วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จับตารัฐยะไข่ จุดวาบไฟการเมืองโลก

14/6/2012 ประชาไท สัมภาษณ์ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ต่อกรณีสถานการณ์ความขัดแย้งในรัฐอาระกันของพม่า

 

โดยดุลยภาค กล่าวถึงปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ความขัดแย้งดำรงอยู่นั้น นอกจากเรื่องความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติของชาวโรฮิงยาซึ่งเป็นมุสลิมที่ไม่ได้รับกา­รยอมรับสถานะพลเมืองจากรัฐบาลพม่า และชาวอาระกันซึ่งนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับความสนับสนุนมากกว่าในสมัยรัฐบาลทหารพม่าแล้ว พื้นที่ของรัฐอาระกันยังเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญโดยเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชา­ติ มีโครงข่ายท่อส่งก๊าซไปยังมณฑลยูนนาน ของจีน และไปถึงกัลกัตตาของอินเดีย นอกจากนี้รัฐอาระกันไม่ใช่ชายแดนปกติ เป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงของพม่าเพราะมีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลซึ่งมหาอำนาจใ­ห้ความสนใจ ดังนั้นในสมัยรัฐบาลทหารพม่า ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงใหม่ไปที่เนปิดอว์ ได้มีการย้ายกองบัญชาการกองทัพพม่าภาคตะวันตกเฉียงใต้จากที่ตั้งเดิมที่เมืองซิตตเหว­่ เมืองหลวงของรัฐอาระริมชายฝั่งทะเล เข้าไปอยู่ที่เมืองอาน ซึ่งอยู่ทางตอนในแผ่นดินมากกว่า เพื่อใหเปลอดภัยจากภัยคุกคามทางทะเล

 

ในตอนท้ายดุลยภาคประเมินว่า หลังจากนี้เป็นต้นไปรัฐอาระกันจะถูกทำให้เป็นจุดวาบไฟทางการเมืองระหว่างประเทศ หรือทางชาติพันธุ์ในศ.ที่ 21 ซึ่งความรุนแรงจะเกิดและหยุด ไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นตัวที่คอยกระตุ้นให้องค์กรระหว่างประเทศ มหาอำนาจการเมืองโลกเริ่มเข้ามาเป็นตัวแสดงในรัฐอาระกัน และถ้ารัฐบาลคุมไม่ได้ เรื่องนี้ก็จะยิ่งบานปลายยิ่งกว่า และกองทัพพม่าจะเข้ามาจัดระเบียบ ทั้งหมดนี้สะท้อนการจำลองการทูตเชิงน้ำมันและท่อก๊าซแบบภูมิภาคเอเชียกลางเข้ามาอยู่­ในด่านหน้าของภูมิภาคนี้ เพราะบริษัทขุดเจาะน้ำมันจากจีน อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปเข้ามาลงทุนในรัฐอาระกันแล้ว ทำให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นกระดานหมากรุกทางการเมืองโลก

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น