วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

"อยากกลับบ้าน" ความหวังของผู้พลัดถิ่นชาวโรฮิงยา

ตลอดชีวิตที่ผ่านมา นูอาเลนมีเรือเป็นเครื่องมือหาเลี้ยงชีพ  ชายวัย 49 ปีผู้นี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งของเขตป๊อกตอว์ในรัฐอาระกัน ทางภาคตะวันตกของประเทศพม่า เขาเป็นเจ้าของเรือสามลำที่ใช้ออกหาปลาในอ่าวเบงกอล เขาไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่า เครื่องมือหาเลี้ยงชีพของเขานั้น จะสามารถช่วยชีวิตเขาไว้ในวันหนึ่ง

 

ปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เขาต้องติดอยู่ท่ามกลางเกตุการณ์ความรุนแรงในรัฐอาระกันที่ปะทุขึ้นมารอบใหม่ หมู่บ้านของเขาถูกเผา เขากับเพื่อนบ้านจึงต้องหนีซึ่งทางเดียวที่เขารู้ว่าจะพาให้เขารอดได้ก็คือเรือ

 

“เราหนีมากันสองกลุ่มโดยเรือ 45 ลำ ผมอยู่ในกลุ่มที่สองเพื่อต้อนคนขึ้นเรือ เราไม่มีเวลาเก็บข้าวของ เราสูญเสียบ้านและทรัพย์สินทั้งหมด เราเอาไปได้แค่ของที่ไม่ไหม้” นูอาเลน กล่าว

 

เช่นเดียวกับเขตจ๊อกผิ่ว พื้นที่ที่อุดมไปด้วยก๊าซธรรมชาติและน้ำมันซึ่งอยู่ทางใต้ลงไปอีก มะขิ่นเอจี วัย 33 ปี กลัวน้ำมาก แต่เธอก็ต้องลงเรือเมื่อบ้านของเธอและที่ซ่อนถูกวางเพลิง

 

“เรือแต่ละลีมีคนอยู่ประมาณ 80 ถึง 90 คน แต่ก็ไม่มีเรือเพียงพอสำหรับทุกคน” มะขิ่นเอจีน้ำตาคลอเบ้าเมื่อเล่าถึงเหตุการณ์ที่อยู่ในความทรงจำ เราลงเรือลำสุดท้ายและคิดจริงๆ ว่ากำลังจะตาย เราพบเรืออีกลำหนึ่ง เรอลำนั้นให้น้ำมันกับเรือของเรา”

 

ไม่นานนักเรือของเธอก็น้ำมันหมดและต้องลอยลำอยู่ถึงสองวันกว่าจะไปถึงซินเต็ดมอว์ ซึ่งชาวบ้านที่นั่นช่วยกันกู้เรือขึ้นฝั่ง ขณะนี้เธออาศัยอยู่กับครอบครัวครอบครัวหนึ่งที่นี่ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะโชคดีอย่างนี้ บางครอบครัวต้องกางเต็นท์นอนริมหาดทราย คอยดูเรือของตนที่จอดอยู่ ขณะที่คนอื่นๆ ต้องนอนบนเรือ

 

ชุมชนที่นี่ความช่วยเหลือพวกเขาเท่าที่จะทำได้ แต่ก็ยังขาดแคลนห้องสุขาและหมอรักษาโรค ระหว่างที่เจ้าหน้าที่ UNHCR เข้าเยี่ยมพื้นที่ หญิงพลัดถิ่นคนหนึ่งที่ร้องเรียนว่า เธอต้องเช่ารองเท้าแตะใส่ อีกคนชี้ไปที่ติ่งหูขวาและบอกว่า เธอต้องขายตุ้มหูเพื่อนำเงินมาซื้ออาหารเลี้ยงครอบครัว

 

ส่วนนูอาเลน เรือของเขาเทียบชายฝั่งที่อะเน่าก์หย่วย ซึ่งเป็นพื้นที่เชิงเขา ก็ประสบปัญหาไม่ต่างกัน “ที่นี่ไม่มีน้ำและสุขอนามัยที่ดี สำหรับน้ำ เราต้องใช้น้ำจากบ่อน้ำสกปรกที่เคยเป็นแหล่งน้ำของสัตว์มาก่อน”

 

ด้าน UNHCR และองค์กร NGO ระหว่างประเทศอื่นๆ  ได้ส่งของบรรเทาทุกข์และอาหารไปยังพื้นที่ทั้งสองแห่งแล้ว นอกจากนี้แล้ว UNHCR ยังได้สนับสนุนรับบาลและองค์กรให้ความช่วยเหลืออื่นๆ ในเรื่องการจัดหาน้ำ การสุขาภิบาล การศึกษาและการบริการทางการแพทย์ รวมถึงยังให้ทางเลือกแก่ผู้พลัดถิ่นสำหรับอนาคตอันไกล้นี้อีกด้วย

 

“สิ่งที่เราทราบล่าสุดคือ พวกเขามีความตั้งใจที่จะกลับไปยังถิ่นฐาน ซึ่งต้องมีการวางแผนกันทั้งจากฝั่งรัฐบาลและองค์กรของเรา เพราะหมู่บ้านหลายแห่งถูกเผาทำลายเสียหายโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังมีความเป็นห่วงสำหรับผู้พลัดถิ่นภายในที่ไม่สบายใจที่จะหกลับไปยังพื้นที่ที่เคยถูกโจมตี” Maeve Murphy หัวหน้า UNHCR สำนักงานซิตต่วย กล่าว

 

UNHCR ได้เจรจากับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้จัดที่พักสำหรับผู้พลัดถิ่นกลุ่มใหม่ในค่ายพักพิงชั่วคราว ในขณะที่รัฐบาลก็กำลังติดตามเรื่องความพยายามในการปรองดองและการฟื้นฟูพื้นที่ต้นทาง

 

“เราต้องแน่ใจว่าการเคลื่อนย้ายหรือการเดินทางกลับเป็นไปด้วยความสมัครใจ เราจะร่วมมือกับทางการเพื่อเตรียมการและรับรองความปลอดภัยให้กับผู้ที่เลือกที่จะเดินทางกลับ และทำงานกับผู้พลัดถิ่นเพื่อให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่พวกเขาจำเป็นเพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัยในบ้านเกิด”

 

“ฉันอยากกลับไปที่จ๊อกผิ่วถ้ามีอาหารที่เพียงพอและรับรองความปลอดภัย ถ้าไม่มีการรับรองทั้งสองอย่างฉันก็ไม่กล้ากลับ” มะขิ่นเอจี กล่าว

 

ขณะที่นูเอเลนกล่าวไม่ต่างกันว่า  “เราไม่กล้ากลับไปเราไม่มีอะไรเหลือแล้วที่นั่น ผมไม่อยากสูญเสียอะไรอีกแล้ว

 

เรียบเรียงจากบทความ Myanmar's displaced wait for tide to turn โดย Vivian Tan
10 ธันวาคม 2555 http://www.unhcr.org


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น