วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

ข่มขืน อาวุธร้ายที่ยัคงงคุกคามในพื้นที่สู้รบ

wlb

ทหารในเครื่องแบบเต็มยศนายหนึ่งเห็นเด็กหญิงวัย 7 ปีที่สวนหน้าบ้าน หลังจากพ่อแม่ของเด็กไปเลี้ยงสัตว์ที่ทุ่งนาในรัฐฉาน ประเทศพม่า เด็กหญิงบอกว่า เขาสั่งให้เธอเข้าไปในกระท่อม "เขาตีหนูและบอกให้หน๔ถอดเสื้อผ้าออก" เด็กหญิงให้ปากคำในห้องพิจารณาคดีที่เต็มไปด้วยผู้คน ด้วยเสียงที่แผ่วเบา ขณะที่หม่องวินทวย ชายที่ถูกกล่าวหา มีสีหน้าเรียบเฉย

 

"จากนั้นเขาก็ข่มขืนหนู"

 

นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิในพม่ากล่าวว่า กองทัพพม่ายังคงใช้การข่มขืนเป็นอาวุธในการทำสงครามในช่วงเวลาเกือบ 3 ปีมานี้ หลังจากรัฐบาลพลเรือนของประธานาธิบดีเต็งเส่งได้ยุติการปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศมากว่าครึ่งศตวรรษ เมื่อวันอังคาร (14 มค) ที่ผ่านมาองค์กรสตรีพม่า Women's League of Burma ได้เผิดตัวรายงานล่าสุดที่มีบันทึกข้อมูลการข่มขืนมากกว่า 100 กรณี เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ของกองกำลังชนกลุ่มน้อย

 

เกือบครึ่งหนึ่งเป็นการข่มขืนหมู่ เหยื่อจำนวนมากเป็นเด็ก มีหญิงจำนวน 28 รายถูกฆ่าหรือเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ติ่น ติ่น โญ เลขาธิการของ WLB กล่าว เธอบอกว่า ความหวังจะให้มีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีน้อยนิด จนกว่ารัฐบาลจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพม่า ซึ่งขณะนี้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังให้สิทธิกองทัพในการจัดการภายในอย่างเป็นอิสระอยู่

 

รายงานดังกล่าวระบุว่า การกระทำส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดน โดยฉพาะรัฐฉาน และรัฐคะฉิ่น ขณะที่ผู้กระทำผิดแทบจะไม่ได้รับการลงโทษ

 

แม้ว่ากองทัพจะส่งต่ออำนาจในการควบคุมบริการประเทศอย่างเป็นทางการไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีอิทธิพลกับรัฐบาลอย่างมาก และยังมีที่นั่นในสภาถึง 1 ใน 4

 

มีเจ้าหน้าที่ไม่กี่คนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเรื่องความรุณแรงทางเพศที่เกิดขึ้น แม้กระทั่งนางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านเองก็ตาม

 

เมื่อเดือนที่แล้ว ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในย่างกุ้ง นางอองซาน ซูจี ถูกถามถึงเรื่องการใช้การข่มขืนเป็นอาวุธในการทำสงครามที่กองทัพไม่ออกมารับผิดชอบ ซึ่งแทนที่นางจะวิพากษ์วิจารณ์นานทหาร แต่กลับบอกว่า กองกำลังของชนกลุ่มน้อยเองก็มีการละเมิดทางเพศเช่นเดียวกัน

 

นางอองซาน ซูจีต้องตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปีหน้า ทว่า กองทัพมีอำนาจที่จะขัดขวางนาง และนางก็ไม่กล้าที่จะวิพากษ์วิจารณ์อะไร

 

ในรายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งเก็บข้อมูลโดยสมาชิก 12 คน ทั่วประเทศ ระบุว่า กรณีส่วนใหญ่กระทำโดยทหารที่มีอาวุธและแต่งเครื่องแบบ ซึ่งมีนายทหารทั้งร้อยเอก ผู้บังคับบัญชา และพันตรี รวมทั้งพลตรีอย่างน้อยหนึ่งคน

 

หลายกรณีที่มีการข่มขืนต่อหน้าสามีหรือคนอื่น เพื่อเป็นการขู่ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าไปสนับสนุนช่วยเหลือกองกำลังชนกลุ่มน้อย

 

"อาชญากรรมที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ฝีมือทหารที่เลว แต่การกระทำที่เกิดขึ้นอย่างเป็ฯระบบและแพร่กระจายบ่งบอกว่าเป็นการกระทำที่มีแบบแผน การข่มขืนยังคงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสู้รบและการกดขี่"

 

รัฐบาลพม่าเห็นว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ตามแนวชายแดนตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กองกำลังชนกลุ่มน้อยต่อสู้เพื่อเอกราชมายาวนาน เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดต่อเผนการเจรจาหยุดยิงทั่วประเทศ นอกจากนี้ ในพื้นที่ดังกล่าวยังมีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลายโครงการ รวมถึงโครงการท่อส่งก๊าซจากรัฐอาระกันไปยังมนฑลยูนนานของจีนด้วย

 

ในรายงานระบุว่า คดีส่วนใหญ่จะไปไม่ถึงชั้นศาล และผู้ถูกกล่าวหามักจะถูกปล่อยตัวไป อย่างไรก็ตามคดีของเด็กหญิงวัย 7 ปี ถือเป็นข้อยกเว้น เพราะนานยทหารหม่องวินทวย ผู้ถูกกล่าวหาข่มขืนถูกสั่งให้ขึ้นศาล

 

ทนายความบรางดี กล่าวว่า พนายคนที่หนึ่งไป้ไปปรากฎตัวที่ศาลแขวงเมืองล่าเสี้ยวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เช่นเดียวกับเด็กหญิงที่เป็นโจทก์ รวมทั้งพ่อแม่ของเด็ก และเพื่อนบ้านจากหมู่บ้านเต่งนี

 

บรางดีกล่าวว่า เจ้าหน้าที่เห็นพ้องต้องกันที่จะใต่สวนหม่องวินทวยในศาลถ้ามีเสียงเรียกร้องจากประชาชน "เราพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อให้มห้ได้การตัดสินที่เป็นธรรม" เขากล่าว

 

จาก Group Says Myanmar Army Uses Rape as Weapon of War
YANGON, Myanmar January 15, 2014 (AP)



รายงาน http://womenofburma.org/same-impunity-same-pattern-report-of-systematic-sexual-violence-in-burmas-ethnic-areas

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น