วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

"ก้าวแรกสู่ประชาธิปไตย" รับศักกราชใหม่ในพม่า

“ฉันจะมีความสุขมากถ้าได้พบครอบครัว” นีละ เต่ง กล่าวผ่านสายโทรศัพท์ในวันนี้ หลังก้าวออกจากประตูเรือนจำทาระวดีเพียงไม่กี่นาที  ในเวลานั้น ครอบครัวของเธออยู่ระหว่างเดินทางเพื่อมาพบเธอ นอกจากนี้ สามีของเธอก็กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการปล่อยตัวจากเรือนจำตองยีในรัฐฉานเช่นเดียวกัน

[caption id="attachment_3545" align="alignleft" width="215" caption="ภาพ จิมมี่ นีละ เต่ง กับลูกน้อยก่อนถูกจับกุมครั้งล่าสุด (ภาพ Vikipedia)"][/caption]

“สิ่งที่ดอว์อองซาน ซูจีและนายกรัฐมนตรีเต็งเส่งทำอยู่ในขณะนี้ คือสิ่งที่เราคาดหวังรอคอยมานานหลายปีแล้ว ฉันอยากให้พวกเขาทำสิ่งที่มีความหมายเช่นนี้อีกเรื่อยๆ” นีละ เต่ง กล่าว

เมื่อถามถึงปฏิกิริยาต่อการปล่อยตัวนักโทษการเมือง เธอบอกเพียงว่า “ขอบคุณมาก” ก่อนที่เธอจะถูกกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รอเธอและนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ซึ่งรออยู่ด้านนอกห้อมล้อม

ครั้งสุดท้ายที่ผมคุยกับนีละ เต่ง ทางโทรศัพท์คือเมื่อปี 2008 ในเวลานั้นเธอถูกเจ้าหน้าที่รัฐบาลติดตามตัวในฐานะผู้นำนักกิจกรรมทางการเมืองในช่วงที่มีการประท้วงของพระสงฆ์ระหว่างปี 2007 หลังจากที่ จ่อมินยู หรือ จิมมี่ สามีของเธอถูกจับกุม เธอได้ให้สัมภาษณ์กับผมระหว่างอยู่ในที่ซ่อนตัว ขณะนั้นเธอเป็นห่วงลูกสาววัยเพียง 4 เดือนของเธอมาก แต่เธอก็ยึดมั่นในอุดมการณ์ทางการเมืองของเธอและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเสมอ

“สักวันหนึ่งลูกสาวของฉันจะเข้าใจว่าทำไมฉันต้องจากเธอมา” นีละ เต่งบอก แต่หลังจากการสัมภาษณ์ในครั้งนั้นผ่านไปไม่นานนัก เธอก็ถูกจับกุมโดยได้รับโทษคุมขังถึง 65 ปี เช่นเดียวกับสามีของเธอที่ได้รับโทษเป็นระยะเวลาเท่ากัน ซึ่งทั้งสองเคยถูกจับกุมและได้รับโทษหนักอย่างนี้มาแล้วในช่วงทศวรรษ 1990

นีละ เต่งกับจิมมี่ เป็นหนึ่งในจำนวนนักโทษการเมือง 651 คนที่ได้รับการปล่อยตัวในวันนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาตกลงนิรโทษกรรมระหว่างนางอองซาน ซูจี กับนายกรรัฐมนตรี เต็งเส่ง ในครั้งนี้ มีนักโทษการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายคนรวมอยู่ด้วย อาทิ มินโกนายและกลุ่มแกนนำนักศึกษาปี ’88   ขุนทุนอู ผู้นำทางการเมืองของไทใหญ่ เช่นเดียวกับผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่ถูกคุมขัง และพระสงฆ์ที่มีบทบาทอย่าง พระอะชิน แกมบารี ด้วย

[caption id="attachment_3546" align="alignleft" width="475" caption="นีละ เต่ง ในวันที่ได้ัรับอิสรภาพ (ภาพ AP)"][/caption]

ในขณะที่ นักโทษที่ถูกจับในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว แต่สำหรับ ขิ่นยุ้นต์ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าหน่วยข่าวกรองซึ่งถูกจับกุมเมื่อปี 2004 ในข้อหาคอรัปชันก็ได้รับการปล่อยตัวพร้อมกับเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองคนอื่นๆ

การปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่บรรดานักเคลื่อนไหวทางการเมืองพม่าและนานาชาติได้เรียกร้องมาโดยตลอดนั้น นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกที่เป็นรูปธรรมในปี 2012 ในขณะที่สองสัปดาห์ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ปล่อยตัวนักโทษถึง 6 พันคน ทว่า ในจำนวนนั้นมีนักโทษการเมืองเพียง 30 คน

เต็งเส่งกับคณะรัฐมนตรีสมควรได้รับการชื่นชมสำหรับการแปลี่ยนแปลงที่ท้าทายท่ามกางกระแสต่อต้านภายใน แต่ยังมีปัญหาหลักๆ ที่้องสะสางอีกมากมายในปี 2012 และนั่นจะเป็นมาตรวัดที่จะประเมินว่า พม่าได้พยายามเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องหรือไม่

บททดสอบบทแรกก็คือ การจัดการเลือกตั้งซ่อมในเดือนเมษายนว่าเป็นไปอย่างโปร่งใสและยุติธรรมหรือไม่ อดีตนายพล ติ่นเอ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า การเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างโปร่งใสและยุติธรรม แต่รัฐบาลยังไม่ตัดสินใจแน่ชัดว่า จะอนุญาตให้องค์กรอิสระเข้าสังเกตการณ์ตรวจสอบการเลือกตั้งหรือไม่

หากการเลือกตั้งเป็นไปอย่างโปร่งใสและยุติธรรม นางอองซาน ซูจีและสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีก็จะได้รับชัยชนะอย่างค่อนข้างแน่นอน แต่ถ้าหากรัฐบาลพม่าเกิดตุกติกใช้กลยุทธ “คะแนนเสียงล่วงหน้า” อย่างที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วในการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2012 หากเป็นเช่นนั้น โอกาสของนางอองซาน ซูจีและสมาชิกพรรคฯ ก็คงริบหรี่

การเลือกตั้งซ่อมในเดือนเมษายนเป็นการแข่งขันเพื่อที่นั่งในสภาจำนวน 48 ที่นั่ง จากทั้งหมด 1,158 ที่นั่งทั้งในสภาสูงและสภาล่าง ซึ่งพรรค USDP (Union Solidarity and Development Party) ที่รัฐบาลทหารหนุนหลัง และผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยกองทัพ ครองที่นั่งส่วนใหญ่อยู่ ซึ่งหลังจากการเลือกตั้งซ่อม ที่นั่งส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น การเข้าร่วมชิงชัยในการเลือกตั้งซ่อมของนางอองซาน ซูจีและพรรคเอ็นแอลดีทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้สำคัญมาก และหากเป็นไปอย่างโปร่งใสและชอบธรรมแล้วก็ย่อมเป็นเครื่องบ่งบอกว่า พม่าได้เดินมาถูกทางแล้ว

เรื่องสำคัญอีกเรื่องที่ต้องสะสางในปี 2012 คือ ความขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ที่หยั่งรากลึกมานานกว่าหกทศวรรษและรวมไปถึงเรื่องการแยกตัวปกครองตนเองซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก และอาจต้องใช้เวลานานพอสมควร แต่ถ้าประเด็นนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาแก้ไขอย่างจริงจัง เราอาจจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมอีกหลายๆ ก้าวเพื่อแก้ปัญหาการเมืองเกิดขึ้นตลอดทั้งปีก็เป็นได้

และก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งได้เกิดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เมื่อองค์การสหภาพกะเหรี่ยง หรือ เคเอ็นยู ได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า นอกจากนี้เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา กองกำลังรัฐฉาน (ใต้) หรือ SSA-south ก็ได้ลงนามในสัญญาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าเช่นกัน และลำดับต่อไปคือการหยุดยิงกับกองกำลังเอกราชคะฉิ่น (KIA) ที่ยังคงสู้รบกันอยู่ในขณะนี้

หากมีการหยุดยิงเกิดขึ้นทั่วประเทศแล้ว ระหว่างนั้นก็จะไม่มีการสู้รบกันเกิดขึ้นตลอดที่สัญญาบังคับใช้ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีถ้าพม่าจริงจังกับการสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง เนื่องจากหากปราศจากการร่วมมือของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศแล้ว ก็จะเป็นแค่ประชาธิปไตยที่เปราะบางเท่านั้น

ด้านการปล่อยตัว ขุนทุนอู ประธานพรรคสันนิบาติประชาธิปไตยรัฐฉาน (SNLD) เป็นสัญญาณที่กระตุ้นเตือนว่า รัฐบาลเต็งเส่งให้ความสนใจในขบวนการสันติภาพและการปรองดองกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทว่า ยังมีสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์อีกจำนวนมากที่ยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ซึ่งอาจจะได้รับการปล่อยตัวหลังจากตัวแทนของกลุ่มเหล่านั้นมีการเจรจาสันติภาพอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลพม่า

และเพื่อจับตามองการเมืองตั้งซ่อมอย่างใกล้ชิดว่าเป็นไปอย่างโปร่งใสและยุติธรรมหรือไม่ และรัฐบาลจะเดินหน้าแก้ปัญหากลุ่มชาติพันธุ์หรือไม่ เราต้องมองเรื่องอื่นๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยควบคู่ไปด้วย เป็นต้นว่า รัฐบาลจะให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชนมากขึ้นหรือไม่ และจะบัญญัติหลักนิติธรรมหรือไม่

ขั้นแรกในการสร้างหลักนิติธรรมคือ การอนุญาตให้นางอองซาน ซูจีและสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีลงชิงชัยในการเลือกตั้งซ่อมอย่างโปร่งใส เมื่อไหร่ก็ตามที่นางซูจีและสมาชิกได้ที่นั่นในสภา ก็จะสามารถผลักดันให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่สำคัญและเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ขัดกับประชาธิปไตยที่ระบุในรัฐธรรมนูญได้

การปล่อยตัวนักโทษการเมืองคนสำคัญในครั้งนี้นับเป็นก้าวที่ดีในการเริ่มต้นปี 2012 หวังเป็นอย่างยิงว่าจะเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ก้าวต่อๆ ไปเพื่อประชาธิปไตยในพม่าในอนาคต

แปลจาก A Good Beginning to the New Year โดย KYAW ZWA MOE ใน wwww.irrawaddy.org January 13, 2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น