วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

26 ปีหลังยึดอำนาจ พม่ายังอยู่ใต้บู๊ททหาร

[caption id="attachment_7906" align="aligncenter" width="620"]AFP AFP[/caption]

เมื่อ 26 ปีที่แล้ว หลังจากกองทัพพม่ากระทำการรัฐประหารเข้ายึดอำนาจได้ไม่นาน ผมได้ไปรวมตัวกับเพื่อนๆ ที่ร้านน้ำชาที่ปิดแล้วแห่งหนึ่งในใจกลางเมืองย่างกุ้ง ในขณะที่เราคุยกันอยู่นั้น ผมก็เห็นรถบรรทุกที่เต็มไปด้วยทหารแล่นไปมาบนถนนหนทาง ผ่านร่างของผู้ประท้วงที่ปราศจากอาวุธ ที่ยังคงนอนเกลื่อนอยู่บนถนนหลังจากถูกยิงเสียชีวิตก่อนหน้านี้ในวันนั้น หรือไม่ก็เมื่อคืนที่ผ่านมา

ข้างนอกนั้น กระสุนปืนถูกลั่นไกไปยังชายหนุ่มคนหนึ่งผู้ที่กล้าท้าทายทหารและชูกำปั้นขึ้น ภายในร้าน พวกเราต่างรีบหมอบลงที่พื้น

บรรดานายพลที่เข้ายึดอำนาจในวันนั้นสามารถกุมอำนาจในการกดขี่ข่มเหงประชาชนไว้ได้นานกว่า 2 ทศวรรษ นายพลเหล่านั้นคือคนกลุ่มเดียวกันที่ได้วางแผนไว้อย่างรอบคอบในการเปิดประเทศและเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองไปสู่รัฐบาลพลเรือน หลังจากได้กำหนดบทบาทตัวเองไว้แล้วในรัฐบาลชุดใหม่จากการเลือกตั้งเมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา

หลังจากที่ผมได้กลับมาที่ประเทศพม่าเป็นครั้งแรกในปี 2012 นับตั้งแต่ปี 1988 ที่จากมา ผมสังเกตเห็นได้ทันทีว่า การเปลี่ยนแปลงในพม่าที่หลายฝ่ายต่างยกย่องกันนั้น ยังคงเป็นกองทัพชุดเดิมและนักการเมืองคนเก่าๆ ที่มีอำนาจในการควบคุมทางการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่งคั่ง นายพลและอดีตนายพลยังคงเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ และยังคงเป็นผู้กำหนดว่า ประชาชนชาวพม่า ฝ่ายค่าน นักเคลื่อนไหว และสื่อควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร

เราไม่จำเป็นต้องใช้นักวิเคราะห์จากนานาชาติ สหประชาชาติ หรือ องค์กรที่เป็นผู้บริจาครายใหญ่ มาประเมินสถานการณ์และทำรายงานวิเคราะห์เจตนารมณ์ของรัฐบาลชุดนี้ เพราะสำหรับหลายคนที่พากษ์วิจารณ์กองทัพมายาวนานนั้น มันก็ชัดเจนอยู่แล้ว

แม้ว่าประธานาธิบดีเต็งเส่งจะกล่าวในการปราศัยว่า เขายินดีต้อนรับชาวพม่าที่อาศัยอยู่นอกประเทศให้กลับมาพัฒนาประเทศ แต่เราก็พบกับตัวเองว่า ความจริงนั้นมันแตกต่างและตำพูดของเขาก็ไม่มีความจริงใจ

[caption id="attachment_7907" align="aligncenter" width="785"]การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าเมื่อปี 1988 การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าเมื่อปี 1988[/caption]

ทุกวันนี้แม้แต่การเข้าพม่าก็เริ่มที่จะยากแล้ว ชาวพม่าที่อาศัยอยู่นอกประเทศ นักเคลื่อนไหว และนักข่าวเริ่มมีปัญหาในการขอวีซ่า ในขณะที่คนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลชุดปัจจุบันก็เสี่ยงที่จะถูกเนรเทศออกนอกประเทศหรือห้ามไม่ให้เข้าประเทศ

แต่อีกด้านหนึ่ง ชาวพม่าที่อาศัยอยู่นอกประเทศ ที่ส่งสัญญาณว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ไม่แตะต้องการวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อ หรือทำการเคลื่อน ไหว ก็สามารถร่วมมือกับรัฐบาลได้ โดยเฉพาะผ่านทางการทำธุรกิจหรือโครงการพัฒนาต่างๆ โดยรัฐบาลที่นำมาซึ่งเงินบริจาค

แต่สำหรับผู้ที่ต้องการขุดคุ้ยเรื่องความผิดของรัฐบาล ต่อสู้กับการละเมิดสิทธิ และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะพบว่า รัฐบาลไม่ได้ต้อนรับคนเหล่านั้นเท่าไหร่

แม้ว่าการคุมเข้มสื่อตามแบบของรัฐบาลเผด็จการทหารจะถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา สื่อมวลพม่าชนนอกประเทศอย่างพวกเราที่ตัดสินใจนำทักษะ ประสบการณ์ และองค์กรสื่อกลับมาในประเทศของเรา แต่กลับพบว่ายังเป็นเรื่องยาก เพราะเรายังคงรายงานแบบวิเคราะห์วิจารณ์อยู่

รัฐมนตรีกระทรวงข่าวสาร ภายใต้การควบคุมของนายเย ทุต ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งนั้น เต็มไปด้วยเจ้าหน้าที่ที่เป็นอดีตนายทหาร ซึ่งกำลังพยายามปิดกั้นเสรีภาพของสื่อและกระจายข่าวของรัฐบาลผ่านสื่อที่ควบคุมโดยรัฐ มากพอๆ กับยุครัฐบาลทหารชุดเดิม

ด้วยทรัพยากรที่มีมากมายของรัฐ กระทรวงข่าวสารมีแผนที่จะเปลี่ยนหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ของรัฐ ซึ่งเคยเป็นเครื่องมือกระจายโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลเผด็จการ ให้กลายเป็นสื่อที่ดูคล้าย "สื่อสาธารณะ" รัฐบาลอาจมีเป้าหมายที่จะกำจัดและตัดราคา
สื่ออิสระทั้งหลายก็เป็นได้

ตอนนี้ดูเหมือนว่า สื่อวิทยุและโทรทัศน์สาธารณะไม่ได้เป็นอิสระจากรัฐบาลเท่าไหร่ โดยนายเย ทุต ชี้ให้เห็นว่า พม่าจะหลายเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ยังคงมีหนังสือพิมพ์ของรัฐอยู่

"เราจะสร้างสื่อ(สิ่งพิมพ์)บริการสาธารณะ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสิ่งพิมพ์ การเข้าถึงสื่อดิจิตอลยังคงต่ำ เราจะทำให้เป็นผลสำเร็จ" นายเย ทุต กล่าวในการประชุมเรื่องการพัฒนาสื่อในพม่าครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นในย่างกุ้งเมื่อวันพฤหัสบดี(17 กย)ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักเคลื่อนไหว นักข่าว และชาวพม่านอกประเทศที่กลับประเทศแล้ว ที่จะต้องจดจำการกดขี่ข่มเห่งที่เกิดขึ้นมายาวนานหลายทศวรรษในอดีต และวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลต่อไปโดยไม่หลับหูหลับตาเชื่ออย่างไม่มีสติ

วิน ติ่น นักข่าวอาวุโสท่านและเป็นนักเคลื่อนไหวผู้ล่วงลับไปแล้วเคยบอกกับทุกคนว่า " ผมไม่เชื่อใจรัฐบาลชุดนี้" จริงๆ แล้ว นักข่าวไม่ได้มีหน้าที่เพื่อมาเชื่อใจรัฐบาล  โดยเฉพาะรัฐบาลที่เต็มไปด้วยอดีตนายทหารที่ไม่เคยแม้จะออกมาขอโทษที่ได้ใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมเพื่อประชาธิปไตยเมื่อ 26 ปีที่แล้ว

แปลจาก 26 Years After Coup, Military Still in the Driving Seat on Road to Reform โดย AUNG ZAW / THE IRRAWADDDY
18 กันยายน 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น