law Library มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำหรับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง

 

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดยังจัดอบรมด้านการบริการมหาวิทยาลัยอีกด้วย

 

อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลั และกลุ่มธุรกิจ จากสหรัฐอเมริกา อย่าง มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮ็อปส์กิน มหาวิทยาลัยวอชิงตัน และบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งมีแผนจะเข้ามาช่วยสอนและจัดอบรมในพม่า ขณะที่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยกว่า 30 แห่งได้เข้ามารับสมัครนักศึกษาในย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเหมือนแหล่งใหม่

 

ขณะที่มหาวิทยาลัยแมนสำหรับเครือเชสเตอร์ ได้รับทุนจากมูลนิธิ Open Society จัดทำโครงการอีกหนึ่งโครงการ ในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ให้กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยในพม่า

 

มูลนิธิ Open Society ก่อตั้งโดย จอร์จ โซรอส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนประเทศต่างๆ เคยเป็นคอมมิวนิสต์ให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นประชาธิปไตย

 

นอกจากการเปิดประตูมหาวิทยาลัยสู่สถาบันการศึกษาทั่วโลกแล้ว โครงการห้องสมุดยังมีมิติที่เกี่ยวข้องกับการเมืองด้วย โดยห้องสมุดจะเปิดช่องทางให้คนหนุ่มสาวให้แสดงความคิดเห็นและการถกกัน ซึ่งครั้งหนึ่ง เมื่อมีการเปิดโต้วาทีและให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยอย่างนี้แล้ว ก็ยากที่จะกลับมาสู่ยุคแห่งการเซ็นเซอร์ได้อีก

 

"เราต้องการพัฒนาการคิดวิเคราะห์" นาย สโตควิช กล่าว

 

"เมื่อยักษ์ออกมาจากตะเกียงแล้ว คุณจะไล่มันกลับลงไปไม่ได้"

 

แปลจาก Instant e-libraries for Myanmar universities Sean Coughlan
โดย Sean Coughlan /BBC 
1 เมษายน 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น