การเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาครั้งประวัติศาสตร์ของนางออกซาน ซูจี เพื่อรับเหรียญเกียรติยศจากสภาคองเกรสและเข้าพบกับโอบามาได้รับความสนใจจากนานชาติเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน บทบาทในบ้านของนาง ซูจี กับปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อยในบ้าน โดยเฉพาะการเลือกที่จะปิดปากเงียบเงียบต่อเหตุการณ์ความขัดแย้งทั้งในรัฐอาระกันและรัฐคะฉิ่น ก็กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเช่นกัน
[caption id="attachment_5137" align="alignleft" width="300" caption="บน : นางอองซานซูจีรับรับเหรียญเกียรติยศจากสภาคองเกรส (Reuters) ล่าง : ผู้ลี้ภัยสงครามในรัฐคะฉิ่น (Messenger News Journal)"][/caption]
PANGMU SHAYI นักวิเคราะห์ชาวคะฉิ่นแห่งสำนักข่าว Kachin News ได้เขียนไว้ในบทความ Suu Kyi’s Silence เว็บไซต์ dvb.no เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า เมื่อครั้งที่นางฮิลารี คลินตันเดินทางไปเยือนพม่าเมื่อเดือนธันวาคม 2011 และได้เข้าพบกับนางอองซาน ซูจี ซึ่งหลังจากที่นางซูจีได้กล่าวว่า ต้องการจะเป็นนักการเมืองมากกว่าสัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตย นางคลินตันตอบกลับไปว่า “ถ้าอย่างนั้นก็เตรียมพร้อมที่จะถูกโจมตีได้เลย”
นางถูกโจมตีเรื่องการปิดปากเงียบต่อประเด็นเกี่ยวกับการกดขี่ชาวโรฮิงยาในทันทีที่มีแผนเดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ ซึ่งกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่ไม่พอใจต่อบทบาทของนางก็ออกมาโจมตีมากขึ้น ผู้สังเกตการณ์หลายคนกล่าวว่า นางไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเงียบอย่างมีนัยทางการเมือง ที่ไม่อาจขัดใจประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวพุทธได้ รวมไปถึงผู้มีอิทธิพลต่อคนจำนวนมากอย่างพระสงฆ์ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ต่อต้านชาวโรฮิงยาเพราะถือว่าเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายและควรที่จะถูกผลักดันให้กลับไปยังบังกลาเทศหรือประเทศอื่น
การปิดปากเงียบเรื่องโรฮิงยาอาจเป็นการรักษาฐานเสียงของผู้สนับสนุนนางเพื่อการเลือกตั้งในปี 2015 แล้วส่วนสถานการณ์การสู้รบในรัฐคะฉิ่นหละอะไรคือสาเหตุที่นางซูจี เลือกที่จะเงียบ?
นับตั้งแต่การสู้ระรบหว่างกองทัพพม่ากับกองกำลังคะฉิ่น หลังจากหยุดยังมาเป็นระยะเวลา 17 ปี จนถึงขณะนี้มี จำนวนผู้พลัดถิ่นชาวคะฉิ่นเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยจนเกือบจะแตะหลักล้าน ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิตอย่างหนัก ทั้งถูกขับไล่ออกจากค่ายพักพิงที่ตั้งอยู่บริเวณตะเข็บชายแดนจีน และถูกเจ้าหน้าที่จีนผลักไสให้กลับไปยังพื้นที่ที่ยังมีการสู้รบกันอยู่ แม้แต่ค่ายพักพิงในโบสถ์ในพื้นที่ที่กองทัพพม่าควบคุมก็ไม่สามารถปกป้องพวกเขาจากการจับกุมและทรมานร่างกายได้
สิ่งที่ชาวคะฉิ่นรู้สึกเสียใจมากคือ นางอองซาน ซูจีที่พวกเขาหวังว่าจะยื่นเข้ามาช่วยเหลือกลับเงียบเฉยและไม่แยแสต่อความทุกข์ยากของพวกเขา สถานการณ์นี้ต่างจากกรณีของโรฮิงยา ซึ่งสถานการณ์สู้รบในรัฐคะฉิ่นไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่องสัญชาติ นางไม่จำเป็นต้องออกมาพูดปกป้องชาวคะฉิ่น และก็ไม่มีผลต่อความไม่พอใจของประชาชนเชื้อชาติพม่า อันที่จริงแล้ว กลับเป็นประชาชนชาวพม่าเสียอีกที่มีความเห็นใจผู้พลัดถิ่นชาวคะฉิ่น โดยเฉพาะบรรดาแกนนำองค์กรนักศึกษาปี 88 ที่ออกตัวอย่างชัดเจน
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2012 ระหว่างการประชุมหารือใน London School of Economics นางอองซาน ซูจีได้ถูกกดดันด้วยคำถามว่า เพราะเหตุใดจึงไม่ออกมากพูดต่อต้านสถานการณ์ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นในรัฐคะฉิ่น นางตอบเพียงว่า ยังคงมีความจำเป็นต้องมีการค้นหารากเหง้าสาเหตุความขัดแย้งในรัฐคะฉิ่น ซึ่งการตอบคำถามดังกล่าวสร้างความไม่พอใจต่อชุมชนชาวคะฉิ่นทั่วโลกเลยก็ว่าได้
สำหรับชาวคะฉิ่นแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจ หรือแม้แต่ความไม่ใส่ใจเรื่องของสถานการณ์ของชาวคะฉิ่น ซึ่งนางยังไม่เข้าใจเลยว่า การปฏิเสธสิทธิของชาวคะฉิ่นที่บิดาของนาง นายลพลอองซานเคยให้คำมั่นไว้ นั่นแหละคือรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริงของการสู้รบในรัฐคะฉิ่น
สำหรับพวกเราชาวคะฉิ่น พวกเราอาจเป็นแค่ชาวเขาธรรมดาๆ แต่เราก็ไม่ได้ไร้เดียงสาที่จะมาคาดหวังว่านางจะสามารถแก้ปัญหาให้เราได้ แม้แต่ประธานาธิบดีที่ได้ออกคำสั่งยุติการโจมตีกองกำลังฉิ่น กองทัพก็ยังขัดคำสั่งถึงสองครั้ง ซึ่งกองทัพก็มีเหตุผลในการที่จะยังคงทำการสู้รบต่อไปในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยทรัพยากร เพราะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทั้งส่วนตัวและหน่วยงาน
สิ่งที่ชาวคะฉิ่นคาดหวังจากนางอองซาน ซูจีคือ การแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับชาวคะฉิ่นที่ถูกข่มเหง และออกมาพูดเพื่อชาวคะฉิ่นที่ไม่มีปากมีเสียง สิ่งที่นางต้องทำคือ ใช้คุณธรรมและอำนาจทางการเมืองที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือชาวคะฉิ่นที่พลัดถิ่นจากสงคราม และใช้ความที่นางเป็นที่สนใจจากนานาชาติให้เป็นประโยชน์ โดยดึงดูดให้นานาชาติหันมาสนใจความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐคะฉิ่น เป็นสื่อกลางกับสหประชาชาติเพื่อเข้าตรวจสอบและป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว และถึงแม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะไม่ได้ผลอย่างไร อย่างน้อยความพยายามที่นางได้พูดก็จะเป็นการสะท้อนให้ปัญหาเป็นที่รับรู้ก็ยังดี เช่นเดียวกับที่แกนนำองค์กรนักศึกษาปี 88 กำลังทำอยู่ ซึ่งไม่มีผลกระทบในทางการเมือง
แม้ว่าจะให้ความสำคัญกับเรื่องการเมืองมากกว่า แต่การเงียบอยู่อย่างนี้ก็ไม่ใช่วิธีที่ดีนัก ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยจำเป็นต้องได้รับความไว้วางใจและความร่วมมือจากชนกลุ่มน้อย ไม่ใช่แค่ชนชาติพม่าที่เป็นประชาชนส่วนมากเท่านั้น การที่นางยังคงเงียบและไม่แยแสความทุกข์ของชนกลุ่มน้อย เธอก็อาจจะสูญเสียความนิยมและแรงสนับสนุนในตัวเธออย่างล้นหลาม ที่เธอมีในฐานะบุตรสาวของฮีโรผู้ปลดปล่อยประเทศให้เป็นเอกราช ผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งกล่าว ขณะที่นางได้เข้าเยี่ยมค่ายผู้ลี้ภัยแม่หละเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า “ถ้าขนาดนางยังไม่พูดเรื่องความขัดแย้งในรัฐคะฉิ่น แล้วจะช่วยเหลือชาวกะเหรี่ยงได้อย่างไร? ”
สุภาษิตโบราณที่ว่า นิ่งเสียตำลึงทอง อาจใช้ไม่ได้กับเรื่องการเมืองและเรื่องศีลธรรมเสมอไป เช่นเดียวกับการนิ่งเงียบในขณะที่ผู้คนรอบตัวคุณ โดยเฉพาะคนที่คุณหวังอยากจะเป็นตัวแทนพวกเขา กำลังถูกกดขี่ข่มเหงอย่างโหดร้ายเช่นนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น