เมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีด้านกระทรวงสาธารณสุขของไทยและนาย พี เท็ต ขิ่น รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขพม่าได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) ในด้านสาธารณสุขและป้องกันโรคติดต่อตรงบริเวณชายแดนของระหว่างทั้งสองประเทศ
การลงนามใน MOU ดังกล่าว มีความร่วมมือใน 7 หัวข้อ เช่น 1.การเฝ้าระวังโรค 2.การควบคุมมาตรฐานอาหารและยา 3.การแพทย์พื้นบ้าน 4.การควบคุมผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง 5.การควบคุมโรคติดต่อและโรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยเฉพาะโรคระบาดข้ามเขตแดน 6.การส่งเสริมสุขภาพ และ 7.การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าว
ทางด้าน วินหน่าย ผู้อำนวยการด้านฝ่ายสาธารธสุขประจำรัฐกะเหรี่ยงเปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ยังรวมถึงการฝึกอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าด้านสาธารณสุขตรงบริเวณชายแดน นายวินหน่ายยังตัวอย่างพบปัญหาเช่น เมื่อคนไข้จากพม่าเข้าไปรับการรักษาในฝั่งไทย พบใบสั่งยาเป็นภาษาไทยทั้งหมด ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ซึ่งนั่นทำให้คนไข้จากพม่าต้องประสบกับความยากลำบากในเวลาต่อมา ซึ่งการร่วมมือระหว่างสองประเทศจะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องเหล่านี้ นายวินหน่ายระบุ
นอกจากนี้ทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันในการป้องกันโรคติดต่ออย่าง วัณโรค โรคเอดส์ โรคมาเลเรีย โรคไข้เลือดออก รวมไปถึงร่วมกันแก้ไขปัญหาการดื้อยาเป็นต้น ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของพม่าได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2556 – 2557 จำนวน 120 พันล้านจั้ต อย่างไรก็ตาม นายวินหน่ายกล่าวว่า การรักษาพยาบาลให้กับผู้ป่วยในพม่าตกอยู่ที่หัวละ 40 ดอลลาร์ ซึ่งงบประมาณจำนวน 120 พันล้านจั้ตก็ยังไม่เพียงพอต่อประชากรทั้งประเทศอยู่ดี นายวินหน่ายกล่าว
ทั้งนี้ ในยุคเผด็จการทหาร พม่าให้งบสนับสนุนในด้านสาธารณสุขและการศึกษาน้อยมาก คิดเป็น 1.3 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ทุ่มงบให้กับทางทหารคิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์
ขอบคุณที่มาจาก Mizzima /ผู้จัดการออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น