วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พม่า...ในวันที่สายลับยังเกลื่อนเมือง

[caption id="attachment_6571" align="aligncenter" width="676"](ภาพ เจ้าหน้าที่สายลับพม่าทั้งสามคนทำทีว่าเป็นนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น กำลังเอากระดาษที่จดโน้ตมาเปรียบเทียบกัน ระหว่างที่ติดตามนักข่าว AP ไปทำข่าวการยึดที่ดิน) (ภาพ เจ้าหน้าที่สายลับพม่าทั้งสามคนทำทีว่าเป็นนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น กำลังเอากระดาษที่จดโน้ตมาเปรียบเทียบกัน ระหว่างที่ติดตามนักข่าว AP ไปทำข่าวการยึดที่ดิน)[/caption]

ในพม่า สายลับของรัฐบาลพม่ายังคงจับตามองประชาชนและชาวต่างชาติอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่ารัฐบาลจะให้สัญญาว่าจะผ่อนคลายการจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานก็ตาม



มัณฑะเลย์ , ประเทศพม่า - เป็นเวลา 2 ปีแล้วที่รัฐบาลชุดใหม่ให้สัญญากับประชาชนว่าจะให้เสรีภาพในการดำเนินชีวิตแก่ประชาชนมากขึ้น ทว่า เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบยังคงถามหา เมียะ เอ อดีตนักศึกษานักเคลื่อนไหวว่าเขาอยู่ที่ไหน และเมื่อไหร่จะกลับ

นอกจากนี้ยังมี นักการเมือง นักข่าว นักเขียน นักการทูต ที่ยังพบว่าตนเองกำลังถูกจับตามองอยู่ ตั้งแต่ถูกชายฉกรรจ์ขี่มอเตอร์ไซค์ตามประกบอย่างใกล้ชิด มีการรายงานโทรศัพท์เป็นช่วงๆ และยังพบคนหน้าเดิมๆ ในร้านน้ำชาบนถนนที่คนพลุกพล่าน

"มันก็ไม่ได้แย่เหมือนที่ผ่านมา" เมียะ เอ กล่าว ทุกวันนี้เขาอุทิศตนเพื่อการรณรงค์เพื่อสิทธิพลเมือง "แต่มันน่ารำคาญมาก พวกเขาทำเหมือนเราเป็นอาชญากร ทำให้เราและครอบครัวของเราหวาดกลัว มันหยาบคายและเป็นการคุกคาม มันไม่ควรจะเป็นอย่างนี้อีกแล้ว"

เมียะ เอ เป็นอดีตนักศึกษาหนึ่งในผู้นำการประท้วงทั่วประเทศเมื่อปี 1988 เพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศมายาวนานกว่า 5 ทศวรรษ ที่มีเครือข่ายเจ้าหน้าที่สายลับขนาดใหญ่ไว้เพื่อกำจัดกลุ่มต่อต้านที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล

เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เขาและผู้ต่อต้านอีกหลายพันคนถูกลาดตัวเข้าคุก สร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนไม่ให้กล้าลุกขึ้นมาแสดงความคิดเห็น

การกดขี่ข่มเหงลดดีกรีลงไปอย่างมากตั้งแต่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง อดีตนายพล ได้เข้ามาปกครองประเทศเมื่อปี 2011 หลังมีการเลือกตั้งที่ถูกบอยคอตจากฝ่ายค้าน แต่ในขณะที่นักโทษการเมืองถูกปล่อยตัวออกมาเป็นจำนวนมาก ส่วนหนังสือพิมพ์ก็ไม่มีการเซ็นเซอร์ก่อนเผยแพร่อีกต่อไป มีเสรีภาพในการพูดมากขึ้น รัฐบาลจึงยังไม่สามารถเลิกส่งสายลับไปจับตามองประชาชนได้ในตอนนี้

"นิสัยเดิมแก้ไม่หาย" วิน เถ่ง ผู้ร่างกฎหมายของพรรคสันนิบาตประชาธิปไตยแห่งชาติ หรือเอ็นแอลดี พรรคฝ่ายค้าน ที่เคยถูกจำคุกถึง 20 ปีในยุครัฐบาลทหาร เขาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว AP ทางโทรศัพท์โดยที่กลัวว่า การสนทนาจะถูกดักฟังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ทุกๆ วัน จะมีเจ้าหน้าที่ 6 ถึง 8 คนจากหน่วยงานด้านความปลอดภัยต่างๆ นั่งอยู่ตามร้านน้ำชาตรงข้ามกับสำนักงานใหญ่ของพรรคเอ็นแอลดี คอยจดว่ามีใครเข้าออกพรรคและแอบถ่ายรูปเป็นพักๆ

ไม่มีใครทราบว่ามีเจ้าหน้าที่สายลับทั่วประเทศจำนวนเท่าไหร่ที่ยังคงทำงานอยู่ แต่ที่แน่ๆ มีองค์ด้านข่าวสาร 2 องค์กรที่ยังดำเนินงานอยู่นั่นคือ Office of Military Affairs Security และ Special Branch police ที่คอยรายงานต่อกระทรวงมหาดไทย

เจ้าหน้าที่ระดับกลางคนหนึ่งที่ไม่เปิดเผยชื่อ เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้พูดกับสื่อ เผยว่า ทุกวันนี้ไม่มีระบบการออกคำสั่งจากบนลงล่างให้ติดตามคนใดคนหนึ่งแล้ว แต่จะมีเจ้าหน้าที่ที่อายุน้อย และมักจะไม่มีประสบการณ์จะถูกสั่งให้คอบจับตามองคนแปลกหน้าและเหตุการณ์ที่ผิดปกติในพื้นที่ของพวกเขา จากนั้นจึงรายงานไปยังหัวหน้า

แต่พฤติกรรมขแงพวกเขามักจะหยาบคายหรือดูตลก ไม่มีความสุขุมรอบคอบแม้แต่น้อย

เมื่อครั้งที่นักข่าวของ AP ลงพื้นที่เมืองเมกทีลาเพื่อสำรวจดูหมู่บ้านที่ถูกทำลายเสียหายจากการปะทะกันเมื่อต้นปีนั้น ปรากฎว่ามีเจ้าหน้าที่สายลับคอยจับตามองอยู่ทุกๆที่ มีชายสองคนขี่มอเตอร์ไซค์คอยขับตามนักข่าว

และยังมีสายลับอีกหลายคนที่รออยู่หน้าโรงแรมในมัณฑเลย์ ในขณะที่ทีมนักข่าวกำลังหาทางที่จะไม่ให้พวกเขาตามได้ จนในที่สุดตัดสินใจเข้าไปในวัดที่ผู้คนพลุกพล่านและหนีออกทางประตูหลัง นักข่าวจึงสามารถสัมภาษณ์ผู้ที่รอดชีวิตจากการนองเลือดได้ พวกเขาเหล่านั้นกลัวว่าจะถูกเจ้าหน้าที่มารังควาน เพราะพวกเขาไม่สามารถพูดอะไรได้แม้ว่าจะอยู่ในบ้านของตนเองก็ตาม

นาย เย ทุต โฆษกของประธานาธิบดียืนยันว่า ทุกวันนี้ "หน่วยงานพิเศษเลิกตรวจสอบสื่อแล้ว"และไม่สามารถให้ความเห็นถึงเรื่องดังกล่าวได้เพราะ ไม่เป็นความจริง

ด้านองค์กร Human Rights Watch กล่าวว่า เจ้าหน้าที่สายลับได้ทำการทรมานผู้ต้องขังและผู้ที่ถูกจับกุมในยุครัฐบาลทหารโดยการให้อดนอน และเตะและทุบตีนักโทษจนหมดสตี ในช่วงที่มีการประท้วงของพระสงฆ์เมื่อปี 2007 เจ้าหน้าที่หน่วยสายลับพิเศษได้บันทึกวิดีโอและถ่ายรูปผู้ชุมนุมไว้ และตามจับคนในรูปได้หลายพันคน

เดวิด เมธิสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านพม่าในองค์กร Human Rights Watch เปิดเผยว่า ยังคงมีรายงานการจับกุม การกักขัง และการทรมานเกิดขึ้นอยู่ แต่ลดลงมาก ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากนักเคลื่อนไหวและนักข่าวจะรายงานทันทีที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น

เจ้าหน้าที่สายลับยังคงสะกดรอยตามเป้าหมายจนเป็นนิสัยและยังคงหวาดระแวงตลอด เขากล่าว "เจ้าหน้าที่สายลับมักจะเป็นคนกลุ่มสุดท้ายที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อเหยื่อของพวกเขาและฝ่ายตรงข้าม อย่างอดีตนักโทษการเมืองและนักเคลื่อนไหว เป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการปฏิรูป"

"สิ่งที่ท้าทายของพวกเขาก็คือ ตอนนี้มีคนมากขึ้นที่ต้องตรวจสอบ ทั้งคนพม่าเองและชาวต่างชาติ มีงานลดลงมากและยังมีการเมืองที่สับสน ก่อนปี 2011 ตำรวจ ศาล และกองทัพจะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกำจัดฝ่ายตรงข้าม ขู่นักข่าวและจับคนที่วิพากษ์วิจารณ์เข้าคุก ตอนนี้พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ทำอย่างนี้แล้ว พวกเขาจึงต้องระมัดระวัง"

วิน โช อ่อง นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิที่ดินก็กำลังประสบปัญหาเดียวกัน "ผมก็บอกเขาไปทุกอย่างว่าผมจะทำอะไร " เขามักจะเดินทางไปนอกเมืองย่างกุ้งบ่อยๆ เพื่อให้คำปรึกษาแก่ชาวนาที่กำลังต่อสู้หลังถูกยืดที่ดินจากผู้มีอำนาจและนักธุรกิจ "ถ้าเราจะทำการประท้วง ผมจะโทรไปที่หน่วยสายลับและบอกว่าเราจะทำการประท้วงที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เขาจะได้ไม่ต้องมาตามผมให้เสียเวลา เพราะพวกเขารู้ทุกอย่างแล้ว"

ขณะที่ตำรวจในท้องที่ส่งเจ้าหน้าที่สายลับของตนมาตรวจสอบเช่นกัน หนึ่งในนั้นได้ติดตามนักข่าว AP ในเมืองเมกทีลา โดยเขายอมรับว่าได้ติดตาม วิน เถ่ง ในเมืองนี้เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่ไม่ยอมบอกเหตุผล ซึ่งวินเถ่งได้วิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ที่ไม่สามารถจัดการกับเหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นได้

เมื่อครั้งที่ทีมนักข่าว AP ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชาวบ้านในเมืองซิตตวย ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นโหลถือปืนไรเฟิลติดตามทุกฝีก้าว และจดโน้ตทุกอย่างที่ได้ยิน นแกจากนี้ตำรวจยังได้เข้ามาในค่ายผู้อพยพในช่วงที่นักข่าวสัมภาษณ์ชาวบ้านที่พลัดถิ่นจากเหตุการณ์นองเลือด และบางครั้งก็สอบถามนักข่าวว่าคุยกับใครบ้าง และชาวบ้านคนนั้นพูดว่าอย่างไร

เมื่อต้นปีนี้ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานปราบปรามยาเสพติดได้ติดตามมาคุ้มกัน ขณะที่นักข่าว AP เดินทางไปกับหน่วยงายด้านยาเสพติดของยูเอ็นในพื้นที่เทือกเขาสูงในรัฐฉานตะวันออก

พวกเขาบอกว่า ที่ดตามมาก็เพื่อความปลอดภัยของนักข่าวซึ่งพื้นที่ดังกล่าวที่ควบคุมโดยกองกำลังชนกลุ่มน้อยมาหลายสิบปี แต่พวกเขาก็บันทึกภาพวิดีโอในตอนที่นักข่าวสัมภาษณ์ชาวบ้านไว้ด้วย ทุกๆ พวกตำรวจจะส่งแฟกซ์แผ่นกระดาษเขียนด้วยลายมือหลายๆ แผ่น เพื่อรายงานไปยังสำนักงานใหญ่ในกรุงเนปีดอว์ เมืองหลวงของพม่า

เมื่อถามว่าทำไมต้องทำแบบนี้ด้วย พลตำรวจตรี ซอว์ มิน อู บอกว่า "พวกเราต้องบันทึกไว้ว่าคุณทำอะไร คุยกับใคร กินอะไร...ก็คุณแป็นแขกของเราหนิ"

แปลจาก In Burma, Internal Spy Network Lives On สำนักข่าว AP 29 กรกฎาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น