วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

"ซีเกมส์"กับอนาคตทางการกีฬาของพม่า

burma seagames

กรุงเนปีดอว์- ครั้งหนึ่ง ย่างกุ้งเคยเป็นศูนย์กลางการบินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในยุคก่อนเผด็จการทหาร ระบบการศึกษาในพม่านับว่าดีที่สุดในภูมิภาคนี้ ประชาชนมีมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ดีเท่าๆ กับเพื่อนบ้าน ทว่า ทุกอย่างเปลี่ยนไปหลังมีการปฏิวัติรัฐประหารในปี 1962 นายพลเนวิน เปลี่ยนพม่าให้กลายเป็นระบอบสังคมนิยม ส่งผลให้เศรษฐกิจพม่าล่มสลายอย่างรวดเร็ว และเรื้อรังมาจนถึงทุกวันนี้ วันที่ทั้งประเทศมีประชาชนแค่ 1 ใน 4 ที่มีไฟฟ้าใช้

 

การล่มสลายของประเทศดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นในวงการกีฬาของพม่าเช่นกัน ในช่วงปี 1960 พม่าเคยเป็นจ้าวเหรียญทองของซีเกมส์ถึงสองสมัย และได้อันอับ 3 ในช่วงปลายปี 1979 นับตั้งแต่ซีเกมส์ครั้งสุดท้ายที่จัดขึ้นในพม่าเมื่อปี 1969 พม่าก็ตกอันดับไปอยู่รั้งท้ายทิ้งห่างเพื่อนบ้านอย่างอินโดนิเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ซึ่งแต่ละประเทศมีผลงานดีๆ ในซีเกมส์ทั้งนั้น

 

"รัฐบาลไม่ได้สนับสนุนให้ประชาชนเล่นกีฬา หรือส่งเสริมเด็กรุ่นใหม่ที่มีความสามารถให้พัฒนาทักษะในด้านกีฬาเลย" อูขิ่นหม่องทวย นักข่าวสายกีฬาในย่งกุ้งที่ทำงานมาเป็นเวลานาน กล่าว "ประเทศของเราเคยมรชื่อเสียงที่ดีในด้านกีฬามาก่อน แต่ในช่วงที่รัฐบาลเผด็จการทหารปกครองประเทศ รัฐบาลอย่างให้เราอยู่อย่างโดดเดี่ยว"

 

ประเทศพม่าห่างหายจากเหรียญรางวัลซีเกมส์มาหลายสิบปี ปัจจุบันมีเหรียญรางวัลรวมทั้งสิ้น 1,858 เหรียญ อยู่ในอันดับที่ 7 ห่างจากอันดับ 1 อย่างไทยที่ได้เหรียญรางวัลมาครองรวมถึง 5,025 เหรียญ ขณะที่อันดับ 2 คืออินโอนิเซีย ได้เหรียญทั้งหมด 4,410 เหรียญ

 

ทั้งนี้ ในประวัติศาสตร์ของกีฬาซีเกมส์ ประเทศเจ้าภาพมักจะทำผลงานได้ดี และได้ตำแหน่งจ้าวเหรียญทอง หรือ ติดหนึ่งในสาม อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งมักจะมีการเพิ่มกีฬาพื้นบ้านที่ประเทศอื่นไม่คุ้นเคยเข้าไปในตารางอยู่เสมอ

 

ซึ่งครั้งนี้ พม่าดูเหมือนจะไม่ต้องการให้ประวัติการเป็นเจ้าเหรียญทองด่างพร้อย จึงถูกพิพากษ์วิจารณ์จากประเทศอื่นๆ ว่าใช้เลห์เหลี่ยมจัดการแข่งขันให้เข้ากับตนเอง ดร.เมียต ทุระ โซ เวขาธิการของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลของพม่า ให้สัมภาษณ์จากสนามวันนาเต้กดี สเตเดียม ในกรุงเนปีดอว์ ซึ่งใช้แข่งขันซีเกมส์ในปี 2013 ว่า "เรามีการประชุมกันระหว่างทุกประเทศว่าจะมีการแข่งขันกีฬาประเภทใดบ้าง"

 

แม้ว่าการเจรจาเรื่องชนิดกีฬาในการแข่งขันจะสร้างความไม่พอใจให้คู่แข่ง แต่ ดร.เมียต ทุระ โซ ก็ยังหวังว่าอย่างไรแล้วพม่าจะสามารถทำผลงานที่ดี แต่เขาก็ยอมรับว่าการแข่งขันกับประเทศอื่น อย่างไทย กับอินโดนิเซียที่จะครองเจ้าเหรียญทองอาจจะเป็นเรื่องที่ข้ามขั้นไปไกลหน่อย สำหรับในตอนนี้

 

ความหวังของพม่าอาจจะต้องใช้เวลายาวนาน แต่ทว่าการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ก็นับเป็นการเริ่มต้นแบบก้าวกระโดดที่จะช่วยให้พม่ากลับคืนสู่ตำแหน่งเจ้าเหรียญทองได้อีกครั้ง

 

"เราคิดไปถึงเวียดนามเป็นตัวอย่าง" ดร.เมียต ทุระ โซ กล่าว "หลังจากที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ พวกเขาก็อยู่ในอันดับต้นๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียวใต้"

 

ประเทศเวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งแรกเมื่อปี 2003 โดยครองเหรียญทองมากที่สุด 183 เหรียญ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เวียดนามก็อยู่ในอันดับ 1 ใน 3 ของตารางเคียงคู่กับ ไทย และอินโดนิเว๊ยมาโดยตลอด

 

"ในปี 2001 พม่ากับเวียดนามอยู่ในระดับที่พอๆ กัน แต่ตอนนี้พวกเขาก้าวหน้าไปกว่าเรามาก" ดร.เมียต ทุระ โซ กล่าว

 

ศูนย์กลางของแผนการยกระดับกีฬาในประเทศในอนาคตคือสิ่งสนามกีฬาที่สร้างขึ้นมาใหม่ที่กรุงเนปีดอว์ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อกีฬาซีเกมส์โดยเฉพาะ สนามกีฬาวันนา เต้กดีซึ่งเป็นศูนย์กลางการแข่งขันประกอบด้วย สระว่ายน้ำและกระโดดน้ำมาตรฐานโอลิมปิก สนามแข่งขันบาสเก็ตบอลจุคนดูได้ถึง 11,000 ที่นั่ง และสนามแข่งขันที่มีขนาดเล็กลงมาสำหรับแข่งขันศิลปะการป้องกันตัวอื่นๆ

 

สำหรับการแข่งขันฟุตบอล ที่เป็นกีฬาสำคัญที่ดึงดูดคนจำนวนมากจะแข่งขันในสนามกีฬาที่ห่างออกไป ใช้เวลาในการขับรถบนไฮเวย์กว้างๆ ประมาณ 30 นาที ซึ่งเป็นสนามที่จุคนดูได้ 30,00 ที่นั่ง ตั้งอยูาบนเนินเขาระหว่างพิพิธภัณฑ์กับสวนสัตว์

 

สนามกีฬาในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้จำนวนมากสร้างโดยบริษัท แม็กซ์เมียนมาร์ ของอูซอว์ซอว์ เจ้าพ่อที่ถูกคว่ำบาตรจากอเมริกามายาวนานเนื่องจากมีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารพม่าชุดก่อน

 

"เราเริ่มดำเนินงานเมื่อปี 2010 ในตอนนั้น ที่นี่มีแต่ป่า" อูขิ่นหม่องจวย ผู้อำนวยการก่อสร้างของแม็กซ์เมียนมาร์ ให้สัมภาษณ์จากบริเวณสนามกีฬาวันนาสเตเดี้ยม จุดที่ประธานาธิบดีเต็งเส่งและผู้นำประเทศสมาชิกนั่งอยู่ในวันเปิดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2556

 

แต่เมื่อมองออกไปที่สนาม ที่นั่งบนอัฒจันทร์สีขาวสีเงินสะท้อนแสงอาทิตย์ เมื่อสิ้นสุดซีเกมส์ครั้งนี้แล้ว จะได้ใช้แข่งขันอีกเมื่อไหร่

 

ที่กรุงเนปีดอว์มีรูปปั้นของช้างเผือกอยู่หลายแห่ง จากความเชื่อของชาวพม่าที่สืบทอดกันมาว่าจะทำให้ราชาปกครองประเทศอยู่บนบัลลังก์ได้อย่างยั่งยืนยาวนาน แต่สำหรับสนามกีฬาที่ถูกสร้างขึ้นมามากมายในกรุงเนปีดอว์จะช่วยให้วงการกีฬาพม่ากลับมาสดใสเหมือนเดิมหรือไม่ หรือจะกลายเป็นเหมือนช้างเผือกที่ศักดิ์สิทธ์น้อยกว่าเท่านั้น

 

จนกระทั่งตอนนี้รัฐบาลยังไม่มีความแน่ชัดว่าจะทำอย่างไรกับสนามกีฬาเหล่านี้นอกจากส่งต่อให้กับกระทรวงการกีฬา แต่เจ้าหน้าที่หลายคนก็บอกว่า จะไม่เป็นอย่างประเทศลาวที่เคยเป็นเจ้าภาพซีเกมส์เมื่อปี 2009 โดยได้สร้างสนามกีฬาในกรุงเวียงจันทร์และปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลเมื่อการแข่งขันจบลง

 

ดร.เมียต ทุระ โซ กล่าวว่าตัวเลือกหนึ่งคือทำให้พม่ากลายเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาระดับโลกบริการให้กับต่างชาติ "สิงคโปร์ก็ให้ความสนใจ" เขากล่าว ซึ่งที่นี่พื้นที่เพียงพอในการฝึกซ้อมกีฬา

 

"นั่นจะช่วยเราได้ เราสามารถเข้าร่วมการฝึกซ้อมร่วมกับนักกีฬาจากที่อื่นได้" เขากล่าว "เราต้องการให้ซัเกมส์ช่วยผลักดันอนาคตทางการกีฬาของพม่า"

 

จาก Could the SEA Games Revitalize Myanmar โดย SIMON ROUGHNEE12 ธันวาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น