วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

"ทัวร์บ้านเด็กกำพร้า" ปลายทางใหม่ของนักท่องเที่ยวจิตอาสา

[caption id="attachment_8335" align="aligncenter" width="500"]บ้านเด็กกำพร้าในรัฐกะเหรี่ยง / ภาพโดย Zarni Phyo บ้านเด็กกำพร้าในรัฐกะเหรี่ยง / ภาพโดย Zarni Phyo[/caption]

คนขับสามล้อหยุดรถตรงหน้าอาคารหลังเล็กๆ หลังหนึ่งที่จวนจะพัง เราได้ยินเสียงเด็กเรียกจากข้างใน “เข้ามาสิ” เขาพูดพลางชี้ไปที่ประตู

ผมมองดูเขาและเกิดอาการสับสน ผมเคยเดินทางไปเที่ยวที่เกาะดาลาที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำย่างกุ้งมาหลายครั้งแล้ว แต่ครั้งนี้เป็นการหยุดแวะที่ไม่เหมือนครั้งก่อนๆ “สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า” เขาบอก “เข้ามาสิ”

เราปฏิเสธคำเชิญไม่เข้าไปข้างใน แต่โก ซาน วิน ไกด์ท้องถิ่นของเราบอกว่า บ้านเด็กกำพร้ากำลังเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะแห่งนี้
“เราได้รับการเรียกร้องทุกแบบจากลูกค้า นักท่องเที่ยงบางคนขอถามว่าจะไปเยี่ยมเด็กๆ ที่บ้านเด็กกำพร้าได้ไหม เราจึงพาพวกเขามาที่นี่ เวลาที่มากาะดาลา” เขากล่าว

นี่ไม่ใช่แค่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าแห่งเดียวในพม่า ที่ยินดีเปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยว ข้อมูลจากยูนิเซฟระบุว่า การเดินทางไปเยี่ยมบ้านเด็กกำพร้าโดยนักท่องเที่ยวหรืออาสาสมัคร หรือที่เรียกว่า “ทัวร์บ้านเด็กกำพร้า” (orphanage tourism) กำลังเป็นที่นิยมในพม่า

ทัวร์บ้านเด็กกำพร้าได้แพร่หลายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะกัมพูชาและภาคเหนือของประเทศไทย โดยบ้านเด็กกำพร้าจะเก็บเงินนักท่องเที่ยวตั้งแต่ 400 ดอลลาร์ขึ้นไป สำหรับการเป็นอาสาสมัครที่บ้านเด็กกำพร้า 1 สัปดาห์ เทสซ่า บูดรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการพิทักษ์เด็กให้ข้อมูลว่า ในประเทศเหล่านี้ สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าสมัครใจเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเอง

“ไม่ว่าจะวิธีใด มันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะอยู่ในตารางการเดินทางของคุณ ดั้งนั้น คุณจะแสปา ไปอังกอร์วัด แล้วลงเอยที่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า”

[caption id="attachment_8336" align="aligncenter" width="500"]บ้านเด็กกำพร้าในรัฐกะเหรี่ยง / ภาพโดย Zarni Phyo บ้านเด็กกำพร้าในรัฐกะเหรี่ยง / ภาพโดย Zarni Phyo[/caption]

และด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปพม่าเพิ่มขึ้น การจัดทัวร์ลักษณะนี้ก็แพร่มาถึงที่นี่เช่นกัน มีหลายเว็บไซต์ที่เสนอให้กับนักท่องเที่ยวได้มีโอกาส “ให้” และ “สัมผัสประสบการณ์ชีวิตจริงกับผู้คนจริงๆ” โดยการสอนภาษาอังกฤษ หรือแค่ “แวะไปทักทายเด็กๆ” ก็ได้

ในขณะที่ผู้มาเยือนอาจคิดว่า มันเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำเรื่องดีๆ ให้กับประเทศ แต่ยูนิเซฟ ก็ออกมาบอกว่า “นักท่องเที่ยวอาสาสมัคร”(Voluntourist) ที่สละเวลาและเงินให้กับบ้านเด็กกำพร้าเหล่านี้กำลังส่งผลเสียมากกว่าผลดี โดยจะทำให้มีบ้านเด็กกำพร้าในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ

“สิ่งที่เราเห็นจากพื้นที่อื่นคือ คนเห็นเด็กกำพร้าเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ นักท่องเที่ยวจะเดินทางไปที่บ้านเด็กกำพร้าและรู้สึกตกใจ เกิดความสงสารในสิ่งที่พวกเขาเห็น และต้องการบริจาคเงิน และถ้ามีนักท่องเที่ยวบริจาคเงินจำนวนมาก มันก็จะกลายเป็นธุรกิจที่เงินดีสำหรับผู้จัดการสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า” เจมส์ เกรย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพิทักษ์เด็กกล่าว

มันไม่ใช่เรื่องยากที่จะรู้ว่า ทำไมสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าต้องการให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยม ติ้นท์ ลวิน ไกด์ท้องถิ่นกล่าวว่า เขาพานักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเด็กกำพร้ามาหลายที่ “พวกเขามักจะบริจาคเงินราว 100 ดอลลาร์”

“คุณจะเห็นว่ามีบ้านเด็กกำพร้าเปิดใหม่จำนวนมากในพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยว ” เจมส์ เกรย์ กล่าว “ในช่วงเวลา 5 ปี กัมพูชามีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 75 เปอร์เซ็นต์ และในเวลาเดียวกัน ก็มีสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้น 75 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน” เขาบอกว่า นักท่องเที่ยวบริจาคเงินด้วย “ความตั้งใจที่ดี” แต่พวกเขากำลังเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา มากกว่าที่จะช่วยแก้ปัญหา

“ทัวร์บ้านเด็กกำพร้าทำให้มีจำนวนบ้านเด็กกำพร้าเพิ่มมากขึ้น...การสร้างอาคารที่มีสภาพที่ธรรมดา ไม่ได้ให้เด็กอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด ยิ่งทำให้น่าสงสารมากเท่าไหร่ ก็จะได้เงินบริจาคมาก” เขากล่าว

เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ยูนิเซฟได้ต้อนรับ อู โพน ส่วย รมต.ช่วย กระทรวงสวัสดิการสังคม บรรเทาทุกข์ และการตั้งถิ่นฐานใหม่ ที่มาเยือนกัมพูชาและได้เข้าพบกับตัวแทนจากภาคประชาสังคมที่ทำงานแก้ปัญหาการเพิ่มขึ้นของสถานรับเลี้ยวเด็กกำพร้า หลังจากการเยือนครั้งนั้น รัฐบาลพม่าก็ได้ประกาศระงับป้องกันไม่ให้ก่อตั้งสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าเพิ่ม ซึ่ง เจมส์ เกรย์ กล่าวว่า นี่เป็นก้าวที่สำคัญ แม้ว่ามันอาจจะไม่ได้ช่วยเด็กๆ ที่อยู่ในบ้านเด็กกำพร้าแล้วก็ตาม

การศึกษาสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่ขึ้นทะเบียนในพม่าของยูนิเซฟพบว่า 73 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้านั้น พ่อ หรือ แม่ หรือทั้งพ่อและแม่ยังมีชีวิตอยู่ ผิดจากสิ่งที่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้ากล่าวอ้างว่า เป็นสถานที่สำหรับเด็กที่ไม่มีพ่อแม่ โดยในปี 2010 มีเด็ก 17,000 คนอยู่ในความดูแลของสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าที่จดทะเบียนแล้ว 217 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2006 ที่มีเด็ก 14,000 คนในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า 177 แห่ง

ทั้งนี้ยูนิเซฟระบุ ความยากจนคือปัญหาที่อยู่เบื้องหลัง พ่อแม่ส่งลูกไปอยู่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าเพราะเชื่อว่าจะมีอาหารที่ดี มีที่พัก และการศึกษาที่ดีกว่า แต่ก็มีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า เด็กได้รับผลกระทบทั้งร่ายกายและจิตใจ ในหลายประเทศทั่วโลก สถานสงเคราะห์เด็กได้ถูกแทนที่ด้วยการอุปการะเลี้ยงดูเด็ก หรือโครงการการช่วยเหลือในชุมชน โดยสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าควรจะเป็นมาตรการสุดท้าย

“มีหลักฐานที่แสดงว่า สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าเป็นที่ที่อันตรายมากสำหรับเด็ก” เจมส์ เกรย์ กล่าว “ไม่ว่าครอบครัวจะยากจนมากแค่ไหน ถึงครอบครัวจะยากจน แต่ชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กจะดีกว่าอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า”

ทว่า ความเสี่ยงที่เด็กต้องเผชิญในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าไม่ได้จบอยู่แค่ในนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการพิทักษ์เด็กยังเป็นห่วงว่า ชาวต่างชาติที่มีเจตนาร้ายอาจจะต้องการเข้าไปในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าเพื่อติดต่อกับเด็กโดยตรง

“คนอาจคิดว่า การเข้าไปเยี่ยมสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้านั้นไม่เป็นไร เพราะเขาไม่ได้ไปทำร้ายเด็ก แต่ถ้าสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าอนุญาตให้คุณเข้าไปได้ นั่นก็แสดงว่าเขาอนุญาตให้ทุกคนเข้าไปได้ ไม่มีการตรวจสอบที่มาที่ไป ไม่มีเอกสาร” เจมส์ กล่าว “ความไม่มีกฎระเบียบที่ต้อนรับคนไม่เลือก เป็นที่ที่คนหัวงูคิดไม่ดีกับเด็ก หรือคนที่ต้องการทำร้ายเด็กชอบ”

ในประเทศอื่นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีหลายกรณีที่มีเรื่องการละเมิดทางเพศโดยผู้อำนวยการสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าของเอกชน จากการให้ข้อมูลของ เทสซ่า บูดรี ระบุว่า มีหลักฐานว่า มีกลุ่มคนที่คิดมิดีมิร้ายกับเด็กได้เข้าไปในประเทศพม่าเพื่อหาประโยชน์จากเด็ก เธอกล่าวว่า ไม่ควรอนุญาตให้นักท่องเที่ยวหรืออาสาสมัครเข้าไปที่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ไม่ว่าจะมีความประสงค์เช่นไร เพราะว่าจะทำให้เด็กที่มีความอ่อนไหวอยู่แล้วต้องมาเสี่ยงอันตรายอีก

“ในตะวันตก เราจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กเข้าไปอยู่ในศูนย์รับเลี้ยงเด็กกำพร้า แต่ถ้าต้องมีศูนย์ฯ คุณจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไป” เธอกล่าว “ลองนึกดูสิ ในเมืองที่คุณอยู่ รถบัสที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีเดินทางเข้ามาในเมืองและไปที่โรงเรียนประถมของลูกคุณ เข้าไปกอดเด็กๆ เอาของเล่นให้แล้วก็จากไป มันน่าตื่นเต้นจริงๆ”

ทว่า ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยกับความกังวลนี้ อาสาสมัครชาวอังกฤษคนหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าหลายแห่งในย่างกุ้งคิดว่า การออกมาเตือนเรื่องการเข้าไปเป็นอาสาสมัครบ้านเด็กกำพร้านั้นเกินไปหน่อย “เด็กๆ เหล่านี้ผ่านอะไรมามากมายที่ผมคิดไม่ถึง และการให้โอกาสเด็กๆ แบบของฉํนคือการแสดงออกว่ามีคนที่ห่วงใยพวกเขาอยู่ เด็กๆ ในบ้านเด็กกำพร้าที่ฉันได้ไปเยี่ยมได้รับความรักและการเอาใจใส่ และมีความสุขกว่าเด็กบางคนที่อยู่กับครอบครัวเสียอีก” อาสาสมัครกล่าวโดยไม่เปิดเผยชื่อ

“ถ้าฉันหยุด ไม่ไปบ้านเด็กกำพร้า เด็กๆ เหล่านั้นก็เหมือนสูญเสียสมาชิกในครอบครัวไปอีกคน ชาวต่างชาติให้ความช่วยเหลืออย่างที่ชาวพม่าจำนวนมากไม่สามารถให้ได้ และการช่วยเหลือมันเป็นสิ่งที่ดี” เธอกล่าว

[caption id="attachment_8337" align="aligncenter" width="500"]บ้านเด็กกำพร้าในรัฐกะเหรี่ยง / ภาพโดย Zarni Phyo บ้านเด็กกำพร้าในรัฐกะเหรี่ยง / ภาพโดย Zarni Phyo[/caption]

แต่ทางด้านผู้เชี่ยวชาญด้านการพิทักษ์เด็กกล่าวว่า การท่องเที่ยวแบบอาสาสมัครจะเป็นการกระตุ้นให้ครอบครัวต้องแตกแยกโดยสร้างให้ความชอบธรรมให้กับสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ซึ่งไม่ควรจะมีอยู่ตั้งแต่แรก ถ้าบ้านเด็กกำพร้าไม่รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัครและผู้บริจาค ก็จะไม่มีบ้านเด็กกำพร้าในพม่า และเด็กๆ ก็จะได้รับการช่วยเหลือดูแลจากชุมชนหรือสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ซึ่งจะดีกับเด็กมากกว่า

“เด็กๆ ไม่ควรที่จะมาอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าตั้งแต่แรกแล้ว” เทสซ่า บูดรี กล่าว “เด็กๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่เด็กกำพร้า แค่เป็นเด็กยากจน ดังนั้น ทำไมเราไม่สนับสนุนให้มีโครงการช่วยเหลือในชุมชนแทนการสร้างบ้านเด็กกำพร้า ซึ่งการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือจะใช้เวลาน้อยกว่า ใช้งบประมาณน้อยกว่า และมีประสิทธิผลมากกว่า”

ปัจจุบัน พบว่ามีการทัวร์สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าในพม่ายังไม่มาก แต่ยูนิเซฟกล่าวว่า ต้องการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้รับทราบเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญญาบานปลายเหมือนที่เกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 ยูนิเซฟ และกระทรวงสวัสดิการสังคมได้จัดการประชุมทางวิชาการในหัวข้อ การป้องกันครอบครัวแตกแยกในพม่าโดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 150 คน จากภาคประชาสังคม สถานทูต หน่วยงานของรัฐ รวมทั้งภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อให้ตระหนักว่า เด็กกำลังจะถูกทำให้แยกจากครอบครัวโดยไม่มีความจำเป็น และการเติบโตในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าจะทำให้เด็กเสี่ยงที่จะถูกหาประโยชน์และถูกทำร้ายได้

ยูนิเซฟยังได้ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพม่าให้เฝ้าระวังผลกระทบที่ตามมาของการท่องเที่ยวทัวร์สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า โดยได้จัดการอบรมให้แก่ไกด์และเจ้าหน้าที่ที่จัดทัวร์ท่องเที่ยวด้วย

“ไกด์คือคนที่อยู่ในเหตุการณ์กับนักท่องเที่ยว ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่พวกเขาจะต้องเข้าใจในประเด็นนี้ ถ้าพวกเขาถูกนักท่องเที่ยวขอร้องให้พาไปที่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า พวกเขาสามารถชักจูงให้นักท่องเที่ยวคิดทบทวนได้” เจมส์ เกรย์ กล่าว

“เด็กไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว...ตราบใดที่รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวช่วยกันทำให้นักท่องเที่ยวเข้าใจ นั่นคือเราก็จะก้าวนำประเทศอื่นไป 10 ปี”

----------------


แปลจาก When children become tourist attractions โดย Charlotte Rose /Myanmar Times /  22 กพ  2015

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น