วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

เมื่อเหยื่อสงคราม ตกเป็นเหยื่อกระบวนการค้ามนุษย์

[caption id="attachment_7327" align="aligncenter" width="800"]Htoo Tay Zar/Al Jazeera Htoo Tay Zar/Al Jazeera[/caption]

 

ค่ายผู้อพยพ เจยาง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองไลซา เมืองหลวงของกองกำลังคะฉิ่น ซึ่งใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ผ่านเส้นทางที่เต็มไปด้วนหินราว 30 นาที ที่นี่เป็นที่อาศัยของผู้พลัดถิ่นภายใน (Internally Displaced Persons (IDPs)) กว่า 8,000 ชีวิต

 

ภูมิประเทศรอบค่ายอพยพที่ก่อนหน้านี้เป็นป่าที่ยิ่งกว่าเงียบสงัด ไร้วี่แววการปรากฎตัวของมนุษย์

 

ทว่า สงครามกลางเมืองที่ปะทุขึ้นมารอบใหม่ได้นำพาให้ผู้พลัดถิ่นภายในหนีภัยมาอยู่ในพื้นที่ป่าที่มีความสวยงามดั่งภาพวาดแห่งนี้ ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนพม่า-จีน องค์กรเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independence Organisation (KIO)) ได้เริ่มต่อสู้กับกองกำลังทหารพม่ามาตั้งแต่ข้อตกลงหยุดยิงที่มีมายาวนาวกว่า 17 ปี ถูกละเมิดเมื่อเดือนมิถุนายน 2011 ที่ผ่านมา

 

 

ประชาชนมากกว่าหนึ่งแสนคนต้องพลัดจากที่อยู่อาศัย ในจำนวนนั้นมีผู้ที่หลบภัยการสู้รบเข้ามาอยู่ในพื้นที่ควบคุมของ KIO กว่า 80,000 คน โดยปราศจากความช่วยเหลือจากนานาชาติ

 

KIO ได้ต่อสู้ในนามชาวคะฉิ่นเพื่อเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองจากพม่ามาตั้งแต่ปี 1961 โดยมีกองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independence Army (KIA)) เป็นหน่วยงายย่อยทางทหาร

 

เติมเชื้อไฟกระบวนการค้ามนุษย์

 

รอยจา (ชื่อสมมุติ) หญิงสาววัย 18 ปี อาศัยอยู่ที่ค่ายอพยพเจยัง ครอบครัวของเธอมาจากภาคเหนือของรัฐฉาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวคพฉิ่นและชาวไทใหญ่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิม

 

ที่รัฐฉานตอนเหนือ มีกองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติตะอั้ง (กลุ่มย่อยของกองกำลังแนวหน้าปะหล่อง) และกองกำลัง KIA กองพลที่ 4 ประจำการอยู่ ซึ่งกองกำลังพัมธมิตรทั้งสอง เป็นกองกำลังที่ยังไม่ได้ลงนามหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า

 

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ตอนที่การสู้รบระหว่างกองกำลังคะฉิ่นและกองทัพพม่าเริ่มขึ้น ครอบครัวของรอยจาต้องหนีออกมากหมู่บ้านจนสุดท้านต้องมาอาศัยอยู่ที่ค่ายเจ ยางแห่งนี้

 

สมาชิกครอบครัวของรายจาทั้ง 6 คน ไม่มีรายได้ รอยจา ในฐานะลูกสาวคนโต ต้องทำงานในร้านอาหารในตัวเมืองไลซา กระทั่งวันหนึ่ง "เพื่อนคนหนึ่ง" ได้ชักชวนให้ไปทำงานในฝั่งจีนที่มีรายได้ดีกว่า

 

หลังจากครุ่นคิดมาประมาณสองสามวัน เธอจึงบอกกับแม่ว่าจะเดินทางไปเมืองจีน ในเดือนเมษายนปีที่แล้ว เธอก็ได้ขึ้นรถโดยสารเดินทางไปยังเมืองจีนกับเงินติดตัวไป 100 หยวน(ประมาณ 522 บาท)

 

"เพื่อนคนนั้น" ได้นัดพบกับเธอที่ยินเจียง ชายแดนฝั่งจีน ซึ่งเป็นจุดที่ชาวคฉิ่นสามารถเดินทางข้ามชายแดนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยใบผ่านแดน เมื่อไปถึง เพื่อนได้แนะนำเธอให้กับชายชาวจีนคนหนึ่ง และต่อมาเธอก็เดินทางไปยังเมืองคุณหมิง เมืองหลวงของมลฑลยูนนานกับชายคนนั้น ซึ่งที่นั่น ชายวัยประมาณ 30 กว่าก็ปรากฎตัวขึ้น

 

ชายชาวจีนคนแรกส่งตัวเธอให้ชายชาวชีนอีกคนหนึ่งแวก็จากไป จากนั้นชายคนที่สองได้พารอยจาขึ้นรถประจำทางไปถึงยังหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในชายฝั่งในตอนเช้า "ฉันไม่รู้ว่าเป็นที่ไหน"

 

ชายคนนั้นให้รอยจาพักอยู่ในห้องเล็กๆ ในช่วงสองสามวันแรก ผู้หญิงในหมู่บ้านต่างเฝ้าดูรอยจาทุกทุกฝีก้าว พวกเขาให้เงินรอยจาวันละ 10 หยวน (52 บาท) เพื่อใช้จ่ายประจำวันและซื้ออาหาร

 

วันหนึ่ง เธอได้ยินชายคนนั้นประกาศว่า "เรามีหญิงสาวชาวพม่าที่บ้านของเรา ใครอยากได้เจ้าสาวบ้าง..."

 

มันเป็นวันที่ 3 ที่เธอมาถึงที่หมู่บ้านแห่งนี้ "ฉันเริ่มร้องไห้ ทั้งวันทั้งคืน ขอร้องให้พวกเขาส่งฉันกลับบ้าน แต่ผู้หญิงคนหนึ่งที่ยินเจียงบอกให้ฉันล้มเลิกความตั้งใจ ฉันมารู้ว่าฉันถูกขายเป็นจำนวนเงิน 3 หมื่นหยวน (156,650บาท)"

 

 

หนึ่งในหลายคน

 

รายงานที่จัดทำขึ้นโดยสมาคมสตรีคะฉิ่นในประเทศไทย (KWAT) เมื่อปี 2008 ระบุว่า "ในจำนวนเหยื่อที่ได้รับการยืนยัน กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ถูกบังคับให้เป็นเจ้าสาว(ในประเทศจีน)"

 

นโยบายส่งเสริมให้ประชาชนมีลูกเพียงคนเดียวทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ของจำนวนประชากร และเป็นสาเหตุให้การค้ามนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงระบาดหนักตามชายแดนมาเป็นเวลาหลายสิบปี ขณะที่สถานการณ์การสู้รบในรัฐคะฉิ่นที่เลวร้ายลงก็ได้ส่งผลให้การค้ามนุษย์มีความรุนแรงขึ้น

 

นอกจากนี้ "ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชายหญิง" ในสังคมคะฉิ่นก็เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการค้ามนุษย์ โดยในรายงานระบุว่า "สงครามกลงเมืองที่เกิดขึ้นมายาวนานหลายทศวรรษและการระบาดของยาเสพติดและสุราในกลุ่มผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงต้องกลายมาเป็นผู้นำครอบครัว สร้างภาระให้กับผู้หญิงที่ต้องเป็นผู้หารายได้หลักเพียงลำพัง "

 

เจ้าหน้าที่รัฐของพม่าเปิดเผยว่าเมื่อปีที่แล้วมีรายงานการค้ามนุษย์จำนวน 102 ราย หน่วยปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานพิเศษของกรมตำรวจ ระบุว่า ในจำนวนนั้น 59 ราย เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในประเทศจีน และมากกว่าครึ่งหนึ่งถูกบังคับให้แต่งงานโดยไม่สมัครใจ

 

น คุม บอว์กตอง นักวิจัยของ KWAT ในไมจายัง เมืองเล็กๆ ในพื้นที่ควบคุมของ KIO กล่าวว่า "หลายปีก่อน เรามีหลายเคสที่ครอบครัวหลายครอบครัวได้รวมกันออกเงินซื้อผู้หญิงคนเดียวเพื่อเอาไว้ใช้งานหลายๆ อย่าง ซึ่งเป็นกึ่งๆ การใช้แรงงานทาส"

 

เธอเปิดเผยว่า ในหลายกรณี มีเพื่อน หรือแม้แต่กระทั่งคนในครอบครัวของเหยื่อที่ส่งเสริมและอำนวยความสดวกให้กระบวนการค้ามนุษย์

 

นอว์คอง ชายหนุ่มวัย 18 ปีที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพเจยาง ได้รับโทรศัพท์จากญาติเมื่อเดือนสังหาคมปีที่แล้ว โดยญาติบอกว่า "มีงานดีๆ ให้คุณ" นอว์คองจึงเดินทางข้ามชายแดนไปยังยินเจียง และได้พบกับนายหน้า 3 คน ที่ญาติแนะนำให้รู้จัก

 

นายหย้าคนหนึ่งพา นอว์คอง ไปที่เมืองคองซี เมืองเล็กๆในมณฑลฉางชี่ โดยเดินทางโดยรถโดยสารและรถไฟเป็นเวลา 4 วัน เมื่อไปถึงที่นั่น เขาได้โทรศัพท์ไปหาแม่ที่อยู่ในค่ายเจยาง

 

เขาบอกว่า แม่ ผมได้งานแล้ว ถ้าได้ค่าจ้างวงดแรกแล้วผมจะส่งเงินไปให้" เขายังไม่รู้ตัวว่าตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์แล้ว

 

งานที่ นอว์คอง และแรงงานชายอีก 7 คนที่เป็นคนจากหลายชาติพันธุ์ที่มาจากพม่า ต้องทำก็คือ การตัดไม้

 

ผ่านไป 3 เดือน แม่ของเขาก็ยังไม่เคยได้รับเงินจากลูกชาย เมื่อ นอว์คอง ถามถึงเงินเดือน เขาก็ได้รับคำตอบที่น่าตกใจจากผู้จัดการว่า "ฉันจ่ายเงินเดือนล่วงหน้าให้กับชายสองคนที่พาเธอมาที่นี่ไปหลายเดือนแล้ว"

 

ในวันที่เหยื่อ กลายเป็นผู้กระทำ

 

การค้ามนุษย์เกิดขึ้นในรัฐคะฉิ่นและหลายๆ แห่งประเทศพม่ามายาวนานแล้ว แม้จะมีการหยุดยิ่งในหลายพื้นที่ก็ตาม

 

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่การสู้รบเริ่มปะทุขึ้นอีกครั้งในรัฐคะฉิ่นเมื่อปี 2011 สถานการณ์การค้ามนุษย์ก็เข้าสู่สถานการณ์ที่เลวร้าย โดยนายหน้าจะตระเวณไปตามค่ายผู้พลัดถิ่นภายใน ซึ่งในเมืองไลซามีจำนวน 4 แห่ง และอยู่ในเขตควบคุมของกองกำลังคะฉิ่น

 

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นแตกต่างจากรายงานของ KWAT เมื่อปี 2008 เนื่องจาก 2 ใน 3 ของเหยื่อการค้ามนุษย์เกิดขึ้นในเมืองมิตจีนา ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมของกองทัพพม่า

 

ภูมิประเทศในเขตของงกองกำลังคะฉิ่นทำให้การค้ามนุษย์สะดวกขึ้น เพราะค่ายผู้อพยพที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมของ KIO ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศจีน ทำให้ข้ามไปมาได้ง่าย

 

นอกจากนี้ กองกำลังคะฉิ่นก็กำลังประสบปัญหา ความสามารถในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ลดลง ในอดีต กลุ่มองค์กรสตรีหลายกลุ่มยอมรับว่า KIO ได้มีส่วนในการช่วยหยุดยั้งกระบวนการค้ามนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นอย่างนั้นแล้ว

 

คอนละ นักเคลื่อนไหวจากสมาคมสตรีคะฉิ่น (KWA) กล่าวว่า "หลังจากการสู้รบกลับมาปะทุอีกครั้ง KIO ก็ไม่สามารถให้ความสนใจพุ่งเป้าไปที่ประเด็นการค้ามนุษย์อย่างที่เคยทำอีกต่อไป กำลังลังพลของ KIO ต้องยุ่งอยู่กับการสู้ระและการเจรจาสันติภาพ"

 

ในอดีต ถ้ามีผู้หญิงที่ถูกขายไปยังประเทศจีนสามารถหนีออกมาได้และเดินทางกลับมาถึงพื้นที่ชายแดนเขตควบคุมของรับบาลพม่า พวกเขาจะถูกจับขังคุก หรือถูกปรับ และไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ ด้วยเหตุผลนี้ ผู้ที่หนีกลับมาได้จึงต้องหันไปพึ่งกองกำลังคะฉิ่น ที่จะส่งตัวผู้หญิงเหล่านั้นไปอยู่ในที่ปลอดภัยซึ่งพวกเขาจะได้รับการฝึกอาชีพ

 

ทว่า การช่วยเหลือเหล่านี้ได้ลดน้อยลงเพราะสงครามที่กลับมาอีกครั้ง เกิดสูญญากาศในการปกป้องผู้ลี้ภัย

 

ผู้ลี้ภัยที่ถูกทอดทิ้ง

 

อย่างไรก็ตาม นอว์คอง สามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย เขาได้รับการติดตามตัวหลังจากแม่ของเขาแจ้งไปยังตำรวจในยินเจียง ปัจจุบัน เขาอาศัยอยู่กับครอบครัวในค่ายผู้อพยพเจยาง

 

สำหรับ รอยจา เธอได้รับการช่วยเหลือหลังจากออกจากบ้านได้ 21 วัน ซึ่งโชคดีที่สามารถช่วยเหลือเธอได้ก่อนวันที่ถูกบังคับให้แต่งงาน โดยเธอได้โทรศัพท์ไปหาแม่ที่ค่ายเจยาง ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรผู้หญิงไทใหญ่ในหมู่บ้าน

 

แม่ของ รอยจา รับแจ้งคณะกรรมการของค่ายทันที ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจในยินเจียง ที่คุ้นเคยกับกรณีเหล่านี้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถตามหา รอยจา จนพบและช่วยเหลือเธอออกมาจนได้

 

ทว่า รอยจา ก็ได้กลับมาพร้อมกับหนี้ 3000 หยวน(15,618 บาท) ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจีนเรียกว่า "ค่าดำเนินการตามกฎหมาย" ที่ติดตามช่วยเหลือรอยจา ครอบครัวของเธอต้องยืมเงินจากเจ้าหน้าที่ค่ายอพยพและค่อยๆ ผ่อนใช้คืน

 

ชอว์ง ชอว์ง เจ้าหน้าที่วิจัยของ KWAT ในไลซา กล่าวว่า "ตำรวจจีนจะไม่ให้การช่วยเหลือคุณ ถ้าคุณไม่จ่ายเงิน"

 

แปลจาก Burma: Trafficking worsens with war's return
โดย  Lee Yu Kyung

greenleft.org.au 7 เมษายน 2557


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น