วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ชีวิตใหม่ ในพม่ายุคใหม่ กับความหวาดกลัวเดิมๆ

[caption id="attachment_8091" align="aligncenter" width="534"]tl เถ่งลิน ศิลปินพม่าอดีตนักโทษการเมือง[/caption]

ย่างกุ้ง ประเทศพม่า - เมื่อผู้คุมจากคุกที่ขึ้นชื่อว่าโหดที่สุดในพม่าได้บอกว่า "นี่เป็นการทรมาน" และขอให้เขาหยุด เถ่งลิน อดีตนักโทษการเมืองยิ้มให้กับบทบาทที่สลับกันไปแล้ว



หลายปีมาแล้ว ผู้คุมที่เรือนจำอื่นๆ ได้ทำร้ายร่างกายเขา แต่ตอนนี้ ศิลปินผู้นี้ กำลังบังคับให้ผู้เข้ารับการอบรม ห้ามพูด และมีสมาธิจดจ่อ ในช่วงเวลา 10 วันของการการฝึกสมาธิให้กับผู้คุม 94 คนที่เรือนจำอินเส่ง

อ่องนายอู นักศึกษาหัวขบถ เคยอุทิศตนให้กับการโค่นล้มผู้นำกองทัพพม่า ตอนนี้เขากำลังทำงานร่วมกับพวกเขาที่ศูนย์ที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพที่ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลเพื่อยุติความขัดแย้งตามแนวชายแดน

ชายทั้ง 2 เป็นตัวอย่างของชาวพม่าที่ลี้ภัยออกนอกประเทศแล้วกลับมาหลังจากที่พม่าให้คำมั่นว่าจะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบเผด็จการทหารไปสู่ประชาธิปไตย

asskในขณะที่บทบาทของทั้ง 2 เป็นการแสดงถึงความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงในประเทศ หลังจากที่ถูกกดขี่มานานกว่าครึ่งศตวรรษ ทว่าหลายคนในประเทศนี้ก็ยังหลวากลัวอยู่ว่า ความเปลี่ยนแปลงในช่วง 4 ปีนี้จะเป็นการล้อมคอกและผู้นำทั้งหลายจะปิดกั้นหนทางสู่รัฐบาลพลเรือนอย่างเต็มรูปแบบ

เมื่อประธานาธิบดีบารัก โอบามา เยือนพม่าในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บรรดานักศึกษาได้ต้อนรับเขาด้วยการชูป้ายที่มีข้อความว่า "การปฏิรูปเป็นสิ่งจอมปลอม"

"ถ้าไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ใช่การปฏิรูปที่แท้จริง" เถ่งลิน วัย 48 บอก เขากลับมาอยู่ประเทศพม่าอีกครั้งเมื่อปี 2013 หลังจากใช้ชีวิตอยู่ที่อังกฤษนาน 7 ปี "เราไม่สามารถมีการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้ และเราก็ไม่สามารถคาดหวังว่าถึงสังคมประชาธิปไตยได้"

"ผู้นำประเทศกำลังสร้างวัฒนธรรมการเจรจาเพราะพวกเขารู้ว่ามันจะมีปัญหาในอนาคต ที่ใครๆ ก็ทำ" อ่องนายอู กล่าว เขากลับมาประเทศพม่าเมื่อปี 2012 เขากล่วว่า ประชาธิปไตยที่ได้ผลต้องใช้เวลา 15 ปีขึ้นไป ดังนั้น ประชาชนต้องอดทนและลดคาดหวังลง

ประธานาธิบดีเต็งเส่ง "เขาไม่ใช่คนทำงานที่มีอภินิหาร" เขากล่าว "แม้ว่า (ผู้นำฝ่ายค้าน) นางอองซาน ซูจีจะเข้ามามีอำนาจในปีหน้า เธอก็ไม่ได้มีอภินิหารเช่นเดียวกัน"

นางอองซาน ซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและประธานพรรคสันนิบาติประชาธิปไตยแห่งชาติหรือ NLD ถูกรัฐธรรมนูญขัดขวางไม่ให้เป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นปีหน้า

ที่สำนักงานใหญ่ของพรรค NLD ในกรุ่งย่างกุ้ง ผู้มาเยี่ยมเยือนจับจ่ายซื้อปฏิทิน แก้วน้ำ และเสื้อยืดที่มีรูปนางอองซาน ซูจี ซึ่ง 3 ปีที่แล้วของพวกนี้จะเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

แม้ว่าพรรคของเธอจะได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคำร้องพร้อมลายเซ็นต์จาก 5 ล้านคนที่เรียกร้องให้รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้นางอองซาน ซูจีสามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้

"เราไม่สามารถบอกได้ว่า จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนการเลือกตั้ง แต่เราก็จะไม่ยอมแพ้" เสนาธิการทหารบกกล่าวว่า เราจะก้าวเดินตามการเปลี่ยนแปลงเพื่อประชาธิปไตย ดังนั้น เราไม่กลัวว่าระบบประชาธิปไตยจะมีการผกผัน"

ในพื้นที่ชนบท ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ มักจะประสบกับความยากจน พวกเขาแสดงออกถึงความเคลือบแคลงทางการเมือง

"ผมไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะให้(พรรคเอ็นแอลดี)เข้ามามีอำนาจ" อูโองจ่อ วัย 67 ปีกล่าว เขาเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านในตำบลกูนยางโกงซึ่งใช้เวลาขับรถจากจากย่างกุ้ง 2 - 3 ชั่วโมง "ความเปลี่ยนแปลงเป็นแค่เปลือกนอก มาตรฐานการใช้ชีวิตในสังคมยังไม่พัฒนา"

เขายังคงคิดถึงความทรงจำในวัยเด็ก ช่วงที่พม่ายังเป็นประชาธิปไตย ก่อนการรัฐประหารเมื่อปี 1962 เขาหวังว่าจะได้เห็นประชาธิปไตยกลับมาอีกครั้งในชีวิตของเขา

นอกจากเส้นทางการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตยอันยาวนานที่ประเทศจะต้องเผชิญแล้ว ระบบสาธารณูปโภคที่ล้าหลังเป็นสิ่งจำเป็นหลักๆจะต้องได้รับการพัฒนา
โญโญเต่ง อดีตหมอผ่าตัดศัลยแพทย์หัวใจวัย 40 ปี กล่าวว่า ไฟฟ้าดับเกิดขึ้นถี่มากที่เมืองหลวงทางเศรษฐกิจ ในช่วงที่มีการผ่าตัดเปิดหน้าอก พยาบาลคนหนึ่งจะต้องเตรียมไฟฉายไว้พร้อมเสมอ ในขณะที่คนอื่นๆ จะต้องช่วยปั๊มออกซิเจนด้วยมือ "ทุกๆ อย่างกำลังล่มสลาย" เธอกล่าว "เราต้องเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไม่อย่างนั้นก็หมดหวัง"

ppผิ่วผิ่วจ่อเต่ง น้องสาววัย 33 ปี ของเธอ เป็นนักร้องเพลงป๊อบที่กำลังมาแรง เจ้าของฉายาเลดี้กาก้าพม่า ด้วยเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของเธอ "สิ่งเดียววที่เปลี่ยนคือ ประชาชนมีโอกาสเห็นความล่มสลาย และพูดถึงมันได้อย่างเสรี" นักร้องสาวกล่าวถึงรัฐบาลปัจจุบัน

นี่คือที่ที่พลังทางดนตรีของเธอได้ก้าวเข้ามา "ฉันสามารถพาพวกเขาไปที่อื่นให้พ้นจากความทุกข์ได้ อย่างน้อยก็สองสามนาที" เธอกล่าว

"มันเหมือนมอร์ฟีน" สำหรับประชาชน โญโญเต่ง พูดติดตลก เธอเลิกอาชีพหมอเมื่อปีนี้หลังจากกระทรวงสาธารณะสุขเกิดกลัวภาวะ "สมองไหล" ออกจากประเทศ และห้ามไม่ให้เธอเดินทางไปต่างประเทศกับพ่อของเธอเพื่อเข้ารับการผ่าตัด

ตอนนี้เธอเป็นผู้จัดการส่วนตัวเต็มเวลาและเป็นคนออกแบบเสื้อผ้าให้กับน้องสาว รัฐบาลทหารพม่าไม่ได้ห้ามเธอออกสื่อโทรทัศน์อีกต่อไปแล้ว ในขณะที่อัลบั้มชุดต่อไปของเธอจะเปิดตัวก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งเธอรับรองว่าจะเป็นชุดที่เร้าใจที่สุด แต่เธอก็ยอมรับว่าพวกเขาให้ตรวจสอบสื่อด้วยตัวเอง

"คุณอาจหายตัวไปได้ทุกเวลา" โญโญเต่งกล่าวถึงความกลัวที่ยังมีต่อรัฐบาล "เรายังคงไม่ลืมภาพเหล่านั้น"

 

แปลจาก New lives, old fears as Burma lurches toward democracy
http://www.usatoday.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น