วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัญญาไม่เป็นสัญญา : ทหารเด็กในพม่ายังเกลื่อนเมือง

[caption id="attachment_6877" align="aligncenter" width="608"]minthu มินทุ กับพ่อของเขา[/caption]

 

กรอบเวลาของรัฐบาลพม่าที่ให้คำมั่นสัญญาว่าจะกำจัดทหารเด็กให้หมดไปจากกองทัพได้สิ้นสุดลงแล้ว แม้สหประชาชาติและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิจะระบุว่า จำนวนทหารเด็กได้ลดลงแล้ว แต่ก็ยังคงมีเด็กเด็กชายจำนวนมากในกองทัพ บางส่วนเพิ่งจะถูกเกณฑ์มาเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

 

ชองตา, ประเทศพม่า - มินทุ เด็กชายร่างผอมบางหายตัวไปเมื่อเขาอายุได้ 12 ปี เขาเป็นเด็กจากเมืองที่ไม่ค่อยเจริญนัก และเคยคิดว่าตัวเองกำลังพบโชคดีเข้าโดยบังเอิญ

 

มันเกิดขึ้นในบ่ายวันหนึ่ง เมื่อพ่อค้าพุงพลุ้ยคนหนึ่งเข้ามาหว่านล้อมมินทุที่ตลาด เขามอบเสนอดีๆ ให้มินทุพ้นจากหมู่บ้านที่มีแต่บ้านไม้ คละคลุ้งกลิ่นคาวปลา และควันไฟ แต่แล้วก็กลับกกลายว่าต้องเข้าไปอยู่ในกองทัพเป็นเวลา 4 ปี

 

พ่อค้าคนดังกล่าวมีร้านขายเครื่องครัวพลาสติกและเสื้อผ้าใยสังเคราะห์ราคาถูกอยู่ 3 ร้าน ส่วนมินทุ พ่อของเขาหาเลี้ยงชีพด้วยการถีบสามล้อในเมือง ที่ตั้งอยู่ติดทะเล ซึ่งมองไม่เห็นความสำเร็จใดๆ ในอนาคต

 

"ผู้ชายคนนั้นเข้ามาหาเราและบอกว่า 'คุณจะมีชีวิตที่ดีถ้าไปกับผม' " มินทุ เล่าด้วยสีหน้าที่เรียบเฉย ขณะนี้เขาอายุได้ 17 ปีแล้ว แต่ก็ยังคงผอมแห้งเหมือนเดิม เขาพูดติดอ่างมากขึ้นหลังจากที่หายไปหลายปี

 

พ่อค้าคนดังกล่าวสัญญากับมินทุว่า เขาจะมีกินทุกมื้อและจะได้เงินเดือนส่งมาให้พ่อแม่ได้อีกด้วย ถ้าเขารู้สักนิดว่าเกิดจะอะไรขึ้น เขาคงไม่มีวันเชื่อ

 

"ตอนนั้นผมเรียนอยู่เกรด 5 ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาพูดถึงอะไร"

 

มินทุ เป็นหนึ่งในเด็กชายหลายพันคนที่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารในกองทัพพม่า หรือ เมียนมาร์ เป็นเวลาหลายปี

 

และพ่อค้าคนดังกล่าวก็คือนายหน้าจัดหาเด็กเข้ากองทัพ โดยปกติจะจ่ายค่าตอบแทนประมาณ 30 ดอลลาร์ (900 บาท) และข้าวสารหนึ่งถุงให้กับเด็กที่เขาชักชวน โดยไม่สนใจว่าอายุจะถึงเกณฑ์หรือไม่

 

ตอนที่มินทุอายุได้ 14 ปี เขาเคยถูกส่งไปสู้รบกับกองกำลังกะเหรี่ยง "ผมก็แค่ทำตามที่เขาบอกให้ทำ ผมกลัวมาก" เขาพูดถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาโดยที่ไม่ได้ภูมิใจเลย

 

หลังจากพม่าเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเผด็จการทหารที่มีอำนาจมายาวนานหลายทศวรรษ มาเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งบรรดานายทหารยังคงมีอำนาจทางการเมืองอยู่ รัฐบาลก็ต้องการการยอมรับนับถือจากนานาชาติ นักโทษการเมืองจึงได้รับการปล่อยตัว การเซ็นเซอร์สื่อถูกยกเลิกไป และรัฐบาลไดให้สัญญาว่าจะไม่มีทหารเด็กอีกต่อไป

 

องค์การสหประชาชาติและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิในประเทศระบุว่า อัตราการเกณฑ์ทหารเด็กได้ลดลงแล้วแต่ในกองทัพยังคงมีทหารเด็กอยู่ ทั้งๆ ที่รัฐบาลได้ให้สัญญาแล้วว่า จะปลดประจำการทหารที่อายุต่ำกว่า 18 ปีทั้งหมด ภายในวันที่ 1 ธันวาคม แต่กลับพบว่ามีเด็กบางส่วนเพิ่งถูกล่อลวงให้เป็นทหารเมื่อไม่กี่เดือนมานี้

 

"สิ่งที่เราเห็นกับสิ่งที่รัฐบาลพูดแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง" เมียะเส่ง วัย 65 ปี ที่ทำงานช่วยเหลือครอบครัวของทหารเด็กกล่าว "ผมไม่เชื่อคำสัญญาของพวกเขา"

 

แต่ก็ยังได้จัดตั้งระบบที่สามารถนำตัวเด็กออกจากกองทัพได้ โดยที่เด็ก หรือ ครอบครัว ติดต่อนักเครื่อนไหวหรือองค์กรช่วยเหลือนานาชาติ ก็จะสามารถดำเนินการปลดจากกองทัพได้

 

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐจากหลายกระทรวง และกองทัพปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ กับเรื่องนี้ แต่นายทหารอาวุโสมักจะปรากฎตัวอยู่ในพิธีปลดประจำการทหารเด็ก ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากองค์กรที่ให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ

 

"ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ออกมายอมรับแล้วซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก และตอนนี้ก็มีนโยบายที่เข้มแข็ง " สตีฟ มาร์แชล ผู้อำนวยการองค์กรแรงงานสากล ในพม่า กล่าว ทั้งนี้องค์กรดังกล่าวได้ให้ความช่วยเหลือจัดการให้มีการปล่อยตัวทหารเด็ก "ประเด็นสำคัญในตอนนี้คือการทำให้นโยบายถูกนำไปใช้"

 

ด้านนักวิเคราะห์ระบุว่า จำนวนทหารเด็กที่แท้จริงในพม่าไม่เป็นทื่ทราบแน่ชัด เมื่อสองสามปีก่อนมีการปลดประจำการทหารเด็กกว่า 500 คน บางคนอายุแค่ 11 ปี ขณะที่ส่สนใหญ่มีอายุระหว่าง 14-16 ปี ซึ่งสตีฟ มาร์แชล กล่าวว่า นั่นนเพียงแค่เศษเสี้ยวหนึ่งของทการเด็กทั้งหมดในประเทศ

 

ในหมู่บ้านต่างๆ ของพม่า ซึ่งส่วนใหญ่มีประชากรที่ยากจน แทบไม่มีใครเรียนจบไฮสคูล แต่ละที่ก็จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับทหารเด็กเหมือนๆ กัน เด็กชายอายุ 15 ที่ก่อเรื่องถูกเสนอให้เลือกระหว่างถูกจับเข้าคุกกับไปเป็นทหารในกองทัพ เด็กชายวัย 16 ปี ที่ไปตลาด ถูกหลอกไปเป็นทหารและไม่ได้กลับบ้านอีกเลย

 

ซานเท็ดจ่อ วัย 16 ปี ออกจากบ้านตั้งแต่เดือนมิถุนายนทีผ่านมา เขาหวังว่าจะเข้ามาทำงานเป็นกรรมกรในย่างกุ้ง แต่ก็ถูกหลอกให้ไปเป็นทหารโดยใช้เงิน ที่เขาจะสามารถส่งไปให้แม่ได้เป็นเหยื่อล่อ หมู่บ้านที่เขาจากมาคือ หมู่บ้าน กานยินก๊อก ที่ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำอิระวดี

 

"ที่นี่ไม่มีอะไรให้เขา" แม่ของซานมิ้นบอก

 

พม่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรส่วนหนึ่งยากจนมากและมีอัตราการว่างงานที่มากที่สุดในเอเชีย พม่ามีประชากรกว่า 55 ล้านคน และมีกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยนักวิเคราะห์คาดว่า พม่ามีทหารทั้งหมดประมาณ 4 แสนนาย

 

ทหารระดับสูงเปลี่ยนอำนาจให้เป็นความร่ำรวย ในขณะที่ระดับล่างเป็นทหารชั้นผู้น้อยจำนวนมาก พวกเขานอกจากจะต้องทำงานในไร่นาในพื้นที่ทำไม้ และในโรงงานของกองทัพ แล้วก็ยังถูกส่งไปรบ รวมถึงทำงานรับใช้ในบ้านของนายทหารอีกด้วย

 

ตามมาตราฐานเงินเดือนของพม่าแล้ว พวกเขามีอัตราเงินเดือนที่ไม่เลวเลย คือประมาณ 60 ดอลลkร์ (1,800 บาท) ก็มักจะถูกหักไปเยอะ

 

นี่คือกองทัพที่ มินทุ ได้เห็นมา

 

ย้อนกลับไปในเหตุการณ์ในวันนั้น หลายชั่วโมงหลังจากที่เขาได้พบกับพ่อค้าคนดังกล่าว ซึ่งพ่อแม่ของเขาไม่ได้ทันระวัง เขาก็ไปอยู่ที่ค่ายทหารแล้ว ซึ่งเขาทั้งหวาดกลัวและสับสนไปหมด

 

"เมื่อเราไปถึงฐาน ผมก็รู้ทันทีว่าเรามาผิดที่แล้ว" เขาบอก "ผมเริ่มร้องไห้"

 

ทว่าน้ำตาไม่ได้ช่วยอะไร "พวกเขาต่อยและตบหน้าผม และตะคอกว่า 'นี่ไม่ใช่ที่ที่จะมาร้องไห้'" เขาจึงเรียนรู้ที่จะอดทนอยู่ให้ได้

 

ฟลายปีผ่านไป เขาได้คุยกับพ่อแม่บ้างทางโทรศัพท์เท่านั้น จากนั้นเขาได้โทรศัพท์จากโรงพยาบลทหารในย่างกุ้ง เพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งเมื่อไปถึงก็พบเด็กชายคนหนึ่งมีอาการตัวบวมจากโรคไตจนแทบจะจำไม่ได้

 

ซอว์วิน พ่อของเขาไม่ลังเล "เราจะหนีไปกัน" เขาบอกลูกชาย พวกเขาย่องออกจากห้องพักผู้ป่วย หนีออกไปทางประตูหลัง และนั่งแท็กซี่ออกไป

 

หลังจากพักรักษาตัวเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งต้องกู้เงินมารักษา และกลับมาอยู่ที่ชองตาแล้ว มินทุทำตัวไม่ถูกเมื่ออยู่กับครอบครัว เขารู้สึกห่างเหินจากเพื่อนๆ และกลัวจะถูกจับ เขาจึงหลบอยู่ที่หนองน้ำใกล้ๆ อยู่หลายวัน

 

ขณะนี้จ้าหน้าที่ก็มีนโยบายปล่อยทหารเด็กแล้ว นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิจึงเริ่มทำเอกสารเพื่อปลดเขาออกจากกองทัพอย่างเป็นทางการ เขานึกไม่ออกว่าจะกลับไปเรียนอย่างไร บางครั้งเขาก็ออกไปรับจ้างตัดไม้เพื่อแลกกับเงินเล็กๆ น้อยๆ

 

พวกเขายังคงเห็นพ่อค้าคนที่ชักชวนให้มินทุไปเป็นทหาร เขามีญาติที่ร่ำรวยและมีความสัมพันธ์กับกองทัพ ครอบครัวของมินทุรู้ดีว่า ชายคนนั้นจะไม่ถูกลงโทษ "เราเดินผ่านกันในหมู่บ้าน แต่ผมคิดว่าเขาจำผมไม่ได้" มินทุบอก "เขาไม่มีปฏิกิริยาอะไรเลย"

 

จาก Boy soldiers still common in Myanmar โดย ESTHER HTUSANTIM SULLIVAN
สำนักข่าว The Associated Press 7 ธันวาคม 2556


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น