วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ยึดที่ดินประชาชน : อดีตที่ขมขื่น ปัจจุบันที่ยังคุกคาม


แล็ตปะดอง , ประเทศพม่า - เดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว เจ้าหน้าที่รัฐได้เข้าไปพบ อูเต่ง พร้อมเสนอเงินจำนวน 600 ดอลลาร์สหรัฐ (18,000 บาท)เป็นค่าเช่าที่นาผืนใหญ่ เพื่อเคลียร์พื้นที่สำหรับขยายพื้นที่เหมืองแร่ที่ดำเนินการโดยบริษัทจีนร่วมกับรัฐบาลพม่า

เวนเต่ง วัย 54 ปี ปฏิเสธเงินจำนวนดังกล่าว แต่กลับถูกจับขังคุก ในระหว่างที่เขาอยู่ในคุก รถไถดินหลายคันเข้ามาในพื้นที่ในช่วงเช้ามืดโดยมีเจ้าหน้าที่พร้อมอาวุธคอยให้การรักษาความปลอดภัย โดยเจ้าหน้าที่ได้ขู่ชาวบ้านว่าจะไม่รับรองความปลอดภัยหากออกมานอกบ้าน

 

เต่งคำนวนแล้วว่า เขาจะสูญเสียรายได้จากการถูกยึดที่ทำกินกว่า 66,000 ต่อปี ผ่านไปปีให้หลัง หมู่บ้านของเขายังไม่ได้รับค่าชดเชยใดๆ

 

"เงินอยู่ได้ไม่นาน แต่การสูญเสียที่ดินคือการสูญเสียตลอดไป" เขากล่าว

 

การยึดที่ดิน ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในพื้นที่ชนบทในช่วงรัฐบาลเผด็จการปกครองประเทศ ยังคงเกิดขึ้นจนถึงทุกวันนี้ ขณะที่การคว่ำบาตรได้ถูกระงับและบรรดาผู้นำชาติตะวันตกได้กระตุ้นให้มีการลงทุนในพม่า หลายกรณีก็แสดงให้เห็นว่าผลกำไรทางธุรกิจที่มีความสำพันธ์อันดีกำลังเอาเปรียบคนจนและด้อยการศึกษาเพื่อผลกำไรมหาศาล

 

เจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่ายืนยันว่ากิจการบางอย่างก็จำเป็นเพื่อการเพิ่มผลผลิตและจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาในพม่า ที่ถือว่าเป็นตลาดที่ยังบริสุทธิ์ผุดผ่องแห่งสุดท้ายของโลก ขณะที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า การยึดที่ดินอย่างหนักเป็นการทดสอบท่าทีของรัฐบาลพม่าที่มีต่อจีนซึ่งมรสายสัมพันธ์อันดีกับพม่ามายาวนาน

 

"ประชาชนพม่าที่ได้รับผลประโยชน์น้อยที่สุดยังคงถูกกดขี่อยู่ทั่วประเทศ พวกเขาสูญเสียที่ดินให้กับชนชั้นสูงและหุ้นส่วนทางธุรกิจจากนานาชาติ และยังถูกกระทำเมื่อพวกเขาลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของตัวเอง" แมทธิว สมิธ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเทศพม่าจากองค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าว "รัฐบาลชุดเดียวกันกับที่นานาชาติกำลังยกย่องนี่แหละ ที่กดดันชุมชนที่อาศัยอยู่ท่ามกลางทรัพยากรที่มีค่า"

 

แม้รัฐบาลทหารชุดก่อนจะไม่ได้ปกครองประเทศต่อไปแล้ว แต่กฎหมายที่ดินสองฉบับที่เพิ่งออกมาเพื่อปีที่แล้วถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ที่ยอมให้รัฐบาลยึดที่ดินเพื่อผลประโยชน์ของชาติ คณะกรรมการสิทธิมยุษยชนอาเซียน บอกกับยูเอ็นว่า พม่าเสี่ยงที่จะพบกับการยึดที่ดินแพร่ระบาดหากกฎหมายฉบับดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไข

 

 

มีรายงานการยึดที่ดินเกิดขึ้นตั้งแต่เกาะทางตอนใต้ที่ห่างไกลเชื่อมต่อกับพื้นที่ชายแดนทางตอนเหนือโดยโครงการท่อก๊าซและน้ำมัน ไปจนถึงพื้นที่ใจกลางเมืองที่เขตอุตสาหกรรมรุกล้ำกลืนกินพื้นที่ทำการเกษตรอันอุดมสมบูรณ์ใจกลางประเทศ

 

ส่วนในแล็ตปะดอง พื้นที่แหล่งแร่ทองแดงของมัณฑะเลย์ 4 หมู่บ้านจากทั้งหมด 26 หมู่บ้าน ถูกแผ้วถาง ชุมชนสูญเสียพื้นที่มากกว่า 7,800 เอเคอร์ให้กับโครงการเหมืองแร่ ชาวบ้านในพื้นที่บางส่วนถูกย้านให้ไปอาศัยอยู่ในค่ายพักพิงที่รัฐบาลจัดให้ ส่วนที่เหลือถูกหลอกให้รับเงินค่าเช่าที่ดินระยะสั้น แต่ก็มารู้ตัวที่ดินถูกยึดที่ดินไปทั้งหมด

 

ไม่มีใครกล้าร้องเรียนต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ทว่า ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง เย ยิ่น จ่อ วัย 27 ปี กล่าวว่า ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เขามั่นใจว่าถึงเวลาที่จะใช้โอกาสนี้ รวมตัวผู้เสียหายเดินขบวนต่อต้านโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง Union of Myanmar Economic Holdings (UMEH) ของพม่าและบริษัท Wanbao ของจีน

 

เขาอธิบายว่า การเดินขบวนครั้งนี้มีแรงบัลดาลใจมาจาก การที่ประธานาธิบดีเต็งเส่งออกคำสั่งให้ระงับโครงการก่อสร้างเขื่อนมิตซงมูลค่า 3.6 พันล้านเมื่อเดือนกันยายน 2011 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโครงการระหว่างพม่ากับจีนอีกโครงการหนึ่ง หลังจากได้รับแรงกดดันจากประชาชนที่เป็นห่วงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

การเดินขบวนประท้วงอย่างสงบเริ่มขึ้นบริเวณหน้าประตูของบริษัท Wanbao ในวันที่ 29 พฤศจิกายน และแล้วปวิธีการเดิมๆ ก็ถูกนำมาใช้อีกครั้ง เจ้าหน้าที่ทางการในท้องที่ได้สลายการชุมนุมในช่วงกลางวันแสกๆ ผู้ประท้วงจำนวนหลายร้อยคนถูกโจมตีโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีกระบองเป็นอาวุธ โดยเจ้าหน้าที่จะทุบตีและจับกุมทุกคนที่ขวางทาง นอกจากนี้ พระสงห์สิบกว่ารูปยังถูกโจมตีโดยแก๊สน้ำตาจนต้องนำตัวส่งโณรพยาบาล

 

หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงจบลง กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้ออกมาประนามการกระทำดังกล่าว รัฐบาลออกมาขอโทษ ขณะที่มีการประท้วงหลายครั้งเกิดขึ้นในเมืองใหญ่หลายเมือง มีการตั้งคณะกรรมการอิสระนำโดย นางอองซาน ซูจี ให้ทำตรวจสอบโครงการดังกล่าวในช่วงปลายเดือนมกราคม

 

โฆษกของ UMEH และรัฐบาลพม่าปฏิเสธที่จะออกความเห็นจนกว่าจะได้ข้อมูลจากคณะกรรมการ

 

ในส่วนของจีนที่ไม่ต้องการเห็นโครงการดังกล่าวเป็นเหมือนโครงการเขื่อนมิตซง กล่าวว่าการยุติโครงการเหมืองทองแดงแล็ตปะด่องว่า มีแต่เสียกับเสียทั้งสองฝ่าย ตามรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ Global Times กระบอกเสียงของรัฐบาลจีน นอกจากนี้ยังกล่าวว่า มีเพียงบุคคลที่สามเท่านั้น ซึ่งหมายถึงชาติตะวันตก ที่ต้องการจะให้เป็นเช่นนั้น

 

จนถึงทุกวันนี้ การขุดหาแร่ยังคงมีการดำเนินการอยู่ ในช่วงบ่ายเมื่อไม่นานมานี้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ดูเหมือนแรงงานชาวจีนกำลังทำความสะอาดค่ายของผู้ประท้วงที่ได้พังเสียหาย ขนาบข้างด้วยค่ายคอนกรีตและเครื่องมือช่าง ป้ายเตือนสีแดงแสดงให้ทุกคนรู้ว่ามีการใช้กฎอัยการศึกอยู่ในขณะนี้

 

 

 

แปลและเรียบเรียงจาก Land-grabbing endures in new Burma

โดย Jason Motlagh 31 , washingtonpost, มกราคม 2556

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น