วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

ไม่มีผู้หญิง สันติภาพไม่เกิด

[caption id="attachment_6686" align="aligncenter" width="650"]14 มีค. 56 กลุ่มผู้หญิงตะโกนถ้อยคำต่อต้านนางอองซาน ซูจี ที่เข้าข้างบริษัทจีนที่เข้ามาทำเหมืองทองในเมืองมงหยั่ว  นางซูีีได้เรียกร้องให้ผู้ประท้วงยอมรับเหมืองดังกล่าว ซึ่งเมื่อปีที่แล้วมีการประท้วงให้ปิดเหมืองแต่ถูกรัฐบาลใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม 14 มีค. 56 กลุ่มผู้หญิงตะโกนถ้อยคำต่อต้านนางอองซาน ซูจี ที่เข้าข้างบริษัทจีนที่เข้ามาทำเหมืองทองในเมืองมงหยั่ว นางซูีีได้เรียกร้องให้ผู้ประท้วงยอมรับเหมืองดังกล่าว ซึ่งเมื่อปีที่แล้วมีการประท้วงให้ปิดเหมืองแต่ถูกรัฐบาลใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม[/caption]

ย่างกุ้ง,พม่า - ถ้าไม่คำนึงถึงความจริงที่ว่า คนที่มีชื่อเสียงที่สุดในพม่าเป็นผู้หญิง ซึ่งก็คือ นางอองซาน ซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แล้ว สำหรับผู้หญิงและเด็กหญิงคงรู้สึกได้ว่า พม่าเป็นประเทศที่ไม่เป็นมิตรสำหรับพวกเขาเท่าไหร่

 

ในย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในพม่า บรรดาผู้หญิงกว่า 400 ชีวิตได้มารวมตัวกันในห้องบอลรูมเพื่อประชุมกัน และสร้างเครือข่ายระหว่างนักกฎหมาย นักเคลื่อนไหว และองค์กรต่างๆ เพื่อกล่าวถึงภัยรายวันที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศหนึ่งที่ยากจนที่สุดในเอเชีย (อ่านข่าวการประชุม)

 

การประชุมเช่นนี้อาจไม่ใช่เรื่องที่พิเศษในประเทศตะวันตกแต่อย่างใด

 

แต่สำหรับพม่า การคุกคามความเป็นหญิงนั้นเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมากสำหรับพวกเธอ ซึ่งรวมถึงการค้ามนุษย์ที่กระทำโดยกองทัพพม่าและกลุ่มต่อต้านรัฐบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกือบทั้งหมดเป็นผู้ชาย ซึ่งทำให้มีการปฏิบัติต่อผู้หญิงที่ไม่เหมาะสม และง่ายต่อการถูกแบ่งแยกซึ่งเกิดขึ้นเป็นรายวัน

 

การที่จะต่อสู้กับปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งการกระทำเช่นนี้เมื่อไม่กี่ปีที่แล้วถือว่าเป็นอาชญากรรมต้องโทษจำคุกหลายปีหรืออาจจะหนักกว่านั้น ดังนั้น การประชุมในวันนี้จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ใด้ในเวลานั้น

 

ปัจจุบันพม่าได้เข้าสู่ยุดใหม่ที่กองทัพได้คลายอำนาจและยอมให้มีผู้มีความเห็นต่าง ได้ออกมารวมตัวกัน และยอมให้ประชาชนรับรู้เสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นได้บ้างแล้ว

 

องค์กรผู้หญิงที่ใหญ่ที่สุด 2 องค์กรในพม่า คือ Women Organization Network(WNO) และ Women's League of Burma (WLB) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีองค์กรชาวพม่านอกประเทศตั้งอยู่หลายองค์กร

 

การประชุมดังกล่าวมีสมาชิกจากองค์กรพม่านอกประเทศเข้าร่วมด้วยซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพม่าถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการอนุญาตให้องค์กรเหล่านั้นกลับเข้าประเทศ

 

โดยองค์กรสตรีทั้งสององค์กรได้พูดถึงการคุกคามผู้หญิงตั้งแต่ระดับองค์กร ยกตัวอย่างเช่นการมีผู้หญิงในสภา ในกรมตำรวจ และศาลพิพากษา จำนวนน้อยมาก ไปจนถึงปัญหาการถูกละเมิดทางเพศ ในขณะที่รัฐบาลพม่ากำลังพยายามเจรจาสันติภาพกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์สิบกว่ากลุ่ม การเจรจาขึ้นอยู่กับการนั่งคุยกันระหว่างผู้ชายเท่านั้น ในขณะที่ผู้หญิงได้เข้าไปมีส่วนร่วมน้อยมาก

 

ดร.โญโญติ่น นักการเมืองหญิงจากย่างกุ้ง กล่าวว่า ผู้หญิงแทบจะไม่ไปแจ้งความเรื่องการถูกล่วงละเมิดจากผู้ชาย เนื่องจากไม่มีตำรวจหญิงที่เหยื่อไว้ใจที่จะเปิดเผยความจริงได้ นอกจากนี้ หมอ นักกฎหมาย และลูกขุนก็แทบจะไม่มีผู้หญิงเลย ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้หญิงรู้สึกถูกทอดทิ้งจากกระบวนการยุติธรรม

 

"สำหรับผู้หญิงที่ต้องการแจ้งความเมื่อถูกข่มขืนในพื้นที่ชนบท พวกเธอต้องเดินเท้าหลายชั่วโมงไปยังสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด และต้องเล่ารายละเอียดทั้งหมดว่าเกิดอะไรขึ้น จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำตัวผู้แจ้งความเดินทางไปให้แพทย์ซึ่งเป็นผู้ชายตรวจร่างกาย ซึ่งอยู่ไกลออกไป พวกเธอจึงรู้สึกท้อตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว"ดร.โญโญติ่น กล่าว

 

ซูซานาละละโซ เป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่มีบทบาทโดยไม่ต้องมีที่นั่งในสภา เธอเป็นผู้อำนวยการองค์กร Karen Women Empowerment Group โดยตั้งแต่ปี 2010 เธอได้พยายามผลักดันให้ประธานาธิบดีเปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีบทบาทในกระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์กับรัฐบาล เธอบอกในที่ประชุมว่าอย่าได้เกรงกลัวที่จะตามหาความยุติธรรมไม่ว่าเราจะถูกละเมิดในรูปแบบไหนก็ตาม

 

"พวกเขาต้องรัฐผิดชอบในสิ่งที่ทำ และต้องรับโทษตามกฎหมาย" เธอกล่าว

 

ทว่า ในประเทศที่ขาดสถิติและข้อมูลที่ถูกต้อง จึงมีคำถามว่า "เราจะร่วมกันเพื่อตรวจสอบการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิงได้อย่างไร"

 

สำหรับผู้หญิงในพม่า ยังมีงานอีกมากมายที่ต้องจัดการ ถึงอย่างนั้น ในที่ประชุมในวันนั้นก็ยังรู้สึกได้ถึงความหวังอยู่ไม่น้อย

 

ในวันนี้ผู้หญิงสามารถออกมาเรียกร้องให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเปิดเผยได้แล้ว ซูซานาละละโซ ปิดท้ายการปราศรัยด้วยการท่องสโลแกนของการประชุม เพื่อย้ำเตือนว่า สันติภาพจะเกิดขึ้นได้หากผู้หญิงได้รับสิทธิที่เท่าเทียม

 

"No woman. No peace. No woman. No peace." (ไม่มีผู้หญิง สันติภาพไม่เกิด)

 หลายร้อยเสียงตะโกนก้องตามดังไปทั่วบริเวณ

 

-------------------


 


จาก Myanmar: 'No woman, no peace' โดย Pailin Wedel


globalpost 25 กันยายน 2556


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น