วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

"มิตรภาพที่กลับคืน" หลังเหตุนองเลือดทางศาสนาในเม็กทีลา

[caption id="attachment_7542" align="aligncenter" width="640"]ธิดาละ กับ นิน อี้ ผิ่ว ลูกสาว (ภาพจาก CNN) ธิดาละ กับ นิน อี้ ผิ่ว ลูกสาว (ภาพจาก CNN)[/caption]

เม็กทีลา ประเทศพม่า - นิน อี้ ผิ่ว ควบมอเตอร์ไซค์เข้าไปในเมืองเพื่อจะไปทานอาหารเย็นกับเพื่อนๆ ชาวพุทธ และกลับไปเรียนหนังสือต่อในมหาวิทยาลัยในพื้นที่

ชีวิตของสาวชาวมุสลิมวัย 20 ปีผู้นี้ต้องเปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ชีวิตของเธอต้องล่มสลายเพราะเหตุการณ์ความรุณแรงระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมในเมืองเม็กทีลา บ้านเกิดของเธอ ที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางของพม่า ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 40 ชีวิตและทำให้คนต้องกลายเป็นคนไร้บ้านอีกหลายพันคน

ครอบครัวของ นิน อี้ ผิ่ว ต้องหนีเอาชีวิตรอดในช่วง 3 วันแรกที่เกิดจลาจล ไปอยู่ที่สนามกีฬาใกล้ๆ เป็นเวลามากกว่าหนึ่งเดือน
วันเกิดเหตุ

[caption id="attachment_7543" align="aligncenter" width="640"]ถนนย่านที่ธิดาละ และนิน อี้ ผิ่ว อาศัยอยู่ ไม่มีตำรวจมาคอยเฝ้าแล้ว(ภาพจาก CNN) ถนนย่านที่ธิดาละ และนิน อี้ ผิ่ว อาศัยอยู่ ไม่มีตำรวจมาคอยเฝ้าแล้ว(ภาพจาก CNN)[/caption]

ในช่วงที่เกิดเหตุปะทะกัน ซึ่งมีรายงานว่าเกิดขึ้นหลังจากมีการวิวาทระหว่างเจ้าของร้านทองชาวมุสลิมและแม่ค้าที่เป็นชาวพุทธ ผู้ก่อเหตุความรุนแรงได้จุดไฟเผาบ้านเรือน โรงเรียน และมัสยิตหลายแห่ง มีชาวบ้านถูกทุบตี ถูกราดด้วยน้ำมันและจุดไฟเผา

ชาวมุสลิมในเม็กทีลามีจำนวนมากกว่า และได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก โดยในช่วงระยะเวลามากกว่าหนึ่งเดือน ชาวมุสลิม(ถ้ามี) หลงเหลืออยู่ในบ้านเรือนของตัวเองเพียงไม่กี่คน เพราะส่วนใหญ่บ้านเรือนถูกทำลายไปหมดแล้ว ส่วนใหญ่รู้สึกไม่ปลอดภัยที่อยู่ในบ้าน

ครอบครัวของ นิน อี้ ผิ่ว เป็นหนึ่งในชาวมุสลิมกลุ่มแรกที่ได้กลับบ้านหลังเหตุรุนแรง ซึ่งบ้านของพวกเขายังอยู่ ในขณะที่บ้านคนส่วนใหญ่ถูกทำลาย

[caption id="attachment_7544" align="aligncenter" width="640"]การก่อสร้างบ้านใหม่ทดแทนที่ถูกทำลายในย่านเอชานตะยา (ภาพจาก CNN) การก่อสร้างบ้านใหม่ทดแทนที่ถูกทำลายในย่านเอชานตะยา (ภาพจาก CNN)[/caption]

ในช่วงที่ชาวมุสลิมบางส่วนกลับเข้าไปอยู่ในบ้านเรือนของตัวเองเหมือนเดิมนั้น การสัมภาษณ์ชาวบ้านหลายคนในเมืองทำให้ทราบว่า ความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างเพื่อนบ้านชาวมุสลิมกับชาวพุทธได้สูญสิ้นไปแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้เข้ามาประจำการตามถนนหนทางที่พื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาถูกโจมตี

มหาวิทยาลัยของ นิน อี้ ผิ่ว ต้องปิดตัวลง เธอไม่ได้ติดต่อกับเพื่อนๆ ที่เป็นชาวพุทธอีก และไม่ได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ให้ออกไปไกลบ้าน

กว่าหนึ่งปีผ่านไป การเดินทางกลับเข้าไปในเมืองอีกครั้งทำให้ทราบว่า แม้จะมีซากความรุนแรงให้เห็นบ้าง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมก็เริ่มดีขึ้น

"เรากลับมาสนิทกันอีกครั้ง" นิน อี้ ผิ่ว พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับเพื่อนชาวพุทธ "เราใช่เวลาร่วมกันหลังเลิกเรียนและชอบทำอะไรด้วยกัน ทั้งคุยเรื่องหนังหรือทานข้าวด้วยกัน"

[caption id="attachment_7547" align="aligncenter" width="640"]ชาวมุสลิมที่กลายเป็ฯคนไร้บ้านจากเหตุจลาจลจำนวนมากยังคงอาศัยอยู่ในเพิงไม้ไผ่อย่างยากลำบาก (ภาพจาก CNN) ชาวมุสลิมที่กลายเป็ฯคนไร้บ้านจากเหตุจลาจลจำนวนมากยังคงอาศัยอยู่ในเพิงไม้ไผ่อย่างยากลำบาก (ภาพจาก CNN)[/caption]

 

เวลาเยียวยาบาดแผล

ความไม่เชื่อใจของ ธิดา ละ แม่ของ นิน อี้ ผิ่ว ค่อยๆ จางหายกลายเป็นมิตรภาพ "เวลาได้เยียวยาบาดแผลไปมากแล้ว" เธอกล่าว ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาประจำการบนถนนที่เธออาศัยอยู่อีกต่อไป ครอบครัวของเธอก็สามารถเดินทางไปได้ทุกที่ในเมืองโดยไม่ต้องกลัวอีกต่อไป

ทว่า ทัศนคติที่เปลี่ยนไปแล่วเช่นนี้ เกิดขึ้นในกลุ่มตรงข้ามเช่นเดียวกัน

เมื่อปีที่แล้ว อู อ่อง ขิ่น ชายชาวพุทธวัย 50 ปี บอกผมว่า เขาเลิกพูดกับเพื่อนๆ ที่เป็นชาวมุสลิมแล้วและเลิกไปร้านขายเนื้อของชาวมุสลิม เพราะกลัวว่าจะถูกวางยาพิษในอาหาร "ตอนนี้ผมไปร้านเน้อของชาวมุสลิมแลความสัมพันธ์กับชาวมุสลิมก็กลับมาเป็นปกติแล้ว"

[caption id="attachment_7545" align="aligncenter" width="640"]งบประมาณการก่อสร้างบ้านใหม่ทดแทนอาจสูงกว่า 6 ล้านดอลาร์ (ภาพจาก CNN) งบประมาณการก่อสร้างบ้านใหม่ทดแทนอาจสูงกว่า 6 ล้านดอลาร์ (ภาพจาก CNN)[/caption]

 

ซาน วิน เชง ชาวมุสลิม รองประธานสมาคมเอกภาพและความเจริญ ซึ่งเป็นองค์กรในท้องที่ กล่าวว่า ประชาชนยังไม่ลืมเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น แต่รู้ดีว่า ผู้ร้ายที่อยู่เบื้องหลังการจลาจลไม่ใช่เพื่อนบ้านของพวกเขา

เขากล่าวโทษไปที่กลุ่มหัวรุนแรง โดยบอกว่า เมื่อกลุ่มม็อบที่เต็มไปด้วยความโกรธแค้นถูกแบ่งแยกด้วยความศรัทธาที่แตกต่างกัน ประชาชนธรรมดาที่อยู่อย่างสงบจะคล้อยตามสถานการณ์และเกิดอารมณ์ร่วมได้ เขายังกล่าวโทษไปถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ไม่ได้เข้ามาระงับเหตุได้ทันท่วงที ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วไม่หยุดจนกระทั่ง ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ออกแถลงกาณ์สภาวะฉุกเฉิน และเรียกกำลังทหารเข้ามาช่วยหลังจากเกิดเหตุไปแล้ว 3 วัน

ผู้นำของสมาคมเอกภาพและความเจริญระบุว่า ทัศนคติของคนบางคนอาจไม่สามารถเปลี่ยนปแลงได้ แต่ก็ยืนยันว่ามีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น "ภายในเวลาเพียง 6 เดือน ผู้คนก็กลับมาเป็นเพื่อนกันอีกครั้ง" ขิ่น โซ ชายชาวพุทธ กล่าว เขาบอกว่า เขามีความคิดในเชิงบวกว่า ชุมชนแห่งนี้จะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงซ้ำรอยเดิมได้ "ดังนั้น ผู้คนเหล่านี้ได้อาศัยอยู่ร่วมกันมานานหลายปี และเป็นมิตรต่อกันมานานหลายปีแล้ว" เขากล่าว

ทั้งนี้สมาคมดังกล่าวได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2013 โดยเป็นการรวมกลุ่มกันระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมในชุมชน โดยในช่วง 8 เดือนของการรณรงค์ พวกเขาได้จัดทำเสื้อยืด หมวก และสติ๊กเกอร์ ที่มีถ้อยคำว่า ที่แปลออกมาได้ว่า "ไม่มีเหตุรุนแรงทางศาสนาเพราะฉัน"

 

ชีวิตที่ถูกข่มเหง

มิตรภาพที่กลับมาอีกครั้งระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมในเม็กทีลานั้นค่อนข้างที่จะแตกต่างจากสถานการณ์ของชาวโรฮิงยาและชาวยะไข่ในรัฐยะไข่ ที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของพม่า ชาวโรฮิงยาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่ข่มเหงทางศาสนามาเป็นเวลายาวนาน และถูกปฏิเสธการเป็นพลเมืองของประเทศ โดยปกติแล้วไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากรัฐยะไข่

[caption id="attachment_7546" align="aligncenter" width="640"]เงินงบประมาณก่อสร้างที่กำลังระดมทุน ส่วนใหญ่มาจากชาวมุสลิมในย่างกุ้ง (ภาพจาก CNN) เงินงบประมาณก่อสร้างที่กำลังระดมทุน ส่วนใหญ่มาจากชาวมุสลิมในย่างกุ้ง (ภาพจาก CNN)[/caption]

แตกต่างจากเม็กทีลาที่ชาวพุทธกับชาวมุสลิมอยู่ร่วมกัน ในรัฐยะไข่นั้น ชาวโรฮิงยาอาศัยอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่แยกออกไป ซึ่งกว่า 140,000 คนอาศัยอยู่ในค่ายพักพิงชั่วคราวหลังจากที่บ้านเรือนถูกทำลายในเหตุจลาจลเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีงิตไปจำนวนหลายร้อยคน
ชาวโรฮิงยาอาศัยอยู่ในประเทศพม่ามาหลายชั่วอายุคน โดยเดินทางมาจากประเทศอินเดียในช่วงที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ในขณะที่ประชาชนเชื้อสายพม่ามองว่าชาวโรฮิงยาเป็นผู้ที่ลักลอบเข้าประเทศมาโดยผิดกฎหมายจากพื้นที่ประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน โดยปฏิเสธที่จะเรียกพวกเขาว่าชาวโรฮิงยา และใช้คำว่าเบงกาลี แทน

 

แต่ในเม็กทีลา พื้นที่ที่มิตรภาพระหว่างชาวพุทธกับชางมุสลิมกำลังถูกสร้างขึ้นใหม่ หลายส่วนของเมืองยังมีความเสียหาย ในย่านตีริมิงกลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่นั้น หลายจุดที่เคยเป็นบ้านและที่ค้าขายเหลือแค่เศษหินและฝุ่น มีชาวบ้านไม่กี่คน ที่พอมีฐานะ ได้เริ่มสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่

 

คืนชีวิตใหม่

พื้นที่จุดเดียวที่มีการก่อสร้างในเมืองคือย่านชานเอตะยา บ้านเรือนทั้งหมด 760 หลังคาเรือนถูกทำลายทุกหลัง ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่นี่เป็นครอบครัวชาวมุสลิม เริ่มมีการก่อสร้างบ้านกว่า 350 หลังแล้ว "ผมต้องการนำครอบครัวเหล่าที่สูญเสียบ้านเหล่านั้นมาอยู่ที่บ้านหลังใหม่ที่นี่" อู มิ้นท์ ทวย หัวหน้าโครงการก่อสร้างกล่าว ของบอกว่า พวกเขากำลังสร้างบ้านให้ทั้งชาวมุสลิม ชาวพุทธ ชาวคริสต์ และชาวฮินดูอยู่

[caption id="attachment_7548" align="aligncenter" width="640"]ชาวบ้านถูกสถานการณ์บีบคั้นให้ต้องอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ มีเพียงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน (ภาพจาก CNN) ชาวบ้านถูกสถานการณ์บีบคั้นให้ต้องอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ มีเพียงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน (ภาพจาก CNN)[/caption]

เขากล่าวว่า รัฐบาลได้ให้งบประมาณในการก่อสร้างถนน ท่อประปาและสายไฟ แต่ยังต้องการงบประมาณก่อสร้างบ้านประมาณ 6 ล้านดอลลาร์ต้องขอจากเอกชนต่างหาก

ผู้บริจาคส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมที่อยู่ในย่างกุ้ง เมืองหลวงทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในพม่า MM Raunat Group ที่มีความเกี่ยวข้องกับมัสยิตแห่งหนึ่งในย่างกุ้งกำลังจัดการเรื่องการระดมทุนและการก่อสร้างอาคารใหม่ในย่าน ชานเอตะยา แต่อู มิ้นท์ ทวย กล่าวว่า ยังระดมทุนได้แค่ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ต้องการ และยังไม่รู้ว่าโครงการก่อสร้างจะสำเร็จเมื่อไหร่

 

กลับบ้าน

นวย นวย อู เป็นหนึ่งในชาวบ้านในย่านชานเอตะยา ที่หวังว่าจะได้กลับบ้าน "ฉันคิดอยู่เสมอ" เธอบอก "จนถึงกับร้องไห้"

เธอเป็นหนึ่งใน 5 พันคนที่ยังคงอาศัยอยู่ในที่พักชั่วคราว นวย นวย อู อาศัยอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นที่พักสำหรับชาวมุสลิม อยู่ห่างจากเมืองเม็กทีลาราว 22.5 กิโลเมตร เธอกับสามี และลูกอีก 2 คน วัย 12 ปีและ 14 ปี อาศัยอยู่ในเพิงไม้ไผ่ขนาด 15 x 20 ฟุต โดยไม่มีน้ำประปามามากกว่า 1 ปีแล้ว พวกเขาต้องใช้เวลาสองสามนาทีเพื่อเดินไปใช้ห้องน้ำที่ใกล้ที่สุดและอาบน้ำ

[caption id="attachment_7549" align="aligncenter" width="640"]น้ากำลังป้อนอาหารหลานวัย   3 เดือน (ภาพจาก CNN) น้ากำลังป้อนอาหารหลานวัย 3 เดือน (ภาพจาก CNN)[/caption]

เธอหุงหาอาหารสำหรับครอบครัวอยู่โดยใช้เตาถ่าน ซึ่งตั้งอยู่เป็นแถวในค่ายพักพิง แม้ว่าจะลำบอก แต่เธอก็รู้สึกขอบคุณที่ได้อยู่ที่นี่ "ฉันรู้สึกขอบคุณที่มีที่ที่ปลอดภัยให้อยู่" เธอกล่าว

ความทรงจำเหี่ยวกับเหตุการณ์จลาจลแม้ยังไม่จางหาย แต่ชาวบ้านที่ที่หลายคนต่างก็คิดในแง่ดี เกี่ยวกับทิศทางที่สิ่งต่างๆ กำลังดำเนินไป

เมือปีที่แล้ว พวกเขาเคยพูดถึงแต่ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจและสัมพันธภาพที่แตกสลาย แต่วันนี้ คนเหล่านั้นกำลังพูดถึงการสร้างเมืองขึ้นมาใหม่และการคืนสู่มิตรภาพที่ดีระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมอีกครั้ง ในขณะเดียวกันก็หวังว่า กลุ่มหัวรุนแรงจะไม่หาทางที่จะสร้างความแตกแยกให้กับชุมชนแห่งนี้อีก

 

[caption id="attachment_7550" align="aligncenter" width="640"]เตาสำหรับทำอาหารในค่ายพักพิง (ภาพจาก CNN) เตาสำหรับทำอาหารในค่ายพักพิง (ภาพจาก CNN)[/caption]

[caption id="attachment_7541" align="aligncenter" width="640"]ชาวบ้านหลายร้อยคนต้องใช้ห้องน้ำและที่อาบน้ำอย่างจำกัด (ภาพจาก CNN) ชาวบ้านหลายร้อยคนต้องใช้ห้องน้ำและที่อาบน้ำที่มีอย่างจำกัด (ภาพจาก CNN)[/caption]

-------------------------------------------
จาก Myanmar city forgives but doesn't forget sectarian violence
By David Grunebaum, for CNN
June 10, 2014 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น