พม่าเป็นแหล่งของหยกชั้นดีของโลก ทว่า แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศเมื่อสองปีที่แล้ว แต่ความโหดร้ายทางมนุษยธรรมยังคงเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเหมืองหยก คนงานนับหมื่นถูกหาประโยชน์ ขณะที่มีการใช้เฮโรอีนกันอย่างแพร่หลาย ทำให้กลายเป็นชุมชนที่มีการติดเชื้อเอชไอวีมากที่สุดของโลก
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ประธานาธิบดีบารัก โอบามายกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่าหลายประเภท หลังพม่ามีสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมที่ดีขึ้น แต่ยังคงการคว่ำบาตรการค้าหยกและทิบทิมไว้ จากการที่ยังคงมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเหมืองแร่หลายแห่งในรัฐคะฉิ่นที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ
รัฐคะฉิ่นมีกองกำลังเอกราชคะฉิ่นหรือ KIA เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ มีชายแดนติดกัยประเทศจีน ที่ให้ความสนใจพื้นที่ดังกล่าวอย่างมาก การเป็นเจ้าของเหมืองหยกในรัฐคะฉิ่นเป็นเรื่องที่ไม่โปร่งใส และมักเป็นสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับผลประโยชน์ของท้องถิ่น
ในขณะที่คนงานในเหมืองหยกก็ถูกล่อลวงด้วยผลประโยชน์และการเสี่ยงโชค แต่ก็ต้องเผชิญกับสภาพการทำงานและความเป็นอยู่ที่ไม่ปลอดภัย การหายสาปสูญและการตายจึงเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู สำหรับใครที่คิดจะเป็นหัวขโมย
ส่วนใหญ่ งานในเหมืองเรียกว่าหนักหนาสาหัสมาก พวกคนงานจึงนิยมฉีดเฮโรอีนซึ่งหาได้ตามข้างทางในพื้นที่ที่มีเหมืองหยกตั้งอยู่
ด้วยสนนราคาที่ถูกกว่าเบียร์หนึ่งกระป๋อง คนฉีดเฮโรอีนเข้าเส้นให้กับคนงานเหมือง ซึ่งวันหนึ่งๆ ฉีดให้กับคนงานมากถึง 800 คนโดยใช้เข็มฉีดยาอันเดิม ซึ่งเฮโรอีนจำนวนมากได้รับการจัดหามาโดยเจ้าของเหมือง ซึ่งจะจ่ายค่าจ้างรายวันเป็นเฮโรอีนให้กับคนงานที่ติดยา
คนงานเหมืองแร่กว่า 5 แสนคนก็ได้รับค่าจ้างแบบเดียวกันนี้ บางคนเสพเฮโรอีนมากถึง 10 กรัมทุกวันนอกจากนี้แล้ว คนงานยังนิยมมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยกับหญิงบริการอีกด้วย ทำให้เกิดการระบาดของเอชไอวี ส่งผลให้พม่ากลายเป็นประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดมากที่สุดในโลก โดยในจำนวนแรงงานที่ติดยาเสพติด 10 คนจะพบว่าติดเชื้อเอชไอวีถึง 9 คน
อย่างไรก็ตาม การทำเหมืองหยกนับว่าเป็นธุรกิจที่มีกำไรงาม แต่ละปีทำรายได้มากหลายพันล้านดอลลาร์ แต่ทั้งรัฐบาลจีน รัฐบาลพม่า และกองกำลังคะฉิ่น KIA ได้กีดกันความช่วยเหลือจากเอ็นจีโอ สหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก
และเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลพม่าจึงจำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจ ปฏิรูปกฎหมาย และสังคมเพื่อรับมือกับสถาณการที่เกิดขึ้นในเหมืองแร่ ความโปร่งในเป็นสิ่งจำเป็นมาก อุตสาหกรรมอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ถึงกระนั้นปัญหานี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ไขกันได้ง่ายๆ
"อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในพม่ากำลังจะถูกฉุดลงกว่าเดิมในปี 2014 เนื่องจากการแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับเหมืองแร่ฉบับปี 1994 จะมีการผ่อนคลายมาตรการเรื่องการเป็นเจ้าของมากขึ้น และมีนโยบายที่จะให้รัฐบาลเข้าไปมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์การในกระบวนการตรวจสอบความโปร่งใสในอุตสาหกรรมประเภทที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตด้วย" คริสเตียน เลวิส นักวิจัยจาก Eurasia Group บริษัทที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและความเสี่ยงทางการเมือง กล่าว
"อย่างไรก็ตาม การทำเหมืองแร่ยังคงเป็นธุรกิจที่มีความเสียงมากที่สุดในพม่า เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งกับกลุ่มชาติพันธุ์ยังไม่ได้รับการแก้ไขในพื้นที่ทางตอนเหนือและภาคตะวันออกของประเทศ ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ"
-------------------
จาก Myanmar's Jade Trade, A Lucrative But Deadly, HIV-ridden Industry
โดย Sophie Song
International Business Times
27 กันยายน 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น