วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

จากดินแดนที่ยากจนที่สุดในพม่า สู่ชายแดนอินเดีย "ชีวิตในมุมมืดของชาวชิน"

[caption id="attachment_6948" align="alignleft" width="490"]chin1 เด็กชายชาวชินกำลังทำอาหารพม่าในเมืองไอซาล[/caption]

เมืองไอซาล รัฐมิโซรัม อินเดีย- การปล่อยตัวนักโทษการเมืองครั้งล่าสุดไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในรัฐชิน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของพม่าดีขึ้นแต่อย่างใด ในขณะที่ชาวขินยังคงหนีภัยข้ามชายแดนไปยังประเทศอินเดีย ที่นั่นพวกเขามีชีวิตอยู่โดยไม่มีกฎหมายคุมครอง ต้องเผชิญหน้ากับความตึงเครียดในชุมชนที่พวกเขาไปอาศัยอยู่

 

เมื่อปี 1988 เหตุการณ์การลุกฮือต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าส่งผลให้มีประชาชนล้มตายไปเป็นจำนวนมาก หลายส่วนของประเทศ รวมทั้งรัฐชิน ถูกทหารเข้าควบคุม เช่นเดียวกับพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ชาวชินต่างระอากับความยากจนแสนสาหัสและการปกครองของรัฐบาลพม่า ส่งผลให้ประชาชนจำนวนในรัฐชินต้องข้ามชายแดนกว่า 1,463 กม เข้าไปยังรัฐมิโซรัมของอินเดีย ซึ่งรายงานจากองค์กรแพทย์เพื่อสิทธิมนุษยชนเมื่อปี 2011 ระบุว่า มีชาวชินอาศัยอยู่ที่นั่นราว 1 แสนคน

 

"ในตอนนั้นผมเป็นนักศึกษาและเข้าร่วมในการประท้วง(ปี 1988)" ผู้นำที่มหาวิทยาลัยบอกให้ผมหนีไปที่มิโซรัมเพื่อหลบภัย ผมก็อยู่ที่นี่ตั้งแต่นั้นเป็ฯต้นมา" รอบิกา ชิงการอง วันย 48 ปี กล่าว เขาบอกว่าไม่เคยรู้สึกว่าพม่าปลอดภัยพอที่จะกลับไปได้

 

รายงานขององค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์เมื่อปี 2009 ระบุว่า การจับกุมโดยไร้เหตุผล การกักขัง การทรมานร่างการ และการบังคับใช้แรงงานเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ชาวชิน ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริวต์ต้องหนีออกนอกประเทศ

 

ในทางกลับกัน งานวิจัยจากสถาบันเพื่อการศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง IPCS ในเดลี ประเทศอินเดีย กลับแย้งว่า ชาวชินที่อาศัยอยู่ในมิโซรัมส่วนใหญ่มาเพื่อโอกาสในทางเศรษฐกิจมากกว่า ในขณะที่เสียงอื่นๆ ต่างบอกว่า นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจาก การกดขี่ทางสังคม การเมือง ศาสนา และเชื้อจาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ด้านองค์การสหประชาชาติจัดอันดับให้รัฐชินเป็นรัฐที่ยากจนที่สุดในพม่า ประชากรอย่างน้อย 73 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนทั้งหมด 5 แสนคนในรัฐชินมีฃีวิตอยู่ย่ำแย่กว่าเส้นแบ่งความยากจน (poverty line) ความไม่มั่นคงทางอาหารเป็นปัญหาร้ายแรงอีกอย่างหนึ่งที่กระทบต่อชาวชินทั้ง 9 ตำบล

 

นอกจากสาเหตุต่างๆ ที่ผลักดันให้ชาวชินต้องอพยพไปยังอินเดียแล้ว ที่อินเดียพวกเขายังต้องเผชิญกับการถูกกระทำและการแบ่งแยกด้วย การไม่มีสถานะทางกฎหมายทำให้หางานยาก เป็นการซ้ำเติมความยากจนที่พวกเขาต้องพบในบ้านเกิดมาแล้ว

 

ตัวเลขที่บิดเบือน

 

[caption id="attachment_6947" align="alignleft" width="490"]chin 3 ชายแดนรัฐชิน - พม่า[/caption]

สถาบัน IPCS พบว่า เจ้าหน้าที่ชายแดนของอินเดียไม่ได้ตรวจสอบการเคลื่อนไหวตามแนวชายแดน ระบบนับจำนวนชาวพม่า ซึ่งขึ้นอยู่กับการอนุญาตชั่วคราว ที่เคยใช้ในเมืองไอซาลก็ถูกยกเลิกไป

 

Hans Friedrich Schodder รักษาการ หน่วยงาน UNHCR ในเดลี ระบุว่า จำนวนชาวชินผู้แสวงหาที่พักพิงที่สมัครมาทาง UNHCR ในเดลี มีจำนวนลดลงเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

 

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยชายแดนในมิโซรัมกระบุว่า คนที่ข้ามชายแดนจากรัฐชินมายังมิโซรัมยังคงมีจำนวนมาก ส่วนใหญ่เชื่อว่ามาหางานทำ

 

ชีวิตในเงามืด

 

ชิงการองอาศัยอยู่ในไอซาล เขาเลี้ยงภรรยาและลูก 3 คนด้วยการขายของข้างทาง ตลอดระยะเวลา 20 กว่าปีที่อาศัยอยู่ในอินเดีย เขาไม่เคยมีอาชีพที่มั่นคง "เมื่อเขารู้ว่าผมมาจากพม่า พวกเขาก็ปฏิเสธ" ได้แต่หาเช้ากินค่ำด้วยรายได้จากการขายของข้างทาง

 

งานวิจัยจาก เครือข่ายกฎหมายสิทธิมนุษยชนในเดลี เมื่อปี 2005 พบว่า ชาวชินส่วนใหญ่กลายเป็นแรงงานราคาถูก อาทิ แม่บ้าน แรงงานก่อสร้างถนน ลูกจ้างในการเกษตร แรงงานเลื่อยไม้ในป่า คนขายผักข้างทาง และหาพืชผัก หน่อไม้ สมุนไพรในป่า และขายของข้างทาง

 

ดิดิม หญิงสาวชาวชินวัย 20 ปี เดินทางมายังมิโซรัมเมื่อปี 2007 เธอได้งานเป็นแม่บ้านให้กับครอบครัวหนึ่งในชุมชนชาวมิโซ เช่นเดียวกับแม่บ้านคนอื่นๆ ในมิโซรัม เธอต้องทำอาหาร ทำความสะอาดอาทิตย?ละ 7 วัน และอาศัยในห้องเล็กๆ ได้รับอนุญาตให้ออกไปจากบ้านเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในโบสถ์วันอาทิคยเท่านั้น ดิดิมบอกว่า บางครั้งครอบครัวนนายจ้างบางคนกไม่จ่ายค่าแรงหรือทำร้ายแม่บ้านก็มี

 

"ถ้าคุณไปร้องเรียนกับตำรวจ พวกเขาจะไม่สงสารคุณ" เธอบอก ชาวชินจำนวนมากกลัวว่าหากติดต่อกับเจ้าหน้าที่แล้ว จะถูกส่งตัวกลับพม่า เพราะไม่มีสถานะทางกฎหมาย

 

ในรายงานเมื่อปี 2011 ซึ่งเป็นการร่วมมือจากองค์กรนานาชาติหลายองค์กรระบุว่า "หญิงชาวชินไม่อยากไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่"

 

โซ ซังบุย ประธานสมาคมสันนิบาตสตรีชินชาว (Women’s League of Chinland) ที่ทำงานในอินเดียและพม่า กล่าวว่า เธอต้องไปเป็นคนติดสินความขัดแย้งระหว่างแม่บ้านชาวชินกับนายจ้างชาวมิโซอยู่บ่อยครั้ง "เราต้องจัดการเรื่องค่าแรงและชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน เพาะผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ต้องการที่จะเสี่ยงไปหาตำรวจ" เธอบอก

 

สำหรับชาวชินที่ทำงานในป่าหรือโรงงาน การบาดเจ็บหมายถึงการขาดรายได้ ซี วัย 19 ปี เปิดเผยว่า ครอบครัวของเธอไม่ได้รับเงินชดเชยหลังจากพี่ชายของเธอ ที่ทำงานเป็นแรงงานแบกไม้ในป่า ได้รับบาดเจ็บที่หลัง "นายจ้างไม่ได้จ่ายเงินค่าแรง เราไปตามเงินเงินไม่ได้เพราะพี่ชายไม่ได้ทำงานกับเขาแล้ว"

 

ช่องโหว่ทางกฎหมาย

 

[caption id="attachment_6949" align="alignleft" width="640"]chin2 ผู้ลี้ภัยชาวชินจำนวนมากเป็นแรงงานก่อสร้าง[/caption]

ชาวชินในมิโซรัมบางส่วนถือบัตรผ่านแดนที่สามาาถอยู่ในอินเดียได้ 1 เดือน แต่บางคนก็ไม่ปฏิบัติตามนั้นและอยู่เกินกว่ากำหนด และพยายามหลบเลี่ยงไม่ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ อยู่ในสถานะที่ IPCS เรียกว่า "ช่องโหว่ทางกฎหมาย"

 

ข้อมูลจากองค์กรผู้ลี้ภัยนานาชาติระบุว่า อินเดียปล่อยให้ผู้ลี้ภัยจากพม่าเข้ามาในประเทศ แต่ไม่มีมาตรการทางกฎหมายรองรับ ทำให้พวกเขาเสี่ยงที่จะถูกทำร้าย แบ่งแยก และการเนรเทศ

 

ผู้ที่ต้องการสมัครเพื่อขอลี้ภัยต้องเดินทางไปยังสำนักงานของ UNHCR ในเดลี ที่อยู่ห่างออกไปถึง 2,200 กม ทั้งนี้ข้อมูลจาก UNHCR ระบุว่ามีชาวชินราว 7,000 คนได้ขึ้นทะเบียนผู้ลี้ภัยในอินเดียเมื่อมี 2013

 

ความตึงเครียดเติมเชื้อไฟแห่งความรุนแรง

 

ความตึงเครียดระหว่างชาวชอนกับชุมชนชาวมิโซดูเหมือนว่าจะทวีความรุนแรงขึ่นเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งในบางคัร้งก็ก่อมห้เกิดความรุนแรง ทำให้สถานะของชาวชินในอินเดียเลวร้าวลงไปอีก "พวกเราถูกกดดันให้กลับประเทศ เพราะคนคิดว่าพม่ามีประชาธิปไตยแล้ว และนั่นหมายความว่า มีความปลอดภัยสำหรับเราแล้วที่จะกลับไป" เดวิด งุน เลียน ประธานคณะกรรมการผู้ลี้ภัยชาวชิน ในเดลี กล่าว

 

ในเมืองไอซาล ชาวมิโซมีความคิดต่อต้านชาวชินมากขึ้น เพราะเห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่าดีขึ้นแล้ว เพาะฉะนั้นชาวชินจึงควรจะกลับประเทศได้แล้ว

 

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2013 กลุ่มผู้ชุมนุมได้เผาทำลายหมู่บ้านไซกุมไพของชาวชิน ที่อยู่ห่างจากชายแดนพม่าเพียง 4 กม. ส่งผลให้บ้านเรือน 40 หลังถูกทำลาย ประชาชน 200 คนต้องหนีตาย ขณะที่สื่อท้องถิ่นและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังศาลยุติธรรมสั่งให้รัฐบาลยุติแผนการส่งกลับชาวชินในหมู่บ้านดังกล่าว ด้านพยานที่เห็นเหตุการณ์และรายงานข่าวระบุว่า การโจมตีครั้งนี้กระทำโดยชาวบ้านจากหมู่บ้านชาวมิโซที่อยู่ใกล้เคียง

 

"ชาวมิโซรัมอิจฉาพวกเรา พวกเขาไม่อยากให้ผู้ลี้ภัยมีอิทธิพล พวกเขาอยากให้เราออกไป" ซาตินคามา วัย 54 ปี ผู้นำในโบสถ์จากหมู่บ้านไซกุมไพ กล่าว

 

"ชาวมิโซเห็นว่า ผู้อพยพจากพม่ามีจำนวนถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในรัฐนี้ และกังวลว่าพวกเขาจะมีมีอำนาจทางการเมือง จึงมีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างรุนแรง "

Mirza Zulfiqur Rahman หนึ่งในผู้เขียนรายงานของ IPCS กล่าว "ความตึงเครียดนำไปสู่ความรุนแรงได้"

 

ขณะที่ชาวชินกล่าวว่า ความลำบากในชีวิตและการต้องเป็นผู้ถูกกระทำนั้นทวีความรุนแรงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เด็กๆ ถูกเพื่อนล้อในโรงเรียน พ่อค้าแม่ค้าไม่มีใครค้าขายด้วยในตลาด "ผู้นำท้องถิ่นและนักการเมืองต่างใช้ชาวชินเป็นแพะรับบาปในทุกเรื่อง" อาทิ กล่าวหาว่าชาวชินมีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตเหล้า ซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมายในมิโซรัม หรือไม่ก็กล่าวหาว่าขนยาเสพติด

 

Lalhmachhuan ประธานสมาคมนักศึกษามิโซ ซึ่งเป็นกระอกเสียงหลักในการต่อต้านชาวชินในอินเดีย ได้ปฏิเสธว่าไม่มีการกดดันให้ชาวชินกลับประเทศ แต่กล่าวว่า "มีผู้ลี้ภัยมีส่วนเกลี่ยวข้องกับการลักลอบค้ายาเสพติด เราต้อวมีการใช้กฎหมายและการควบคุมชายแดนที่ดีกว่านี้ "

 

ผู้ตรวจการตำรวจในเมือง ไอซาลกล่าวว่า มีปัญหาเรื่องการลักลอบค้ายาเสพติดระหว่างชายแดนอินเดียกับพม่าเพิ่มมากขึ้น แต่ผ้ลี้ภัยและชาวบ้านในพื้นที่ก็ถูกกล่าวหาเช่นเดียวกัน "ต้องเพิ่มงานที่สร้างรายได้มากกว่านี้ ผู้ลี้ภัยหรือชาวบ้านในพื้นที่จะได้ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องผิดกฎหมาย"

 

เยียวยาความขัดแย้ง 

 

นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นเมื่อเอนเมษายนที่ผ่านมา กลุ่มของโบสถ์และเอ็นจีโอในพื้นที่ได้พยายามที่จะก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นพี่น้องกันระหว่างชาวชินกับชาวมิโซโดยใช้เรื่องการมีบรรพบุรุษร่วมกันมาเป็นที่ตั้ง ทั้งนี้ มิโซรัมและรัฐชินครั้งหนึ่ง ทั้งสองรัฐเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นชินมาก่อน และชาวมิโซและชาวชินต่างก็เป็นคริสเตียนเหมือนกัน

 

นอกจากนี้ก็ยังมีคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่พยายามสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวของชาวชินในแง่บอก อีกทั้งยังมีการจัดการประชุมระหว่างนักศึกษาชาวชินและมิโซเพื่อเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียว แต่บางส่วนก็กังวลว่าอาจจะจุดชนวนความขัดแย้งขึ้นมาได้ง่ายๆ

 

จากบทความ Analysis: The plight of Myanmar’s Chins in India โดย IRIN


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น