วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

SSA - เหนือลงนามหยุดยิงกับรัฐบาลพม่ารอบใหม่



กองทัพรัฐฉานเหนือ (The Shan State Army–North) ภายใต้การนำของพลตรีป่างฟ้า เป็นกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยกลุ่มล่าสุดที่ลงนามหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า หลังทั้งสองฝ่ายได้เจรจากันมาแล้วหลายรอบที่ผ่านมา

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ซูจีรณรงค์หาเสียงในเมืองทวาย



นางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดีได้เดินทางไปรณรงค์หาเสียงที่เมืองทวาย เขตตะนาวศรี ทางภาคใต้ของประเทศเมื่อวานนี้ ท่ามกลางบรรยากาศฝูงชนเป็นจำนวนมากที่แห่มาให้การต้อนรับ

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

คาดอาจมีนักโทษการเมืองถูกคุมขังอีกกว่า 900 คน



มีการคาดการณ์กันว่า อาจมีนักโทษการเมืองยังคงถูกคุมขังอีก 918 คน แม้ก่อนหน้านี้ทางการพม่าจะทยอยปล่อยตัวนักโทษการเมือง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจน

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ผู้นำมอญเผย ทำสัญญาหยุดยิงแต่ไม่เจรจาทางการเมืองไม่ช่วยแก้ปัญหาในพม่า



ไนทอมอน ผู้อำนวยการพรรครัฐมอญใหม่(New Mon State Party)ได้กล่าวในระหว่างการประชุมชาวมอญครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมาว่า หากรัฐบาลพม่าไม่มีความจริงใจที่จะแก้ไขและเจรจาปัญหาทางการเมืองกับชนกลุ่มน้อยย่างแท้จริง การทำสัญญาหยุดยิงที่กำลังเกิดขึ้นก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาในพม่าได้

อียูยกเลิกคำสั่งห้ามออกวีซ่าให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงพม่า



จากการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่องของพม่า ล่าสุด อียูมีมติยกเลิกคว่ำบาตรผู้นำพม่าในการเดินทางเข้ายุโรป ในที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ที่กรุงบรัสเซลส์ เบลเยี่ยมเมื่อวานนี้

 

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

รัฐชินเสี่ยงขาดแคลนอาหารรอบใหม่



องค์กร The Humanitarian Aid Relief Trust (HART) ของอังกฤษออกมาเปิดเผยว่า ชาวบ้านในรัฐชินอาจเสี่ยงและเผชิญกับการขาดแคลนอาหารรอบใหม่ และอาจมีชาวบ้านราว 1 แสนคนได้รับผลกระทบ

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

กองกำลังไทใหญ่ SSA พบประชาชนแจงเลิกเก็บภาษี-เกณฑ์ทหาร



เจ้าหน้าที่กองกำลังไทใหญ่ SSA พบประชาชนอำเภอเมืองโต๋น รัฐฉานตะวันออก หลังสงบศึกพม่า ชี้แจงวัตถุประสงค์ เผยจะยกเลิกเก็บภาษี-เกณฑ์ทหาร

 

ขิ่นยุ้นต์ชี้ วิกฤติชนกลุ่มน้อยเป็นปัญหาใหญ่ท้าทายรัฐบาลพลเรือนพม่า



ขิ่นยุ้นต์ให้สัมภาษณ์กับสื่อพม่าอย่าง The Myanmar Times ว่า เขาแสดงยินดีกับท่าทีของรัฐบาลพม่าชุดปัจจุบันที่พยายามแก้ปัญหาวิกฤติชนกลุ่มน้อยในประเทศ แต่เตือนว่า ความเป็นเอกภาพกับชนกลุ่มน้อยนั้นยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ท้าทายรัฐบาลพลเรือนพม่า

พระอริยะวัมสา พระผู้พลิกชีวิตเหยื่อเอชไอวี

มัณฑเลย์- พระภัททันตะ อริยะ วัมษา ภิวันสา วัย 63 ปี ชี้ไปยังสัญลักษณ์รูปดอกบัว 3 ดอกตรงประตูทางเข้าวัดเมียวดีมินจี ที่ตั้งอยู่ในแถบชายเมืองมัณฑเลย์  ดอกบัวทั้งสามหมายถึงคำสอนของพระพุทธองค์ การเรียนรู้ การปฏิบัติ และสันติ” 

 

ในฐานะเจ้าอาวาส พระอริยะ วัมษา ต้องอบรมสั่งสอนพระและเณรกว่า 100 รูป ซึ่งศิลปะการปฏิบัติสมาธิเป็นส่วนหนึ่งในการสอน นอกจากนี้ ท่านยังสอนวิธีนั่งสมาธิให้แก่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

จีนลงทุนในพม่าเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่าการลงทุนเกือบ 14 พันล้านดอลลาร์



ตามข้อมูลและสถิติของรัฐบาลพม่าเปิดเผยว่า ประเทศจีนยังคงเป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนในพม่าเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีมูลค่าการลงทุนเกือบ 14 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นเทียบเท่า 35 เปอร์เซ็นต์ของต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในพม่า ขณะที่สื่อพม่าอย่าง Eleven News รายงานว่า จีนลงทุนในพม่าโดยเฉพาะด้านพลังงานก๊าซ น้ำมันและเหมืองแร่ รวมไปถึงการสร้างเขื่อนในพม่าเพื่อนำพลังงานไฟฟ้าไปใช้ในประเทศจีน

ซูจีลงสมัครรับเลือกตั้ง



เมื่อวานนี้ (18 มกราคม) นางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดีได้เดินทางไปสมัครชิงชัยเลือกตั้งซ่อมที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 เมษายนที่จะถึงนี้ ท่ามกลางประชาชนกว่าร้อยคนที่มาให้กำลังนางซูจี

 

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

พม่าสั่งกองทัพยุติโจมตีชนกลุ่มน้อยอีกครั้ง



เจ้าหน้าที่ระดับสูงของพม่าเปิดเผยว่า ได้สั่งให้กองทัพยุติโจมตีกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ขัดแย้งทั้งหมด ยกเว้นในกรณีที่ต้องป้องกันตัวเอง อย่างไรก็ตาม กล่าวยอมรับคำสั่งอาจยากในการปฏิบัติตามในบางพื้นที่

ฉ่วยหม่านเผย พม่ามีทางเลือกเดียว ต้องเป็นประชาธิปไตยเท่านั้น



นายฉ่วยหม่าน โฆษกสภาสูงและล่างของรัฐสภาพม่า หนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลในรัฐบาลพม่าชุดให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอฟพีที่กรุงเนปีดอว์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า พม่าไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการถ่ายโอนประเทศไปสู่ประชาธิปไตย พร้อมกล่าวยินดีต้อนรับนางอองซาน ซูจีเข้าร่วมทางการเมืองหากนางซูจีได้รับการเลือกตั้ง

 

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

มินโกนาย เรียกร้องให้เกิดสันติภาพในพื้นที่ชนกลุ่มน้อย



หลังได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายมินโกนาย แกนนำนักศึกษาปี 1988 (2531) และเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่มีชื่อเสียงรองจากนางอองซาน ซูจี ได้เปิดเผยว่า เขาเป็นห่วงและไม่สบายใจกับสถานการณ์สู้รบในรัฐคะฉิ่น และเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในรัฐคะฉิ่นโดยเร็ว

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

รมว.ต่างประเทศฝรั่งเศสเข้าพบซูจีระหว่างเยือนพม่า

เอเอฟพี - รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส มีกำหนดเข้าพบหารือกับนางอองซาน ซูจี วันนี้ (15 ม.ค.) ระหว่างการเดินทางเยือนครั้งประวัติศาสตร์เพื่อประเมินความคืบหน้าของพม่าในการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ประชาธิปไตย

 

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

"ก้าวแรกสู่ประชาธิปไตย" รับศักกราชใหม่ในพม่า

“ฉันจะมีความสุขมากถ้าได้พบครอบครัว” นีละ เต่ง กล่าวผ่านสายโทรศัพท์ในวันนี้ หลังก้าวออกจากประตูเรือนจำทาระวดีเพียงไม่กี่นาที  ในเวลานั้น ครอบครัวของเธออยู่ระหว่างเดินทางเพื่อมาพบเธอ นอกจากนี้ สามีของเธอก็กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการปล่อยตัวจากเรือนจำตองยีในรัฐฉานเช่นเดียวกัน

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

นักโทษการเมืองคนสำคัญส่วนใหญ่ได้รับการปล่อยตัว



สำนักข่าวดีวีบีรายงานว่า ในวันนี้ (13 มกราคม) รัฐบาลพม่าได้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองจำนวน 651 คนตามที่ประกาศไว้เมื่อวานนี้ โดยพบว่า นักเคลื่อนไหวและแกนนำคนสำคัญส่วนใหญ่ได้รับการปล่อยตัวในวันนี้ เช่นขุนทุนอู ผู้นำชาวไทใหญ่จากพรรค SNDP นายมินโกนาย นายโกโกจีและแกนนำคนสำคัญอีกหลายคนจากกลุ่มนักศึกษาปี 1988 เช่นเดียวกับพลเอกขิ่นยุ้นต์และอดีตเจ้าหน้าที่ทหารใต้บังคับบัญชาของเขาอีกว่าร้อยคนก็ได้รับการปล่อยตัว

รัฐบาลพม่าทยอยปล่อยตัวนักโทษการเมือง - ขิ่นยุ้นต์ ขุนทุนอู มินโกนาย ได้รับการปล่อยตัวแล้ว



หลังสถานีโทรทัศน์พม่าออมารายงานเมื่อวานนี้(12 มกราคม)ว่า ทางการเตรียมปล่อยตัวนักโทษรอบใหม่จำนวน 651 คน ล่าสุดในวันนี้ ทางการพม่าทยอยปล่อยตัวนักโทษการเมิืองแล้ว โดยพบว่า ขุนทุนอู จากพรรค SNDP และนายมินโกนาย รวมไปถึงแกนนำคนสำคัญของกลุ่มนักศึกษาปี 1988 ได้รับการปล่อยตัวแล้ว เช่นเดียวกับที่พลเอกขิ่นยุ้นต์ก็ได้รับการยกเลิกการถูกกักบริเวณแล้วในวันนี้

 

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

หนังทางเลือกน่าดู จากเทศกาลบินข้ามลวดหนาม ปี 2

โดย หมอกเต่หว่า


 

ชาวเชียงใหม่หลายๆคนนอกจากจะได้สัมผัสกับความชุ่มชื่นเย็นกายจากสายฝนที่โปรยปรายลงมาตลอดในช่วงฤดูฝนที่กำลังพัดผ่านเข้ามาแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังได้สัมผัสกับความอบอุ่นของมิตรภาพไร้พรมแดนในเทศกาลดีๆที่ใช้ชื่อว่า “เทศกาลบินข้ามลวดหนาม” ซึ่งมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดนจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 20 มิถุนายน ณ โรงละครหอศิลป์และลานสำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่ผ่านมา ภายในงานนอกจากจะมีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีรวมถึงการแสดงดนตรีจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ให้ได้ชมกันอย่างจุใจแล้ว ยังมีการนำเอาผลงานศิลปะและภาพถ่ายมาจัดแสดง และที่ขาดไม่ได้คือการนำหนังและสารคดีทั้งจากไทยและเทศมาฉายให้กับผู้ชมในงานได้ชมฟรี ซึ่งในฉบับนี้เราก็ไม่พลาดที่จะนำหนังดีมีคุณภาพถึง 3 เรื่องจากในงานมาถ่ายทอดสู่คุณผู้อ่าน

เข้าใจพม่า ผ่านประสบการณ์ของอดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง

โดย ธันวา สิริเมธี

อาจกล่าวได้ว่า ประสบการณ์ของนักการทูตเป็นประสบการณ์ที่คนธรรมดาทั่วไปไม่มีโอกาสได้สัมผัส  ชีวิตของนักการทูตจึงมีเรื่องราวให้น่าสนใจติดตามหลากหลายแง่มุม  และยิ่งถ้าเป็นนักการทูตที่ประจำการอยู่ในประเทศพม่า เพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับเรายาวที่สุดด้วยแล้ว  ยิ่งเป็นประสบการณ์ที่ชวนติดตามเป็นอย่างยิ่ง เพราะประเทศพม่าปิดประเทศปิดมายาวนาน เพิ่งเปิดประตูต้อนรับชาวต่างชาติเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้น  แต่ถึงกระนั้น ชาวต่างชาติที่มีโอกาสเข้าไปอยู่ในพม่าก็มักจะมีเวลาน้อยเกินกว่าจะได้เข้าใจวิถีชีวิตของประชาชนพม่าอย่างลึกซึ้ง

ลุ่มน้ำสาละวิน สายธาราที่ใกล้ถูกจองจำ

อาทิตย์ ธาราคำ


แม่น้ำสาละวินขึ้นชื่อว่าเป็นแม่น้ำที่สวยงามที่สุดสายหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ความงดงามเกิดจากสายน้ำน้อยใหญ่มากมายไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำสายใหญ่จนกลายเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่ง และเป็นเขตที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ไม่น้อยกว่าสิบกลุ่มในประเทศจีน พม่า และไทยอาศัยพึ่งพาแม่น้ำสายใหญ่น้อยเหล่านี้มาตลอดหลายชั่วอายุคน

ทว่า ปัจจุบัน ลุ่มน้ำสายนี้กลับกำลังถูกกลุ่มทุนขนาดใหญ่รุกรานและพรากความบริสุทธิ์ของสายน้ำไปจากชุมชนท้องถิ่นที่เฝ้าปกป้องสายธาราแห่งนี้มายาวนาน

เพลงรักใบไม้ใต้แสงจันทร์

ยายได้ยินเสียงเครื่องจักรกำลังทำงาน พลางเอามือควานไปในอากาศเพื่อหาถ้วยน้ำชาซึ่งวางอยู่บนโต๊ะ


เบื้องหลังธุรกิจเสียงเพลงในพม่า

โดย จ่อตะโดเญง

ดนตรีแนวใหม่อันน่าตื้นเต้นเร้าใจที่เกิดขึ้นพร้อมกับกระแสดนตรีโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนั้นได้ส่งผลกระทบต่อแวดวงดนตรีของประเทศพม่าไม่มากก็น้อย หากกล่าวย้อนไปเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว  แม้ว่าหมู่วัยรุ่นทั้งหลายจะคลั่งไคล้ดนตรีแนวร็อคกันอย่างเมามันก็ตาม  แต่ทว่าในปัจจุบัน ได้หันมานิยมดนตรีแนวฮิพฮอพ   ป็อป  พั้งค์ และแด๊นซ์กันแล้ว โดยเฉพาะในเมืองย่างกุ้งนั้น มีหมู่วัยรุ่นที่คลั่งไคล้ดนตรีฮิพฮอพมากมาย จนทำให้กระแสความแรงของฮิพฮอพมาเป็นอันดับหนึ่ง  บรรดาศิลปินเพลงแร๊พชาวอเมริกัน อย่าง Eninem, Nas และ 50 cent  SnoppDog ก็กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในประเทศพม่า   ส่วนวงดนตรีแนว Rock Punk อย่าง  Green Day , Blin182 , Fall Out Boy และ GoodCharlotte นั้นเป็นกลุ่มศิลปินที่ผู้ฟังชาวพม่าต่างก็ชื่นชอบเช่นกัน

ปางก้ำก่อ

แสงลืน

 

รถข้ามผ่านทางลาดชันอย่างช้าๆ ฉันนั่งอยู่ในรถโดยสารหรือที่เราเรียกว่า รถดาวทอง ผู้โดยสารในรถต่างเสียงดังโหวกเหวก เด็กลีซอคนหนึ่งถึงกับร้องให้เพราะไม่คุ้นกับคนในรถ มันเป็นภาพเหตุการณ์ชินชาที่ฉันพบเห็น ทุกครั้งที่กลับบ้าน เวียงแหง คือจุดหมายปลายทางของทุกคนในรถ  แต่การเดินทางไปเวียงแหงโดยรถโดยสารนั้นอาจจะทุลักทุเล เพราะรถต้องค่อย ๆ วิ่งอย่างช้า ๆ ขึ้นดอยด้วยเส้นทางที่ไกลจากตัวเมืองถึง168 กิโลเมตร แต่ใครจะรู้ว่าด้านหลังของภูเขาสูงนั้นกลับมีผู้คนหลากหลายเผ่าพันธุ์มาตั้งรถรากอยู่ด้วยกันอย่างสงบเป็นเวลาช้านาน

ค่าปรับทางหลวง

โดยหนุ่มอิน

ในวันที่แดดร้อนเปรี้ยงปร้าง ผู้โดยสารเบียดเสียดจนไม่มีที่ให้นั่ง ฉันได้แต่ยืนอยู่ในรถบรรทุกโดยสารมองออกไปยังป้ายที่ชี้ระยะทาง160 กิโลเมตรจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปยังหมู่บ้านของฉัน ซึ่งตั้งอยู่ทางหลังเขาสูงติดชายแดนไทย – พม่า นี่อาจจะเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ฉันต้องกลับบ้านอย่างกะทันหัน ในใจก็นึกตื่นเต้นและดีใจอยู่ที่จะได้กลับไปเจอหน้าคนในครอบครัว แต่อีกใจหนึ่งก็ยังหวั่นๆและลุ้นว่ากลับบ้านคราวนี้ฉันจะเสียค่าปรับให้กับเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบตามด่านตรวจเหมือนครั้งก่อนๆหรือไม่  เพราะหนังสือขออนุญาตเดินทางออกนอกพื้นที่ของฉันหมดอายุแล้ว  ไม่วายฉันเองต้องนั่งรถไปและนั่งสวดมนต์ไปท่องคุณพระคุณเจ้าตามที่แม่เคยสอนไว้ให้คุ้มครองตัวเองอย่าให้โดนตำรวจจับ และอย่าให้เงินในกระเป๋าต้องลดจำนวนลงไปอยู่ในมือของเจ้าหน้าที่ เหตุเพราะเหลือเงินเพียงจำนวนน้อยนิด ซึ่งยังต้องนำเงินส่วนนี้ไปต่อชีวิตตัวเองอยู่อีกหลายวัน 

ถนนสู่ประชาธิปไตยในพม่าหลังจากการประท้วงใหญ่ ทางออกหรือทางตัน ?

โดย หมอกเต่หว่า


นับตั้งแต่พระสงฆ์ออกมานำขบวนประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันและก๊าซแบบพรวดพราดของรัฐบาลทหารพม่าจนขยายตัวไปทั่วประเทศ  ทั่วโลกต่างจับตามองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดว่าเหตุการณ์นี้จะนำไปสู่ประชาธิปไตยในพม่าที่ประชาชนเฝ้ารอคอยมานานหรือไม่  แต่หลังจากรัฐบาลเลือกใช้วิธีปราบปรามพระสงฆ์และผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง  ตามด้วยการจับกุมพระสงฆ์ และประกาศเคอร์ฟิวห้ามการชุมนุม ความหวังที่เฝ้ารอคอยก็ดูเหมือนจะริบหรี่ลงทุกที

A Village Album บันทึกไว้ในความทรงจำ ก่อนจมหายไปใต้น้ำ

โดย อาทิตย์ ธาราคำ

หากวันนี้สิ่งที่คุณรัก และคนที่คุณรัก กำลังจะเลือนหายไปและกลายเป็นเพียงความทรงจำ คุณจะทำอย่างไรจึงจะเก็บสิ่งเหล่านี้ไว้ได้?

กระแสเกาหลีในพม่า

โดย จ่อตะโดเญง 


ในทุกวันนี้กล่าวกันว่า วารสารและนิตยสารที่ผลิตในประเทศพม่า หากไม่ลงข่าวของเหล่าศิลปินดาราเกาหลีแล้วแทบขายไม่ได้  นั่นแสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมเกาหลีงอกงามในประเทศพม่าแล้ว กลุ่มวัยรุ่นที่อายุไม่เกิน 20 ปีนิยมแต่งกายตามแบบตัวละครเกาหลี  การจำหน่ายละครซีรีย์เกาหลีในรูปแบบวีซีดีและดีวีดีก็มีอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ กลุ่มวัยรุ่นหญิงยังได้เลียนแบบสไตล์ทรงผมและการแต่งหน้าแบบเกาหลีกันด้วย ในบางครั้งก็ประกวดผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนดาราชายหญิงเกาหลี

Children of Glory ด้วยโลหิต แด่อิสรภาพ

โดย หมอกเต่หว่า

คงไม่มีชาติไหนในโลกที่ต้องการให้ชาติอื่นมาครอบครอง และจำกัดเสรีภาพของตนเอง และบ่อยครั้งที่เราได้ยินประวัตศาสตร์การต่อสู้ที่แลกด้วยเลือดเนื้อเพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพ     

โศกนาฏกรรมในค่ายผู้ลี้ภัยคะเรนนี บทเรียนที่รัฐไทยต้องทบทวน

โดย ธันวา สิริเมธี

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ ค่ายพักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านปางแทรกเตอร์และบ้านใหม่ในสอย  (แคมป์ 1) อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เกิดเหตุการณ์น่าสลดใจขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐ หรือ อส. ประจำค่ายผู้ลี้ภัยดังกล่าวยิงเด็กหนุ่มผู้ลี้ภัยชาวคะเรนนีวัย 20 ปีเสียชีวิต หลังจากนั้นบรรดาผู้ลี้ภัยได้บุกทำลายข้าวของบริเวณบ้านพักของ อส. จนมอเตอร์ไซค์ 29 คันและรถกระบะ 2 คันได้รับความเสียหาย

ชะตากรรมหอหลวงใต้เงาเผด็จการ

โดย ซอว์งอู

รถจี๊ปสีกรมท่าพาเราข้ามชายแดนอำเภอแม่สายเข้าสู่เขตจังหวัดท่าขี้เหล็กของรัฐฉาน การเดินทางของเราอาจสวนทางกับผู้คนหลายร้อยหลายพันชีวิตที่กำลังมุ่งหน้าสู่ประเทศไทยเพื่อความอยู่รอดอย่างไม่มีทางเลือก "รัฐฉาน" ดินแดนไทยใหญ่ที่พวกเขาเหล่านั้นจากมา ในอดีต ไม่ได้มีสถานะเป็นเพียงรัฐหนึ่งในสหภาพพม่าเหมือนอย่างเช่นทุกวันนี้ แต่เป็นดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรรุ่งเรืองมากที่สุดในดินแดนอุษาคเนย์มาแล้ว

คนต่างด้าว ไม่ใช่มนุษย์ต่างดาว

โดย ลืนคำ

ตอนเด็กๆฉันชอบคิดว่าฉันโชคไม่ดีที่เกิดมาเป็นคนไทยใหญ่ ก็เพราะคนไทยใหญ่อย่างเราไม่มีแผ่นดินให้อยู่ ถึงแม้แผ่นดินในโลกนี้ออกจะกว้างใหญ่ แต่ถ้าเรากลับบ้าน เราก็ต้องถูกพวกคนพม่ารังแก และเป็นทาสคนพม่า หรือถ้าเราอยู่ในประเทศไทย เราก็ต้องยอมให้คนไทยเรียกเราว่าเป็นคนพม่าหรือคนต่างด้าวที่ฟังดูแล้วเหมือนมาจากอีกโลกหนึ่ง

KNU ทำสัญญาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าแล้ว หลังรบกันมา 60 กว่าปี



สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union) หรือเคเอ็นยูตัดสินใจทำสัญญาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าแล้ว หลังรบกันมาเป็นเวลากว่่า 60 ปี นับเป็นการทำข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยทั้งสองฝ่ายได้ทำข้อตกลงที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองผาอัน เมืองหลวงรัฐกะเหรี่ยงในวันนี้

มอแกน ชาวเลที่ถูกลืม

(เรื่อง/ภาพ สิทธิพร บรรจงเพชร)

อาจกล่าวได้ว่าชาวมอแกนเริ่มเป็นที่รู้จักในสังคมไทยมากขึ้นนับจากเกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 เหตุการณ์ครั้งนั้น พวกเขากลายเป็นฮีโร่ช่วยชีวิตดาราชื่อดังและนักท่องเที่ยวหลายคนให้รอดพ้นจากคลื่นยักษ์ แต่ทว่า นานวันผ่านไป ชีวิตของชาวมอแกนกลับไม่ได้กลายเป็นฮีโร่ของสังคมไทยอีกต่อไป พวกเขายังคงถูกมองว่าเป็นกลุ่มชนล้าหลังไร้การศึกษาและไร้รัฐ เพียงเพราะท้องทะเลที่พวกเขาเคยพึ่งพาอาศัยอยู่ระหว่างเขตแดนของสองประเทศ พวกเขาจึงกลายเป็นชาวเลที่ถูกลืมและไม่ได้สิทธิเฉกเช่นพลเมืองของรัฐใด

จากพะอันสู่มะละแหม่ง เส้นทางหลากวัฒนธรรม

โดย นรินจรา

 

"มะเมียะเป็นสาวแม่ค้า คนพม่าเมืองมะละแหม่ง
งามล้ำเหมือนเดือนส่องแสง คนมาแย่งหลงรักสาว
มะเมียะบ่ยอมฮักไผ มอบใจหื้อหนุ่มเชื้อเจ้า เป็นลูกอุปราชท้าวเชียงใหม่
แต่เมื่อเจ้าชายจบการศึกษา จำต้องลาจากมะเมียะไป
เหมือนโดนมีดสับดาบฟันหัวใจ ปลอมเป็นพ่อชายหนีตามมา
เจ้าชายเป็นราชบุตร แต่สุดที่รักเป็นพม่า ผิดประเพณีสืบมา ต้องร้างลาแยกทาง
โอโอก็เมื่อวันนั้น วันที่ต้องส่งคืนบ้านนาง
เจ้าชายก็จัดขบวนช้างให้ ไปส่งนางคืนทั้งน้ำตา
มะเมียะตรอมใจอาลัยขื่นขม ถวายบังคมทูลลา สยายผมลงเช็ดบาทบาทา
ขอลาไปก่อนแล้วชาตินี้เจ้าชายก็ตรอมใจตาย มะเมียะเลยไปบวชชี
ความรักมักเป็นเช่นนี้ แลเฮย..."

คิดแบบพม่า ว่าด้วยชาติและวีรบุรุษในตำราเรียน

โดย นรินจรา

อาจกล่าวได้ว่า ตำราเรียนในการศึกษาภาคบังคับเป็นเบ้าหลอมความคิดของคนในชาติเอาไว้ให้ไปในทิศทางเดียวกันตามที่รัฐต้องการ โดยเฉพาะตำราเรียนระดับประถมซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีโอกาสเข้าเรียนมากที่สุด เนื้อหาต่าง ๆ ที่นำเสนอในตำราเรียนจึงต้องผ่านกระบวนการคัดสรรจากผู้ทรงคุณวุฒิแถวหน้าของประเทศ ดังนั้น ตำราเรียนจึงเป็นเสมือน “ชุดความคิดหลัก” ของรัฐชาติที่ต้องการส่งผ่านถึงประชาชนแต่ละยุค หากเนื้อหาในตำราเรียนเปลี่ยนไป นั่นหมายความว่า แนวคิดความคิดของผู้นำประเทศอาจเปลี่ยนไปซึ่งจะส่งผลต่อวิธีคนของคนรุ่นใหม่ให้แตกต่างจากคนรุ่นเก่าเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สภาพแวดล้อมของสังคมและครอบครัวย่อมมีส่วนสำคัญที่สุดในการหล่อหลอมความคิดของเด็กแต่ละคนให้เติบโตไปในทิศทางที่แตกต่างกัน

The last king of Scotland

โดย หมอกเต่หว่า

คุณคงไม่อยากมีชีวิตอยู่ภายใต้การนำของผู้นำเผด็จการอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งเยอรมนี ซัดดัม ฮุดเซน แห่งอิรัก นายพอล พต แห่งเขมร หรือแม้กระทั่งนายพลอีดี้ อามิน ดาดา แห่งอุกานดา เพราะนอกจากคุณจะไม่มีสิทธิเสรีในการดำเนินชีวิตในทุกรูปแบบแล้ว คุณอาจมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัวและหวาดระแวงตลอดเวลาและมีชีวิตอย่างไม่มีความสุข

ใจของคน

เขียนโดย ปูเนแม (เว็ดแล็ต) จากนิตยสารกาเหลี่ย แปลโดย Numripan

ในอดีตที่ผ่านมา หากต้องเดินทางไปย่างกุ้ง ผมจะนั่งรถโดยสารจากเมืองมะอูปิน-ย่างกุ้งมาโดย ตลอด เพราะถ้าไปกับรถโดยสารจะทำให้ถึงย่างกุ้งเร็วกว่า แต่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเรือหรือรถโดยสารก็ใช้เวลา เดินทางพอๆ กัน ตามปกตินั่งรถจากเมืองมะอูปินตอน 6 โมงเช้าก็จะถึงสถานีรถโดยสารหล่ายตายาประมาณ 9 โมงครึ่งถึง 10 โมง หลังจากนั้นก็ต้องนั่งรถต่อไปอีกประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่งจึงจะถึงตัวเมืองย่างกุ้ง แต่ถ้าไปกับเรือโดยสารก็จะไปถึงท่าเรือปะตินซึ่งใกล้ๆ กับตัวเมืองย่างกุ้งประมาณ 11 โมง ทำให้ใช้เวลาในการเดินทางไม่แตกต่างกันมากนัก

หลวงพี่มาแล้ว

เสียงผู้ชายพูดสูงๆ ต่ำๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยจากลำโพงเครื่องเสียง สลับกับเสียงหัวเราะขำกลิ้งคึกครื้นเล็ดลอดผ่านสายโทรศัพท์ขณะที่ผู้เขียนกำลังติดต่อกับเพื่อนชาวพม่าคนหนึ่ง จึงทักไปว่า “ดูอะเยะปอย (การแสดง ตลก) กันอยู่เหรอ” เขารีบปฏิเสธและบอกว่า “ฟังพระเทศน์อยู่น่ะ...”

วิศวกรพลัดถิ่น

ผมรู้จักตูอ่อง(ชื่อสมมุติ) เพราะเขาทำงานในองค์กรแห่งหนึ่งในมาเลเซียเราเคยเจอกันหลายครั้ง ที่ผ่านมาผมได้แต่แกล้งพูดหยอกเขาบ่อยๆ ว่า “เฮลโล...ฮาวอายูสสสส...กู้ดบายส์ เทคแคร์สสส” แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้นั่งคุยกับเขาจริงๆ จังๆ และขอให้เขาเล่าเรื่องราวชีวิตให้ผมฟัง

This prison where I live เมื่อตลกต้องกลายเป็นนักโทษการเมือง

โดย หมอกเต่หว่า

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อหนุ่มอเมริกัน หนุ่มอังกฤษ และหนุ่มพม่ามาเจอกันแล้วผลัดกันโอ้อวดความเก่งกาจของชนชาติตนเองหนุ่มอเมริกันเริ่มเป็นคนแรก “ชาวอเมริกันถึงแม้ไม่มีขา แต่ก็พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์มาแล้วสองครั้ง” ด้านหนุ่มอังกฤษฟังแล้วไม่ยอมน้อยหน้าจึงกล่าวว่า “ชาวอังกฤษถึงแม้ไม่มีแขน แต่ก็ว่ายน้ำไปกลับมหาสมุทรแอตแลนติกมาแล้วสองรอบ” พอได้ฟังสิ่งที่สองหนุ่มโอ้อวดความเก่งกาจกันไปแล้ว หนุ่มพม่าก็ยกความเก่งกาจที่ทำให้เพื่อนทั้งสองต้องอ้าปากค้าง “สู้พวกเราชาวพม่าไม่ได้หรอกขนาดรัฐบาลของเราไม่มีหัว แต่ก็สามารถปกครองประเทศนี้มาอย่างยาวนานถึง 18 ปีเลยทีเดียว”

เซยา ตอว์ “ดนตรีอยู่ในสายเลือด ประชาธิปไตยอยู่ในใจ”

โดย หมอกเต่หว่า

“ผมปรารถนาจะบอกกับประชาชนให้กล้าปฏิเสธ สิ่งที่พวกเขาไม่ชอบ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่กล้าแสดงออกในการสนับสนุนสิ่งที่ถูกต้องก็ตาม และ อยากบอกพวกเขาว่า อย่าสนับสนุนในสิ่งที่ผิด”

นี่คือคำพูดสุดท้ายของเซยา ตอว์ ก่อนที่เขาจะถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลาเกือบ 4 ปี แต่ “คุก” ก็ไม่ได้ทำให้ศิลปินฮิปฮอปผู้นี้หยุดเดินบนถนนการสู้เพื่อประชาธิปไตย เช่นเดียวกับที่เขาไม่สามารถหยุดที่จะรักในเสียงดนตรี

อยู่ไม่(ยอม)ตายอย่างไทใหญ่

นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว

บ้านเมืองไทใหญ่อุดมด้วยยาเถื่อน(ยาป่า)สารพัดสาเหตุหลักเห็นจะเป็นเพราะทางรัฐบาลพม่าไม่อาจจัดสรรระบบการแพทย์สมัยใหม่ไปได้ทั่วถึง ดังนั้นสรรพความรู้โบราณของคนในรัฐฉานจึงยังดำรงอยู่อย่างมั่นคงมั่งคั่ง โดยเฉพาะการรักษาโรคภัยไข้เจ็บและการบำรุงร่างกาย ซึ่งหมอยาไทใหญ่เชี่ยวชาญยิ่งนัก จนแม้ชาวบ้านและทหารไทใหญ่ที่อยู่กินกับแผ่นดินผืนป่ามาตลอด พวกเขาต่างมีความรู้ในเรื่องของอาหารเสริม-ยาบำรุงตามตำรับโบราณมาอย่างดียิ่งจึงแข็งแรงสุดๆ ไม่ค่อยป่วยไม่ค่อยแก่ ชนิดที่ดิฉันขึ้นไปทำงานบนดอยไตแลงฐานที่มั่นของกองกำลังรัฐฉาน เจอหน้านายทหารไทใหญ่บนยอดดอย มาหลายปีเต็มที ขณะที่ตัวเราเองแก่เฮือกๆ มากขึ้นทุกที แต่ทหารไทใหญ่กรำศึกเหล่านั้นช่างแสนอัศจรรย์ แต่ละคนต่างเหมือนเดิม บางคนยังออกอาการหนุ่มกว่าเดิมให้เห็น ผมเผ้าไม่มีหงอก หัวไม่มีล้าน เห็น ชัดๆ ก็เจ้าสิริ-เลขาธิการสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน(RCSS) อายุคงร่วม 60 ปีเข้าไปแล้วแต่ยังมีรอยยิ้มแจ่มใส ฟันขาวสวย ดวงตาแสนจะใจดีและยังหล่อพริ้งพรายไม่ทิ้งมาดพระเอกลิเกเก่าในวัยหนุ่มเลยสักน้อย สัมภาษณ์ทำงานเสร็จแล้วเมื่อไหร่เป็นอันต้องได้กระเซ้าเย้าแหย่กันไปตามสภาพ หัวเราะครืนๆ อยู่เป็นประจำในทุกครั้งที่พบหน้า

เสียงปืน และ สันติภาพ

เขียนโดย Leonard Shinrachan แปลโดย กองบรรณาธิการ
ภาพ KDNG / AKSYU

เวลาตีสองของวันที่ 9 มิถุนายน เสียงปืนปะทุกึกก้องไปทั่วเขตตะวันออกของรัฐคะฉิ่น ดินแดนที่ผู้คนในพม่าต่างกล่าวขานถึงอากาศอันหนาวเย็นตลอดทั้งปีและทิวทัศน์ที่สวยสดงดงาม การต่อสู้ระหว่างกองกำลังทหารพม่ากองพัน 437 และกองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independence Army -KIA) กองพัน 15 ภายใต้ กองพลน้อยที่ 3 ในครั้งนี้เริ่มขึ้นที่เมืองโมเม่าก์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำทาปิง 17 ปีที่ปราศจากเสียงปืนบนเทือกเขาแห่งรัฐคะฉิ่น บัดนี้กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติ

ชีวิตบนตึกสูง

นานาตี



สายวันหนึ่งบนถนนอะนอระธาใจกลางเมืองย่างกุ้ง เราเดินบนทางเท้าพร้อมกล้องถ่ายรูปเพื่อเก็บภาพสีสันของหาบเร่แผงลอย เรียกได้ว่าเป็นตลาดนัดย่อมๆ ข้างถนนก็ว่าได้ ท่ามกลางบรรยากาศที่รายล้อมไปด้วยเสียงเครื่องยนต์ รถราบนท้องถนนและผู้คนหลากหลายชีวิตที่เดินขวักไขว่ ตึกสูงแห่งหนึ่งมีเชือกพลาสติกห้อยระโยงระยางจากระเบียงชั้นบนเต็มไปหมด ตรงส่วนปลายมีตะขอหรือไม่ก็คลิปหนีบกระดาษผูกไว้ เมื่อลองสังเกตดูดีๆดูเหมือนว่าจะมีเชือกแบบเดียวกันนี้อยู่ตามอาคารสูงๆ แทบทุกแห่ง

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

จาก “ดาวใหม่” ถึง “เสียงไตลื้อ” สำนึกรักบ้านเกิดของชาวลื้อ - สิบสองปันนา

วสันต์ ปัญญาแก้ว



 

สาวไตไปฟ้อนเมืองฮ่อ กันว่า ใคร่ก้อแอ็ปบ่าวจายไต

อย่าไปเกิ๊ดค้างอยู่ตีไก๋ สาวงามไตอยู่ไหนอย่าลืมไต

อยู่ไก๋ตีไหนปานใด นางอย่าลืมไตเมืองเกิดของเฮา

 

สาวไตไปอยู่เมืองฮ่อ ปอกมาต๊อแอ็ปบ่าวจายไต

อย่าไปลืมกำปากไต ใจ๋ปายจายอยู่ไหนเบ่าลืมง่าย

อยู่ไก๋ตีไหนปานใด จายเบ่าลืมง่ายสาวอ่อนเมืองไต

 

เมืองสิบสองปันนาขึ้นใหญ่ใสมา ไพร่ภาษาเยิมจูผู้เบ่าใจ่อู้

อวดอยู่ สิบสองปันนา บัดเดี่ยวมา เหลียวตองหา

สาวตัวดีจาวนา หายกว่าวอยๆ เบ่าอยู่เมืองไต

เรื่องสั้น ชนภูเขา

โดย ปูเนแม (เว็ดเล็ต)
จากนิตยสาร กาเหลี่ย  แปลโดย Numripan

“นี่ บ้านของโก่หม่องหม่องจ่อใช่ไหมครับ” เสียงของชายคนหนึ่งถามผมทันทีที่ผมเปิดประตูบ้านต้อนรับเขา

Not one less เด็กหัวใจสู้และครูตัวน้อย

โดย หมอกเต่หว่า

Not_One_Less

เด็กคืออนาคตของชาติ แต่เด็กจะไม่มีอนาคตหากขาดการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ 

หากพูดถึงหนังจีนที่ เป็นธรรมชาติ น่ารัก และสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมทั่วโลก เชื่อว่า Not one less (เด็กหัวใจสู้และครูตัวน้อย) ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2542 คงเป็นหนึ่งในนั้นNot one less เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของผู้กำกับชื่อดังมากฝีมือจากแดนมังกร “จางอี้โหมว” ที่เขาเคยฝากผลงานคุณภาพมาแล้วหลายเรื่องเช่น Raise the Red Lantern Hero และ House of Flying Daggers ในขณะที่ Not one less เป็นหนังอีกหนึ่งเรื่องของจางอี้โหมวที่คว้ารางวัลจากเทศกาลหนังจากทั่วโลกเช่นรางวัลสิงโตทองคำจากเทศกาล Venice International Film Festival และรางวัล Jury Award จากเทศกาลหนัง Beijing Student Film Festival ในปีเดียวกัน รวมถึงรางวัลอื่นๆ อีกมากมายในปีต่อๆ มา

ประกายความหวัง ณ ริมขอบแดน

โดย นานาตี

"รบกวน...เธอช่วยนำเงิน 2 พันบาทนี้ไปให้น้องของฉันด้วยนะ"

นี่คือคำขอร้องของเพื่อนชาวอาระกันคนหนึ่งที่ทราบว่าผู้เขียนกำลังจะเดินทางไปเก็บข้อมูลที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตากในอีกไม่กี่วัน มันคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางที่นำพาให้เราได้พบกับชีวิตน้อยๆ หลายชีวิตในหมู่บ้านชายแดนเล็กๆ ที่ธนบัตรสีเทา 2 ใบนี้มีค่าสำหรับอนาคตของพวกเขาอย่างเหลือเชื่อ

โรงเรียนของหนู การศึกษาที่ไม่มีทางเลือก ในพม่า

โดย ขิ่นเลย์ แปล numripan



เดือนมิถุนายนนี้ ลูกชายของฉันก็จะมีอายุครบห้าขวบกับอีกสี่เดือน ซึ่งตรงกับช่วงโรงเรียนเปิดพอดี และคงถึงเวลาที่จะต้องพาลูกเข้าโรงเรียนเสียทีในประเทศพม่านั้นเริ่มฝากเรียนอนุบาลกันตั้งแต่ห้าขวบขึ้นไป พอหกขวบก็จะขึ้นชั้น ป.1 และเมื่ออายุเก้าขวบก็จะจบชั้นประถมคือชั้น ป.4 อันที่จริงลูกชายของฉันเริ่มเรียนอนุบาลตั้งแต่อายุสามขวบ ซึ่งในชั้นอนุบาลผู้ปกครองจะให้เด็กๆ เรียนหรือไม่เรียนก็ได้ โรงเรียนอนุบาลมีให้เลือกสองประเภทคือ โรงเรียนรัฐ กับ โรงเรียนเอกชน ค่าเทอมจะแตกต่างกันไปแม้ว่าจะเป็นโรงเรียนของรัฐก็ตาม โรงเรียนอนุบาลทุกแห่งในพม่าไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ แต่อยู่ภายใต้องค์กรด้านการพัฒนาสังคม และส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะฝากเลี้ยงมากกว่า มีบางแห่งเท่านั้นที่สอนหนังสือให้แก่เด็ก ส่วนการส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่น ๆ ตามช่วงวัย ผู้ปกครองที่มีฐานะดีก็จะต้องจ่ายเงินเพิ่มหรือหาที่เรียนเสริมกันเอาเอง

ตะลุยอินทร์แขวนแบบบ้านๆ

โดย นานาตี

ถ้าจะพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวของพม่าเพื่อนบ้านเราแล้วล่ะก็ "พระธาตุอินทร์แขวน" หรือ "ไจ้ก์ทีโย" ในภาษามอญ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ยอดฮิตก็ว่าได้ ภาพความมหัศจรรย์ของก้อนหินสีทองอร่ามขนาดยักษ์ที่แขวนอยู่บนขอบเหวได้อย่างน่าฉงนมีให้เห็นในโบรชัวร์ท่องเที่ยวอยู่เสมอ เรื่องราวการเดินทางที่กำลังจะเล่าต่อไปนี้อาจแตกต่างจากเรื่องเล่าของใครหลายคน ทั้งที่เป็นนักท่องเที่ยวกรุ๊ปทัวร์ และแบกเป้ เพราะเราครั้งนี้เราจะไปที่แบบชาวบ้านหรือคนท้องถิ่นเขาไปกัน เอ้า..เกาะแน่นๆ รถกำลังจะออกแล้วค่ะ

เป่าแคนม้งส่งวิญญาณสู่สวรรค์

[caption id="attachment_3330" align="alignnone" width="504" caption="ภาพจาก www.tourismlaos.gov.la"][/caption]

โดย กระแนจอ

เมื่อเอ่ยถึงเครื่องดนตรีของชาวม้ง ชื่อของ "เฆ่ง" ในภาษาม้ง หรือ "แคน" ในภาษาไทยจะต้องมาเป็นอันดับแรกอย่างแน่นอน เพราะเครื่องดนตรีชิ้นนี้ดำรงอยู่คู่กับชนเผ่าม้งมานานหลายชั่วอายุคน และทำหน้าที่สำคัญในการนำทางดวงวิญญาณผู้ล่วงลับให้เดินทางกลับไปหาบรรพชนชาวม้งที่อยู่อีกภพหนึ่ง เสียงแคนที่ถูกบรรเลงทุกบทเพลงล้วนมีความหมายสอดแทรกบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้กับดวงวิญญาณได้รับรู้ เป็นเสมือนเครื่องดนตรีที่สื่อระหว่างโลกมนุษย์และโลกวิญญาณ ดังนั้น หากงานศพใดไม่มีเสียงแคน งานศพนั้นก็จะไม่สมบูรณ์เพราะดวงวิญญาณไม่สามารถไปสู่สุคติได้

พิธีกินข้าวใหม่ ตัวตนที่ไม่เคยเลือนหายของชาวคะฉิ่น

โดย ฐิรติ วสุนธรา



ต้นฤดูหนาวกลางเดือนพฤศจิกายน 2552 ณ บ้านใหม่สามัคคี ต.เมืองนะ อ.เชียงดาวจ.เชียงใหม่ ชุมชนกลางขุนเขาแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวคะฉิ่นเกือบพันชีวิตที่อพยพมาจากรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่าเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ในยามค่ำคืนหมู่บ้านเล็กๆถูกปกคลุมไปด้วยความมืด ลมหนาวพัดพาเอาความเย็นมาปะทะร่างกายเป็นระยะๆ แม้เวลานี้จะล่วงเลยมาถึงสี่ทุ่มแล้ว แต่บรรยากาศไม่ได้เงียบเหงาเหมือนทุกวัน บ้านหลายหลังกลับคึกคักไปด้วยเสียงหัวเราะพูดคุยของสมาชิกในครอบครัวที่ไม่ได้เจอกันเป็นเวลานาน เพราะต้องจากบ้านไปทำงานในตัวเมือง แต่ในวันนี้ หลายคนต่างพร้อมใจกันเดินทางกลับบ้านเพื่อเตรียมงานสำคั¬ประจำปีที่จะมีขึ้นในวันรุ่งขึ้น นั่นคือ “พิธีกินข้าวใหม่” หรือ ในภาษาคะฉิ่นเรียกว่า “อึนลง อึนนัน เจซูดัมปอย”

Beyond Rangoon สู้เพื่อเธอ อองซาน ซูจี

beyond rangoon

โดย หมอกเต่หว่า

คนบางกลุ่มยอมทำทุกอย่างเพื่อรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตัวเอง แม้กระทั่งเข่นฆ่าข่มเหงคนเชื้อชาติเดียวกัน ละตราบใดที่พวกเขายังมีปืนและหลงระเริงในอำนาจมืดตราบนั้นประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครองของพวกเขาก็จะต้องเผชิญความทุกข์ยากไม่มีที่สิ้นสุด

พลา เก คนปลูกต้นไม้ในค่ายผู้ลี้ภัย

ภายในค่ายผู้ลี้ภัยที่มีรั้วลวดหนามเป็นแนวกั้นเสรีภาพ ชายหนุ่มกะเหรี่ยงคนหนึ่งกำลังก้มหน้าก้มตาใส่ดินลงในถุงพลาสติกใบเล็กเพื่อรองรับกล้าไม้ที่รอวันจะนำไปฝังรากบนแผ่นดินผืนใหญ่มาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว  แม้ว่าแผ่นดินผืนนี้จะไม่ใช่บ้านเกิดเมืองนอน แต่เขาก็ยังอยากปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะเชื่อว่าต้นไม้ให้ชีวิตกับทุกคน ไม่ว่าแผ่นดินผืนนั้นจะเป็นของใครก็ตาม

ชีวิตจริงที่ยิ่งกว่านิยายของอดีตมหาเทวีแห่งสีป้อ

โดย โม๋หอม

นานมาแล้ว สาวน้อยนางหนึ่งได้พบรักและแต่งงานกับชายหนุ่มผู้แสนสุภาพอ่อนโยนจากต่างแดน โดยที่ไม่รู้มาก่อนว่าผู้ที่เธอมอบหัวใจให้นั้นแท้จริงคือเจ้าชาย และเธอก็ได้กลายเป็นเจ้าหญิงโดยที่ไม่ทันตั้งตัว...เรื่องราวข้างต้นอาจพบเห็นได้ตามแผงหนังสือนิยายทั่วไป แต่สำหรับทุซานดี มหาเทวีองค์สุดท้ายของเมืองสีป้อแห่งรัฐฉาน นั่นคือชีวิตจริง ทว่า น่าเศร้านักที่ไม่มีใครสามารถกำหนดให้ตอนจบสวยงามตามปรารถนาได้เหมือนในนิยาย

จากเดพายินถึงยิตทอว์-ตัวละครใหม่บนพล็อตเก่า

โดย ธันวา สิริเมธี

ใครติดตามข่าวช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาต้องได้เห็นภาพนางอองซาน ซูจีปรากฏอยู่บนสื่อทุกช่องทั่วโลก  เพราะรัฐบาลพม่าตั้งข้อหาไม่เป็นธรรมกับนางซูจี กรณีชายชาวอเมริกันบุกรุกเข้ามาในบ้านพักของนาง แต่นางกลับตกเป็นจำเลยและอาจต้องโทษจำคุกอินเส่งนานถึง 5 ปีเลยทีเดียว งานนี้นายบารัค โอบามาผู้นำคนใหม่ของสหรัฐยังทนไม่ได้ ออกมาประณามรัฐบาลทหารพม่าและเรียกร้องให้ปล่อยนางซูจีและเพื่อนนักโทษการเมืองโดยด่วน

นโยบายต่างประเทศไทย-พม่า : มรดกล้ำค่าจากรัฐบาลชวน(2) ถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์

โดย สุรพงษ์  ชัยนาม

ในบรรดาประเทศสมาชิกองค์การอาเซียน ประเทศไทยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศพม่ายาวที่สุดถึง  2,401 กิโลเมตร และเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบทางลบโดยตรงในทุกด้านจากพม่ามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผู้อพยพที่ถูกรัฐบาลทหารพม่าปราบปรามอย่างรุนแรงทุกฤดูร้อนและหนีเข้ามาพึ่งความปลอดภัยในไทย ปัญหาแรงงานผิดกฎหมายกว่าสามล้านคน ปัญหาโรคเอดส์และโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่มาจากผู้อพยพและแรงงานผิดกฎหมาย ปัญหาการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปัญหายาเสพติดที่ทะลักมาจากฝั่งพม่าโดยเผ่าว้าแดงเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายลักลอบเข้ามาในเขตไทย ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของไทยอย่างกว้างขวางและยาวนานกว่า 40 ปี ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

แอบมองรางวัลตุ๊กตาทองสไตล์พม่า

โดย กระแนจอ

ขึ้นชื่อว่านักแสดง ไม่ว่าประเทศไหนก็ต้องอยากได้รางวัลเกียรติยศมาประดับบ้านกันทั้งนั้น เพราะสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือ ชื่อเสียง เงินทอง และงานแสดงที่ตามมาอีกมากมาย ในประเทศพม่าเพื่อนบ้าน ของเราก็ไม่น้อยหน้า แจกรางวัลตุ๊กตาทองติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 แล้ว และยังคงจัดติดต่อกันมาทุกปี โดยสองปีที่ผ่านมาเพิ่งย้ายจากเมืองหลวงเก่าย่างกุ้งไปแจกรางวัลกันที่เมืองหลวงใหม่ที่เนย์ปีดอว์กันอย่างชื่นมื่น

เรื่องสั้น ปู่ของจมา

ตอนเป็นเด็ก เขาเคยมีชื่อภาษาพม่า แต่เพื่อนๆ มักเรียกเขาว่า “จมา” ซึ่งเป็นภาษาฮินดู  จึงไม่ค่อยมีใครจำชื่อพม่าของเขาได้  จมา นีทุต และกานเต็งเป็นเพื่อนสนิทที่เรียนมาด้วยกันตั้งแต่ป. 2  พ่อแม่ของจมามีอาชีพเลี้ยงเป็ด ครอบครัวของเขานับถือศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับคนส่วนมากในหมู่บ้านที่นับถือศาสนาอิสลาม ครอบครัวของจมามีเชื้อสายอินเดีย เขาจึงมีหน้าตาละม้ายคล้ายกับชาวอินเดียอยู่มาก ว่ากันว่า คนในหมู่บ้านของจมาส่วนใหญ่เป็นลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าหน้าที่ในพระราชวังกษัตริย์พม่าสมัยก่อน

เรื่องสั้น ของฝากจากเมืองกรุง

เมื่อกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดทีไร หลายคนก็มักจะถูกคนรู้จักหรือเพื่อนสนิทถามอยู่เสมอว่า  "ไปอยู่ไหนมาตั้งนาน?"  "มีของฝากติดไม้ติดมือมาด้วยหรือเปล่า ?" ซ้ำๆ ซากๆ อยู่อย่างนั้น จนบางครั้งขี้เกียจตอบและต้องยกไม้ยกมือตอบกลับแทนคำพูดเลยก็มี

เรื่องสั้น กระต่ายน้อยในอุ้งมือนายพราน

จ่ออูกับผมทำงานแผนกเดียวกัน เราสองคนเป็นเพื่อนที่สนิทกันที่สุด พรุ่งนี้ผมกับจ่ออูต้องไปย่างกุ้ง เพื่อทำธุระบางอย่าง
"เพื่อน...ถ้าเราไปถึงย่างกุ้ง เราไม่พักที่กรมฯ นะ แต่จะไปพักที่โรงแรม จะได้อยู่อย่างสบายๆ ไง" จ่ออูพูดกับผมอย่างกระตือรือร้น

A day without a Mexican - ขาดฉัน (แรงงานต่างด้าว) แล้วเธอจะรู้สึก !

โดย หมอกเต่หว่า

คุณเคยคิดไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น หากตื่นเช้าขึ้นมาแล้วพบว่า แรงงานต่างด้าว  ซึ่งทำงานหนักแลกค่าแรงราคาถูกหายไปจากประเทศไทยในพริบตา  หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังดีใจกับการหายไปของแรงงานเหล่านี้  เราแนะนำให้คุณหาหนังเรื่องนี้มาดูก่อน แล้วคุณอาจเปลี่ยนใจ

Grave of the fireflies – (สุสานหิ่งห้อย) ชะตากรรมเด็กกำพร้าท่ามกลางสงคราม



 

 

โดย หมอกเต่หว่า

คุณจะรู้สึกอย่างไร หากต้องกลายเป็นเด็กกำพร้า สูญเสียพ่อแม่จากภาวะสงคราม ไม่มีอาหาร น้ำดื่ม ที่พักอาศัย และความหวังถึงสันติภาพยังคงริบหรี่ ?

ภาพยนตร์แอนนิเมชั่น เรื่อง "Grave of the fireflies" สัญชาติญี่ปุ่น หรือชื่อภาษาไทยว่า "สุสานหิ่งห้อย" จะทำให้คุณรับรู้ถึงความทุกข์ยากของเด็กน้อยที่ต้องกลายเป็นเด็กกำพร้าจากสงครามชนิดที่เรียกน้ำตาจากผู้ชมทั่วทุกมุมโลกมาแล้ว แม้ว่าจะเริ่มเข้าฉายทางโรงภาพยนตร์ครั้งแรกตั้งแต่พ.ศ. 2531 แต่จนถึงวันนี้ก็ยังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนังการ์ตูนเรื่องเยี่ยมอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรพลาด

I am David - เด็กผู้ชาย หัวใจไม่ยอมแพ้

โดย หมอกเต่หว่า



บางคนอาจโชคดีที่เกิดมาแล้วได้สัมผัสกับอิสรภาพ ความเป็นธรรมและความถูกต้องในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่พึงจะได้รับ แต่ยังมีคนอีกหลายล้านคนในโลกนี้ที่เกิดมาไม่มีแม้แต่ศักดิ์ศรีของความเป็นคน อิสรภาพอาจเป็นเพียงแค่ความฝันลม ๆ แล้ง ๆ สำหรับพวกเขา

ภาพยนตร์เรื่อง I am David (เด็กชายหัวใจไม่ยอมแพ้) อาจบอกผ่านความรู้สึกเหล่านั้นให้คุณได้สะเทือนใจอีกครั้ง ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย Paul Feig ผู้กำกับชื่อดังอีกคนหนึ่งของฮอลลีวู้ด เรื่องราวของเด็กผู้ชายวัย 12 ที่ชื่อเดวิด แสดงโดย เบน ทิบเบอร์ ที่พอจำความได้ก็อยู่แต่ในค่ายผู้ใช้แรงงานของทหารคอมมิวนิสต์แห่งหนึ่งในประเทศบัลแกเรียใน ค.ศ.1952 ที่ ๆ มีแต่ความโหดร้ายทารุณ เขาได้เห็นประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับทหารถูกจับกุมและนำมาใช้แรงงานที่ค่ายแห่งนี้เป็นจำนวนมาก

เดวิดไม่รู้ว่าตัวเองนั้นมาจากไหน และไม่รู้ว่าครอบครัวของตัวเองเป็นใคร  แต่ทุกครั้งที่เขาหลับตาเขามักจะเห็นแต่ใบหน้าราง ๆ ของผู้หญิงคนหนึ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นแม่ของเขา แต่เดวิดไม่เคยแม้แต่จะสัมผัสกับโลกภายนอก และไม่เคยแม้แต่จะหัวเราะออกมาด้วยซ้ำ ที่ค่ายแห่งนี้ดูเหมือนจะมีเพียงโจฮันเนส(จิม คาวีเซล) เพียงคนเดียวที่เป็นทั้งพ่อและเพื่อนคอยช่วยเหลือเขาตลอดมา เช่นเดียวกับผู้คุมทหารอีกคนหนึ่งที่คอยช่วยเหลือเดวิดอย่างลับๆ ด้วยเช่นกัน แต่แล้ววันหนึ่งเหตุการณ์เกิดพลิกผัน เมื่อเดวิดได้ขโมยสบู่ก้อนในห้องของทหาร เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้โจฮันเนสต้องถูกยิงตายเพราะเขาสารภาพรับผิดแทนเดวิด

ไม่นานนักผู้คุมทหารที่คอยช่วยเหลือเขาอย่างลับๆ ได้เรียกร้องให้เดวิดหนีออกจากค่ายไปเดนมาร์กให้ได้พร้อมๆ กับจดหมายลับฉบับหนึ่ง โดยเขาได้รับคำแนะนำว่า ห้ามไว้ใจใครทั้งนั้น

การผจญภัยของเดวิดได้เริ่มขึ้นเมื่อเขาหนีออกจากค่ายในกลางดึกคืนหนึ่ง มุ่งหน้าไปยังชายแดนประเทศกรีซที่แสนอันตราย ก่อนที่จะลักลอบเข้าไปในเรือสินค้า ที่มุ่งหน้าสู่อิตาลี ในฉากนี้เดวิดถูกลอยแพในทะเลใกล้กับชายฝั่งประเทศอิตาลี เพราะกะลาสีคนหนึ่งในเรือไม่อยากให้ใครเห็นเดวิดเวลาที่เรือจอดเทียบท่าแล้ว ฉากที่เด็กชายวัยเพียง 12 ขวบพยายามว่ายน้ำเข้าหาฝั่งสื่อถึงคนที่ไร้จุดหมายปลายทาง ออกมาได้อย่างกินใจจริงๆ แต่เพราะความพยามยามและความกล้าของเขาจึงทำให้เขาเดินทางมาถึงอิตาลีในที่สุด

จากการสูญเสียอิสรภาพมายาวนานในค่ายใช้แรงงานทหารทำให้การใช้ชีวิตที่แสนปกติธรรมดาของคนในประเทศสงบสุข อย่างอิตาลีกลับเป็นสิ่งแปลกใหม่และยากเกินกว่าที่เดวิดจะเข้าใจ เช่น เขาไม่เข้าใจว่าเงินคืออะไรและควรยิ้มยังไงด้วยซ้ำ  รวมถึงเขายังผวาหวาดกลัวเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบจะจับตัวเขาส่งกลับบัลแกเรีย โลกใบใหม่สำหรับเดวิดจึงเต็มไปด้วยความน่ากลัวและไม่สามารถไว้ใจใครได้

ต่อมาเดวิดได้ช่วยชีวิตเด็กผู้หญิงที่ชื่อ มาเรีย ลูกสาวของครอบครัวเศรษฐีครอบครัวหนึ่งในอิตาลี  เขาได้รับการดูแลอย่างดีจากครอบครัวนี้ เดวิดแทบจะไม่เคยเล่าย้อนถึงชีวิตอันเลวร้ายในอดีตให้ใครฟังมาก่อน แต่มีอยู่ฉากหนึ่งที่แสดงถึงความอัดอั้นตันใจของเขา บอกผ่านมาเรียตามประสาเด็กว่า

"มีคนมากมายที่ฉันไม่ชอบ เพราะโลกนี้เต็มไปด้วยคนน่ากลัว พวกนั้นทำสิ่งที่น่ากลัวและชั่วร้าย ฉันเห็นมาแล้ว"

และดูเหมือนว่าความปรารถนาดีต่างๆจากครอบครัวของมาเรียกลับยิ่งทำให้เดวิดกลัวและไม่กล้าเปิดใจมากขึ้นเด็กชายตัวน้อยจึงออกเดินทางอีกครั้งพร้อมกับเป้เก่าๆ และแววตาเศร้าสร้อย

แต่แล้วการเดินทางของเขาดูจะไม่ราบรื่นเท่าใดนัก เมื่อต้องตกอยู่ในเหตุการณ์ การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่และกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ออกมาประท้วง เดวิดถูกจับเพราะเจ้าหน้าที่เข้าใจผิดคิดว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้ประท้วงด้วย ในระหว่างที่เขากำลังถูกจับกุมอยู่ในรถนี่เอง เขาตัดสินใจเปิดจดหมายลับที่ได้รับมอบหมายให้ไปส่งในเดนมาร์ก แต่แล้วกลับทำให้เขาประหลาดใจ มากยิ่งขึ้น เพราะจดหมายลับที่ว่านี้ แท้จริงแล้ว คือบัตรประจำตัวและข้อมูลหลักฐานของตัวเขานั่นเอง หลังจากนั้นเขาหลบหนีจากการจับกุมได้สำเร็จ

ต่อมา เดวิดได้พบกับโซฟี (โจแอน โพลไรท์)หญิงสูงวัยที่เป็นทั้งศิลปินวาดรูปและเป็นผู้ที่ไขกุญแจเรื่องราวชีวิตของเดวิดให้คลี่คลายในเวลาต่อมา เดวิดได้เดินทางไปอยู่กับโซฟีที่สวิตเซอร์แลนด์ โซฟีได้สอนให้เดวิดรู้ว่า แท้จริงแล้วในโลกนี้ยังคงมีคนดีๆ อยู่มาก โดยมีฉากที่เดวิดกลั้นใจทักทายกับเจ้าหน้าที่คนหนึ่งในโบสถ์ และสิ่งที่เขาได้รับกลับมาก็คือรอยยิ้มและมิตรภาพ จนทำให้โลกอันน่ากลัวของเดวิดค่อยๆ จางหายไป

แต่เรื่องราวไม่ได้จบอยู่เพียงแค่นั้น เดวิดได้ค้นพบว่า แม่ของเขายังมีชีวิตและอยู่ที่เดนมาร์ก และเหตุผลที่เขาต้องอยู่ในค่ายใช้แรงงานก็เป็นเพราะว่า พ่อและแม่ของเขาได้รณรงค์ให้คนในบัลแกเรียต่อต้าน ระบอบคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ภายหลังพ่อแม่รวมทั้งตัวเดวิด ถูกทหารบัลแกเรียจับตัว พ่อของเขาถูกฆ่าตาย แต่แม่หนีรอดไปได้เพราะได้รับความช่วยเหลือจากผู้คุมคนเดียวกันกับที่ช่วยเหลือเดวิด แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แม่ของเขาเข้าใจผิดมาตลอดว่าเดวิดได้เสียชีวิตแล้ว และปริศนาที่ว่า เขาต้องนำจดหมายลับ ไปส่งยังเดนมาร์กก็เป็นเพราะว่าแม่ของเขาอยู่ที่เดนมาร์กนั่นเอง

ฉากสุดท้ายที่เดวิดหวนกลับคืนอ้อมอก แม่พร้อมกับเพลงประกอบที่ซาบซึ้งบาดใจผู้ชมจนทำให้หลายคนน้ำตาไหลพรากเพราะความดีใจอยู่ลึกๆ อาจกล่าวได้ว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังดีอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ชมไม่ควรพลาด แม้การเดินเรื่องจะเป็นไปแบบนิ่งๆ เศร้าๆ ว้าเหว่และไม่หวือหวานัก แต่บทสรุปตอนท้ายของเรื่องกลับเข้มข้นและตัวละครอย่างเดวิดได้ค้นพบตัวเองและมีความสุขในโลกใบใหม่ อีกทั้งฉาก แสง สี เสียงในเรื่องนี้คงประทับใจใครหลายคน จนยากจะลืม  เรื่องราวของเดวิดนับเป็นภาพสะท้อน ความรู้สึกของคนที่ถูกกักขังเสรีภาพได้เป็นอย่างดี แต่ในโลกแห่งความจริง

จะมีสักกี่คนที่มีชีวิตจบแบบแฮปปี้เอนดิ้งเหมือนเดวิด โดยเฉพาะกับนักโทษการเมืองในพม่าที่ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากการถูกทรมานร่างกาย ภาวะขาดสารอาหารและโรคภัยไข้เจ็บก่อนจะได้รับเสรีภาพ คนที่รอดชีวิตออกมาได้ทันสัมผัสเสรีภาพก็ต้องมีชีวิตอยู่กับฝันร้ายในอดีตที่ยากจะลืมเลือนและการถูกเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดจากเจ้าหน้าที่รัฐไปตลอดชีวิต

พวกเขาจะไม่มีวันได้สัมผัสความหอมหวานของเสรีภาพอย่างเต็มที่จนกว่าผู้นำประเทศพม่าจะมองประชาชนผู้ต้องการสิทธิเสรีภาพเป็นมิตร ไม่ใช่ศัตรูเหมือนเช่นที่ผ่านมา.

Innocent Voices - เสียงบริสุทธิ์หยุดสงคราม

โดย หมอกเต่หว่า

คนส่วนใหญ่มักพูดว่า วัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความสุข ตื่นเต้นสนุกสนาน ไม่ต้องคิดอะไรให้ปวดหัวเหมือนพวกผู้ใหญ่ แต่คำกล่าวนี้อาจใช้ไม่ได้กับเด็กในประเทศที่ไฟสงครามยังคงคุกรุ่น เพราะ เด็กเหล่านั้นอาจไม่เคยลิ้มรสชาติของความเป็นเด็กเลยด้วยซ้ำไป

Monster's Ball- แด่รักนักโทษประหาร



 

โดย หมอกเต่หว่า

คุณจะรู้สึกอย่างไร เมื่อคุณค่าความเป็นคนในตัวคุณถูกตีค่าเพียงเพราะสีผิว ศาสนาและเชื้อชาติของคุณ?

แฮงค์(บิลลี่ บ็อบ ธอร์นตัน) อาศัยอยู่กับพ่อ(ปีเตอร์ บอยล์)และลูกชายของเขาที่ชื่อซันนี่(ฮีธ เล็ดเจอร์)ในเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในรัฐจอร์เจีย ภรรยาของแฮงค์เสียชีวิตไปเมื่อหลายปีก่อน ทั้งพ่อของเขาและตัวแฮงค์เอง รวมไปถึงซันนี่ต่างรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในเรือนจำ

Border Town - อำพรางโหดชายแดนทมิฬ



โดย หมอกเต่หว่า

ยังมีอีกหลายๆ คนตัดสินใจทิ้งชีวิตในบ้านเกิดอันแร้นแค้น มุ่งหน้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่มีทางเลือก เพื่อไปตายเอาดาบหน้าและหวังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยที่พวกเขาเหล่านั้นไม่อาจล่วงรู้ถึงหนทางอันยากลำบากและอุปสรรคที่รออยู่ข้างหน้า และหลายๆ คนอาจต้องเอาชีวิตมาทิ้งไว้ในต่างถิ่น โดยที่ไม่มีโอกาสหวนกลับคืนแผ่นดินแม่ได้อีกครั้ง

Burma VJ



คุณจะทำอย่างไร หากคุณต้องเป็นนักข่าวในประเทศที่ปกครองโดยระบอบเผด็จการทหารอย่างพม่าที่จำกัดสิทธิเสรีภาพในทุกๆ ด้าน? แล้วคุณจะเลือกทำสิ่งไหนระหว่างปิดปากเงียบเพื่อไม่ให้ตัวเองและครอบครัว เดือดร้อน หรือเปิดโปงทำให้โลกรู้ความจริงที่เกิดขึ้นในประเทศของคุณแต่เท้าของคุณสามารถก้าวเข้าไปอยู่ในคุกได้ทุกเมื่อ

คนนอกแห่งเรฮีถ่า นาฏกรรมชีวิตบนแผ่นดินใหม่

โดย ชุมพล ศรีมันตระ

กุมภาพันธ์ 2548 เป็นปีแรกที่ผมเดินทางเข้าสู่ "เรฮีถ่า" หรือบ้านแม่แพะ หมู่ 6 ตำบลเสาหิน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในฐานะของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง ศูนย์การเรียนฯ ที่ผมประจำอยู่เป็นศูนย์การเรียนฯ เล็กๆ มีผมประจำอยู่เพียงคนเดียวและทำหน้าที่สอนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมทั้งพยายามทำทุกอย่างเพื่อหวังให้ที่นี่ดีขึ้น

กว่าส้มจะหวาน

โดย วรวรรษ รักวงษ์
ส้มผิวมันวาวหลายสิบลูกเกาะขั้วอยู่บนกิ่งก้านสาขาของต้นส้มสูงที่ท่วมหัวเรียงรายเป็นแนวยาวทอดไปตามเนินเขา แดดที่ลอดผ่านช่องว่างระหว่างใบสะท้อนให้ผิวส้มกลายเป็นสีทองไปทั้งสวน ใบสีเขียวเข้มยิ่งขับให้ผลส้มเหล่านั้นดูเด่นยิ่งขึ้น ชื่อเสียงของส้มอำเภอฝางที่เคยได้ยินมาทำให้เดาได้ว่า เนื้อในคงหวานฉ่ำแก้กระหายและสร้างความสดชื่นได้เป็นอย่างดี กลิ่นหอมเฉพาะตัวของเปลือกส้มยั่วน้ำลายจนอดใจไม่ไหว อยากจะแกะเปลือกเอาเนื้อในเข้าปากเสียเดี๋ยวนั้น

ชีวิตชนเผ่าที่เคลื่อนไหวบนผืนผ้าใบของ "ติ่นวิน"



โดย นานาตี

"ติ่นวิน" ชื่อนี้สำหรับคนไทยอาจไม่ได้บ่งบอกอะไรมากไปกว่าเชื้อชาติ แต่ในแวดวงศิลปะพม่าแล้วละก็ เรียกได้ว่าไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะชายวัยกลางคนผู้นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นถึง "ศิลปินเอก" ของวงการ ซึ่งผลงานอันโดดเด่นของเขาเป็นแรงบัลดาลใจศิลปินรุ่นหลังในพม่ามานักต่อนัก

ด้วยเหตุที่ทางการพม่าไม่ได้บรรจุวิชาศิลปะไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับประถมและมัธยม การเดินทางบนถนนสายศิลปะของติ่นวินจึงเริ่มขึ้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราวที่สถาบันวิจิตรศิลป์ในเมืองมัณฑเลย์เมื่อสามสิบกว่าปีก่อน เขาหลงใหลในความวิจิตรของศิลปะดั้งเดิมแบบพม่าและชนเผ่าต่างๆ ผนวกกับอิทธิพลจากจิตรกรตะวันตกที่เขาชื่นชอบ ผืนผ้าใบของติ่นวินจึงเป็นเสมือนจุดนัดพบกันระหว่างศิลปะตะวันตก กับตะวันออก นอกจากนี้ ภาพวาดทุกภาพของศิลปินผู้นี้ยังเต็มไปด้วยสีสันที่จัดจ้านรวมทั้งลวดลายของพื้นผิวยังทำให้ภาพนั้นน่าสนใจยิ่งขึ้น

เนเมียวเซ อัจฉริยะแห่งวงการศิลปะในพม่า



หมอ นักร้อง นักแต่งเพลง นักธุรกิจ ดีไซเนอร์ ศิลปิน ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่ใฝ่ฝันของใครหลายๆ คน แต่บนโลกนี้จะมีซักกี่คนที่สามารถเป็นได้ทุกอย่างที่กล่าวมา และคงไม่มีใครคาดคิดว่า หนึ่งในจำนวนอันน้อยนิดจะอยู่ใกล้ ๆ ในประเทศที่เราอาจมองข้าม นั่นคือประเทศพม่า เพื่อนบ้านใกล้ชิดที่เราอาจยังไม่รู้จักเขาดีพอ

ภาพพิมพ์ชีวิต เพื่อความเข้าใจในพม่าสู่เด็กสกอต


หมึกสีดำบนกระดาษขาวปรากฏเป็นภาพของเด็กชายตัวน้อยสองคนประแป้งทะนาคา ลายเส้นขยุกขยิกบ่งบอกถึงอายุอานามเจ้าของผลงานภาพพิมพ์ชิ้นนี้ที่คงไม่ต่างจากเด็กชายในภาพสักเท่าไหร่  ใต้ภาพมีคำบรรยายว่า...ผมคิดว่าคนในภาพคงร้อนมากเพราะเขาทาครีมกันแดดที่ทำจากเปลือกไม้ หรือ ที่เรียกว่า ทะนาคา

ภาพนี้อาจไม่มีราคาเท่ากับผลงานของศิลปินเลื่องชื่อระดับโลก แต่สำหรับศิลปินตัวน้อยลูกแรงงานจากประเทศพม่าที่เป็นเจ้าของผลงานแล้ว มันมีค่ามาก เพราะสามารถถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตผู้คนภายใต้กำแพงเผด็จการพม่าให้กับเพื่อนที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่งได้รับรู้ ซึ่งคนในประเทศไม่มีโอกาสแม้แต่จะคิด

เยือนร้านลุงไทย บ้านแสนอบอุ่นของแรงงานอพยพ

หมอกเต่หว่า

ยังไม่ทันที่พระอาทิตย์จะขึ้นเพื่อเริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยซ้ำ ทว่า บรรยากาศในร้านลุงไทย ร้านข้าวแกงบนถนนทางเข้ากองบิน 41 ในจังหวัดเชียงใหม่กลับฃึกคักไปด้วยลูกค้าที่มีตั้งแต่ระดับผู้ใช้แรงงานเงินเดือนน้อย ไปจนถึงระดับข้าราชการชั้นสูงอย่างรัฐมนตรีก็เป็นลูกค้าประจำร้านนี้มาแล้วหลายราย เสียงดังจอแจของลูกค้ากับภาพของคนงานในร้านที่กำลังทำงานอย่างกระฉับกระเฉงดูจะเป็นภาพชินตาแก่ผู้ที่ผ่านไปมาในละแวกนี้ ด้วยฝีมือทำกับข้าวที่มีรสชาติอร่อยจัดจ้านสไตล์เพชรบุรีกว่า 30 - 40 เมนู บวกกับราคาถูกและสะอาดดึงดูดให้ลูกค้าแวะเวียน มาชิมปลายจวักของลุงไทยอย่างไม่ขาดสาย ตั้งแต่ก่อนรุ่งสางจนถึงช่วงบ่ายของวัน

ไปดูหุ่นพม่าที่กัมพูชา



นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว

ไปเขมรมาหลายครั้ง มักจะวนเวียนอยู่ตรงแค่กลุ่มปราสาทหินนครวัด นครธม เมืองเสียมเรียบ หรือแถวจังหวัดบันเตียเมียนเจยเพื่อทำสารคดีเกี่ยวกับปราสาทบันทายฉมาร์ แค่นี้ก็มีเรื่องต้องดูต้องเขียนถึงไม่รู้จบแล้ว สิบกว่าปีก่อน เมืองเขมรเต็มไปด้วยกับระเบิด บ้านเมืองแหลกย่อยยับ

ปี พ.ศ. 2535-2537 นั้น ผู้ชายทุกคนที่เห็นสะพายปืนอาร์ก้า บ้านเมืองที่มีแต่สงครามการฆ่าฟัน ไปครั้งหลังราวปี พ.ศ.2543 บ้านเมืองดีขึ้นมาบ้าง ไม่มีป้ายระวังกับระเบิดให้เห็นอีกแล้ว ทุ่งสังหารกว้างไพศาลจากปอยเปตถึงเสียมเรียบ สองฟากระยะทางร้อยกว่ากิโลเมตร มีการเก็บกู้กับระเบิดไปเรียบร้อยกลายเป็นท้องทุ่งนาอุดมสมบูรณ์

ย่างกุ้งริมทาง

จิตติมา ผลเสวก

แม้จะเป็นคราที่สามที่ได้มายืนอยู่บนแผ่นดินพม่า ทว่าความตื่นเต้นดูเหมือนจะยังคงระดับใกล้เคียงกับคราแรกที่ได้มาถึงประเทศนี้ อาจจะตื่นเต้นเพราะการเมืองที่แปลกประหลาดและตื่นเต้น เพราะเป็นประเทศที่ดูเหมือนว่ามีหลาย สิ่งอย่างอยู่หลังประตู ซึ่งคนภายนอกยากจะคาดเดาและเข้าถึง

แต่การเดินทางมาพม่าครั้งนี้ แรกที่ก้าวเท้าสู่สนามบินมินกะลาดงฉันกลับรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลง สิ่งก่อสร้างที่เรียกว่าสนามบินแห่งนี้ กว้างขวางโอ่โถงขึ้น กลิ่นอายใหม่ๆ อวลอบอยู่ทั่ว บรรยากาศต่างกับครั้งแรกและครั้งสอง เมื่อหลายปีก่อน สนามบินมินกะลาดงมีสภาพเก่าและคับแคบกว่าเดี๋ยวนี้มากนัก

ล่องกะลาดานเยือนมรัค อู ราชธานีแห่งสุดท้ายของอาณาจักรอาระกัน

ปลายเดือนเมษายน ปากแม่น้ำกะลาดาน เมืองซิตตวย รัฐอาระกัน
แดดอ่อนๆ ยามเช้าส่องกระทบพื้นผิวน้ำเป็นประกายสีทองระยับ เรือลำน้อยใหญ่ที่สัญจรไปมาในท้องน้ำที่กว้างสุดลูกหูลูกตาในเวลานี้ ดูไม่ต่างกับจุดเล็กๆ บนผืนผ้าขนาดใหญ่ หากย้อนเวลาไปในอดีต ผืนแผ่นดินอาระกัน ที่โอบล้อมแม่น้ำสายนี้เคยเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และเจริญรุ่งเรือง ว่ากันว่า ในยุคที่เจริญถึงขีดสุด เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศบังกลาเทศเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรแห่งนี้มาแล้ว แต่เมื่อวันเวลาล่วงเลยไป เหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์ทำให้สิ่งเหล่านั้นกลายเป็นเพียงอดีต ทว่า ร่องรอยและกลิ่นไอของความรุ่งเรืองยังคงหลงเหลือและรอคอยให้เราสัมผัสอยู่ที่เมือง "มรัค อู" ราชธานีแห่งสุดท้ายของอาณาจักรอาระกัน

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

ตัวแทน KNU เยือนเมืองผาอันเพ่ือเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลพม่า หลังรบกันมา 64 ปี



ตัวแทนของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (The Karen National Union -KNU) หรือเคเอ็นยู เดินทางไปยังเมืองผาอัน รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่ในเขตควบคุมของรัฐบาลพม่า เพื่อเดินทางไปเจรจาสันติภาพกับตัวแทนรัฐบาลพม่าจากกรุงเนปีดอว์ หลังทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นเวลา 64 ปี

เรื่องสั้น : จดหมายฉบับสุดท้าย

“พ่อ ยายคนนั้นหลับอยู่ตั้งนานแล้ว ไม่รู้ว่าจะไปไหน เลยสถานีที่ยายจะลงหรือยังก็ไม่รู้”

ลูกสาวคนโตร้องบอกผมด้วยท่าทีกังวลใจ ผมจึงเริ่มสังเกตยายที่นอนอยู่อีกฟากหนึ่งของเก้าอี้

ปกติแล้ว ผมเขียนแต่หนังสือจึงไม่ค่อยได้สังเกตคนรอบข้างเท่าไร เหตุที่ผมตัดสินใจนั่งรถไฟแบบจอดทุกๆสถานี ก็เป็นเพราะอยากจะหาข้อมูลจากการเดินทางครั้งนี้ให้ละเอียดที่สุด ผมพาลูกสาวทั้งสองคนร่วมเดินทางในครั้งนี้ด้วย ซึ่งเป็นการเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดอีกครั้งในรอบหลายปี ผมกับลูก ๆ อยู่ที่บ้านเกิดประมาณหนึ่งอาทิตย์ก็ลากลับ

เพื่อนพม่า...มิตรภาพหลังพายุนาร์กิส

โดย อาภัสสร สมบูรณ์วัฒนา

หลังจากพายุนาร์กิสพรากชีวิตผู้คนในลุ่มอิรวดีนับแสนไปจากโลกใบนี้  ท่ามกลางความโศกเศร้าและสิ้นหวังจากความสูญเสีย ยังมีคนเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่อยากหยิบยื่นน้ำใจให้กับเพื่อนในยามยากไร้ ซึ่งได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพระหว่างฉันกับเพื่อนหลายเชื้อชาติ ที่ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นอย่างงดงามพร้อมกับความทรงจำดี ๆ มากมาย  นับตั้งแต่วันแรกที่ฉันได้รับอีเมล์จากเพื่อนชาวพม่าที่มหาวิทยาลัยว่าจะมีการไปเล่นดนตรีเปิดหมวกที่ถนนคนเดินเพื่อระดมทุนช่วยเพื่อนผู้ประสบภัย ฉันตัดสินใจโดยไม่รั้งรอระดมพี่น้องเพื่อนฝูงไปร่วมขบวนด้วย   วันนั้นฝนตกแต่พวกเราก็ยังยืนกันอยู่ท่ามกลางสายฝน  ไม่น่าเชื่อว่าเวลาเพียงไมถึงสามชั่วโมงจะได้เงินมากว่าสองหมื่นห้าพันบาททั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ

เจ้าสาวส่งออก : ขบวนการค้าผู้หญิงคะฉิ่นจากพม่าสู่จีน*

ในชีวิตผู้หญิงคนหนึ่ง การได้แต่งงานกับชายคนรักย่อมเป็นความปรารถนาสูงสุด แต่หากการแต่งงานเกิดขึ้นกับชายที่ไม่เคยเห็นหน้า  ต่างชาติ ต่างภาษา และต้องการเพียงแค่ร่างกายของเธอเพื่อเป็น “แม่พันธุ์”  ที่สำคัญ เธอไม่อาจรู้ตัวล่วงหน้าด้วยซ้ำไปว่า เธอกำลังจะเป็น “เจ้าสาวส่งออก” ของขบวนการค้ามนุษย์

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ออสเตรเลียจะผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่า



รัฐบาลออสเตรเลียออกมาประกาศว่า จะลดระดับมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่า เนื่องจากการปฏิรูปประเทศเพื่อไปสู่ประชาธิปไตยของพม่ามีความคืบหน้ามากขึ้น

นายเควิน รัดด์ รัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรเลีย กล่าวว่า ออสเตรเลียได้ลดมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่า ด้วยการยกเลิกรายชื่ออดีตรัฐมนตรีพม่า และอดีตรองรัฐมนตรีพม่า รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ด้านการท่องเที่ยวพม่าที่ไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมืองแล้วออกจากรายชื่อบุคคลที่อยู่ในมาตรการคว่ำบาตรของออสเตรเลีย พร้อมทั้งระบุ รายชื่อของคณะรัฐบาลพม่าชุดใหม่ก็จะไม่อยู่ในมาตรการคว่ำบาตรด้วย

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ประชาชนเป็นจำนวนมากแห่เข้าร่วมเทศกาลหนังในย่างกุ้ง



มีประชาชนกว่า 7 พันคนเข้าร่วมชมเทศกาลหนัง “The Art of Freedom film festival” ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงย่างกุ้งเมื่อวันที่ 1 – 3 มกราคมที่ผ่านมา โดยเทศกาลหนังครั้งนี้ มีนางอองซาน ซูจี และซาร์กานาร์ รวมไปถึงผู้กำกับชาวพม่าคนอื่นๆร่วมจัดงานและให้การสนับสนุนหลัก

 

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

"อองซานซูจี"เชื่อ ได้เห็น"ประชาธิปไตยเต็มใบ"ในช่วงชีวิตแน่ ไม่กล้าคิด "อยากเป็น"ปธน.หรือไม่



นางออง ซาน ซู จี แกนนำเรียกร้องประชาธิปไตยของพม่า เปิดเผยว่า เธอเชื่อว่าพม่าจะได้จัดการเลือกตั้งตามแนวทางประชาธิปไตย ภายใน"ในช่วงชีวิต"ของเธอ

รมว.ต่างประเทศอังกฤษเยือนพม่าเป็นครั้งแรกในรอบ 57 ปี



นายวิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษเริ่มเยือนพม่า 2 วันในวันนี้เพื่อดูการปฏิรูปในพม่าด้วยตนเอง แต่อาจตั้งเงื่อนไขเรื่องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรพม่า และถือเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษคนแรกที่เยือนพม่าในรอบ 57 ปี

SSA - ใต้ ถูกเชิญไปเจรจาสันติภาพที่เนปีดอว์

 



มีรายงานว่า ทางรัฐบาลพม่าได้เชิญเจ้ายอดศึกและตัวแทนกองทัพรัฐฉานใต้ (Shan State Army-South) หรือ SSA - ใต้ไปกรุงเนปีดอว์ เพื่อเจรจาสันติภาพในช่วงวันที่ 15 – 20 ที่จะถึงนี้ โดยคาดว่า จะมีตัวแทนจาก SSA - ใต้ราว 10 คน ที่จะเข้าร่วมพบเจรจากับฝ่ายรัฐบาลพม่า อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เจ้ายอดศึกจะเดินทางไปเนปีดอว์ด้วยหรือไม่

"บ้าน"ที่ยังกลับไม่ได้

[caption id="attachment_3133" align="alignnone" width="495" caption="ภาพ KATE KELLY"][/caption]

ดิกสัน ฮู ชายหนุ่มวัย 24 ปี เขาเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ชั้น 10 และรองผู้อำนวยการของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ดิกสันเป็นชายหนุ่มที่เฉลียวฉลาดและจำชื่อนักเรียนได้ทุกคน แต่แทนที่จะเป็นห้องเรียนปรับอากาศเต็มไปด้วยจอคอมพิวเตอร์เรียงราย เขากลับต้องสอนพีชคณิตบนกระดานดำที่ได้มาจากการบริจาค กับเศษชอล์กชิ้นเล็กชิ้นน้อย ในขณะที่นักเรียนนั่งเบียดเสียดกันอยู่บนเก้าอี้ไม้ โดยที่เท้าเท้าลอยอยู่เหนือพื้นดินที่ถูกปัดกวาดจนเรียบ

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

รัฐบาลพม่าขึ้นราคาก๊าซ 30 เปอร์เซ็นต์ ประชาชนหวั่นราคาสินค้าขยับขึ้นตาม



ราคาก๊าซในพม่าพุ่งขึ้นเป็น 30 เปอร์เซ็นต์อย่างไม่คาดฝันนับตั้งแต่ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ขณะที่ประชาชนเป็นจำนวนมากหวั่นราคาสินค้าจะขยับขึ้นตามไปด้วย ขณะที่ประชาชนเพิ่งทราบว่าก๊าซปรับขึ้นราคาตอนที่ไปเติมที่ปั้มเมื่อวันอาทิตย์(1 มกราคม)ที่ผ่านมา

รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองเพียง 33 คน แกนนำคนสำคัญส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับอิสรภาพ



มีรายงานว่า รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนักโทษจากเรือนจำทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 1,400 คน อย่างไรก็ตาม มีนักโทษการเมืองอยู่ในจำนวนนี้เพียง 33 คนเท่านั้น ขณะที่หลายฝ่ายโจมตีรัฐบาลพม่าผิดสัญญาที่ไห้ไว้ว่าจะปฏิรูปประเทศ พร้อมแนะรัฐบาลหยุดใช้นักโทษการเมืองเป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมืองได้แล้ว