วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

มาลาเรีย ภัยไร้พรมแดน

Caribbean Mosquito Virus

เมื่อดอว์ โช โช วัย 50 ปีไข้ขึ้นสูง เธอก็ทำการรักษาเหมือนที่เธอเคยทำเมื่อครั้งเป็นมาลาเรียครั้งล่าสุด เธอไม่ได้ใช้ยาจากในหมู่บ้านอย่างพร่ำเพรื่อ แต่เดินทางจากหมู่บ้านในพม่าข้ามมารักษาที่คลินิกตรงชายแดนฝั่งไทย เมื่อ 7 ปีที่แล้วเธอหายจากมาลาเรียภายในเวลาแค่วันเดียว แต่ครั้งนี้กลับใช้เวลายาวนานกว่านั้นมาก

ยาได้ฆ่าเชื้อในกระแสเลือดของดอว์ โช โช ภายใน 3 วัน เธอจึงรู้สึกดีขึ้น และหายจากอาการป่วย แต่หนึ่งเดือนให้หลัง มาลาเรียก็กลับมาอีกครั้ง ยาที่เธอใช้ไม่สามารถทำลายเชื้อโรคได้ทุกตัว ซึ่งในขณะนี้มันเพิ่มจำนวนและกำลังแพร่กระจายอยู่ในกระแสเลือด

ดอว์ โช โช เป็นหนึ่งในอีกหลายพันคนที่ติดเชื้อที่ดื้อยา ซึ่งอาจมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของมาลาเรียที่เกิดขึ้นในชายแดนไทย-พม่า โรคมาลาเรียที่ติดต่อกันโดยมียุงเป็นพาหะนำโรคเกิดการดื้อยาเนื่องจากการใช้ยาปลอมและการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง

หัวหน้านักวิจัยจาก Shoklo Malaria Research Unit (SMRU) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยที่ตั้งอยู่ที่ชายแดนและได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิ Wellcome Trust กำลังพยายามหาวิธีหยุดการแพร่เชื้อสายพันธุ์ใหม่ก่อนที่มันจะไม่สามารถควบคุมได้ ดร.ฟรองซัว นอสเต็น ผู้อำนวยการ SMRU ได้ศึกษาเกี่ยวกับมาลาเรียบริเวณชายแดนมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ซึ่งใกล้กับพื้นที่ที่เริ่มมีการดื้อยาเกิดขึ้น เขาเชื่อว่า การที่จะหยุดไม่ให้เชื้อแพร่เข้าสู่อินเดีย จากอินเดียเข้าสู่อัฟริกา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบการระบาดของเชื้อมาลาเรียมากที่สุดในโลกนั้น จำเป็นต้องไล่ล่าเชื้อมาลาเรียในบริเวณป่าของพม่าและทำการป้องกันก่อนที่เกิดอาการป่วย

"ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย คิดว่าเรารู้ดีว่าจะเกิดอะไนขึ้น" ดร.ฟรองซัว กล่าว เขาอธิบายว่า ในขณะที่อัตราผู้ป่วยมาลาเรียลดลง แต่เชื้อที่แข็งแรงที่สุดและดื้ยามากที่สุดยังอยู่และแพร่กระจาย "มันเกิดขึ้นเสมอ ในอดีต ไม่ต้องคิดเลยว่า ครั้งนี้มันจะไม่เหมือนเดิม"

ระดับการดื้อยาดร.ฟรองซัวและนักวิทยาศาสตร์ได้ออกมากล่าวนั้น ตรงข้ามกับการปรากฏของเชื้อในมนุษย์ในช่วงเริ่มแรก มันมีลักษณะเหมือนกับมาลาเรียทั่วไป แต่รักษายากกว่า เชื้อค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และแพร่กระจาย จากนั้นก็ปะทุ

"มันต่อต้านทุกอย่าง ทั้งยารักษา และยาฆ่าเชื้อแบ็คทีเรีย จึงทำให้มันเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ" ศาสตราจารย์ นิค ไวท์ จาก Oxford Tropical Medicine Research Programme ที่ทำงานกัน ดร.ฟรองซัว กล่าว "มันดูเหมือนจะไม่เพิ่มขึ้นไปช่วงหนึ่ง แต่หลังจากนั้นมันก็เพิ่มขึ้น"

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ใหม่กล่าวว่า รู้สึกไม่ต่างจากมาลาเรียเดิมที่สามารถรักษาได้ภายในวันเดียวโดยใช้สารต้านเชื้อมาลาเรียอาติมิซินินร่วมกับการรักษาอื่นๆ แบบเมือไม่กี่ปีที่ผ่านมา สำหรับปัจจุบัน เชื้อมาลาเรียไม่ได้ก่อให้เกิดอาการใหม่ หรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ แต่มันถูกทำลายได้ยากมากกว่าเดิม

ลูกชายวัย 9 ขวบของ ยีตอง ติดเชื้อมาลาเรีย ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเชื้อที่ดื้อยา เธอกล่าวว่า เขาฟื้นตัวได้ช้า แต่ก็ยังกินอะไรไม่ค่อยได้

ผู้ป่วยเหล่านี้เป็นหนึ่งในจำนวนผู้ป่วยอีกหลายพันคนที่เข้าร่วมโครงการที่มีการตรวจเลือดเป็นเวลา 9 สัปดาห์ คลิกนิกของ SMRU ได้จ่ายค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากการที่พวกเขาต้องสูญเสียรายได้ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องเข้ามาตรวจเลือดทุกสัปดาห์

จำนวนผู้ป่วยมาลาเรียในภูมิภาคนี้ได้ลดจำนวนลงอย่างมากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ ดร.ฟรองซัวและทีมงานได้เริ่มดำเนินการกักกันและกำจัดโรค ในช่วงแรกๆ ที่เขาเข้ามาเปิดคลินิกที่ชายแดนแห่งนี้ใหม่ๆ มาลาเรียเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนเสียชีวิต ซึ่งฤดูฝนในแต่ละปีจะมีผู้ติดเชื้อมาลาเรียนับหมื่นคน แต่ปัจจุบัน ลดลงเหลือแค่ไม่กี่พันคนในแต่ละปี แต่เชื้อที่ยังคงพบนั้นร้ายแรงกว่าเดิม ซึ่งต่อต้านยาที่ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่าเป็นยามหัศจรรย์ได้

สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกเป็นการเตือนว่า ยาต้านเชื้อมาลาเรียกำลังหมดประสิทธิภาพในการรักษา ข้อมูงจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี 2012 มีผู้ป่วยมาลาเรีย 207 ล้านคน ซึ่งเสียชีวิตไปมากกว่า 6 แสนคน โดยอัตราการระบาดของมาลาเรียลดลง 25 % ในช่วงปี 2000-2012 ขณะที่สถาบัน Institute for Health Metrics and Evaluation ซึ่งใช้วิธีการนับจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมาลาเรียที่ต่างกันกลับระบุว่า อัตราการเสียชีวิตจากมาลาเรียทั่วโลกมากกว่าที่องค์การอนามัยโลกระบุถึงสองเท่าตัว

อีกกรณีหนึ่งคือ เชื้อมาลาเรียได้ลดจำนวนลงในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แต่เชื้อที่หลงเหลือนั้นอันตรายกว่าเดิมมาก

"มันเป็นเรื่องฉุกเฉิน ทุกคนใช้เวลาในที่ประชุม ให้คำแนะนำ แต่ไม่ได้ลงมือทำอย่างรวดเร็วพอ" เขากล่าว "ดูเหมือนว่า ในเวลานี้เรากำลังจะแพ้"

การแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียที่ดื้อยากำลังเริ่มขยายตัวไปทางตะวันตก มีผู้ติดเชื้อมาลาเรียลุกลามไปทางตะวันตกของพม่ามากขึ้น และอาจจะเข้าสู่บังกลาเทศ หากเป็นเช่นนั้น ประวัติศาสตร์ก็จะซ้ำรอย เพราะมันสามาาถลุกลามเข้าไปยังอินเดีย จากนั้นก็ไปต่อยังอัฟริกา ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่วเคยเกิดขึ้นมาแล้วถึง 2 ครั้ง โดยที่ยาที่ดีที่สุดและแม้แต่นักวิจัยที่เชี่ยวชาญที่สุดอย่างดร.ฟรองซัวต่างกลัวว่า มันจะเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 3

อย่างไรก็ตามเมื่อช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา ทีมงานของดร .ฟรองซัว ที่ได้รับการสนุบสนุนจากกองทุนโลกและองค์กรอื่นๆ ได้ดำเนินการต่อต้านโรคมาลาเรียในพม่า โดยจะมีการก่อสร้างสถานีอนามัยในหมู่บ้านกว่า 800 แห่งในพม่า เพื่อรักษาผู้ป่วยและให้ยาป้องกันชาวบ้านในหมู่บ้านทั้งหมดที่มีอัตราการติดเชื้อมาลาเรียสูง เขาเชื่อว่าการควบคุมโรคนั้นเป็นไปอย่างจำกัด แม้ว่าอัตราการเกิดโรคมาลาเรียจะลดลงมากแล้วก็ตาม การกำจัดโรคมาลาเรียให้หมดไปเป็นสิ่งที่จำเป็นในตอนนี้

ยาต้านเชื้อมาลาเรียอาติมิซินินมีผลข้างเคียงอยู่บ้าง และผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้ยาแค่ฆ่าเชื้อมาลาเรียเป็นเวลา 3 วัน แผนการของ ดร.ฟรองซัวเริ่มมีการต่อต้าน ทว่า เวลาและทางเลือกเริ่มเหลือน้อยลงแล้ว

"ตอนนี้มันเริ่มแพร่กระจายจากชายแดนเข้าสู่ในประเทศแล้ว เราควรจะดำเนินการให้สำเร็จตั้งแต่ 3 หรือ 4 ปีมาแล้ว ตอนนีผมกลัวว่า มันจะสายเกินไปแล้ว"

 

จาก New wave of drug-resistant malaria threatens millions
โดย Kathleen E McLaughlin
The Guardian  5 มิถุนายน 2557


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น