วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

“วันเกิดครบ 5 ขวบ” ความหวังที่อาจเกินเอื้อมของใครบางคน

kid

ย่างกุ้ง, ประเทศพม่า – ที่บ้านไม้หลังเล็กๆ ในมุมหนึ่งของพื้นที่เขตยากไร้ เปลญวนสีขาวที่แขวนอยู่บนขื่อถูกแกว่งไปมา ในเปลมีเด็กน้อย ขิ่นผิ่วซิน ที่กำลังโตวันโตคืน นอนอยู่ในนั้น ขณะที่ดอว์อ่องจี ผู้เป็นย่า คอยแกว่งเปลและฝันถึงอนาคตของหลานตัวน้อย

 

ดอว์อ่องจี เป็นผู้ที่คอยเลี้ยงดูขิ่นผิ่วซิน เธอเป็นผู้ที่เห็นเด็กน้อยเติบโตขึ้นทุกวัน ขณะที่แม่ของเด็กมีอาชีพเข็นขนมขาย โตขึ้นย่าอยากให้ขิ่นผิ่วซินเป็นหมอ ดูเหมือนจะเป็นความหวังที่สูงเหลือเกิน แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ สำหรับเด็กหญิงตัวน้อย ที่เกิดในครอบครัวยากจน ในประเทศที่เคยมีระบบเศรษฐกิจสังคมแบบดั้งเดิมภายใต้การปกครองของเผด็จการทหารมากว่าห้าศตวรรษ และกำลังมีความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย ท่ามกลางความไม่แน่นอน

 

ต่อมาเมื่อเดือนมิถุนายน 2013 ขิ่นผิ่วซิน อายุได้ 2 ขวบ เด็กน้อยมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ถ่ายเป็นสีน้ำซาวข้าวเหมือนอาการของโรคอหิวา ลำพังรายได้จากการเข็นขนมขายยังไม่พอจะกิน ดอว์อ่องจีจึงต้องไปหาหยิบยืมเงินมาและขึ้นรถแท็กซี่ไปยังโรงพยาบาลใช้เวลา10 นาที เธอได้ขายของที่มีค่าที่สุดของครอบครัว นั่นคือ แหวนทองสองวง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการักษาหลาน

 

เมื่อเด็กน้อยอาการดีขึ้น ครอบครัวจึงพาเธอกลับบ้าน แต่แล้วอาการท้องร่วงก็กลับมาอีกครั้ง ปลายเดือนมิถุนายน 2013 ไม่กี่ชั่วโมงก่อนรุ่งสาง เด็กน้อยเสียชีวิตในอ้อมแขนของแม่ มือข้างหนึ่งของเธอกอดพาดอยู่บนอกของพี่สาวที่ยังคงนอนหลับอยู่

 

“เราพยายามกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อรักษาชีวิตของเธอไว้” ดอว์อ่องจีกล่าว ขณะที่น้ำตาไหลอาบแก้ม “ไม่มีอะไรที่จะมีค่าไปกว่าชีวิตคน”

 

หลังจากเด็กน้อยเสียชีวิต เพื่อนบ้านได้เรียกหน่วยงาน ฌาปณกิจสงเคราะห์ ซึ่งเป็นองค์กรเอ็นจีโอ ให้มาช่วยดำเนินการ รถเคลื่อนศพสีขาวบรรทุกโลงแก้วจิ๋วเข้ามารับร่างของเด็กน้อยและเคลื่อนตัวออกไปโดยเปิดสัญญาณไฟกระพริบแบบรถตำรวจตลอดทาง

 

อัตราการเสียชีวิตของเด็กในพม่าที่สูงมาก เป็นสิ่งที่น่าเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากผลพวงของการปกครองประเทศโดยเผด็จการทหารตั้งแต่ปี 1962 ถึง 2011 ในระหว่างนั้น กองทัพได้ผลาญทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าของชาติไปเพื่อเสริมสร้างกองทัพ มากกว่าจะสนับสนุนเรื่องสุขภาพของประชาชน ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พม่าเคยมีระบบสุขภาพที่ดีที่สุดในเอเชียอาคเนย์ แต่ทุกวันนี้ เด็ก 1 คนในจำนวน 15 คน ไม่สามารถมีชีวิตรอดเพื่อฉลองวันเกิดครบรอบ 5 ปีได้ จากข้อมูลของสหประชาชาติ พม่ามีอัตราการเสียชีวิตของเด็กที่อายุต่ำว่า 5 ปี มากที่สุดในภูมิภาค โดยในแต่ละปีจะมีเด็กเสียชีวิตปรละ 56,000- 70,000 คน โดยมีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยที่สามารถป้องกันได้

 

องค์กร Save the Children ที่จัดอันดับประเทศที่ที่ที่สุดและแย่ที่สุดสำหรับการเป็นแม่ โดยได้ให้พม่าอยู่ในอันดับที่ 156 จาก 176 ประเทศ แย่กว่าอัฟกานิสถาน ซูดาน และอินเดีย

 

ผู้แทนจากองค์กรด้านสุขภาพระหว่างประเทศได้กล่าวถึงบทบาทของรัฐบาลพม่าว่า “ทอดทิ้ง” และ “ละเลย” ในการดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเมื่อปลายปี 2005 รัฐบาลพม่าได้จัดสรรงบประมาณด้านสุขภาพแค่ 376 จั๊ต ต่อคน ต่อปี (ประมาณ 11 บาท) และถึงแม้จะรวมการช่วยเหลือจากต่างชาติและที่ประชาชนต้องเสียเองแล้วก็คิดเป็นแงินแค่ 240 บาทต่อคน

 

ประเทศที่ร่ำรายหลายประเทศได้ระงับการบริจาคเงินช่วยเหลือพม่าในช่วง 50 ปีที่รับบาลเผด็จการปกครอง โดยกล่าวว่า ถูกรัฐบาลพม่าพยายามปิดกั้นความช่วยเหลือ และไม่ต้องการที่จะให้เงินกับรัฐบาลพม่าที่เชื่อว่าจะมีการนำเงินบริจาคไปใช้กันกันเอง

 

ในระดับรากหญ้า การเสียชีวิตที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อครอบครัวอย่างมาก ไม่กี่วันหลังจากขิ่นผิ่วซินเสียชีวิต แม่ของเด็กก็เดินย้ายไปอยู่อีกเมืองหนึ่ง ทิ้งให้ดอว์อ่องจี ที่เป็นแม่ม่าย ต้องรู้สึกว่าตัวเองถูกทั้งหลานและลูกสะใภ้ทอดทิ้ง

 

ในระดับสังคม การสูญเสียประชากรอายุน้อยจำนวนมากจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ

 

“ทุกประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตของเด็กสูงมักจะมีเศรษฐกิจที่ไม่พัฒนา” คริสโตเฟอร์ ดักเกน อาจารย์จาก Harvard School of Public Health ที่ศึกษาเรื่องโภชนาการในประเทศที่ยากจน กล่าว

 

ดูเหมือนรัฐบาลจะเริ่มตระหนักถึงเรื่องนี้ ในงบประมาณปี 2012 – 2013 รัฐบาลพม่าได้จัดสรรงบประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์จากงบประมาณแผ่นดินทั้งหมดให้กับสาธารณะสุข เพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว องค์กรช่วยเหลือจากต่างประเทศที่เคยระงับไปในช่วงรัฐบาลที่แล้วก็เริ่มกลับเข้ามา และยังมีองค์กรใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

การอัดฉีดความช่วยเหลือและนโยบายที่เปิดรับมากขึ้นจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กในพม่าได้อยากมาก แต่กระนั้น แต่ถ้าย้อนมองดูอดีตอันมืดมนของประเทศแล้ว จะพบว่ายังมีความท้าทายหลายอย่างรออยู่เบื้องหน้า

 ----------------------


แปลจาก In Myanmar, an emerging democracy struggles to save its children โดย Julie Turkewitz


GlobalPost 5 กันยายน 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น