วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พม่าใช้กำลังสลายผู้คัดค้านขยายเหมืองทองแดง พระ-ประชาชนบาดเจ็บจำนวนมาก


เกษตรกรท้องถิ่น พระสงฆ์ รวมถึงนักเรียกร้องได้รวมแสดงการต่อต้านการเวนคืนพื้นที่ ที่พวกเขามองว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม เพื่อนำไปขยายพื้นที่เหมืองทองแดงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น



เหมือง Letpadaung ใกล้เมืองโมนีวา ในเขตสะกาย ถือเป็นเหมืองที่มีขนาดใหญ่สุดของพม่า เป็นการร่วมทุนระหว่างกองทัพพม่าและบริษัทโนรินโค บริษัทผู้ผลิตอาวุธจากจีน ที่ลงนามกับบริษัทของกองทัพพม่าเมื่อเดือนมิถุนายน 2010 หลังจากบริษัทเหมืองของแคนาดาถอนตัวออกไปในปี 2007 คาดว่านางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) และแกนนำเรียกร้องประชาธิปไตย จะแวะไปเมืองมัณฑะเลย์ก่อน จากนั้นจะไปเขตสะกาย เพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน


เกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสงรายหนึ่งกล่าวว่า รายหนึ่งเผยว่า ตำรวจฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อขับไล่ ก่อนที่จะใช้อาวุธที่พวกเขาเข้าใจว่าเป็นปืนยิงพลุราว 6 นัก และวิ่งไล่ตามผู้ประท้วง


ที่ผ่านมาทางการพม่าสามารถปราบปรามผู้ประท้วงการเวนคืนที่ดินได้อย่างรวดเร็วภายใต้รัฐบาลทหารพม่า แต่เมื่อประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เปิดประเทศเมื่อปีก่อนปัญหาข้อพิพาทที่ดินเริ่มปรากฏบ่อยขึ้น พระสงฆ์รูปหนึ่งเผยว่า รถบรรทุกตำรวจหลายคันเดินทางมาถึงบริเวณที่ผู้ประท้วงปักหลักใกล้เหมืองแห่งหนึ่งในเขตสะกาย


ผู้ประท้วงต่อต้านการขยายเหมืองมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 31,000 ล้านบาท) โดยอ้างว่ามีการเวนคืนที่ดินอย่างผิดกฎหมายมากกว่า 19,500 ไร่ ตำรวจปราบจลาจลใช้น้ำแรงดันสูงฉีดสลายฝูงชนเมื่อเวลา 02.55 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น จากนั้นยิงกระป๋องบางอย่างเข้ามาทำให้เกิดไฟไหม้ มีพระสงฆ์บาดเจ็บ 10 รูป และต้องไปขอความช่วยเหลือจากหมู่บ้านใกล้เคียงเนื่องจากไม่มีแพทย์


กลุ่มเกษตรกรเริ่มก่อการประท้วงเมื่อเดือนมิถุนายน โดยกล่าวว่า พวกเขาถูกบังคับให้ยอมรับสัญญาเวนคืนที่ดินเมื่อสองปีก่อน โดยมีข้อเสนอว่าพวกเขาจะมีบ้านหลังใหม่และเงินชดเชย


เกษตรกรท้องถิ่น พระสงฆ์ รวมถึงนักเรียกร้องได้รวมแสดงการต่อต้านการเวนคืนพื้นที่ ที่พวกเขามองว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม เพื่อนำไปขยายพื้นที่เหมืองทองแดงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น


เหมือง Letpadaung ใกล้เมืองโมนีวา ในเขตสะกาย ถือเป็นเหมืองที่มีขนาดใหญ่สุดของพม่า เป็นการร่วมทุนระหว่างกองทัพพม่าและบริษัทโนรินโค บริษัทผู้ผลิตอาวุธจากจีน ที่ลงนามกับบริษัทของกองทัพพม่าเมื่อเดือนมิถุนายน 2010 หลังจากบริษัทเหมืองของแคนาดาถอนตัวออกไปในปี 2007 คาดว่านางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) และแกนนำเรียกร้องประชาธิปไตย จะแวะไปเมืองมัณฑะเลย์ก่อน จากนั้นจะไปเขตสะกาย เพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน


เกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสงรายหนึ่งกล่าวว่า รายหนึ่งเผยว่า ตำรวจฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อขับไล่ ก่อนที่จะใช้อาวุธที่พวกเขาเข้าใจว่าเป็นปืนยิงพลุราว 6 นัก และวิ่งไล่ตามผู้ประท้วง


ที่ผ่านมาทางการพม่าสามารถปราบปรามผู้ประท้วงการเวนคืนที่ดินได้อย่างรวดเร็วภายใต้รัฐบาลทหารพม่า แต่เมื่อประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เปิดประเทศเมื่อปีก่อนปัญหาข้อพิพาทที่ดินเริ่มปรากฏบ่อยขึ้น พระสงฆ์รูปหนึ่งเผยว่า รถบรรทุกตำรวจหลายคันเดินทางมาถึงบริเวณที่ผู้ประท้วงปักหลักใกล้เหมืองแห่งหนึ่งในเขตสะกาย


ผู้ประท้วงต่อต้านการขยายเหมืองมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 31,000 ล้านบาท) โดยอ้างว่ามีการเวนคืนที่ดินอย่างผิดกฎหมายมากกว่า 19,500 ไร่ ตำรวจปราบจลาจลใช้น้ำแรงดันสูงฉีดสลายฝูงชนเมื่อเวลา 02.55 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น จากนั้นยิงกระป๋องบางอย่างเข้ามาทำให้เกิดไฟไหม้ มีพระสงฆ์บาดเจ็บ 10 รูป และต้องไปขอความช่วยเหลือจากหมู่บ้านใกล้เคียงเนื่องจากไม่มีแพทย์


กลุ่มเกษตรกรเริ่มก่อการประท้วงเมื่อเดือนมิถุนายน โดยกล่าวว่า พวกเขาถูกบังคับให้ยอมรับสัญญาเวนคืนที่ดินเมื่อสองปีก่อน โดยมีข้อเสนอว่าพวกเขาจะมีบ้านหลังใหม่และเงินชดเชย


ที่มา มติชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น