วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อวสานสื่อพม่านอกประเทศ

การกลับบ้านของสื่อพม่านอกประเทศเป็นสัญญาณที่ชัดเจนอย่างหนึ่งที่แสดงให้ว่าบรรยากาศแวดวงสื่อในพม่ากำลังพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน สื่อนอกประเทศก็กำลังประสบปัญหาการลดเงินสนับสนุนของแหล่งทุนต่างประเทศตามมาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ นักข่าวต่างก็กลัวว่าจะสูญเสียอิสรภาพในการนำเสนอเหมือนที่เคยทำได้ในช่วงที่อยู่นอกประเทศ

 

หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในคุกเป็นเวลา 8 ปีโทษฐานตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ใต้ดินที่มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหาร จ่อซวาโมได้หนีออกนอกประเทศพม่าเดินทางไปยังประเทศไทยเมื่อปี 2000 จากนั้นเขาก็ได้กลับมาเขียนงานวิพากษ์วิจารณ์รัฐบ่าลพม่าอีกครั้งในฐานะสื่อนอกประเทศในนิตยสาร อิระวดี ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1992 โดยพี่ชายคนโตของเขา

 

ปัจจุบันจ่อซวาโมต้องดูแลสำนักงานนิตยสารอิรวดีทั้งในประเทศไทยและในย่างกุ้ง และเช่นเดียวกับสื่อพม่านอกประเทศสื่ออื่นๆ อิระวดีต้องค่อยๆ ปิดตัวสำนักงานที่อยู่นอกประเทศลงไปเพื่อเข้ามาทำงานในประเทศมากขึ้น

 

เขากล่าวว่า มันเป็นทางหนีทีไล่ที่อิระวดีวางแผนไว้เพื่อให้อยู่ได้อย่างน้อยก็จนถึงปี 2015 "ถ้าเกิดอะไรขึ้น เราก็จะกลับไปที่ประเทศไทยและทำในสิ่งที่เราได้ทำมาแล้วกว่า 20 ปี" เขาถือพาสปอร์ตยุโรปเผื่อกรณีฉุกเฉินหากต้องหนีออกนอกประเทศอีกครั้ง

 

การกลับบ้านของนักข่าวและกลุ่มสื่อพม่านอกประเทศเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นถึงบรรยากาศของสื่อในประเทศที่กำลังพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น สื่อพม่านอกประเทศรายใหญ่ๆ อย่าง อิรวดี มิซซิมา และดีวีบี ได้เปิดสำนักงานแห่งใหม่ขึ้นในพม่าเมื่อไม่นานมานี้ ในขณะที่สื่อของชนกลุ่มน้อยที่มีขนาดเล็ก ที่มีการเผยแพร่ข่าวเรื่องสถานการณ์การสู้รบในพื้นที่ชายแดนนั้นยังคงเลือกที่จะทำงานนอกประเทศเหมือนเดิมเนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

 

ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารพม่า สื่อนอกประเทศเรียกได้ว่าเป็นส่วนที่มาเติมเต็มช่องว่างของข่าวที่ผลิตออกมาท่ามกลางการเซ็นเซอร์อย่างกว้างขวาง และมักจะนำเสนอข่าวการกละเมิดต่างๆ ของรัฐบาลทหารที่ไม่สามามรถหาอ่านได้ในสื่อท้องถิ่น ในขณะที่นักข่าวที่ทำงานให้กับสื่อนอกประเทศอย่างลับๆ นั้นเสี่ยงต่อการถูกจับกุมเป็นอย่างมากหากถูกจับได้ว่าส่งข่าว รูปภาพ หรือภาพถ่ายวิดีโอออกนอกประเทศ ซึ่งรวมถึงการส่งทางอินเทอร์เน็ตด้วย

 

จนกระทั่งมีการปล่อยตัวนักโทษครั้งใหญ่เมื่อปีที่แล้ว นักข่าวของสำนักข่าว DVB จำนวน 17 คนที่ถูกจับกุมได้รับการปล่อยตัวในครั้งนั้น โดยครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นยังคงสานต่อในการทำงานเป็นนักข่าว บางส่วนยุติเส้นทางการเป็นนักข่าวเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกจับกุมอีกครั้ง ส่วนที่เหลือก็ล้มเลิกความตั้งใจเพราะไม่ต้องการเปลี่ยนแนวทางวิธีการนำเสนอข่าว โตซอว์แล็ต หัวหน้าสำนักข่าว DVB เผย

 

เนื่องจากครั้งนี้ DVBได้เข้ามาในประเทศมาอย่างถูกกฎหมาย จึงต้องปรับเปลี่ยนเท็คนิคการทำงานใหม่ "เราระมัดระวังตัวอย่างมากในช่วงนี้ มันไม่เหมือนเมื่อก่อน ตอนที่เราต้องถ่ายแล้วรีบหนี" โตซอว์แล็ต กล่าวถึงการทำงานของนักข่าวลับที่นำเสนอประเด็นที่อ่อนไหวอย่าง การสลายการชุมนุมประท้วงของพระสงฆ์เมื่อปี 2007 "เราเปลี่ยนไปแล้ว เรากำลังพยายามนำเสนอทุกๆ ด้าน"

 

อย่างไรก็ตามการตกลงกับรัฐบาลก็ได้ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมในแวดวงสื่อไม่น้อย เมื่อปีที่แล้ว นักข่าว DVB กลุ่มหนึ่งได้ทำการประท้วงการตัดสินใจของบรรณาธิการอาวุโสที่จะจัดการอบรมร่วมกับสถานีโทรทัศน์ MRTV ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล แต่เบอร์ทิล ลินเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญและนักข่าวที่มีชื่อเสียง และดำรงตำแหน่งคณะกรรมการระหว่างประเทศของ DVB ได้ลาออกจากตำแหน่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว

 

 

โตซอว์แล็ต กล่าวว่า มีการเข้าใจผิดในกลุ่มของเจ้าหน้าที่ ว่าการอบรมดังกล่าวเป็นการสร้างสัมพันธ์กับรัฐบาล ซึ่งเขาปฏิเสธข่าวลือที่ว่า DVB กับ MRTV จะทำงานร่วมกัน เขากล่าวว่า การมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลเป็นเรื่องสำคัญเพราะในพม่ายังอยู่ในช่วงสูญากาศทางกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายเหี่ยวกับสื่อและการเผยแพร่ข่าวสาร ซึ่ง DVb กำลังประสบปัญหาในการดำเนินงานอยู่ในขณะนี้

 

 

ขณะที่เจ้าหน้าที่ DVB บางคนยังคงไม่เชื่อใจรัฐบาล "พวกเขากำลังพยายามเข้ามาแบ่งแยกและปกครอง พวกเขาตั้งใจเข้ามาสร้างปัญหาระหว่างเรา"ละละวิน ผู้สื่อข่าว DVB ที่เคยถูกจำคุก 2 ปีจากโทษทั้งหมด 24 ปี ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวมาก่อน เธอบอกว่า ความกดดันที่จะให้มีการนำเสนอมุมมองของรัฐบาลในข่าวทุกชิ้นได้สร้างความตึงเครียดระหว่างนักข่าวกับบรรณาธิการเป็นอย่างมาก

 

 

"สำหรับฉัน ฉันรายงานประสบการณ์ของผู้คนและตัดสินใจเองว่าจะนำเสนอภาพขาวแบบไหน" เธอกล่าวผ่านล่าม "ฉันไม่ยอมให้พวกเขาเข้ามาควบคุมหรือมามีอิธิพลต่องานของฉัน แต่ฉันก็ไม่รู้ว่าจะไปได้แค่ไหนในช่วงปีสองปีนี้ ถ้าฉันไม่มีเสรีภาพแบบนี้ บางทีฉันอาจจะต้องหาสื่อใหม่"

 

ด้านสื่อนอกประเทศอื่นๆ ต่างก็กลัวว่าจะสูญเสียอิสรภาพในการนำเสนอข่าวอย่างที่พวกเขาเคยทำได้ในช่วงที่เป็นสื่ออยู่นอกประเทศ ครั้งหนึ่งสำนักข่าวนอกประเทศของอิรวดีเคยถูกปิดมาแล้ว จ่อซวาโมกล่าวว่า "เรามีพื้นที่มากขึ้น แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีเสรีภาพอย่างแท้จริง" ปัจจุบัน สำนักข่าวอิระวดีเปิดสำนักงานในพม่าโดยได้รับใบอนุญาตปีต่อปี

 

"ในส่วนของการนำเสนอข่าว แน่นอนเราต้องอยู่ที่นี่ เราต้องอยู่ที่นี่เพื่อเปิดเผยและถามคำถามยาก ๆ แต่มันก็มีความเสี่ยงมากเช่นกัน ปัญหาของสื่อก็คือ พวกเขาไม่รู้ว่าจะไปได้ไกลแค่ไหน แต่ละคนก็มีความคิดที่ต่างกัน"

 

สำนักข่าวนอกประเทศส่วนใหญ่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศตะวันตกและแหล่งทุนที่เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร อาทิ Free Voice ของเนเธอร์แลนด์ องค์กร SIDA จากสวีเดน และ National Endowment for Democracy จากสภาคองเกรส รัฐบาลประเทศตะวันตกหลายประเทศสนับสนุนสื่อเหล่านี้ในช่วงที่ยังมีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลทหารชุดเดิม แต่ในช่วงที่มีการยกเลิกหรือระงับการคว่ำบาตร แหล่งทุนก็ระงับให้เงินช่วยเหลือองค์กรสื่อนอกประเทศเช่นกัน ในขณะเดียวกัน แหล่งทุนหลายแหล่งได้พยายามกระตุ้นสื่อนอกประเทศที่ส่วนใหญ่มีลักษณะที่เป็นองค์กรที่ไม่แสวงให้เป็นไปในเชิงพาณิชย์และสามารถดำเนินงานในประเทศได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาเงินสนุนสนุนจากภายนอก

 

สำนักข่าว DVB อยู่ในระหว่างดำเนินการปิดสำนักงานในออสโล ประเทศนอร์เวย์ ที่เคยแพร่ภาพออกอากาศมาตั้งแต่ปี 1994 และในขณะนี้ก็กำลังประสบปัญหากับการแข่งขันกับสื่อท้องถิ่นที่มีเงินทุนหนากว่า และมีความสัมพันธ์กับรัฐบาล

 

"เราสามารถแข่งขันได้ในเรื่องของรายการและการผลิต แต่ไม่ใช่การเข้าถึงทรัพยากร" โตซอว์แล็ต กล่าวว่า สกายเน็ตซึ่งบริษัทที่มีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลเพิ่งจ่ายเงินกว่า 37 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อสิทธิการถายทอดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกไปเมื่อไม่นานมานี้ "เราพยายามยืนอยู่บนลำแข้งของเราเอง แต่ในเวลาเดียวกันเราก็ต้องรักษาอิสรภาพของเราไว้เช่นกัน"

 

เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลได้อนุญาตให้มีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันได้ จากที่เคยมีแต่หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ซึ่งสื่อหลายเจ้าก็มีปัญหาเรื่องเงินทุนเช่นเดียวกัน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายใหญ่ ที่มีความสัมพันธ์กับนายพลระดับสูงและธุรกิจของนายพลพยายามที่จะเสนอค่าตอบแทนที่สูงกว่าให้กับนักข่าวจากหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่มีเงินทุนน้อยกว่า

 

สำหรับสำนักข่าวอิรวดี ที่ผลิตนิตยสารรายเดือนและอัพเดทข่าวรายวันในเว็บไซต์สองภาษา ก็ประสบปัญหาเรื่องเงินทุนในการผลิตสื่อรายวัน จ่อซาวโม กล่าวว่า "มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยากสำหรับสื่อนอกปะเทศ" เขาเผยว่า กลุ่มทุนที่สนันสนุนอิรวดีจะหยุดสนับสนุนภายในปี 2014 "หลังจากปีนี้ เราก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร มันอาจเป็นปีสุดท้ายของสื่อนอกปะเทศแล้วก็ได้"

 

แปลจาก An uneasy homecoming for Burma's exile media โดย Shawn W. Crispin

www.cpj.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น