วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ตึกเก่าเล่าเรื่อง

building


ย่างกุ้ง-
ครั้งหนึ่งอพาร์ทเมนต์หลังเล็กๆ แห่งนี้เคยเป็นอาคารที่ดูสง่าและสวยงาม ความงดงามของหน้าต่างทรงโค้งตอนนี้ถูกปกคลุมไปด้วยคราบสกปรก เสาของอาคารฉาบไปด้วยสีที่จางจนดูไม่ออกว่าเป็นสีขาวหรือสีเหลือง หน้าต่่างบานใหญ่ถูกเปิดทิ้งไว้ตลอดหลายเดือนที่อากาศร้อนเพื่อรับลมจากแม่น้ำย่างกุ้ง

อาคารหลังนี้กระซิบบอกถึงเรื่องราวในอดีต ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของชนชั้นกลาง ชีวิตของชนชั้นสูง เมืองอาณานิคมแห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นเหมือนทางแยกของภูมิภาคเอเชีย และเคยเป็นเมืองหลวงของประเทศที่มีชื่อเดิมว่า เบอร์มา แต่นั่นก็นานมาแล้ว

ทุกวันนี้ ช่วงบ่ายแก่ๆ สายลมเริ่มพัดมา สหายเก่าสองคนยกเก้าอี้พลาสติกออกมานั่งที่หน้าตึกและปะทะคมรมกันเรื่องเวลา มรสุม และประวัติศาสตร์ พวกเขาพูดถึงเรื่องเพื่อนบ้านและลูกๆ หลานๆ และกำลังกังวลเรื่องเงิน

อูติ่นวิน อาศัยอยู่ที่ตึกแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ในถนนสาย 41 มานานกว่า 67 ปี เขาย้ายมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่อายุได้ 6 ขวบ ส่วน ราวนะมา เพื่อนของเขา ไม่แน่ใจว่าอยู่ี่ที่นี่มานานแค่ไหน 60 ปี หรือ 70 ปี "เท่าที่ฉันรู้ นะมาบอก "แม่บอกว่าฉันเกิดที่นี่"

ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทั้งสองคนอยู่ห้องติดกัน ซึ่งเป็นห้องชั้นล่างที่มีขนาดใหญ่กว่าตู้คอนเทนเนอร์เล็กน้อย

จากที่แห่งนี้ พวกเขาได้มองดูทั้งการกำเนิดของอิสระภาพของพม่าจากการตกเป็นอาณานิคม รัฐประหารครั้งแรก และการก่อเกิดของรัฐบาลทหาร พวกเขามอง
เห็นบรรดานายพลทั้งหลายเปลี่ยนพม่าให้กลายเป็นประเทศยากจนที่นานาชาติไม่ยอมรับ เห็นการเลือกตั้งในปี 2010 ที่ได้เขี่ยนายพลสองสามคนออกไป เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา พวกเขามองเห็นรถเครนก่อสร้างผุดขึ้นทั่วเมืองที่มีชื่อว่าย่างกุ้ง เมืองที่เคยดูเหมือนถูกหยุดช่วงเวลาในยุคอาณานิคมไว้

นี่คือเรื่องราวของอพาร์ทเม้นต์สองชั้น ห้องพักเล็กๆ 12 ห้อง และผู้คนราว 60 ชีวิตที่เคยอยู่ที่นี่ หรืออีกทางหนึ่ง มันคือเรื่องราวของประเทศประเทศหนึ่งทีกำลังอยู่ในช่วงรอยต่อของการปกครองโดยเผด็จการทหารมายาวนาน กับคำมั่นสัญญาที่จะนำพาประเทศไปสู่ยุคทอง

--------

ชายหนุ่มหน้าตาหล่อเหลาชะโงกมองข้ามโต๊ะอยู่ตรงชั้นล่าง เขากำลังดูเว็บไซต์อยู่ท่ามกลางเสียงดังรอบๆ ตัวเขา ในโรงพิมพ์ของครอบครัว

อ่องเพียววิน มีชีวิตที่คนหนุ่มสาวชาวพม่าอิจฉา เขามักจะไปเที่ยวคลับเต้นรำตามโรงแรมหรูๆ ในย่างกุ้ง ชอบแข่งรถ ครอบครัวของเขาดูร่ำรวย หากเทียบกับมาตรฐานของคนในตึกนี้ เขามาที่ถนนเลขที่ 41 เพื่อทำงาน แต่พักอาศัยอยู่ในย่านที่ดีกว่า

เขามีความเชื่ออย่างแรงกล้าเกี่ยวกับพม่ายุคใหม่

ประเทศของเขาเป็นประชาธิปไตย นี่คือสิ่งที่เขาจะบอกคุณ ก็ดูที่การเลือกตั้งเมื่อปี 2010 กับพรรคการเมืองใหม่ๆ ดูที่การประท้วง ตอนนี้มักจะมีการชุมนุมประท้วงเล็กๆ เกิดขึ้นบ่อยๆ หน้าศาลากลางย่างกุ้ง คนยี่สิบสามสิบคนประท้วงการยึดที่ดิน หรือประท้วงค่าไฟแพง ซึ่งเมื่อไม่กี่มีก่อนหน้านี้ ผู้ประท้วงอย่างนี้จะต้องถูกจับกุมหรือแม่แต่ถูกยิงไปแล้ว

แต่อ่องเพียววินก็รู้ดีว่า กองทัพสามารถยุติการประท้วงได้ทุกเมื่อที่พวกเขาต้องการ พวกยังคงกุมอำนาจมหาศาลอยู่ "พวกเขาแค่ไม่อยากให้เสียชื่อเสียงไปนอกประเทศ" เขาบอก

และเขาก็รู้อีกเช่นกันว่า บางคนก็ยังกลัวที่จะพูดถึงเรื่องการเมืองอยู่ ในขณะที่เพื่อน หนุ่มๆที่เที่ยวกลางคืนด้วยกันก็ยังให้เขาป้องกันตัวเองสไตล์แบบพม่าไว้ "ฉันเป็นเพื่อนลูกชายนายพลนะ"

ทว่าเพื่อนบ้านคนแล้วคนเล่าก็ยังคงสนทนากันโดยข้ามเรื่องการเมืองไป เพราะประวัติศาสตร์ในอดีตของพม่าที่ผ่านมามีแต่ความหวาดกลัว

ในช่วง 5 ทศวรรษที่รัฐบาลเผด็จการทหารปกครองประเทศ มีประชาชนถูกจำคุกในคดีการเมืองหลายหมื่นคน การทรมาณร่างกายเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ เด็กๆ ถูกสอนไม่ให้พูดถึงประเด็นที่อ่อนไหว

ซึ่งในที่สุดรัฐบาลทหารก็ไม่ได้รับการเคารพจากนานาชาติและคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในเวลาต่อพม่า การเจรจาอย่างเงียบๆ นำไปสู่การเลือกตั้งเมื่อปี 2010 โดยเต็งเส่ง อดีตนายพล ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี

4 ปีหลังจากนั้น วัฒนธรรมทางการเมืองก็เปลี่ยนแปลงไป

การชุมนุมประท้วงเกิดขึ้นเป็นประจำ การแข่งขันกันของหนังสือพิมพ์อิสระเริ่มเปิดศึก พรรคฝ่ายค้านก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ นักโทษการเมืองหลายร้อยคนได้รับการปล่อยตัว

แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างที่กล่าวมา แต่พรรคการเมืองที่กองทัพหนุนหลังก็ยังคงมีอำนาจ และสามารถยุบสภาได้ โดยมักจะมีบรรดานายพลคอยวนเวียนในการตัดสินใจที่สำคัญๆ ของรัฐบาลอยู่เสมอ ในขณะที่นักข่าวที่เข้าไปในพื้นที่ที่อ่อนไหวบางครั้งก็ถูกจับกุม

ความสับสนดังกล่าวมีเกิดขึ้นชัดเจนอยู่ที่ถนนสาย 41 โดยส่วนใหญ่ไม่เคยเปิดเผยให้ใครรู้

"เราออกมาที่นี่เพื่อพูดคุยกันถึงเรื่องต่างๆ ในแตะละวัน" นะมาร์กล่าว พลางขึ้นเสียงสูง ในขณะที่เธอและวินนั่งอยู่หน้าอึกในช่วงบ้านแก่ๆ "เราไม่คุยเรื่องการเมืองกัน"

แต่เวลาที่นะมาร์ไม่อยู่แถวนั้น วินก็ทำผิดกฎบ้าง

วินเป็นคนขี้โอ่ที่ร่าเริง อดีตเพลย์บอยในละแวกนี้ที่คอยทาน้ำมันเสยทรงผมก่อนที่จะเริ่มการซุบซิบเสมอ เขาชอบทำเจ้าชู้ใส่ผู้หญิงที่เดินผ่าน ขณะที่ภรรยาที่อายุอ่อนกว่าเขามากถลึงตาใส่

บ่ายวันหนึ่ง เขาชี้ไปยังถนนแคบๆ หน้าอพาร์ตเม้นท์ที่ปูทางไว้อย่างดี มันมีสภาพยิ่งกว่าแนวหลุมบ่อมาหลายสิบปี แต่ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งปี 2010 พรรค USDPที่มีกองทัพหนุนหลังก็ประกาศว่าจะซ่อมถนนสายนี้ การซ่อมแซมทำให้ชุมชนแถวนี้ดีขึ้น แต่เขาก็ยังคิดว่ามันเป็นการหลอกลวง

"พวกเขาทำเพื่อคะแนนเสียง" เขาพูดคำสุดท้ายออกมาอย่างเย้ยหยันว่า "การเลือกตั้ง"

---------------

ในแต่ละทศวรรษ อาคารหลังนี้ค่อยๆ ผุพังไปทีละนิด มันถูกแบ่งแล้วแบ่งอีก มีชาวจีนที่ยากจนย้ายเข้ามา ซึ่งก่ิอนหน้านั้นในช่วงอาณานิคมส่วนมากจะเป็นชาวอินเดีย จากนั้นก็มีชาวพม่ายากจนย้ายเข้ามา เริ่มมีหญ้างอกอยู่บนหลังคา

ทุกวันนี้มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยรวมกันที่ตึกแห่งนี้ หลายครั้งหลายหนที่อาคารแห่งนี้ได้รับรู้ถึงความซาบซึ้ง อย่างเช่น ตอนนี่ครอบครัวของนะมาร์ช่วยกันปิดบังไม่ให้ใครรู้ว่าครอยครัวของวินอยู่ที่นี่ ในชาวงที่มีการต่อต้านชาวจีนในช่วงปี 1930-1970
ทว่า ที่แห่งนี้ก็เหมือนกับประเทศพม่า ไม่ใช่ทแหล่งรวมความสุข การแบ่งแยกในประเทศทำให้เกิดพรรคฝักฝ่ายชาตินิยมและกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

ปัจจุบัน ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันแผ่ขยายในย่างกุ้งตามความเจริญเติบโตของเมือง ในขณะที่จนยากจนจากชนบทหลั่งไหลกันเข้ามาหางานทำในเมือง

บนถนนสาย 41 แห่งนี้ ก็มีความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจเกิดขึ้นเช่นกัน

มะยินวิน เข้ามาย่างกุ้งเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เธอย้ายเข้ามาอยู่ชั้นบนสุดของอพาร์ตเม้นท์กับสามีและเพื่อนร่วมห้องอีก 2 คน ทั้งหมดเป็นคนเชื้อสายพม่าที่อพยพมาจากชนบท

"เราไม่รู้จักใครเลย" มะยินวิน ที่ทำอาชีพพนักงานซักรีดในโรงแรม กล่าว

ไม่กี่เดือนหลังจากนั้น เธอและเพื่อนร่วมห้องก็ออกไปอยู่ที่อื่น เช่นเดียวกับ อ่องเพียววิน ผู้จัดการโรงพิมพ์ ที่ย้ายออกไปหลังจากเกิดการทะเลาะวิวาทกันในครอบครัวหลายครั้ง

ทุกวันนี้ ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเรื่อยๆ ที่อาคารบนถนนสาย 41 แห่งนี้

หรืออาจจะแค่บางส่วนของอาคารเท่านั้น เพราะเมื่อฤดูร้อนมาถึง เราก็จะพบวินกับนะมาร์นั่นอยู่หน้าตึกจนดึกดื่นอยู่เสมอ

ถนนสายนี้มีเพียงไฟส่องสว่างไม่กี่ดวง ซึ่งส่วนใหญ่จะเสีย คงมีเพียงแสงไฟจากในอพาร์ตเม้นท์ที่สองสว่างอยู่บริเวณนั้น แต่ก็ไม่ต้องกังวล เพราะถนนสายนี้จะเงียบลงแล้วในเวลานั้น และเมื่อทั้งสองคน กลับเข้าไปในอาคารแล้ว ก็จะมีไฟฟ้าใช้ตลาดวัน พวกเขาสามารถเปลี่ยนผ้าปูที่นอนไดดยไม่ต้องจุดโคมไฟอีกแล้ว พวกเขาเปิดดูทีวีได้

ต่างจากเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่ไม่สามารถพึ่งพาไฟฟ้าได้เลย มันยากที่จะบอกว่านั่นคือความสำเร็จ แต่มันก็แค่บางส่วน

นี่คือความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ อย่างหนึ่งในพม่ายุคใหม่ ที่ค่อยๆ ถอยห่างจากอดีตที่ขมขื่นอย่างทุลักทุเล ที่เกิดขึ้น ณ อาคารหลังนี้



แปลจาก
Myanmar's Story, Told by One Crumbling Building

โดย TIM SULLIVAN
Associated Press
29 ตค 57

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น