วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

เมื่อทะเลสาบอินเลป่วย

inlae

หยองฉ่วย,รัฐฉาน- ดอว์ยินเมียวซุ มองออกไปยังท้องน้ำที่กว้างใหญ่ของทะเลสาบอินเล เธอยังจำได้ดีถึงวันเก่าๆ ที่เกิดขึ้นในทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของพม่า ที่โอบล้อมไปด้วยภูเขา แห่งรัฐฉานของใต้ บ้านเกิดของเธอ

 

ตอนที่ยังเป็นเด็ก เธอพายเรือข้ามทะเลสาบไปเยี่ยมญาติๆ ที่อาศัยอยู่ในบ้านไม้ยกสูงที่ตั้งอยู่บนเสาที่ยื่นออกมาจากผิวน้ำ เช่นเดียวกับชาวอินตาคนอื่นๆ ระหว่างที่เดินทางข้ามทะเลสาบ ที่ปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของพม่า เธอได้สัมผัสกับทัศนียภาพที่ไม่หลงเหลืออยู่อีกต่อไปแล้ว

 

"เชื่อหรือเปล่า ในตอนนั้นคุณสามารถดื่มน้ำจากกลางทะเลสาบได้เลยเมื่อหิวน้ำ คุณสามารถลงไปว่ายน้ำได้ มีปลาอยู่เยอะแยะ และไม่เคยเห็นทะเลสาบแห้งในหน้าแล้งเลย" หญิงวัย 42 กล่าว "สถานการณ์ตอนนี้มันแตกต่างกันมากเหมือนหน้ามือเป็นหลังมือ"

 

Inle  Jan 53 (340)

 

ดอว์ยินเมียวซุ อยู่นอกระเบียงบ้านวัฒนธรรมอินตา ซึ่งเป็นศูนย์ที่เธอก่อตั้งขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์วัฒนธณรมของชาวอินตาที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลสาบ เธอกล่าวถึงสถานการณ์ของทะเลสาบอินเลว่า มันย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ได้ถึงกับสิ้นหวัง "เรายังแก้ไขได้สถานการณ์ได้"

 

ทะเลสาบอินเลตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 900 เมตร ในหุบเขาฉานฮิลในเขตตองจี ชาวประมงที่พายเรือด้วยเท้า สวนลอยน้ำ บ้านยกสูงกลางน้ำ และความหลากหลายทางธรรมชาติทำให้ทะเลสาบอินเลเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก

 

แต่นักเคลื่อนไหวและผู้กำหนดยโยบายกล่าวว่า ทะเลสาบแห่งนี้กำลังประสลกับวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม น้ำเสียและสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรกำลังสร้างมลพิษให้กับน้ำและเป็นอันตรายต่อปลา ในขณะที่ตะกอนดินที่ทับถมกำลังทำให้ทะเลสาบที่กว้างถึง 44.9 ตารางไมล์แห่งนี้ตื้นขึ้น ขณะที่จำนวนประขากรที่เติบโตขึ้นและการท่องเที่ยวก็ได้ทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง

 

ความเสื่อมโทรมของทะเลสาบที่เห็นได้อย่างชัดเจนเริ่มขึ้นเมื่อหน้าแล้งเมื่อปี 2010 สภาวะแห้งแล้งในภูมิภาคที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนได้ทำให้ทะเลสาบอินเลส่วนใหญ่เหือดแห้ง ซึ่งเป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่าโดยรอบ บวกกับปริมาณฝนที่ลดลงมานานหลายปี ทำให้เกิดเนินตะกอนทับถม ในเดือนเมษายน น้ำในทะเลสาบลดลงเป็นวงกว้างกว่าหนึ่งในสาม ทำให้บริเวณเจดีย์ปองดอว์อู ที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้เรือพายเพื่อเดินทางไปยังวัด ต้องกลายสภาพเหมือนเป็นกองขยะ ขณะที่หลายหมู่บ้านในทะเลสาบก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

 

"อาตมาต้องขี่มอเตอร์ไซค์เพื่อไปเยี่ยมบ้านเพราะน้ำไม่มี" พระวิชชานันทา เล่าถึงตอนที่กลับไปเยี่ยมครอบครัวที่หมู่บ้านพากง ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยบ้านไม้ยกสูงเหนือน้ำ

 

หลังจากความแห้งในเวลานั้นผ่านไป รัฐบาลได้ร่างแผนการอนุรักษ์ระยะเวลา 5 ปีขึ้นมาอย่างเสียมิได้ เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสียไปและช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ ห้าปีหลังจากนั้น หน่วยงานของยูเอ็นได้เสนอความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาแผนการอนุรักษ์ฉบับใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิคจากประเทศนอร์เวย์

 

แต่ทว่า ทุกวันนี้ปัญหากลับซับซ้อนมากขึ้น

Inle  Jan 53 (1029)

"คุณภาพน้ำที่แย่ลงเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่ง" อูอ่องจ่อซวา นักสิ่งแวดล้อม และผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอาชีพที่เป็นเครือข่ายร่วมกับบ้านวัฒนธรรมอินตา กล่าว เป็นเวลาสองปีแล้วที่ บ้านวัฒนธรรมอินตาได้เก็บตัวอย่างน้ำจาก 5 จุดรอบทั่วทะเลสาบเพื่อส่งไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

 

"ผลการตรวจสอบแสดงให้เห็นว่า น้ำมีการปนเปื้อนสารโลหะหนักอย่าง ตะกั่ว ซึ่งจะเป็นอันตรายหากบริโภคเข้าไป" เขากล่าว โดยระบุอีกว่า ชาวสวนที่ปลูกเขือเทศและผักชนิดอื่นๆ ในสวนลอยน้ำได้ใช้ปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืนในปริมาณที่เกินกำหนดเพื่อเพิ่มผลผลิต

 

การทำเกษตรกรรมสามารถทำลายระบบนิเวศน์ของทะเลสาบ ที่มีปลากว่า 59 ชนิดอาศัยอยู่ได้ ซึ่งในจำนวนนั้นมีปลา 16 ชนิดที่เป็นปลาพันธุ์พื้นเมือง ข้อมูลจาก เขตรักษาพันธุ์สัตว์พื้นที่ชุ่มน้ำอินเล

 

"พวกเขาฉีดพ่นไปที่พืชโดยตรงในปริมาณมาก" เขากล่าว "น้ำที่ไหลผ่านพื้นที่เกษตรกรรมมียาฆ่าแมลงปนเปื้อนและสร้างมลพิษให้กับน้ำ"

 

การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรก็ส่งผลกระทบที่เสียหายเช่นกัน ประชากรส่วนใหญ่มากกว่า 1 แสนคนอาศัยอยู่ในบ้านที่ตั้งอยู่ในทะเลสาบและริมฝั่ง ได้ปล่อยน้ำเสียลงในทะเลสาบ ขณะที่โรงงานทอผ้าในครอบครัวขนาดเล็กและร้านทำเครื่องเงินก็ได้ปล่อยน้ำเสียลงทะเลสาบโดยไม่ได้บำบัด

 

 

ระบบกรองของเสียโดยธรรมชาติอาจทำหน้าที่จัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ในอดีต แต่ปัจจุบันมลภาวะรุนแรงเกินไปเมื่อปีที่ผ่านมา กรมประมงได้รายงานค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ได้เพิ่มสูงขึ้นซึ่งอยู่ระหว่าง 8.4 - 9.6 ในหลายจุด ทำให้ปลาพันธุ์พื้นเมือง อย่าง ปลาคาร์ปอินเล (Cyprinuscarpiointha) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า Nga-phane มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์

 

ผลที่ตามมาก็คือ ทุกวันนี้ อูเมียวอ่อง คนหาปลาพื้นบ้านวัย 36 ปี ได้ปลากลับบ้านน้อยลง

 

Inle  Jan 53 (314)

 

"ผมจับปลาได้แค่ 3 เป๊ตตา (4.8 กก. ) หลังจากออกเรือมาทั้งวัน " เขากล่าว เทียบกับก่อนหน้านี้ที่เฉพาะช่วงเช้าก็จับปลาได้ 5 กึง 5 เป๊ตตา

 

ในเรือไม้ของเขามีปลาที่จับได้ในวันนี้ มีปลานิล เป็นปลาที่นำมาปล่อยในทะเลสาบอินเลเพราะสามารถทนต่อสารเคมีได้ดี แต่รสชาติไม่ดีเท่าปลาคาร์ปอินเล

 

"ผมได้เงินแค่ 1 พันจั๊ต(30 บาท)สำหรับปลานิล 1 เป๊ตตา มันเป็นปลาชนิดเดียวที่ผมจับได้ แต่ก็จับไม่ได้มาก" ชาวประมงพ่อลูก 4 กล่าว

 

สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ปลาลดลงเนื่องจากชาวประมงใช้วิธีการช็อตปลากันมากขึ้น ซึ่งเป็นการทำให้ปลาแน่นิ่งก่อนที่มันจะถูกจับ แต่ก็เป็นการทำลายสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในทะเลสาบที่เป็นตัวรักษาคุณภาพน้ำไปด้วย

 

"พวกเขาใช้วิธีนี้เพราะไม่มีทางเลือกอื่นที่จะประหยัดกว่านี้" อูเส่งทุน ผู้ดูแลเขตรักษาพันธุ์สัตว์ทะเลสาบอินเล กล่าว เขาเป็นหัวเรือใหญ่ในการรณรงค์ให้ความรู้แก่ชาวบ้านไม่ให้ใช้วิธีช็อตปลา เมื่อปีที่แล้ว มีชาวประมงถูกจับกุมเพราะช็อตปลาถึง 40 คน

 

แต่ไม่ว่าโครงการของเขาจะประสบความสำเร็จหรือไม่ วิกฤติทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ก็ยังอยู่

 

"การกระทำที่ส่งผลเสียต่อทะเลสาบเหมือนเดิมก็ยังมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง" เจิร์น คริสเต็นเซ็น ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (IID) กล่าว IID เป็นองค์กรจากประเทศออสเตรเลีย โดยเมื่อปี 2012 ได้ส่งรายงานพร้อมข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์และการจัดการที่ยั่งยืนให้แก่กระทรวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและป่าไม้

 

"ยังคงมีการใช้ปุ่ยเคมีและยาฆ่าแมลงในปริมาณมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ ยังคงมีการปล่อยน้ำเสียจากครัวเรือนและอุตสาหกรรมขนาดเล็กลงแม่น้ำ และยังคงมีการตัดไม้ที่บริเวณรอบทะเลสาบเพื่อนำม่หุงหาอาหาร ทำให้เกิดการกัดเซาะพังทลายของดิน และเสียงดังจากเรือยนต์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นในทะเลสาบ"

 

ในรายงานของ IID เมื่อปี 2012 IID ได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลการอรุรักษณ์ทะเลสาบ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้สนับสนุนเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ทะเลสาบอินเลชุดใหม่ ที่จะประสานงานและตรวจสอบกิจกรรม จัดลำดับการลงทุนและงบประมาณสนับสนุนโครงการ รวมถึงเก็บข้อมูลเกี่ยวกับทะเลสาบอินเลในฐานข้อมูล

 

"ทุกอย่างต้องเชื่อมกันและต้องจัดการให้ครบถ้วนเบ็ดเสร็จและ" เจิร์น กล่าว

 

Inle  Jan 53 (548)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาบอกว่า มันสำคัญมากในการจัดการกับรายได้ ที่ส่วนหนึ่งมาจากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ให้กับโครงการที่จะเป็นการช่วยรักษาคุณภาพของทะเลสาบไว้

 

"เราต้องการความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่สนใจ โดยเฉพาะภาคเอกชน ที่ได้รับผลประโยชน์จากการเปิดประเทศ และมีความสนใจในการรักษาให้ทะเลสาบเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามสำหรับชาวต่างชาติต่อไป" เขากล่าว

 

การท่องเที่ยวของพม่าได้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยมีนักท่องเที่ยวกว่า 1 แสนคนมาเยือนทะเลสาบอินเลในปี 2013

 

"เราคาดหวังว่าจะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 150,000 คนในปีนี้" อูวินมิ้น รัฐมนตรี หน่วยงานรัฐบาลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ชาวอินตาของรัฐฉานกล่าว

 

ชาวต่างชาติต้องจายเงินค่าธรรมเนียมในการเข้าชมทะเลสาบอินเล 10 ดอลลาร์ โดยครึ่งหนึ่งจะนำไปสนับสนุนการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนที่เหลือจะเข้ารัฐ แต่อูวินมิ้น กล่าวว่า ยังมีการลงทุนเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่น้อยมาก ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นยังคงใช้สารเคมีในการเกษตรและช็อตปลา รวมถึงการปล่อยน้ำเสียลงในทะเลสาบด้วย

 

"พวกเขารู้ว่าสิ่งที่ทำนั่นไม่ดี แต่พวกเขาไม่มีทางเลือกเพาะเหตุผลด้านเศรษฐกิจ นี่ยังเป็นปัญหาที่ยังไม่มีทางแก้" เขากล่าว

 

การก่อสร้างโณงแรมและการลงทุนจากต่างชาติสามารถสร้างงานได้ หลังจากรัฐบาลอนุมัติความเห็นชอบให้เปิดเขตสำหรับโรงแรมแห่งใหม่ที่ครอบคลุมพื้นที่ 662 เอเคอร์บนริมฝั่งทะเลสาบด้านตะวันออก

 

และถ้าผู้ที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบเข้ามาทำงานในส่วนของการบริการ พวกเขาก็จะสามารถจุนเจือครอบครัวได้ด้วย เจิร์น คริสเต็นเซ็น กล่าว

 

"ถ้าคนหนุ่มสาวมรพื้นที่ได้รับการอบรมและได้งานในส่วนของการท่องเที่ยว พวกเขาก็จะเป็นทูตที่ดำสำหรับทะเลสาบอินเล" เขากล่าว ในขณะที่ คนที่มาจากภาคกลางที่พูดภาษาอังกฤษได้อาจจะได้งานเหล่านี้ไปแทน แต่พวกเขาไม่มีความเข้าใจในวัฒนธรรมและมรดกทางสิ่งแวดล้อมของทะเลสาบอินเล ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น "ลูกหลานของเกษตรกรที่นี่ก็จะต้องทำการเกษตรที่ไม่ยั่งยืนต่อไป"

 

ในขณะเดียวกัน การอบรมด้านการบริการที่ศูนย์วัฒนธรรมอินตาก็ไม่ได้ว่างเว้น นักเรียนทั้ง 39 คนเป็นคนที่เติบโตในทะเลสาบแห่งนี้ ส่วนใหญ่ได้รับทุนการศึกษาจากศูนย์วัฒนธรรมอินตาเพราะไม่สามารถจ่ายค่าเรียนได้

 

"ในขณะที่การท่องเที่ยวกำลังรุ่ง และมีการเปิดโอกาสในการทำงาน เรากำลังสนองความต้องการเจ้าหน้าที่ที่มีคุณสมบัติไม่เพียงแค่เก่ง มีความรับผิดชอบ และดูแลแขกได้เท่านั้น แต่ยังมีความคิดที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครัว ของทะเลสาบอินแล และของประเทศด้วย" อูอ่องจ่อซวา ผู้อำนวยการกล่าว

 

 

ดอว์ยินมินซุ ผู้ก่อตั้งบ้านวัฒนธรรมอินตาก็เป็นหนึ่งในคณะกรรมการของศูนย์ฝึกอบรม ซึ่งในขณะนี้กำลังทำโครงการนำร่องการพัฒนาเกษตรกรรมและการจัดการระบบน้ำเสียของทะเลสาบ

 

" ฉันเชื่อว่าถ้าทุกคนช่วยกันทำในสิ่งที่พอทำได้ เราก็สามารถเปลี่ยนได้ แม้ว่าสถานการณ์มันจะย่ำแย่แค่ไหน ฉันก็แค่ทำในสิ่งที่ฉันทำได้เพราะต้องการส่งต่อทะเลสาบแห่งนี้ให้ลูกหลานรุ่นต่อไปในสภาพที่เหมือนกับตอนที่ฉันได้รับมาจากบรรพบุรุษ"

 

แปลจาก For the Love of the Lake
โดย KYAW PHYO THA / THE IRRAWADDY
 www.irrawaddy.org 15 มีนาคม 2557


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น