วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

โชค+เงิน ปัจจัยสำคัญท่องเน็ตเร็วทันใจในพม่า

A man shakes a box containing SIM card lottery tickets, before the tickets are drawn, in Yangon

ย่างกุ้ง – แม้ว่าอินเทอร์เน็ตในพม่าจะช้าแค่ไหน แต่ก็ยังสามารถทำให้คนติดได้ ใครที่ต้องการความเร็วที่มากกว่าก็ต้องหันไปใช้โทรศัพท์มือถือแทน ซึ่งในพม่าอินเทอร์เน็ตโทรศัพท์มือถือมีความเร็วกว่าช่องทางอื่น

 

แต่ก่อนอื่นก็ต้องมีสมาร์ทโฟนก่อน และก่อนหน้านั้นก็ต้องมีซิมการ์ดเสียก่อน ซึ่งขึ้นตอนนี้แหละที่ทำให้ชาวเน็ตหลายคนไม่สามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟนและต้องหันไปใช้บริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่แทน เพราะกว่าที่จะได้ซิมการ์ดโทรศัทพ์มาครอบครองได้ ไม่ใช่ง่ายๆ คนๆ นั้นต้องโชคดีมากพอที่จะถูกหวยได้

 

ผู้ที่ต้องการจะซื้อซิมการ์ดโทรศัพท์ต้องส่งคำร้องไปที่รัฐบาล จากนั้นก็รออย่างน้อยเดือนหนึ่งจึงจะมีการประกาศชื่อผู้มีสิทธิจับฉลากในการซื้อซิม ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน โดยแต่ละรอบจะมีผู้ได้รับคัดเลือกราว 100 ถึง 120 คน

 

ไม่มีตัวเลขที่แน่นอนว่ามีชาวพม่าที่ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวนที่ราย จากรายงานเมื่อมี 2012 โดย Nomura Equity Research on Asia Telecoms ระบุว่า อาจมีจำนวนอยู่ระหว่าง 1.3 ล้านถึง 2.5 ล้านคน -ขณะที่รายงานอีกฉบับหนึ่งที่จัดทำโดย International Telecommunication Union ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติระบุว่ามีผู้จดทะเบียนใช้โทรศัพท์มือถือกว่า 5.4 ล้านราย รายงานทั้งสองฉบับไม่ได้ระบุว่ามีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ใช้อินเทอร์เน็ตจำวนเท่าไหร่ แต่สำนักข่าว Radio Free Asia ระบุว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยใช้โทรศัพท์มือถือ

 

ซิมการ์ดของพม่าอยู่ภายใต้การดูแลของ Myanmar Posts and Telecommunications (MPT) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เริ่มใช้ระบบจับฉลากให้สิทธิผู้ที่ต้องการซื้อซิมการ์ดหลังมีผู้สมัครจำนวนหลายพันคน เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลได้จำหน่ายซิมการ์ดแบบจับฉลากในราคา 60 บาท

 

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ราคาซิมการ์ดสูงถึง 2.91 จั๊ต (หรือ 9 หมื่นบาท) ซึ่ง มอน นักข่าวชาวพม่ากล่าวว่าเป็นราคาที่บ้าบอ และในเดือนมีนาคม หนึ่งเดือนก่อนมีการจับฉลากครั้งแรก รัฐบาลได้ลดราคาซิมการ์ดลงเหลือ 200,000จั๊ต และ 250,000 จั๊ต (หรือ 60,000 และ 65,000 บาท)

 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีอีกตัวเลือกหนึ่งคือ ซิมการ์ดแบบชั่วคราว ราคา 600 บาทหรือ 750 บาท ซึ่งจะใช้ได้หนึ่งเดือน ต่อมาในเดือนมิถุนายน รัฐบาลได้เลิกผลิตซิมการ์ดชั่วคราวซึ่งมีผู้ใช้ทั้งชาวพม่าและนักท่องเที่ยวต่างชาติ

 

ในขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ สามารถเป็นเจ้าของซิมการ์ดได้ง่ายๆ ในราคา 40เปโซ (หรือประมาณ 29 บาท) ซึ่งชาวพม่าที่ไม่ต้องการจับฉลากซื้อซิมการ์ดก็หันไปพึ่งตลาดมืดที่มีซิมการ์ดแบบถาวรจำหน่ายในราคา 4,500 – 5,100 บาท ขณะที่นักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่ไม่มีคุณสมบัติในการสมัครเพื่อจับฉลากก็ถูกบีบให้เช่าโทรศัทพ์มือถือพร้อซิมการ์ดที่สนามบิน โดยบริษัทยัดดะนาบงเทเลพอร์ต ได้ตั้งบู๊ทรอไว้แล้วที่สนามบิน

 

ราคาค่าเช่าโทรศัพท์ 10 วันอยู่ที่ 90 ดอลลาร์ หรือ 2700 บาท และต้องเติมเงินก่อนจึงจะเปิดใช้งานหมายเลขได้ ซึ่งบัตรเติมเงินมีราคา 840 บาท ซึ่งรวมแล้ว ค่าใช้จ่ายสำหรับการติดต่อสื่อสารในพม่าในระยะเวลา 10 วันก็ปาเข้าไปถึง 3540 ซึ่งพอๆ กับค่าโทรศัพท์รายเดือนแบบไม่จำกัดของฟิลิปปินส์ถึง 2 เดือนเลยทีเดียว

 

ซึ่งคนขับแท็กซี่บอกว่า “พวกคุณกำลังถูกปล้นกลางวันแสกๆ แล้ว”

 

ความรู้สึกเหมือนถูกปล้นเช่นนี้ คนไม่ต่างจากที่อดีตครูใหญ่คนหนึ่งเคยเจอมาก่อนเมื่อปี 2006 ซึ่งทางการได้บล็อกเลขหมายโทรศัพท์ของเธอและยึดซิมการ์ดไป หลังจากเธอได้ใช้โทรศัพท์ส่งข้อมูลรายงานเกี่ยวกับสถานการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า นับเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้มีรายได้แค่เดือนละ 240 บาทอย่างเธอ ที่ใช้เงินหลังเกษียณทั้งหมดซื้อซิมการ์ดมาในราคา 90,000 บาท

 

ในฐานะที่ทำงานรับใช้รัฐบาลมามากกว่า30 ปี เธอไม่ยอมให้ใครมาเอาเปรียบง่ายๆ เธอได้ขอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติเพื่อทวงซิมการ์ดโทศัพท์กลับคืนมา ซึ่งเธอก็ได้คืนมาจริงๆ ในไม่กี่เดือนมานี้ หลังจากต่อสู้เป็นเวลา 5 ปี

 

“ตอนที่แม่ได้มันกลับคืนมา แม่ได้อิสรภาพกลับมาด้วย” แรนด์ (ชื่อสมมุติ) ลูกชายของอดีตครูใหญ่ผู้นี้กล่าว “เราเลี้ยงฉลองกัน เพราะมันก็เป็นชัยชนะของเราเหมือนกัน”

 

ในขณะที่การจับฉลากซิมการ์ดยังคงมีการดำเนินการอยู่ทุกวันนี้ มอน นักข่าวชาวพม่าเผยว่า สามีของเธอเพิ่งจับฉลากได้ในราคา 4500 บาท ซึ่งต้องรอนานกว่า 2 เดือนก่อนจะรู้ว่าเขาได้สิทธิ์นั้น

 

“การจำหน่ายซิมการ์ดในราคา 3 พันดอลลาร์ (9 หมื่นบาท)เมื่อก่อน ก็บ้าพอแล้ว นี่ตอนนี้เรายังต้องมาจับฉลากอีก ฉันไม่อยากจะเชื่อเลย” มอน กล่าว

 

มอนกล่าวว่า เธอดีใจกับสามี แต่ก็ยังกังวลเรื่องการเปิดใช้ซิมการ์ดอยู่ “เราควรจะมาฉลองกัน ไม่ว่านโยบายจะมีการพลิกผันอีกหรือไม่ แต่ฉันก็ยังคิดแหมือนเดิมว่ามันเป็นเรื่องที่บ้ามาก ”

 

ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก่อนที่การจับฉลากจะเริ่มขึ้นและหลังจากที่ราคาซิมการ์ดได้รับการปรับลดลงจากหลักหมื่น เหลือหลักพัน ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ได้กล่าวยกย่องกระทรวงข่าวสารและโทรคมนาคมพม่าว่า เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาโดยรวม หลังยอดจำหน่ายซิมการ์ดพรั่งพรู

 

“ปัจจุบันอัตราการใช้โทรศัพท์ในประเทศอยู่ที่แค่ 7 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลมีเป้าหมายให้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์เป็นอย่างน้อยภายในปี 2014” ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กล่าวในแถลงการณ์

 

ประธานาธิบดีเต็ง เส่งยังได้เรียกร้องให้มีการกระจายซิมการ์ดที่เท่าเทียมในหลายรัฐและเขตในพม่า นอกจากนี้ยังให้คำมั่นว่าจะลดราคาทีศัพท์มือถือลงมาให้ประชาชนอีกด้วย ปัจจุบัน ในพม่ามีโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ Huawei ของจีนจำหน่ายอยู่ที่ 22,000 – 25,000 จั๊ต (660-750 บาท)แต่ก็ใช้ได้เฉพาะโทรเข้าออกและส่งข้อความเท่านั้น

 

โทรศัทพ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ยังคงมีราคาสูงเกินเอื้อมสำหรับชาวพม่าส่วนใหญ่ โดยสมาร์ทโฟนของซัมซุงจำหน่ายอยู่ที่ 445,000 – 520,000 จั๊ต (13350 – 15600 บาท) ส่วนไอโฟนที่มีราคา 660,000 – 990,000 จั๊ต (19,800 – 29,700 ) ก็เป็นที่นิยมเฉพาะในกลุ่มชนชั้นกลางและคนรวยเท่านั้น

 

“ประชาชนอยู่ภายใต้การควบคุมของกับรัฐบาล เราไม่มีทางเลือกนอกจากรอและอดทน และเล่นตามเกมของรัฐ” มอนกล่าว

 

———————-

 

แปลจาก No SIM City in Burma โดย JEFRY TUPAS

 

4 กันยายน 2556 irrawaddy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น